คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ถ้าตามมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 7
ก็ถือนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ
ไปยังสถานที่แห่งใหม่แล้วครับ
กรณีนี้ เมื่อ จขกท. ไม่ประสงค์ไป เนื่องจากมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
และ จขกท. ก็ยื่น notice ให้นายจ้างรับทราบ ซึ่ง จขกท. ก็ทำแล้ว ถือว่าครบกระบวนการ กรณีนี้ ถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งให้ จขกท ทราบล่วงหน้าก่อน จขกท. ก็มีสิทธิได้รับ
- ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 30 วัน ตาม มาตรา 120 วรรคสอง และ
- ค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 120 วรรคสาม ตามอายุงานของ จขกท. ครับ (อ้างอิง มาตรา 118 ครับ)
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 7
ก็ถือนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ
ไปยังสถานที่แห่งใหม่แล้วครับ
กรณีนี้ เมื่อ จขกท. ไม่ประสงค์ไป เนื่องจากมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
และ จขกท. ก็ยื่น notice ให้นายจ้างรับทราบ ซึ่ง จขกท. ก็ทำแล้ว ถือว่าครบกระบวนการ กรณีนี้ ถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งให้ จขกท ทราบล่วงหน้าก่อน จขกท. ก็มีสิทธิได้รับ
- ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 30 วัน ตาม มาตรา 120 วรรคสอง และ
- ค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 120 วรรคสาม ตามอายุงานของ จขกท. ครับ (อ้างอิง มาตรา 118 ครับ)
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ทรัพยากรบุคคล
ลูกจ้างสัญญาจ้าง
กฎหมายแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ด่วน !! สอบถามเรื่อง กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยไม่มีบอกกล่าวล่วงหน้า
1. เราทำงานอยู่บริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ สุขุมวิท
ในวันจันทร์ที่ 23 ส.ค. เจ้าของบริษัทได้เข้ามาทำเรื่อง ยกเลิกสัญญาเช่าสำนักงาน
โดยมีการเรียกผู้จัดการซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นเข้าไปคุย หลังจากนั้นได้เรียกเราเข้าไปคุย
โดยมีเนื้อหาว่า ต้องการจะลดต้นทุน จึงอยากจะย้ายสำนักงานที่สุขุมวิทไปอยู่ที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ ลาดพร้าว ซึ่งเราก็ได้แจ้งไปว่า เราคงไม่สะดวกไป เพราะค่อนข้างไกล (เราพักอยู่หนองแขม) พอเราแจ้งไปดังนั้น เจ้าของบริษัท จึงบอกว่า ให้เวลาเราคิดก่อน เดี๋ยวจะเข้ามาเอาคำตอบอีกครั้งในวันพุธที่ 25 ส.ค.
2. ภายหลังจากที่เจ้าของบริษัทกลับ ผู้จัดการชาวญี่ปุ่นได้มาพูดคุย และแจ้งว่า เจ้าของบริษัทจะให้ย้ายของทุกอย่างภายในวันเสาร์ ที่ 28 ส.ค. โดยจะให้ทุกคนไปทำงานที่ลาดพร้าว ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 ส.ค. เป็นต้นไป
>> แบบนี้ถือว่า ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าหรือไม่ ?
3. ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ส.ค. (เลื่อนจากเดิมวันพุธที่ 25 ส.ค.) เจ้าของบริษัทเข้ามาพูดคุยเชิงเกลี่ยกล่อมให้เราไปทำงานที่ลาดพร้าว โดยมีการเสนอเรื่องของเวลาเข้างาน เนื่องจากเราแจ้งว่า เราไม่สะดวกเรื่องของเวลา - ระยะทางที่ไกลขึ้น คือ เสนอให้เข้างาน 09.30-16.00 น. ทั้งที่จริงที่สุขุมวิท เข้างาน 08.30-15.30 น. (นายจ้างไม่ทราบเรื่องการยืดหยุ่นเวลาทำงาน เพราะผู้จัดการชาวญี่ปุ่นเป็นคนดูแล เจ้าของบริษัทเข้าใจว่า ที่สุขุมวิท เข้างาน 08.00-17.00 น.
ซึ่งแน่นอนว่า การที่ยื่นข้อเสนอเรื่องเวลาให้เข้างาน 09.30-16.00 น. ไม่ได้ทำให้รู้สึกสะดวกขึ้นแต่อย่างใด
4. ในวันพฤหัสบดี ที่ 26 ส.ค. เรายังคงยืนยันคำตอบเดิมว่า เราไม่สะดวกที่จะย้าย ซึ่งเจ้าของบริษัท ยังคงแจ้งว่า ให้เราไปคิดอีกที แล้วจะเข้ามาเอาคำตอบอีกครั้ง ในวันศุกร์ที่ 27 ส.ค. ซึ่งจะย้ายอยู่แล้ว แต่นั่นแหละ คำตอบเรายังคงเหมือนเดิม เจ้าของบริษัทก็ไม่พูดอะไรอย่างอื่น นอกจากพูดเกลี่ยกล่อมว่า อยากให้เราไปที่ลาดพร้าว
5. พอถึงวันศุกร์ที่ 27 ส.ค. เราก็แสดงเจตจำนงเดิมว่า เราไม่สะดวกที่จะย้าย แต่เจ้าของบริษัทก็ยังพยายามพูดให้เราไปที่ลาดพร้าวให้ได้ เราจึงยื่นเอกสาร แสดงความประสงค์ในการไม่ไปสถานประกอบกิจการแห่งใหม่ เพื่อให้นายจ้างรับทราบว่า เราจะขอยื่นเรื่องไปที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ให้ทางกรมฯ พิจารณาเห็นสมควร แต่เจ้าของบริษัทไม่ยอมเซ็นเอกสาร เพื่อรับทราบ เราจึงได้ปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการฯ ว่า สามารถทำอะไรได้บ้าง เจ้าหน้าที่จึงแนะนำให้ ใช้วิธีการส่งไปรษณีย์ไปที่ที่อยู่นายจ้าง เพื่อจะได้มีหลักฐานว่า นายจ้างได้รับรู้เจตนาของเราแล้ว
6. ในวันเสาร์ ที่ 28 ส.ค. ได้มีการขนย้ายทุกอย่างไปที่ลาดพร้าว ซึ่งการทำงานของเรา เราตัดสินใจไม่ไปทำงานต่อ ตั้งแต่ในวันจันทร์ที่ 30 ส.ค.
เพราะเราคิดว่า ถ้าเราไป นายจ้างอาจจะอ้างได้ว่า จริงๆ เราก็สะดวกเดินทางมาทำงานไม่ใช่หรือ เราจึงไม่ไป
แจ้งก่อนว่า ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการฯ เคยให้คำแนะนำ ว่า ให้ทำเอกสารแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ไป ให้นายจ้างเซ็น โดยให้ทำเอกสารแจ้งนายจ้าง หลังจากที่นายจ้างได้ย้ายสถานประกอบกิจการแล้ว นั่นหมายความว่า เราต้องเอาไปให้เขาเซ็นที่ลาดพร้าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเป็นงั้น นายจ้างอาจจะอ้างได้ว่า จริงๆ เราสะดวกเดินทางมา
คำถามคือ
A. กรณีที่เราแสดงเจตจำนงชัดเจนแล้วว่าไม่สะดวกย้ายไป การที่เขาจะให้ไปทำที่ลาดพร้าว ตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. แล้วเราไม่ไป จะถือว่าเราสิ้นสุดสัญญาจ้าง ตั้งแต่วันที่ทำงานวันสุดท้าย (วันศุกร์ ที่ 27 ส.ค.) หรือ จะถือว่าเป็นการขาดงานหรือไม่หากเราไม่ไปทำต่อที่ลาดพร้าว
B. จากที่เล่ามาข้างต้น เรามีสิทธิที่จะได้ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และ/หรือ ค่าชดเชยพิเศษ หรือไม่
หรือใครมีคำถามเพิ่มเติมหรือมีอะไรแนะนำ โปรดให้คำแนะนำด้วยนะคะ