ทำไมน้ำส้มสายชู กับ เบคกิ้งโซดา จึงทำความสะอาดได้ดีมาก




© BSIP/UIG via Getty Images)



   
ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ต่างเลิกใช้สารเคมีที่รุนแรง
ในการทำความสะอาดประจำวัน
ตามบ้านเรือนของพวกตน
และเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
เช่น เบกกิ้งโซดา และน้ำส้มสายชู
เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ฆ่าเชื้อพื้นผิว
และทำให้พื้นที่มีความแวววาวสะอาด
ตามข้อมูลของ Reader's Digest 
ได้บอกการใช้สารเคมีนี้ในครัวเรือน
สารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้
คำตอบเรื่องนี้ค่อนข้างธรรมดา —
เบกกิ้งโซดา กับ น้ำส้มสายชู
อยู่ที่ปลายสุดอีกด้านของมาตราส่วน pH

“ เมื่อคุณทำความสะอาด
โดยใช้เบกกิ้งโซดาหรือน้ำส้มสายชู
คุณกำลังจัดการกับโมเลกุลที่ซับซ้อนมาก
เบกกิ้งโซดาเป็นชื่อสามัญของ
โซเดียมไบคาร์บอเนต NaHCO3
คนส่วนใหญ่อาจจะเชื่อมโยงกับการทำอาหาร
เพราะมันทำให้เค้กขนมปังฟูใหญ่/อวบอ้วน
น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายเจือจาง
ของกรดอะซิติก HC2H3O2
ซึ่งผลิตโดยแบคทีเรียในระหว่างการหมัก

เบกกิ้งโซดาตรงกันข้ามกับน้ำส้มสายชู
เพราะมันรุนแรงเหมือนน้ำส้มสายชู
แต่ละลายอินทรียวัตถุ
เช่นเดียวกับน้ำส้มสายชู
มันไม่เป็นอันตรายต่อคน
และจะไม่เป็นอันตราย
เมื่อทำความสะอาด
สถานที่เก็บอาหารของคน "
ศาสตราจารย์ May Nyman ภาควิชาเคมี ของ Oregon State University
ให้สัมภาษณ์กับ  https://wordssidekick.com 




 


ส่วนผสมในห้องครัว
ทั้งสองชนิดเป็นสารทำความสะอาด
ที่มีประสิทธิภาพ เพราะพบได้ใน
ด้านตรงข้ามของมาตราส่วน pH
pH คือการวัดความเป็นกรดหรือด่างของสาร
โดยมีค่าตั้งแต่ 1 (มีความเป็นกรดมาก)
ถึง 14 (มีความเป็นเบสมาก)
โดยมีค่าเป็นกลางที่ 7
น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH เท่ากับ 7
เบคกิ้งโซดามีค่า pH อยู่ที่ 9 
แต่น้ำส้มสายชูมีค่า pH 2
ข้อมูลจาก  U.S. Geological Survey







การทำความสะอาดแบบ 2 in 1

เบกกิ้งโซดา เป็นเบสละลาย
สารประกอบอินทรีย์ เช่น สิ่งสกปรก
ไขมัน และสารเหนียวอื่น ๆ
โครงสร้างแร่ของอนุภาคเบกกิ้งโซดา
แต่ละอนุภาค ทำให้ขัดถูได้อย่างอ่อนโยน
ในการทำความสะอาด
โดยไม่ทิ้งรอยขีดข่วนไว้เบื้องหลัง

น้ำส้มสายชู  เป็นกรด จะย่อยสลายแร่ธาตุ
ที่ตกค้างจากน้ำประปากลายเป็นของแข็ง
ทำให้เกิดคราบสกปรก บน อ่างล้างหน้า
อ่างน้ำ และเคาน์เตอร์ห้องครัว เป็นต้น

การรวมสารทั้งสองชนิดนี้ 
ในครัวเรือนเข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าเหลือเชื่อในห้องครัว
แต่สิ่งสำคัญ คือ จะต้องไม่ผสมสารเหล่านี้
ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน
จำเป็นต้องเก็บส่วนผสมด้านที่เป็นกรด
หรือด้านพื้นฐานของค่าที่เป็นกลาง
เพราะเมื่อเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำส้มสายชู
กรดจะสลายเบกกิ้งโซดา
ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ที่ช่วยขจัดสิ่งสกปรกออกจากพื้นผิว
ที่ทำความสะอาด/ชำระล้างให้สะอาด







นี่คือสูตรบางอย่างที่น่าจะทดลอง


ทำความสะอาดอ่างล้างจาน 
โดยผสมเบกกิ้งโซดาหนึ่งส่วน
กับน้ำส้มสายชูสองส่วน
ส่วนผสมนี้จะทำให้เกิดฟองฟู่
ของคาร์บอนไดออกไซด์
ที่ช่วยทำความสะอาด
และทำให้ท่อระบายไม่ค่อยอุดตัน
(ดีกว่าการใช้โซดาไฟ)

ขจัดคราบน้ำกระด้าง
โดยวางผ้าขนหนูชุบน้ำส้มสายชู
บนบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
หลังจากผ่านไป 2-3 ชั่วโมง
ให้เอาผ้าออก แล้วถูบริเวณนั้น
ด้วยส่วนผสมที่ทำจากเบกกิ้งโซดาและน้ำ

ฆ่าเชื้อราตอนซักผ้า
โดยใช้เบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู
เติมเบกกิ้งโซดาครึ่งถ้วยกับน้ำยาซักผ้า
เพื่อเพิ่มพลังให้กระบวนการทำความสะอาด
ตามด้วยน้ำส้มสายชูหนึ่งถ้วย
ระหว่างรอบการล้าง
เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและทำให้ผ้านุ่ม

ทำความสะอาดยาแนว
โดยใช้เบกกิ้งโซดา (เบกกิ้งโซดาผสมน้ำ)
แล้วฉีดน้ำส้มสายชูใส่ ก่อนขัดสิ่งสกปรกออก



เรียบเรียง/ที่มา

 
https://bit.ly/3jH8UTd
 ♬







เรื่องเล่าไร้สาระ

แถวบ้านมีการทำน้ำส้มสายชู จาก
โหนด ตาลโหนด โตนด เรียก น้ำส้ม
(ไม่ผ่านการกรอง/วิธีหมักแบบเชิงอุตสากรรม
สีจึงค่อยข้างขุ่นข้น ไม่ขาวใสเหมือนที่ขายกัน)

ต้นตาลโตนด
เป็นพืชเมืองนอกมาจากอินเดียตอนใต้
ทางมอ. (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
เคยทำวิจัยและตรวจ DNA ต้นตาล
ทั้งของไทย/อินเดีย ผลทาง Lab ยันยัน
แม่นแหล่วของนอกมาจากอินเดียตอนใต้

เพราะแขกทมิฬล่องเรือมาตั้งรกราก/ทำการค้า
บุกยึดเป็นเมืองขึ้น/ปล้นเมืองในอดีตหลายครั้ง
จนมีคำว่า โจรใจทมิฬ มาจากราชวงศ์ โจฬะ
เดิมมักจะพูดกันว่า พวกโจฬะ ทมิฬ
แขกทมิฬพวกนี้นับถือศาสนาฮินดู
ภายหลังศาสนาพุทธเสื่อมลง
มีอาณาเขตปกครองถึงภาคใต้สยาม-มลายู
ก่อนหน้านั้นพวกแขกทมิฬก็มาที่นี่นานแล้ว
ก่อนพระเจ้าอโศกมหาราช
จะ Export ศาสนาพุทธสู่สุวรรณภูมิ
ตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา

บางคนสันนิษฐานว่า
พวกขอม คือ แขกทมิฬ
เพราะเขมรมีคำหลายคำตรงกับภาษาทมิฬ
นักประวัติศาสตร์บางท่านระบุว่า
เขมรไม่ใช่ขอม
เพราะมีคำพังเพย/ตำนานท้องถิ่นพูดกันว่า
ขอมตัวดำสูงใหญ่ เขมรตัวเตี้ยเล็ก
ตามลักษณะรูปร่างคนอุษาอาคเนย์ทั่ว ๆ ไป
ศาสนา/อารยธรรมแถวนี้ระยะแรกมาจากแขก
พวกเล่นของคุณไสย หมอผี มีความเชื่อกันว่า
ลาวทำไทยแก้ ไทยทำขอมแก้ ขอมทำแขกแก้
ไล่สายไปจนถึงซือโจ้ว (ทวดปรมาจารย์)

ในอดีต ลูกตาลเป็นเสบียงกรัง
ให้น้ำตาล น้ำ แป้ง กินกันหิวทางเรือได้
ในยุคที่ยังไม่มีตู้เย็น เก็บได้นานหลายเดือน
ถ้าลูกยังติดอยู่กับขั้ว ไม่แยกหลุดออกจากขั้ว
ส่วนเปลือกกับก้านตากแดดให้แห้งสนิท
พอใช้เป็นเชื้อเพลิงชั่วครั้งชั่วคราวได้
พอขึ้นฝั่งก็โยนลูกตาลที่เหลือกิน
ทิ้งไว้มั่ว ๆ ก็งอกได้ ถ้าน้ำท่วมก็ลอยน้ำได้
ทำให้ต้นตาลกระจายพันธุ์ได้ไกล
หรือฝังไว้รอให้งอกให้โต
จะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในวันหน้า

ต้นตาลเป็นพืชที่การงอกแปลกมาก
รากจะหยั่งลึกลงในดินราว 2-3 ฟุต 
ก่อนจะแทงใบอ่อน เวลาเจอน้ำท่วม
น้ำท่วมยอดเป็นเดือนก็ไม่ตาย 
แต่ต้นมะพร้าว ต้นปาล์มน้ำมัน
น้ำท่วมยอดเมื่อใด มักจะตาย

ต้นตาลเป็นพืชโบราณดึกดำบรรพ์มาก 
เพราะมีต้นตัวผู้-ตัวเมีย แยกกันต่างหากกัน 
ในขณะที่พืชส่วนใหญ่จะมีวิวัฒนาการ
เป็นต้นไม้ที่มีเพศผู้เพศเมียในต้นเดียวกัน
เพื่อโอกาสขยายพันธ์ได้ง่าย ได้เร็ว ได้มาก
ต้นตาลตัวผู้มีแต่งวงตาล
ไว้ออกดอกเกสรตัวผู้ ให้ปาดทำน้ำตาลได้
แต่ได้น้ำตาลน้อย ลางคนว่าน้ำตาลต้นตัวผู้
จะมีรสชาติเข้มข้นกว่าต้นตัวเมีย
ต้นตาลตัวผู้ไม่ออกลูกออกผล
แพ้ต้นตัวเมียที่ได้ 2 in 1

มะละกอ ปาล์มน้ำมัน
ก็มีต้นตัวผู้ แต่มีน้อยมาก
เพราะพืชตัวเมียทั้ง 2 ชนิดนี้
มักจะเป็นแบบ 2 in 1 ในตัวอยู่แล้ว
แบบแม่ไก่ไม่ต้องรอตัวผู้ทับก็ออกไข่ได้

ที่สวนเพาะกล้าปาล์มกาญจนดิษฐ์ บอกเองว่า
ต้นปาล์มน้ำมันตัวผู้หายากมาก 1/10,000 เลย
ที่นี่ ต้นตัวผู้ จะได้รับการดูแลอย่างดียิ่ง
เรียกว่า หวงยิ่งกว่า งูจงอางหวงไข่
เพราะมีไว้เป็นพ่อพันธ์ ไว้เตรียมผสมพันธุ์เกสร
เพื่อให้ได้ลูกผสม Hybird
กำหนดตามคุณลักษณะพ่อแม่
แต่ต้องรอผลผลิต 3 ปีขึ้นไป
จนได้ สายเลือดนิ่ง มึผลผลิตตามคาดหวัง

ต้นตัวผู้ทึ่หายากในทุกวันนี้
เพราะผลจากการคัดทิ้งต้นกล้า
ต้นกล้าที่ดูไม่ดี ดูไม่สมบูรณ์
ทางใบไม่แยกในช่วงอายุแรก
เพราะกังวลว่า ปลูกไปจะเสียเวลา เสียเงิน
เสียปุ๋ย ไม่คุ้ม คัดทิ้งดีกว่ารอให้โต
ทำให้โอกาสได้ต้นตัวผู้มีน้อยมาก
มาเลเซียก็เจอปัญหาต้นตัวผู้เหมือนกับไทย

ต้นตาล ให้น้ำตาลจากงวง 
ช่อดอกของตาลที่ปาดก่อนจะกลายเป็นลูกตาล 
นอกจากกินน้ำตาลสด ที่มีขายกันในทัองตลาด
ยังหมักให้เป็นหวาก ตะหวาก(เขมร) น้ำเมา
ใส่ไม้เคี่ยมทำให้บูดช้า ฆ่าเชื้อโรคบางตัวได้
แต่ในเขต 3 จังหวัดชายแดนใต้
มักนิยมใช้เปลือกยาร่วง (มะม่วงหิมพานต์)
ที่ตากแห้งหมักแช่ในน้ำตาล
หรือใช้ไม้มะเกลือ  ไม้พยอม  แทนไม้เคี่ยม
ไม้พวกนี้ทำให้มีรสขมเล็กน้อย
เหมือนกับหญ้าฮอปที่หมักเบียร์
ถ้าหมักหวากขาย ราคาขายจะแพงกว่าน้ำส้ม 
ส่วนมากมักจะหมักราว 1-3 วัน
เร็วช้าขึ้นกับอากาศร้อนอากาศเย็น

แต่ถ้าหมักผิดกระบวนการ
ก็จะกลายเป็น  น้ำส้ม (สายชู)
แบบมักจะทิ้งไว้นานเกินไปหลายวัน
หลายสัปดาห์ ก็ขายเป็นน้ำส้ม
ใช้ดองพริกน้ำส้ม ในขวดเล็ก ๆ ประจำโต๊ะ
ตามร้านก้วยเตี๋ยว บะหมี่ ร้านอาหารจีน
ถ้าแถวบ้านนิยมทำปลาต้มส้ม 
กินได้หรอยนักแรง (อร่อยมาก)
ยิ่งต้มส้มปลาบอก(กระบอก)ไข่ ยิ่งดีนักแรง

ถ้าเคี่ยวจนข้นก็จะกลายเป็น 
น้ำผึ้ง สารตั้งต้นผลิตเป็น
น้ำตาลแว่น น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลผง
คนบางกอกกับคนจังหวัดอื่น มักเข้าใจผิดว่า
น้ำผึ้ง แถวนี้คือ อันเดียวกันกับ
น้ำผึ้งที่เป็นผลผลิตจาก ฝูงผึ้ง

 ♬
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

น้ำตาลเมา








หวาก




© https://www.facebook.com/chaobokwisdom




น้ำผึ้ง   © สมาชิกหมายเลข 1109882




© https://bit.ly/2WO169a



© https://bit.ly/2WO169a

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

บุญคุณต้นโตนด อ.จะทิ้งพระ จ.สงขลา


ที่นี้มีวัดจะทิ้งพระ (วัด(เรือ)ชักพระ)
อายุร่วมพันปี เดิมใกล้ชายหาดมหาราช
จากการสำรวจชั้นดินทางธรณีวิทยา
ปัจจุบันชายหาดอยู่ห่างออกไปร่วม 1 กิโลเมตร
เหมือนวัดพระบรมธาตุ ที่นครศรีธรรมราช

วัดนี้เป็นประจำตระกูล สุวรรณคีรี
หลวงสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสงขลา ในอดีต
เชื้อสาย ณ สงขลา ที่ดัง ๆ ในเมืองไทย คือ
ภิญโญ อำนวย ไตรรงค์ สามพี่นัองลูกกำนันซ้อน
จะทิ้ง = ชักลาก  ทึ้งของ คลอง (มึก จมึก = ดื่ม)
โตนด ตะโนด  หวาก ตะหวาก จะหวาก (เขมร)
ที่นี่ยังมีประเพณีชักลากพระทางเรือ
หลังวันออกพรรษาทุกปี
มีร่องรอยคำเขมรในถิ่นใต้ 1,320 คำ
ที่มี เปรมินทร์ คาระวี รวบรวมไว้
ในดุษฏีนิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อำเภอจะทิ้งพระ เปลี่ยนเป็น สทิงพระ
เพราะอำมาตย์จากเมืองหลวงสั่งให้เปลี่ยน
รังเกียด(นกชนิดหนึ่ง) เปลึ่ยนเป็น รักเกียรติ
หรือชื่อเดิมทัองถิ่นหลายแห่งที่หายไปจากเดิม
เพราะความเจ้ากี้เจ้าการ/คิดมากไปของอำมาตย์
อาจารย์รุ่นดิ(The Old) ที่จขกท.รู้จักสรุปว่า
พฤติกรรมอำมาตย์พวกนี้คือ เสxอก




ถ่ายวันชิงเปรต หลายปีก่อน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ที่บ้านเรา ตาลโตนดเมืองเพชร

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่