สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ขอเสนออย่างนี้ครับ ถ้าเป็นผมจะคิดคร่าวๆสองหัวข้อหลักคือ
-ปริญญา(โทและเอก)จะส่งเสริมให้งานเราดีขึ้นหรือเพิ่มเงินเดือนในสายนี้ได้หรือไม่
-สิ่งที่เราต้องการจะศึกษา ช่วยเพิ่มพูนทักษะให้กับงานเราได้หรือไม่
ส่วนมากถ้าสองสิ่งแรกมีข้อไหนตอบว่า "ไม่" เป็นผมก็จะไม่ไปครับ ต่อให้ชอบเรียน มีเป้าหมายอยากเรียน แต่ในที่นี้ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องของเวลาด้วย คนส่วนมากถึงได้ไปเรียน ป.โทกันเพราะมันก็ช่วยฟูลฟิลได้ทั้งความรู้สึกเรียนสูง ความรู้สึกว่ามีดีกรี หรือบางคนอาจจะฟูลฟิลความรู้สึกของการเป็นนักเรียนนอก จบได้เร็วและอายุยังน้อย มีโอกาสหางานได้
แต่ ป.เอกเนี่ยหนังคนละม้วน ถ้าเสียเวลาไปอย่างต่ำ 3 ปีแต่ไม่มีอะไรการันตีว่าจะช่วยพัฒนางานของเรา ทำเพื่อบรรลุเป้าหมายตัวเองเฉยๆ ผมก็รู้สึกว่าไม่คุ้มค่าเท่าไร แต่ถ้าแผนในอนาคตของเรามันสอดคล้องกับเวลาที่จะลงทุนไป ก็ไปเลยครับ เรื่องเงินเรื่องเล็กน้อย
ใช้ทุนเสร็จลาออกมาก็อาจจะกลับไปหางานบริษัทได้อีก แต่ไม่รู้นะว่าสายงานคุณซีเรียสเรื่องอายุและประสบการณ์ขนาดไหน อันนี้คุณอาจจะต้องศึกษาวงการของคุณเอง ลองเดาๆจากคอนเท็กซ์ ถ้าคุณเรียนตรีต่อโทเลย ตอนนี้ทำงานเงินเดือน 5หมื่นในสาย IT อาจจะเป็นงานแรกหรืองานที่สอง อายุงานคงไม่ถึงสองปี เดาว่าตอนนี้คุณน่าจะ 25-26 ไปเรียน ป.เอกสามปี กลับมา 29 ใช้ทุนอีก 6 ปีก็ 35 ผมคิดแบบลวกๆแบบไม่รู้อายุคุณเลยนะครับ ขั้นต่ำคงราวๆนี้ คิดผิดขออภัย
แต่คำถามต่อมา สมมติว่ามันจริงตามนั้น คุณคิดว่าคนอายุราว 35 โปรไฟล์จบ PhD มีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานในกำกับของรัฐ 6 ปี จะเป็นที่ต้องการของตลาดขนาดไหนครับ ผมว่าลองทำการบ้านดูด้วยนะครับ มีเหมือนกันนะครับ บางสายงานที่การมี PhD ไม่เป็นที่ต้องการเท่า Exp สุดท้ายก็จะต้องยอมรับเงินเดือนแบบไม่ใช้วุฒิหรือรับแบบประสบการณ์น้อย บางครั้งอาจจะพบว่าไม่เป็นที่ต้องการแล้ว ก็เลยต้องทำในหน่วยงานนั้นต่อไป
อันที่จริงการกลับมารับเงินเดือนในเรทสี่หมื่นบาท ไม่ได้ถือว่าแย่ในสายตาคนทั่วไป อยู่ได้เหลือๆถ้าไม่ได้มีแผนจะใช้เงินทำอะไรหรือทางบ้านไม่ได้มีปัญหาการเงิน ยังไงก็มีเพิ่มเงินเดือนเรื่อยๆ มีโอกาสรับตำแหน่งบริหารในองค์กรนั้นอีกด้วย เงินเดือนไม่เยอะเท่าเอกชนแต่ก็ได้อะไรหลายอย่างกลับไปอยู่ดี
ผมมองว่าทางไหนก็คงไม่แย่ไปซะทั้งหมด มีแค่เรื่องเงินที่ได้มากกับได้น้อยกว่าเท่านั้น ใจคุณก็ดูอยากไป
ยังไงก็ตามขอให้คุณมีความสุขกับทุกการตัดสินใจนะครับ
-ปริญญา(โทและเอก)จะส่งเสริมให้งานเราดีขึ้นหรือเพิ่มเงินเดือนในสายนี้ได้หรือไม่
-สิ่งที่เราต้องการจะศึกษา ช่วยเพิ่มพูนทักษะให้กับงานเราได้หรือไม่
ส่วนมากถ้าสองสิ่งแรกมีข้อไหนตอบว่า "ไม่" เป็นผมก็จะไม่ไปครับ ต่อให้ชอบเรียน มีเป้าหมายอยากเรียน แต่ในที่นี้ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องของเวลาด้วย คนส่วนมากถึงได้ไปเรียน ป.โทกันเพราะมันก็ช่วยฟูลฟิลได้ทั้งความรู้สึกเรียนสูง ความรู้สึกว่ามีดีกรี หรือบางคนอาจจะฟูลฟิลความรู้สึกของการเป็นนักเรียนนอก จบได้เร็วและอายุยังน้อย มีโอกาสหางานได้
แต่ ป.เอกเนี่ยหนังคนละม้วน ถ้าเสียเวลาไปอย่างต่ำ 3 ปีแต่ไม่มีอะไรการันตีว่าจะช่วยพัฒนางานของเรา ทำเพื่อบรรลุเป้าหมายตัวเองเฉยๆ ผมก็รู้สึกว่าไม่คุ้มค่าเท่าไร แต่ถ้าแผนในอนาคตของเรามันสอดคล้องกับเวลาที่จะลงทุนไป ก็ไปเลยครับ เรื่องเงินเรื่องเล็กน้อย
ใช้ทุนเสร็จลาออกมาก็อาจจะกลับไปหางานบริษัทได้อีก แต่ไม่รู้นะว่าสายงานคุณซีเรียสเรื่องอายุและประสบการณ์ขนาดไหน อันนี้คุณอาจจะต้องศึกษาวงการของคุณเอง ลองเดาๆจากคอนเท็กซ์ ถ้าคุณเรียนตรีต่อโทเลย ตอนนี้ทำงานเงินเดือน 5หมื่นในสาย IT อาจจะเป็นงานแรกหรืองานที่สอง อายุงานคงไม่ถึงสองปี เดาว่าตอนนี้คุณน่าจะ 25-26 ไปเรียน ป.เอกสามปี กลับมา 29 ใช้ทุนอีก 6 ปีก็ 35 ผมคิดแบบลวกๆแบบไม่รู้อายุคุณเลยนะครับ ขั้นต่ำคงราวๆนี้ คิดผิดขออภัย
แต่คำถามต่อมา สมมติว่ามันจริงตามนั้น คุณคิดว่าคนอายุราว 35 โปรไฟล์จบ PhD มีประสบการณ์ทำงานในหน่วยงานในกำกับของรัฐ 6 ปี จะเป็นที่ต้องการของตลาดขนาดไหนครับ ผมว่าลองทำการบ้านดูด้วยนะครับ มีเหมือนกันนะครับ บางสายงานที่การมี PhD ไม่เป็นที่ต้องการเท่า Exp สุดท้ายก็จะต้องยอมรับเงินเดือนแบบไม่ใช้วุฒิหรือรับแบบประสบการณ์น้อย บางครั้งอาจจะพบว่าไม่เป็นที่ต้องการแล้ว ก็เลยต้องทำในหน่วยงานนั้นต่อไป
อันที่จริงการกลับมารับเงินเดือนในเรทสี่หมื่นบาท ไม่ได้ถือว่าแย่ในสายตาคนทั่วไป อยู่ได้เหลือๆถ้าไม่ได้มีแผนจะใช้เงินทำอะไรหรือทางบ้านไม่ได้มีปัญหาการเงิน ยังไงก็มีเพิ่มเงินเดือนเรื่อยๆ มีโอกาสรับตำแหน่งบริหารในองค์กรนั้นอีกด้วย เงินเดือนไม่เยอะเท่าเอกชนแต่ก็ได้อะไรหลายอย่างกลับไปอยู่ดี
ผมมองว่าทางไหนก็คงไม่แย่ไปซะทั้งหมด มีแค่เรื่องเงินที่ได้มากกับได้น้อยกว่าเท่านั้น ใจคุณก็ดูอยากไป
ยังไงก็ตามขอให้คุณมีความสุขกับทุกการตัดสินใจนะครับ
ความคิดเห็นที่ 48
ผมเป็นผู้บริหารด้านไอที ของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง
รายได้จากเงินเดือนต่อปีคร่าวๆ ประมาณ 3 ล้านนิดๆ
จบ ป.โท สามย่าน และเคยประจำทำงานที่ต่างประเทศเป็นระยะ ๆ
(ขอเกริ่นนิดนึง เผื่อว่าคุณจะเห็นปลายทางของวิชาชีพของคุณ)
ถ้าเป้าหมายทางวิชาชีพของคุณ คือจุดที่ผมยืนอยู่
ผมก็อยากจะบอกว่า ที่จุดนี้ ผมยังอยากเรียนให้จบ ปริญญาเอกครับ
ผมเคยเจอสถานะการแบบคุณนั่นแหล่ะ ตอนที่จบโท แล้วจะมุ่งเรื่องงาน
หรือ เรียนให้จบการศึกษาขั้นสูงสุดไปเลย ซึ่งผมก็เลือกทำงานครับ
ถ้าคุณเงินเดือนซัก สองแสนขึ้น คุณจะรู้สึกว่า มันก็แค่นั้นแหล่ะ
จะสองแสน หรือ ห้าแสน มันก็เหลือเกินพอ สำหรับการดำรงชีวิตแล้ว
ที่จุดๆนั้น คุณจะอยากไขว่คว้าในด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่รายได้ครับ
วุฒิปริญาเอก ในสายวิชาชีพ โดยตรง อาจไม่ได้ให้อะไรมากนัก
แต่ในด้านสังคม และงานด้านอื่นๆ มันมีคุณประโยชน์อนันต์ ทีเดียวครับ
ในอีกด้าน แฟนเก่าของผมที่เรียนมาด้วยกัน และ จบโทมาด้วยกัน
เธอเลือกที่จะเรียนต่อ ปริญญาเอก ครับ ตอนนี้ ก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง
ตัวเงินรายได้เอง คงไม่ได้มากเท่ากับผม เพราะเธอเป็นคนเรียบง่าย
แต่มีเพื่อนๆ อีกหลายคนที่จบ ปริญญาเอก และทำงานเสริมนอกเหนือจากด้านวิชาการ
ก็สามารถสร้างรายได้ ได้เป็นกอบเป็นกำเหมือนกันครับ
ปริญญาเอก เดี๋ยวนี้ ถ้าจะเอาแค่วุฒิว่าจบแล้วนะ
ไม่ยากครับ มีเงิน มีเวลา จบได้ ม เอกชน ก็เปิดกันเยอะแยะ
แต่จบมาแล้ว ยากที่จะเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
ไม่เหมือน พวกลูกหม้อ ที่ปั้นกันมาโดยเฉพาะ
ดังนั้นคุณอย่าเพิ่งคิดว่าการกลับมาใช้ทุนในส่วนราชการ เป็นเรื่องเสียเวลา
ส่วนนั้นเป็นเครดิตที่สร้างความน่าเชื่อถือระดับสูง เป็นโอกาสที่คุณจะเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ
หลายอย่างด้านไอที ก็ยังแพงมากกว่าการจะลงทุนในบริษัทเอกชนนะครับ
คุณจะเห็นว่าที่ปรึกษาระดับสูง
มักจะพ่วงตำแหน่งทางวิชาการไปด้วยทั้งนั้นแหล่ะครับ
ดร. XXX จบจากนั่นจากนี้ ขายครีม ขายสบู่
กับ รองศาสตราจารย์ ดร. YYY หรือ ผู้อำนวยการ ดร. ZZZ
คุณจะเห็นว่า น้ำหนักผิดกันมากทีเดียวครับ
สำหรับความเห็นของผมตอนนี้ ถ้าคุณไม่เดือดร้อน ไม่ได้มีภาระบังคับ
ที่ต้องมีรายได้ อย่างน้อยหลายหมื่นต่อเดือน
ผมแนะนำว่า ให้พิจารณาโอกาสนี้อย่างจริงๆจังๆครับ
รายได้จากเงินเดือนต่อปีคร่าวๆ ประมาณ 3 ล้านนิดๆ
จบ ป.โท สามย่าน และเคยประจำทำงานที่ต่างประเทศเป็นระยะ ๆ
(ขอเกริ่นนิดนึง เผื่อว่าคุณจะเห็นปลายทางของวิชาชีพของคุณ)
ถ้าเป้าหมายทางวิชาชีพของคุณ คือจุดที่ผมยืนอยู่
ผมก็อยากจะบอกว่า ที่จุดนี้ ผมยังอยากเรียนให้จบ ปริญญาเอกครับ
ผมเคยเจอสถานะการแบบคุณนั่นแหล่ะ ตอนที่จบโท แล้วจะมุ่งเรื่องงาน
หรือ เรียนให้จบการศึกษาขั้นสูงสุดไปเลย ซึ่งผมก็เลือกทำงานครับ
ถ้าคุณเงินเดือนซัก สองแสนขึ้น คุณจะรู้สึกว่า มันก็แค่นั้นแหล่ะ
จะสองแสน หรือ ห้าแสน มันก็เหลือเกินพอ สำหรับการดำรงชีวิตแล้ว
ที่จุดๆนั้น คุณจะอยากไขว่คว้าในด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่รายได้ครับ
วุฒิปริญาเอก ในสายวิชาชีพ โดยตรง อาจไม่ได้ให้อะไรมากนัก
แต่ในด้านสังคม และงานด้านอื่นๆ มันมีคุณประโยชน์อนันต์ ทีเดียวครับ
ในอีกด้าน แฟนเก่าของผมที่เรียนมาด้วยกัน และ จบโทมาด้วยกัน
เธอเลือกที่จะเรียนต่อ ปริญญาเอก ครับ ตอนนี้ ก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง
ตัวเงินรายได้เอง คงไม่ได้มากเท่ากับผม เพราะเธอเป็นคนเรียบง่าย
แต่มีเพื่อนๆ อีกหลายคนที่จบ ปริญญาเอก และทำงานเสริมนอกเหนือจากด้านวิชาการ
ก็สามารถสร้างรายได้ ได้เป็นกอบเป็นกำเหมือนกันครับ
ปริญญาเอก เดี๋ยวนี้ ถ้าจะเอาแค่วุฒิว่าจบแล้วนะ
ไม่ยากครับ มีเงิน มีเวลา จบได้ ม เอกชน ก็เปิดกันเยอะแยะ
แต่จบมาแล้ว ยากที่จะเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
ไม่เหมือน พวกลูกหม้อ ที่ปั้นกันมาโดยเฉพาะ
ดังนั้นคุณอย่าเพิ่งคิดว่าการกลับมาใช้ทุนในส่วนราชการ เป็นเรื่องเสียเวลา
ส่วนนั้นเป็นเครดิตที่สร้างความน่าเชื่อถือระดับสูง เป็นโอกาสที่คุณจะเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ
หลายอย่างด้านไอที ก็ยังแพงมากกว่าการจะลงทุนในบริษัทเอกชนนะครับ
คุณจะเห็นว่าที่ปรึกษาระดับสูง
มักจะพ่วงตำแหน่งทางวิชาการไปด้วยทั้งนั้นแหล่ะครับ
ดร. XXX จบจากนั่นจากนี้ ขายครีม ขายสบู่
กับ รองศาสตราจารย์ ดร. YYY หรือ ผู้อำนวยการ ดร. ZZZ
คุณจะเห็นว่า น้ำหนักผิดกันมากทีเดียวครับ
สำหรับความเห็นของผมตอนนี้ ถ้าคุณไม่เดือดร้อน ไม่ได้มีภาระบังคับ
ที่ต้องมีรายได้ อย่างน้อยหลายหมื่นต่อเดือน
ผมแนะนำว่า ให้พิจารณาโอกาสนี้อย่างจริงๆจังๆครับ
ความคิดเห็นที่ 26
ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ในฐานะที่เคยอยู่ในจุดที่ต้องเลือกเช่นเดียวกับ จขกท. นะคะ
ส่วนตัวจบ ป. โท (วิทยาการคอมพิวเตอร์) และทำงานในหน่วนงานราชการแห่งหนึ่ง ต่อมามีเหตุให้ต้องตัดสินใจว่า จะอยู่ทำงานที่เดิมต่อหรือเลือกไปเรียนต่อ ป.เอก ที่ต่างประเทศ ณ ตอนนั้นได้ตัดสินใจเลือกไปเรียนต่อค่ะ โดยเงื่อนไข ณ ตอนนั้นคือ
1. หากเลือกไปเรียน ต้องกลับมาชดใช้ทุนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เท่าของระยะเวลาที่ไปศึกษา (เงื่อนไขแบบเดียวกันกับ จขกท.)
ตอนนั้นให้เหตุผลกับตัวเองว่า กลับมาใช้ทุนด้วยเวลา ก็ดีนะ ถึงแม้จะเรียนจบหรือไม่จบ (ต้องเผื่อใจกรณีไม่จบด้วย เนื่องจากเราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางคนอาจจะมีปัญหาด้านสุขภาพ ด้านความเครียด) อย่างน้อยกลับมาก็ยังมีงานทำ ไม่ตกงานแน่นอน
2. หากเลือกไปเรียนเงินเดือนที่ได้รับอยู่ (ดิฉันได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อ) จะถูกแช่แข็งอยู่เท่าเดิมเป็นระยะเวลา 4 ปี เป็นอย่างน้อย ซึ่งถือว่ารับได้ค่ะ เพราะหากเรียนจบกลับมา เพดานเงินเดือนจะเปลี่ยน จากเดิมรับเงินเดือนด้วยวุฒิ ป. โท ก็จะเปลี่ยนเป็นรับเงินเดือนช่อง ป.เอก ซึ่งเพดานต่างกันค่ะ
3. หากเลือกไม่ไปเรียน ดิฉันก็จะต้องสละโอกาสนี้ให้เพื่อนร่วมงาน เมื่อเวลาผ่านไป 4 ปี ถึงแม้เงินเดือนจะเพิ่มขึ้น แต่สุดท้ายก็จะชนเพดาน และน้อยกว่าเงินเดือนของเพื่อนร่วมงานที่จบ ป.เอก ค่ะ
จากวันที่ตัดสินใจเลือกเส้นทางไปเรียนต่อในวันนั้น ตอนนี้เข้าสู่ปีที่ 4 แล้วค่ะ ยังไม่จบ 555 แต่ก็ใกล้แล้ว ทุกวันนี้คิดว่าตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกมาเรียนต่อเพราะ
1. ได้คอนเน็คชั่นจากมหาวิทยาลัยที่มาเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในอนาคตในการกลับไปทำงานที่เดิม
2. ประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างประเทศที่แตกต่างจากการมาในฐานะนักท่องเที่ยว มันทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ได้เห็นแนวคิดว่า ชาวต่างชาติเค้าเติบโตมาอย่างไร ทำไมเค้าถึงมีวัฒนธรรมแตกต่างจากเรา เรื่องนี้ทำให้เข้าใจการใช้ชีวิตมากขึ้นค่ะ
แต่อย่างไรก็ดี การเลือกจะไปหรือไม่ไปนั้น ไม่มีใครตอบแทนได้ นอกจากตัว จขกท. เอง เป็นกำลังใจให้นะคะ
ส่วนตัวจบ ป. โท (วิทยาการคอมพิวเตอร์) และทำงานในหน่วนงานราชการแห่งหนึ่ง ต่อมามีเหตุให้ต้องตัดสินใจว่า จะอยู่ทำงานที่เดิมต่อหรือเลือกไปเรียนต่อ ป.เอก ที่ต่างประเทศ ณ ตอนนั้นได้ตัดสินใจเลือกไปเรียนต่อค่ะ โดยเงื่อนไข ณ ตอนนั้นคือ
1. หากเลือกไปเรียน ต้องกลับมาชดใช้ทุนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เท่าของระยะเวลาที่ไปศึกษา (เงื่อนไขแบบเดียวกันกับ จขกท.)
ตอนนั้นให้เหตุผลกับตัวเองว่า กลับมาใช้ทุนด้วยเวลา ก็ดีนะ ถึงแม้จะเรียนจบหรือไม่จบ (ต้องเผื่อใจกรณีไม่จบด้วย เนื่องจากเราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางคนอาจจะมีปัญหาด้านสุขภาพ ด้านความเครียด) อย่างน้อยกลับมาก็ยังมีงานทำ ไม่ตกงานแน่นอน
2. หากเลือกไปเรียนเงินเดือนที่ได้รับอยู่ (ดิฉันได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อ) จะถูกแช่แข็งอยู่เท่าเดิมเป็นระยะเวลา 4 ปี เป็นอย่างน้อย ซึ่งถือว่ารับได้ค่ะ เพราะหากเรียนจบกลับมา เพดานเงินเดือนจะเปลี่ยน จากเดิมรับเงินเดือนด้วยวุฒิ ป. โท ก็จะเปลี่ยนเป็นรับเงินเดือนช่อง ป.เอก ซึ่งเพดานต่างกันค่ะ
3. หากเลือกไม่ไปเรียน ดิฉันก็จะต้องสละโอกาสนี้ให้เพื่อนร่วมงาน เมื่อเวลาผ่านไป 4 ปี ถึงแม้เงินเดือนจะเพิ่มขึ้น แต่สุดท้ายก็จะชนเพดาน และน้อยกว่าเงินเดือนของเพื่อนร่วมงานที่จบ ป.เอก ค่ะ
จากวันที่ตัดสินใจเลือกเส้นทางไปเรียนต่อในวันนั้น ตอนนี้เข้าสู่ปีที่ 4 แล้วค่ะ ยังไม่จบ 555 แต่ก็ใกล้แล้ว ทุกวันนี้คิดว่าตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกมาเรียนต่อเพราะ
1. ได้คอนเน็คชั่นจากมหาวิทยาลัยที่มาเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในอนาคตในการกลับไปทำงานที่เดิม
2. ประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างประเทศที่แตกต่างจากการมาในฐานะนักท่องเที่ยว มันทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ได้เห็นแนวคิดว่า ชาวต่างชาติเค้าเติบโตมาอย่างไร ทำไมเค้าถึงมีวัฒนธรรมแตกต่างจากเรา เรื่องนี้ทำให้เข้าใจการใช้ชีวิตมากขึ้นค่ะ
แต่อย่างไรก็ดี การเลือกจะไปหรือไม่ไปนั้น ไม่มีใครตอบแทนได้ นอกจากตัว จขกท. เอง เป็นกำลังใจให้นะคะ
แสดงความคิดเห็น
[กระทู้ปรึกษา] ได้รับทุนไปเรียนต่อ แต่งานปัจจุบันก็ดีอยู่แล้ว ควรจะรับทุนไปเรียนดีมั้ยครับ
แต่พอมาปัจจุบัน มีหลายปัจจัยที่ทำให้ต้องคิดทบทวน เพราะการรับทุนรัฐบาลไปเรียนต่อนั้นมีเงื่อนไขที่ต้องกลับมาใช้ทุนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เท่าของระยะเวลาที่ไปศึกษา อย่างเคสของจขกท. ถ้าไปเรียน phd อย่างเดียวอาจจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีเป็นอย่างต่ำ และต้องกลับมาใช้ทุนเป็นระยะเวลา 6 ปีเป็นอย่างต่ำ
ซึ่งจากการสอบถามมา หน่วยงานที่ต้องกลับมาใช้ทุนนั้นเรทเงินเดือนเริ่มต้นสำหรับป.เอกอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นบาท(เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่ใช่ราชการ)ซึ่งน้อยกว่าเงินเดือนปัจจุบันพอสมควร ยังไม่นับรวมที่ว่ากว่าจะเรียนจบกลับมานั้นอย่างเร็วที่สุดก็คือ 3-4 ปี ซึ่งระยะเวลานั้นหากทำงานต่อ เงินเดือนจะบวกขึ้นกว่านี้อีกมาก (บริษัทปรับฐานเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง คร้ังละอย่างน้อย 5%)
ตอนนี้ค่อนข้างลังเลครับว่าจะเซ็นสัญญารับทุนดีรึเปล่า
- ถ้าเลือกรับทุน ก็เหมือนได้ปลดล็อกเป้าหมายในชีวิตอย่างหนึ่ง อาจต้องแลกมากับการเสียรายได้ในช่วง 10 ปีนับจากนี้ ซึ่งคำนวณแล้วส่วนต่างเงินเดือนที่หายไปก็หลายล้านบาทอยู่ แต่การได้ PhD จากสถาบันที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศก็อาจจะเป็นใบเบิกทางที่ดีในระยะยาว(รึเปล่า)
- ถ้าเลือกไม่รับทุน แน่นอนว่าในช่วง 10 ปีจากนี้คงทำเงินได้มากกว่ามาก แต่หากเลยไป 20 หรือ 30 ปีข้างหน้า จะมองย้อนกลับมาแล้วเสียดายที่ไม่ได้ไปให้สุดมั้ย
เอาจริงตอนนี้ในใจค่อนข้างอยากไปครับแต่ก็ยังแอบเสียดายเงินที่จะหายไป ปรึกษาคนรอบตัวหลาย ๆ คน เสียงก็ค่อนข้างแตก เลยอยากมาตั้งกระทู้ปรึกษาเผื่อจะได้ความคิดเห็นในหลาย ๆ แง่มุมจากหลาย ๆ ท่านครับ
ปล. ขอพูดถึงเฉพาะการรับทุนรัฐบาลนะครับ ขอละเคสทุนให้เปล่าหรือทุนของมหาวิทยาลัยไปก่อน