ถ่ายทอดสดแล้ว วันที่ 2 ศึกอภิปรายไม่ไววางใจ พล.อ.ประยุทธ์ และ 5 รัฐมนตรี
https://www.thairath.co.th/news/politic/2182195
เริ่มแล้ว ถ่ายทอดสดวันที่ 2 ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ และ 5 รัฐมนตรี เป็นรายบุคคล ก่อนจะลงมติในวันที่ 4 ก.ย.นี้
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 1 ก.ย. 2564 ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุมเพื่อพิจารณาญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญ ณ ห้องประชุมพระสุริยัน ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.-3 ก.ย. และลงมติในวันที่ 4 ก.ย. 2564 โดยวันนี้เป็นการประชุมวันที่ 2 แล้ว
ซึ่งบุคคลที่ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจประกอบด้วย
1. พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม
2. นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข
3. นาย
สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน
4. นาย
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
5. นาย
เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์
6. นาย
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์โคลอมเบีย มอบโค้ดเนม “สายพันธุ์มิว”
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/153648
WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 (โคลอมเบีย) พร้อมมอบชื่อกรีกเป็น “สายพันธุ์มิว” ชี้เสี่ยงดื้อวัคซีน-หนีภูมิคุ้มกัน
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 (โคลอมเบีย) จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring) ให้เป็น “
สายพันธุ์ต้องให้ความสนใจ (VOI)” และได้รับการมอบชื่ออักษรกรีกว่า “
มิว (Mu)”
โดย WHO กล่าวว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีการกลายพันธุ์ที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงของการดื้อต่อวัคซีนโควิด-19 และเน้นว่ายังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้น
“
สายพันธุ์มิวมีลักษณะการกลายพันธุ์ที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติที่เป็นไปได้ของการหลบหนีจากภูมิคุ้มกัน” WHO กล่าว
มีความกังวลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ชนิดใหม่ เนื่องจากอัตราการติดเชื้อทั่วโลกกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง โดยที่สายพันธุ์เดลตายังคงแพร่ระบาดอยู่เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน และในภูมิภาคที่ผ่อนคลายมาตรการป้องกัน
โดยทั่วไป ไวรัสทั้งหมด รวมถึงเชื้อโควิด-19 จะมีการกลายพันธุ์เมื่อเวลาผ่านไป แต่การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่อาจมีผลกระทบต่อคุณสมบัติของไวรัสเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
แต่ขณะเดียวกัน การกลายพันธุ์บางอย่างอาจส่งผลต่อคุณสมบัติของไวรัสและส่งผลต่อการแพร่กระจายได้ง่าย ความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น และการดื้อต่อวัคซีน ยา และมาตรการรับมืออื่น ๆ
ปัจจุบัน พบโควิด-19 สายพันธุ์มิวแล้วใน 43 ประเทศทั่วโลก โดยพบในภูมิภาคอเมริกาใต้และยุโรปเป็นหลัก ส่วนในเอเชียพบในฮ่องกงและญี่ปุ่น แต่ในประเทศเหล่านั้นมีสัดส่วนการระบาดน้อยกว่า 0.1%
สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์นี้ แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ประเทศไทยที่บอบช้ำจากสายพันธุ์เดลตาอยู่แล้วต้องมารับมือ B.1.621 อีก โดยพื้นที่ที่ใกล้กับไทยแล้วพบการระบาดคือฮ่องกงและญี่ปุ่น
ขณะที่ในโคลอมเบียเองมีสัดส่วนการระบาดของสายพันธุ์มิวสูงถึง 39% รองลงมาเป็นแกมมา 25% อัลฟา 6% และเดลตา 5% ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อื่น ๆ
ก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา สายพันธุ์มิวเริ่มเป็นที่พูดถึง เนื่องจากมี ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราในเบลเยียมจำนวน 7 คน ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว เสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์ B.1.621 นี้
นอกจากนี้ สาธารณสุขอังกฤษ (PHE) ก็ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ดังกล่าว โดยระบุว่า โควิด-19 B.1.621 เป็นโควิด-19 อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ “หลบภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและที่เกิดจากวัคซีนได้”
โควิด-19 B.1.621 ถูกค้นพบครั้งแรกที่โคลอมเบีย เมื่อเดือน ม.ค. 2021 และถูกจัดให้อยู่ในโควิด-19 “สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring)” โดยองค์การอนามัยโลกเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ยังไม่มีการตั้งชื่อเรียกสายพันธุ์ด้วยอักษรกรีกอย่างเป็นทางการ
ในเอกสารของ PHE ระบุว่า “
มีหลักฐานในห้องปฏิบัติการเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า ภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อโควิด-19 อาจมีประสิทธิภาพน้อยลงในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 ... อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังมีจำกัด และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่า B.1.621 สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)”
PHE กล่าวว่า B.1.621 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ “
ที่น่ากังวล” ที่พบในสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายอื่น ๆ เช่น อัลฟา (อังกฤษ) เบตา (แอฟริกาใต้) และแกมมา (บราซิล) ได้แก่ ตำแหน่ง E484K, N501Y และ D614G ซึ่งเชื่อมโยงกับความสามารถการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้นและการป้องกันจากภูมิคุ้มกันที่ลดลง
ปัจจุบันโลกมีโควิด-19 อยู่ 19 สายพันธุ์ที่อยู่ในลิสต์การติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิดของ WHO ได้แก่
สายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) 4 สายพันธุ์
• สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ
• สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้
• สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
• สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI) 5 สายพันธุ์
• สายพันธุ์อีตา (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 พบที่แรกในหลายประเทศ
• สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 พบที่แรกคือกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ
• สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1.617.1 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
• สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือประเทศเปรู
• สายพันธุ์มิว (Mu) ชื่อทางการ B.1.621 พบที่แรกคือประเทศโคลอมเบีย
สายพันธุ์ที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring) เมื่อย้ายสายพันธุ์มิวไป VOI เหลืออยู่ทั้งหมด 10 สายพันธุ์
เรียบเรียงจาก
Outbreak Info /
PHE /
Reuters /
WHO
อ.จุฬาฯ ฟาด 'อนุทิน' ตรรกะตลก โยงวัคซีนกับประเทศผลิตแล้วห้ามวิจารณ์
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6594891
อ.จุฬาฯ ฟาด ‘อนุทิน’ ตรรกะตลก โยงวัคซีนกับประเทศผลิตแล้วห้ามวิจารณ์ ชี้ชัดอธิบายเช่นนี้ ยิ่งสะท้อนว่าไม่เหมาะกับการทำหน้าที่เพื่อประชาชน
กรณี นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข อภิปรายชี้แจงกรณี ส.ส.ฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณืในเรื่องคุณภาพและราคาของวัคซีน ยี่ห้อซิโนแวค โดยระบุว่า
เป็นวัคซีนที่ดี แต่เมื่อโควิดกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลตา ทำให้ประสิทธิผลอาจลดลงไปบ้าง ขออย่าด้อยค่าวัคซีนจากจีนที่เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับเรา
ต่อเรื่องดังกล่าว ผศ.ดร.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อ.คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ ความว่า
ตรรกะโยงวัคซีนกับประเทศผลิตแล้วห้ามวิจารณ์นี่ตลกนะครับ อุปกรณ์ทุกชิ้นรอบตัวเรามีประเทศผลิตหมดแหละ งั้นแสดงว่า ห้ามวิจารณ์คุณภาพหมดเลยงั้นเหรอ เพราะมันจะไปกระทบความสัมพันธ์หมดเลย
ยิ่งอธิบายเช่นนี้ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคุณไม่เหมาะกับการทำหน้าที่เพื่อประชาชนเลยจริงๆ ครับ
https://twitter.com/pornson/status/1432751334365691907
JJNY : ถ่ายทอดสดวันที่2│WHOยกระดับสายพันธุ์โคลอมเบีย โค้ดเนม"มิว"│อ.จุฬาฯฟาด'อนุทิน'ตรรกะตลก│เอกชนยอมลงทุนซื้อวัคซีนเอง
https://www.thairath.co.th/news/politic/2182195
เริ่มแล้ว ถ่ายทอดสดวันที่ 2 ของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ และ 5 รัฐมนตรี เป็นรายบุคคล ก่อนจะลงมติในวันที่ 4 ก.ย.นี้
ซึ่งบุคคลที่ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจประกอบด้วย
1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม
2. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข
3. นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน
4. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
5. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์
6. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์โคลอมเบีย มอบโค้ดเนม “สายพันธุ์มิว”
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/153648
WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 (โคลอมเบีย) พร้อมมอบชื่อกรีกเป็น “สายพันธุ์มิว” ชี้เสี่ยงดื้อวัคซีน-หนีภูมิคุ้มกัน
เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 (โคลอมเบีย) จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring) ให้เป็น “สายพันธุ์ต้องให้ความสนใจ (VOI)” และได้รับการมอบชื่ออักษรกรีกว่า “มิว (Mu)”
โดย WHO กล่าวว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีการกลายพันธุ์ที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงของการดื้อต่อวัคซีนโควิด-19 และเน้นว่ายังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้น
“สายพันธุ์มิวมีลักษณะการกลายพันธุ์ที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติที่เป็นไปได้ของการหลบหนีจากภูมิคุ้มกัน” WHO กล่าว
มีความกังวลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ชนิดใหม่ เนื่องจากอัตราการติดเชื้อทั่วโลกกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง โดยที่สายพันธุ์เดลตายังคงแพร่ระบาดอยู่เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน และในภูมิภาคที่ผ่อนคลายมาตรการป้องกัน
โดยทั่วไป ไวรัสทั้งหมด รวมถึงเชื้อโควิด-19 จะมีการกลายพันธุ์เมื่อเวลาผ่านไป แต่การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่อาจมีผลกระทบต่อคุณสมบัติของไวรัสเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
แต่ขณะเดียวกัน การกลายพันธุ์บางอย่างอาจส่งผลต่อคุณสมบัติของไวรัสและส่งผลต่อการแพร่กระจายได้ง่าย ความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น และการดื้อต่อวัคซีน ยา และมาตรการรับมืออื่น ๆ
ปัจจุบัน พบโควิด-19 สายพันธุ์มิวแล้วใน 43 ประเทศทั่วโลก โดยพบในภูมิภาคอเมริกาใต้และยุโรปเป็นหลัก ส่วนในเอเชียพบในฮ่องกงและญี่ปุ่น แต่ในประเทศเหล่านั้นมีสัดส่วนการระบาดน้อยกว่า 0.1%
สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์นี้ แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ประเทศไทยที่บอบช้ำจากสายพันธุ์เดลตาอยู่แล้วต้องมารับมือ B.1.621 อีก โดยพื้นที่ที่ใกล้กับไทยแล้วพบการระบาดคือฮ่องกงและญี่ปุ่น
ขณะที่ในโคลอมเบียเองมีสัดส่วนการระบาดของสายพันธุ์มิวสูงถึง 39% รองลงมาเป็นแกมมา 25% อัลฟา 6% และเดลตา 5% ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อื่น ๆ
ก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา สายพันธุ์มิวเริ่มเป็นที่พูดถึง เนื่องจากมี ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราในเบลเยียมจำนวน 7 คน ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว เสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์ B.1.621 นี้
นอกจากนี้ สาธารณสุขอังกฤษ (PHE) ก็ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 สายพันธุ์ดังกล่าว โดยระบุว่า โควิด-19 B.1.621 เป็นโควิด-19 อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ “หลบภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและที่เกิดจากวัคซีนได้”
โควิด-19 B.1.621 ถูกค้นพบครั้งแรกที่โคลอมเบีย เมื่อเดือน ม.ค. 2021 และถูกจัดให้อยู่ในโควิด-19 “สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring)” โดยองค์การอนามัยโลกเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ยังไม่มีการตั้งชื่อเรียกสายพันธุ์ด้วยอักษรกรีกอย่างเป็นทางการ
ในเอกสารของ PHE ระบุว่า “มีหลักฐานในห้องปฏิบัติการเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า ภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อโควิด-19 อาจมีประสิทธิภาพน้อยลงในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.621 ... อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังมีจำกัด และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่า B.1.621 สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)”
PHE กล่าวว่า B.1.621 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ “ที่น่ากังวล” ที่พบในสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายอื่น ๆ เช่น อัลฟา (อังกฤษ) เบตา (แอฟริกาใต้) และแกมมา (บราซิล) ได้แก่ ตำแหน่ง E484K, N501Y และ D614G ซึ่งเชื่อมโยงกับความสามารถการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้นและการป้องกันจากภูมิคุ้มกันที่ลดลง
ปัจจุบันโลกมีโควิด-19 อยู่ 19 สายพันธุ์ที่อยู่ในลิสต์การติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิดของ WHO ได้แก่
สายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) 4 สายพันธุ์
• สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ
• สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้
• สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
• สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI) 5 สายพันธุ์
• สายพันธุ์อีตา (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 พบที่แรกในหลายประเทศ
• สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 พบที่แรกคือกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ
• สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1.617.1 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
• สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือประเทศเปรู
• สายพันธุ์มิว (Mu) ชื่อทางการ B.1.621 พบที่แรกคือประเทศโคลอมเบีย
สายพันธุ์ที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring) เมื่อย้ายสายพันธุ์มิวไป VOI เหลืออยู่ทั้งหมด 10 สายพันธุ์
เรียบเรียงจาก Outbreak Info / PHE / Reuters / WHO
อ.จุฬาฯ ฟาด 'อนุทิน' ตรรกะตลก โยงวัคซีนกับประเทศผลิตแล้วห้ามวิจารณ์
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6594891
อ.จุฬาฯ ฟาด ‘อนุทิน’ ตรรกะตลก โยงวัคซีนกับประเทศผลิตแล้วห้ามวิจารณ์ ชี้ชัดอธิบายเช่นนี้ ยิ่งสะท้อนว่าไม่เหมาะกับการทำหน้าที่เพื่อประชาชน
กรณี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข อภิปรายชี้แจงกรณี ส.ส.ฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณืในเรื่องคุณภาพและราคาของวัคซีน ยี่ห้อซิโนแวค โดยระบุว่า เป็นวัคซีนที่ดี แต่เมื่อโควิดกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลตา ทำให้ประสิทธิผลอาจลดลงไปบ้าง ขออย่าด้อยค่าวัคซีนจากจีนที่เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับเรา
ต่อเรื่องดังกล่าว ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อ.คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ ความว่า
ตรรกะโยงวัคซีนกับประเทศผลิตแล้วห้ามวิจารณ์นี่ตลกนะครับ อุปกรณ์ทุกชิ้นรอบตัวเรามีประเทศผลิตหมดแหละ งั้นแสดงว่า ห้ามวิจารณ์คุณภาพหมดเลยงั้นเหรอ เพราะมันจะไปกระทบความสัมพันธ์หมดเลย
ยิ่งอธิบายเช่นนี้ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคุณไม่เหมาะกับการทำหน้าที่เพื่อประชาชนเลยจริงๆ ครับ
https://twitter.com/pornson/status/1432751334365691907