ถ้าสามีไม่เคยให้เงินกับเราเลย เราจะต้องรู้สึกยังไงดีคะ

แต่งงานกันมา 3 ปีกว่าๆ เขาไม่เคยให้เงินเราเลย แต่เขาจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างเข้าบ้านเพราะเราไม่ได้ทำงาน อยู่บ้านดูแลลูก 1 ขวบ 3 เดือนแล้วตอนนี้ แต่เราก็อยากจะมีเงินไปซื้อของใช้บ้าง ตั้งแต่แต่งงานกันมา เราไม่เคยซื้อชุดใหม่เลยสักครั้ง ไม่เคยซื้อเครื่องสำอาง ถ้าจะซื้อก็แค่สบู่ล้างหน้าครีมทาหน้ากับผ้าอนามัยเท่านั้น รวมทั้ง 3 อย่างแล้วไม่เคยถึง 400 บาท เวลาที่เราขอเงินเราก็จะขอแค่ 1,000 บาท ส่วนใหญ่แล้วเขาก็จะไม่ให้ เร็วๆนี้เราขอ 200 บาท เขาก็เงียบทำไม่ได้ยินเราก็ไม่ได้พูดอะไรเราก็เดินเข้าไปในห้อง ปีที่แล้วเขาได้โบนัสจากที่ทำงาน เขาให้แม่ของเขาไป 23,000 บาท แต่เขาไม่ได้ให้เราเลยสักบาทเดียวค่ะ ถ้าเราจะรู้สึกน้อยใจเสียใจหรือไม่พอใจ เพราะแค่เราอยากมีเงินไปซื้อของแต่งกายให้ตัวเองบ้างมันจะผิดหรือเปล่าคะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 53
ใครที่บอกให้ จขกท. หางานทำไปด้วย
จะบอกให้ว่า ตอนนี้ จขกท. ก็ทำงานอยู่นะ

เป็นแม่บ้าน  และ เลี้ยงเด็กอ่อน 24 ชม.

งานที่ จขกท. ทำ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของ ครอบครัวอย่างน้อยๆ ก็เดือนละ 3-4 หมื่นบาท

ใครที่บอกหางานออนไลน์ หาทำอย่างอื่น
ถ้าเคยเลี้ยงเด็ก 1-2 ขวบ จะรู้ว่าเวลาส่วนตัวแทบไม่มี จะล้างจานจะเข้าห้องน้ำ ทำกับข้าว ก็ต้องคอยพะวง ไม่รู้ว่าสภาพห้อง/บ้าน ลูกซนไม่ซนยังไง
อยากให้มาลองเลี้ยงเองสัก 1 วัน 1 คืน
จริงๆ ทำ ก็ดี.. ก็ควรทำ ถ้ายังพอไหว
แต่ประเด็นตอนนี้เป็นเรื่องสามี

สามี จขกท. มีเงินแต่งรถ แต่กลับไม่มีน้ำใจให้เมีย
สิ่งที่ จขกท. เอ่ยปากขอ มันน้อยนิดมาก ๆ นะ
คนรักกันมันให้กันได้มากกว่านี้เยอะ
ความคิดเห็นที่ 10
ออกไปทำงานเถอะ จขกทอยากได้เสื้อผ้าบ้างไม่ผิด แต่ดูทรงสามีแล้วยิ่งขอยิ่งอึดอัดใจเปล่า ๆ ให้เดือนละ 400 นี่เลี้ยงหมาเลี้ยงแมวยังจ่ายค่าอาหารเยอะกว่าเลยค่ะ คนเรามีมือมีเท้าออกไปทำงานหาเงินเองเถอะ ส่วนลูกจะไม่มีใครดูตลอดเวลาก็ต้องตกลงกันหารค่าพี่เลี้ยงค้าเนิร์ส ถ้าสามีจะไม่หาร ขู่ให้จขกทออกเองถ้าจะไปทำงานนอกบ้านล่ะก็ จขกทยิ่งต้องหาทางออกให้ตัวเองด่วน รีบหางานทำ อย่าปล่อยให้ตัวเองแก่แบบไม่มีประสบการณ์การทำงานจนสมัครงานยาก
ความคิดเห็นที่ 33
เค้าเห็นคุณเป็นเครื่องผลิตลูกไม่ได้เป็นคู่ชีวิต
เห็นว่าการเลี้ยงลูกอยู่บ้านไม่มีคุณค่า
เงินแค่1000นานๆเมียขอทียังไม่ให้
โคตะระกระจอกแถมงกขั้นเทพ
แต่ก้อถือว่าเค้ามีความรับผิดชอบต่อลูกต่อครอบครัว
อยู่นะ แค่เค้าอาจจะไม่ได้รักคุณอ่ะค่ะบอกตรง
เคยเม้นท์หลายๆครั้งว่าผู้ชายจะไม่ขี้งกกะผู้หญิง
ที่เค้ารักยังคงยืนยันคำนี้ค่ะ
ความคิดเห็นที่ 117
สามปี ​ เปลี่ยนคนเราได้เยอะนะ

อ่านที่จขกท.​ตอบ​ จากที่เคยทำงาน  พอแต่งงาน  มีลูก​ สามียอมตกลงจะจ่าย​เงินเดือน​ เอาเข้าจริงบาทเดียวก็ไม่เคยได้  อยู่มา  3  ปี​ จะเอ่ยปากของเงินก็เริ่มเกรงใจ  ขอพันไม่ได้  ขอร้อยก็ยังไม่ได้  ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวแทบไม่มี  ไม่ได้ใช้  

ความมั่นใจในตัวเองเริ่มหาย  ความเกรงใจ​ เกรงกลัวสามี เพิ่มขึ้​น​ ความอึดอัดเริ่มมา  จะพูด​จะคุย  ก็กลัวทะเลาะด้วย  ไม่กล้าแสดงความคิดความเห็นตัวเอง  สุดท้ายเป็น เมีย​ แต่ถูกสามีทำเหมือนเป็นคนใช้ในบ้านไม่ต้องให้​เงินเดือน​  ข่มได้ข่ม  ไม่พอใจก็ด่าได้สบายใจปาก

อยากให้จขกท.​ ตั้งสติ​ รวบรวมความกล้า  พูดคุยกับสามีดีๆ​  3 ปีที่เป็นแม่บ้าน ไม่มีเงินเข้ามือแม้แต่บาทเดียว  ที่เราเคยตกลงกันไว้  ทำไมถึงไม่เป็นไปตามนั้น  สามีติดขัดปัญหาการเงินอะไรบ้าง  หนี้สินมีเท่าไร  ขอเข้ามาช่วยดู  อย่าทำเหมือน​จขกท.เป็นแม่บ้านโง่ๆ  ทำได้แต่​เลี้ยงลูก​ ทำงาน​บ้าน​   แล้วจะออกไปหางานทำ ให้ครอบครัวมีรายได้ 2  ทาง​ ลูกต่อไปต้องเข้า​รร.​ ค่าใช้จ่ายสูง  คุณไปทำงาน  ฝากใครดูแลได้บ้าง  คิดพิจารณา  ถ้าต้องฝากเลี้ยง ค่าใช้จ่ายเท่าไร  แล้วตัดสินใจครับ

อยู่แบบนี้  มีแต่สามีจะข่ม  ค่อยๆ​ คิด​ ค่อยๆตัดสินใจ  ต้องแสดงความกล้าด้วยเหตุผล

ส่งกำลังใจให้
ความคิดเห็นที่ 64
หัวกระทู้ไม่ค่อยตรงประเด็นเท่าไหร่ ต้องมานั่งไล่อ่านความเห็นย่อยถึงจะรู้ความจริง

จริงๆ พอยท์มันคือ "สามีให้ลาออกจากงานมาเลี้ยงลูก สัญญาว่าจะให้เงินรายเดือน แต่เอาเข้าจริงไม่ให้ซักบาท" อันนี้คือประเด็น เพราะถ้าถามแค่ว่าสามีไม่ให้เงินใช้ต้องรู้สึกยังไง คำตอบมันจะหลากหลายมากเนื่องจากผู้หญิงสมัยนี้มากมายที่ทำงานรายได้เยอะ แยกกระเป๋าไม่พึ่งสามี แต่ของคุณมันไม่ใช่ มันคือการตกลงกันแล้วแต่เค้าเบี้ยว เค้าผิดคำพูด และเห็นแก่ตัว

ถ้าไม่คิดจะเลิก ก็แนะนำให้ส่งลูกเข้าเนิร์สหรืออดทนรอจนลูกเข้าโรงเรียนแล้วกลับไปหางานทำ หรือถ้าหางานที่ทำที่บ้านได้ก็คงจะดี ทางออกคงมีแค่นั้นค่ะ เพราะดูจากที่เล่ามายังไงเค้าก็ไม่มีวันให้เงินคุณแน่นอน ส่วนต้องรู้สึกยังไง ก็คงต้องบอกว่าคุณคงต้องรู้สึกเซ็งที่เลือกสามีผิด แต่ถ้าถามว่าผู้หญิงต้องรู้สึกยังไงถ้าสามีไม่เคยให้เงิน ผู้หญิงอีกหลายล้านคนน่าจะไม่ต้องรู้สึกอะไร เพราะเงื่อนไขและสภาพการณ์ต่างกับคุณ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่