ด่วน! กลุ่ม CP ปรับโครงสร้าง โยกกิจการโลตัส ไปให้ Makro ถือหุ้น
สรุปให้เข้าใจในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่มซีพีที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง CPALL, CPF, MAKRO ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่มบริษัท โดยเอกสารมีกว่า 100 หน้า หลายคนอาจไม่เข้าใจ แต่ลงทุนแมนจะสรุปให้แบบง่าย ๆ ดังนี้
1. กลุ่มซีพีจะโอนกิจการทั้งหมดของโลตัส ที่ตอนนี้ถือหุ้นโดย บริษัทของซีพี 3 บริษัทคือ CPALL, CPM, CPH ไปให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ Makro
2. โดยการรับกิจการโลตัสในครั้งนี้ Makro จะให้ออกหุ้นเพิ่มทุนของ Makro เองเป็นการตอบแทนแก่ CPALL, CPM, CPH
3. แต่เดิม CPALL ถือหุ้น Makro อยู่ 93.08% และผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก 6.92%
4. พอมีดีลนี้เกิดขึ้น ก็แปลว่าหลังจากนี้ บริษัท Makro จะมีจำนวนหุ้นเยอะขึ้น และจะมีผู้ถือหุ้นหน้าใหม่เข้ามาถือ Makro ด้วย นั่นก็คือ CPM, CPH
5. สัดส่วนการถือหุ้นหลังจากดีล จะเป็นดังนี้
CPALL จะถือหุ้น Makro ลดลงเหลือ 65.97%
CPM เข้ามาถือหุ้น Makro 10.21%
CPH เข้ามาถือหุ้น Makro 20.43%
ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย จะมีสัดส่วนถือหุ้น Makro ลดลงจาก 6.92% เหลือ 3.39%
จะเห็นได้ว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อย ถูก Dilute หรือถูกลดสัดส่วนการถือหุ้น Makro ลงเกือบครึ่งหนึ่งหลังจากดีลนี้ เพื่อแลกกับกิจการโลตัสที่ได้รับเข้ามาใน Makro
สรุปง่าย ๆ อีกทีก็คือ
หลังจากดีลนี้ บริษัท Makro จะเป็นเจ้าของทั้งกิจการ Makro ของตัวเอง และกิจการโลตัสที่รับเข้ามา ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro เดิมก็ต้องยอมถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นครึ่งหนึ่ง
ถ้าถามว่า มันจะคุ้มหรือไม่ สำหรับรายย่อยที่ถือหุ้น Makro
ก็ต้องบอกว่า แล้วแต่ความเห็นต่อ “มูลค่ากิจการของโลตัส”
ถ้าผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro คิดว่าโลตัสควรจะมีมูลค่าน้อยกว่า กิจการ Makro เดิมมาก ดีลนี้ก็อาจไม่คุ้ม
แต่ถ้าคิดว่า โลตัสมีมูลค่ามากกว่า กิจการ Makro เดิม ดีลนี้ก็อาจจะคุ้ม
สำหรับผู้ถือหุ้นของ CPALL
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ CPALL จะมีสัดส่วนการถือหุ้น Makro น้อยลงหลังจากดีลนี้ เพราะเสมือนว่า CPALL แบ่งหุ้นไปให้ CPM และ CPH เข้ามาถือ Makro
ซึ่งหลังจากดีลนี้ CPALL ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสัดส่วน 65.97% ทำให้ CPALL ยังสามารถ Consolidate หรือรวมงบการเงินของ Makro เข้ามาที่บริษัทได้
สำหรับรายได้ของงบรวม CPALL จะมากขึ้นในงบการเงินหลังจากดีลนี้ เพราะจะมีรายได้ของกิจการโลตัสเข้ามาอยู่ในรายได้ของงบรวมด้วย ซึ่งแต่เดิมจะรับรู้การถือกิจการโลตัสอยู่ในรูปของส่วนแบ่งกำไรขาดทุน แต่หลังจากดีลนี้จะ Consolidate รายได้ของโลตัสได้แล้ว
และสำหรับผู้ถือหุ้นของ CPF จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก เพราะแต่เดิม CPF นั้นจะเกี่ยวข้องกับหุ้น Makro ทางอ้อม ผ่านการถือหุ้น CPALL และ CPM อยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าหลังจากดีลนี้เสร็จ Makro ก็จะเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะอีกไม่เกิน 12.9% เพื่อให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยเพิ่มให้ถึงเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดที่ 15% ด้วย
มาถึงตรงนี้หลายคน คงสงสัยว่าทำไมต้องโยกกิจการโลตัสมาอยู่ใต้ Makro
เบื้องหลังของดีลนี้อาจมีหลายเหตุผล
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า Makro เป็นบริษัทเดียวในกลุ่มซีพี ที่ยังมีหนี้ไม่มาก
และหลายคนก็คงรู้กันว่าโลตัสน่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการล็อกดาวน์ในวิกฤติโควิดในครั้งนี้ (เห็นได้จากส่วนแบ่งกำไรจากโลตัสเข้า CPALL เป็นตัวเลขติดลบ ซึ่งแปลว่าขาดทุน)
การที่โยกกิจการโลตัสมาในบริษัท Makro ก็น่าจะทำให้โลตัสสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มเติม จากการช่วยเหลือของ Makro ได้
และอีกสาเหตุหนึ่งก็คงเป็นกิจการโลตัส ที่มีลักษณะคล้าย Makro อยู่มาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกที่เน้นราคาถูกเป็นหลัก การรวมกันของ 2 กิจการนี้ภายใต้บริษัทเดียวกัน ก็น่าจะทำให้เกิดการ Synergy กันไม่มากก็น้อย
แต่ในขณะเดียวกันในฐานะเราที่เป็นผู้บริโภคก็น่าตกใจไม่แพ้กัน
ยกตัวอย่างง่าย ๆ
ต่อไปนี้ ถ้าเราคิดจะซื้อสินค้าราคาถูก
ไม่ว่าเราจะเดินเข้าโลตัส หรือ Makro
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ 2 ร้านนี้ จะมีเจ้าของเป็นบริษัทเดียวกัน..
Reference
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://www.longtunman.com/32082
ด่วน! กลุ่ม CP ปรับโครงสร้าง โยกกิจการโลตัส ไปให้ Makro ถือหุ้น
สรุปให้เข้าใจในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่มซีพีที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง CPALL, CPF, MAKRO ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในกลุ่มบริษัท โดยเอกสารมีกว่า 100 หน้า หลายคนอาจไม่เข้าใจ แต่ลงทุนแมนจะสรุปให้แบบง่าย ๆ ดังนี้
1. กลุ่มซีพีจะโอนกิจการทั้งหมดของโลตัส ที่ตอนนี้ถือหุ้นโดย บริษัทของซีพี 3 บริษัทคือ CPALL, CPM, CPH ไปให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ Makro
2. โดยการรับกิจการโลตัสในครั้งนี้ Makro จะให้ออกหุ้นเพิ่มทุนของ Makro เองเป็นการตอบแทนแก่ CPALL, CPM, CPH
3. แต่เดิม CPALL ถือหุ้น Makro อยู่ 93.08% และผู้ถือหุ้นรายย่อยอีก 6.92%
4. พอมีดีลนี้เกิดขึ้น ก็แปลว่าหลังจากนี้ บริษัท Makro จะมีจำนวนหุ้นเยอะขึ้น และจะมีผู้ถือหุ้นหน้าใหม่เข้ามาถือ Makro ด้วย นั่นก็คือ CPM, CPH
5. สัดส่วนการถือหุ้นหลังจากดีล จะเป็นดังนี้
CPALL จะถือหุ้น Makro ลดลงเหลือ 65.97%
CPM เข้ามาถือหุ้น Makro 10.21%
CPH เข้ามาถือหุ้น Makro 20.43%
ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย จะมีสัดส่วนถือหุ้น Makro ลดลงจาก 6.92% เหลือ 3.39%
จะเห็นได้ว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อย ถูก Dilute หรือถูกลดสัดส่วนการถือหุ้น Makro ลงเกือบครึ่งหนึ่งหลังจากดีลนี้ เพื่อแลกกับกิจการโลตัสที่ได้รับเข้ามาใน Makro
สรุปง่าย ๆ อีกทีก็คือ
หลังจากดีลนี้ บริษัท Makro จะเป็นเจ้าของทั้งกิจการ Makro ของตัวเอง และกิจการโลตัสที่รับเข้ามา ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro เดิมก็ต้องยอมถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นครึ่งหนึ่ง
ถ้าถามว่า มันจะคุ้มหรือไม่ สำหรับรายย่อยที่ถือหุ้น Makro
ก็ต้องบอกว่า แล้วแต่ความเห็นต่อ “มูลค่ากิจการของโลตัส”
ถ้าผู้ถือหุ้นรายย่อย Makro คิดว่าโลตัสควรจะมีมูลค่าน้อยกว่า กิจการ Makro เดิมมาก ดีลนี้ก็อาจไม่คุ้ม
แต่ถ้าคิดว่า โลตัสมีมูลค่ามากกว่า กิจการ Makro เดิม ดีลนี้ก็อาจจะคุ้ม
สำหรับผู้ถือหุ้นของ CPALL
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ CPALL จะมีสัดส่วนการถือหุ้น Makro น้อยลงหลังจากดีลนี้ เพราะเสมือนว่า CPALL แบ่งหุ้นไปให้ CPM และ CPH เข้ามาถือ Makro
ซึ่งหลังจากดีลนี้ CPALL ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสัดส่วน 65.97% ทำให้ CPALL ยังสามารถ Consolidate หรือรวมงบการเงินของ Makro เข้ามาที่บริษัทได้
สำหรับรายได้ของงบรวม CPALL จะมากขึ้นในงบการเงินหลังจากดีลนี้ เพราะจะมีรายได้ของกิจการโลตัสเข้ามาอยู่ในรายได้ของงบรวมด้วย ซึ่งแต่เดิมจะรับรู้การถือกิจการโลตัสอยู่ในรูปของส่วนแบ่งกำไรขาดทุน แต่หลังจากดีลนี้จะ Consolidate รายได้ของโลตัสได้แล้ว
และสำหรับผู้ถือหุ้นของ CPF จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก เพราะแต่เดิม CPF นั้นจะเกี่ยวข้องกับหุ้น Makro ทางอ้อม ผ่านการถือหุ้น CPALL และ CPM อยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าหลังจากดีลนี้เสร็จ Makro ก็จะเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะอีกไม่เกิน 12.9% เพื่อให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยเพิ่มให้ถึงเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดที่ 15% ด้วย
มาถึงตรงนี้หลายคน คงสงสัยว่าทำไมต้องโยกกิจการโลตัสมาอยู่ใต้ Makro
เบื้องหลังของดีลนี้อาจมีหลายเหตุผล
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า Makro เป็นบริษัทเดียวในกลุ่มซีพี ที่ยังมีหนี้ไม่มาก
และหลายคนก็คงรู้กันว่าโลตัสน่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการล็อกดาวน์ในวิกฤติโควิดในครั้งนี้ (เห็นได้จากส่วนแบ่งกำไรจากโลตัสเข้า CPALL เป็นตัวเลขติดลบ ซึ่งแปลว่าขาดทุน)
การที่โยกกิจการโลตัสมาในบริษัท Makro ก็น่าจะทำให้โลตัสสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มเติม จากการช่วยเหลือของ Makro ได้
และอีกสาเหตุหนึ่งก็คงเป็นกิจการโลตัส ที่มีลักษณะคล้าย Makro อยู่มาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกที่เน้นราคาถูกเป็นหลัก การรวมกันของ 2 กิจการนี้ภายใต้บริษัทเดียวกัน ก็น่าจะทำให้เกิดการ Synergy กันไม่มากก็น้อย
แต่ในขณะเดียวกันในฐานะเราที่เป็นผู้บริโภคก็น่าตกใจไม่แพ้กัน
ยกตัวอย่างง่าย ๆ
ต่อไปนี้ ถ้าเราคิดจะซื้อสินค้าราคาถูก
ไม่ว่าเราจะเดินเข้าโลตัส หรือ Makro
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ 2 ร้านนี้ จะมีเจ้าของเป็นบริษัทเดียวกัน..
Reference
-ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www.longtunman.com/32082