คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
กระทรวงอุตสาหกรรม ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมรายปีแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ 2 และ จำพวกที่ 3
กระทรวงอุตสาหกรรม ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมรายปีแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ 2 และ จำพวกที่ 3 เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก้ผู้ประกอบกิจการโรงงาน สมควรยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ทุกขนาด
โดยมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/053/T_0010.PDF
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6715991108426352
พาณิชย์ชี้แจง 5 แนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกลำไย
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ชี้แจงปัญหาราคาลำไยตกต่ำว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าลำไยจากไทยรายใหญ่สัดส่วนประมาณร้อยละ 70-80 ได้ชะลอการสั่งซื้อ ประกอบกับผลผลิตในประเทศเวียดนามมีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงนำเข้าลำไยรูดร่วงจากไทยเพื่อไปอบแห้งลดลง โดยมูลค่าการส่งออกลำไยอบแห้งของไทยไปตลาดต่างประเทศ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.64 มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 29.49 และในเดือน ก.ค.64 ลดลง ร้อยละ 17 ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้รับผลกระทบ
อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในและสำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยเฉพาะเชียงใหม่และลำพูนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ด้านผลผลิต พบว่า คุณภาพของผลผลิตลำไยในฤดูกาลผลิตปี 64 ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ ทำให้แก่เร็วกว่าปกติ ลูกเล็กแตกลายและผลผลิตส่วนใหญ่เป็นลำไยเกรดรองที่ต้องแปรรูป ส่งผลให้ราคาลำไยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนและเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ก.พาณิชย์ได้แก้ไขปัญหาตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 64 ดังนี้
1. สนับสนุนความช่วยเหลือด้านตลาดรองรับในประเทศ โดยรับซื้อผ่านสัญญาข้อตกลงระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับห้างค้าส่ง-ค้าปลีก (บิ๊กซี เดอะมอลล์ โลตัส แม็คโคร) ตลาดกลางสินค้าเกษตร โรงงานแปรรูป รวมถึงช่วยกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต เพื่อจำหน่ายในตลาดปลายทางทั่วประเทศ อาทิ ร้านธงฟ้า รถโมบายผลไม้ และสถานีบริการน้ำมัน จำนวน 1,028 สาขา (พีทีจี ปตท บางจาก) รวมกว่า 80,000 ตัน สนับสนุนค่ารวบรวมและกระจายผลผลิตให้จังหวัดแหล่งผลิตลำไย ในอัตรา 3 บาทต่อกิโลกรัม รวม 6 จังหวัด ปริมาณ 15,764 ตัน
2. รับซื้อผลผลิตลำไยรูดร่วง ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก รวมปริมาณรับซื้อ 3,000 ตัน โดยเข้าไปรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.64
3. ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (รูดร่วง) โดยขยายช่องทางการตลาดเชื่อมโยงเข้าสู่โรงงานแปรรูป รวมปริมาณ 5,600 ตัน ซึ่งช่วยรักษาเสถียรภาพราคาลำไยได้จนสิ้นสุดฤดูกาลผลิตนี้ ทั้งนี้ผลผลิตลำไยในแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่และลำพูน เข้าสู่ช่วงปลายฤดูกาล โดยผลผลิตได้ออกสู่ตลาดมากกว่าร้อยละ 85 แล้ว
4. สนับสนุนกล่องบรรจุผลไม้และค่าขนส่งฟรี รวม 200,000 กล่อง โดยกรมฯ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ online ซึ่งสามารถติดต่อขอรับการสนับสนุนได้จากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ สำหรับปัญหาการส่งสินค้าไปยังปลายทางที่มีปัญหาโควิด-19 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้แจ้งไปยังสาขาทุกแห่งเพื่อจัดระบบงานรองรับผลผลิตของเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งปัจจุบันสามารถแก้ไขปัญหาให้ระบายผลผลิตไปยังปลายทางได้ทั่วประเทศแล้ว
5. สนับสนุนค่าบริหารจัดการผลักดันส่งออกผลไม้กิโลกรัมละ 5 บาท เป้าหมาย 60,000 ตัน ช่วยแก้ปัญหาช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ความต้องการบริโภคลดลงทั้งในและต่างประเทศ จากการแก้ไขปัญหาได้ส่งผลให้ราคาลำไยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ราคาเกรด AA อยู่ที่ 20 บาท/กก. เกรด A อยู่ที่ 8 บาท/กก. เกรด B อยู่ที่ 5 บาท/กก. และเกรด C สูงสุดถึง 3 บาท/กก.
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1011095959723134
กยศ. ลดต้น ลดดอก ผ่อนผันชำระหนี้ ชะลอการฟ้องร้องคดี
ปัจจุบันมีการกู้ยืมเงินของ กยศ. มากกว่า 5 ล้านราย รวมวงเงินมากกว่า 6 แสนล้านบาท แต่ยังมีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้มากกว่า 60% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ.ประเภทต่างๆ ดังนี้
• ผู้ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.01% ต่อปี และเพิ่มส่วนลดเงินต้นจาก 3% เป็น 5%
มีผล 1 พ.ค. - 31 ธ.ค.64
• ผู้ไม่สามารถชำระหนี้ชั่วคราว ผ่อนผันจากเดิมจ่ายขั้นต่ำ 100 บาท ลดลงเหลือเพียง10 บาทต่อเดือน
มีผลตั้งแต่ ส.ค.64 - มิ.ย.65
• กลุ่มที่ผิดชำระหนี้ ลดเบี้ยปรับ 100% ในการชำระหนี้ปิดบัญชีและเพิ่มส่วนลดเบี้ยปรับจาก 75% เป็น 80% เพื่อให้เบี้ยปรับลดลง มีผล 1 พ.ค. - 31 ธ.ค.64
• ลูกหนี้ที่มีสถานะปกติ ลดอัตราเบี้ยปรับลงเหลือ 0.5% ต่อปี มีผล 1 พ.ค. - 31 ธ.ค.64
• ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องร้อง ให้ชะลอการฟ้องร้องคดีและบังคับคดีออกไป มีผล 5 ก.ค.63 - 31 มี.ค.64 (เว้นแต่คดีที่ขาดอายุความ) รวมถึงชะลอการบังคับคดีและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ถึง 31 ธ.ค.64
• ลูกหนี้รายใหม่ ให้ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.studentloan.or.th
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6714887008536762
ปลัด สธ.เผย กต.เจรจาระดับภาคพื้นยุโรปซื้อต่อวัคซีน แอสตร้าฯ - ไฟเซอร์ ทั้ง 2 ชนิด เพิ่มเดือนละ 2-3 ล้านโดส นาน 4 เดือน เร่งฉีด 100 ล้านโดสภายในปีนี้
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า วัคซีนในส่วนที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดหา ล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศ ได้พยายามจัดหาเพิ่มเติม โดยการเจรจาในระดับภาคพื้นยุโรปขายต่อวัคซีนส่วนเกินจากการใช้มาให้ ขณะนี้ประสานขอซื้อต่อมาได้ คือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนไฟเซอร์ โดยจะขายให้ได้เดือนละประมาณ 2-3 ล้านโดส เป็นระยะเวลา 4 เดือน ทั้ง 2 ชนิด
กรมควบคุมโรคจะไปดำเนินต่อเพื่อจัดซื้อวัคซีนต่อไป สร้างเสริมวัคซีนให้มีอย่างเพียงพอ จากการคำนวณอีก 4 เดือนจากนี้ ตั้งแต่ ก.ย.ไปจนถึง ธ.ค.จะมีวัคซีนเข้ามาในจำนวนมาก จะฉีดให้กับคนไทยได้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านโดส
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6714871405204989
อภ. ผลิตวัคซีน HXP–GPOVac เร่งศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2 คาดเริ่มผลิตได้กลางปี 65
องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เผยความคืบหน้า การผลิตวัคซีนป้องกันโควิด HXP–GPOVac ขณะนี้ การศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1 ได้ผลการวิเคราะห์ภูมิคุ้มกันที่ 14 วัน หลังจากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว และกำลังเริ่มทำการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2
การผลิตวัคซีนดังกล่าว เป็นการใช้นวัตกรรมเชื้อตายชนิดลูกผสม (Inactivated chimeric vaccine) ผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก (Egg-based) เช่นเดียวกับการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่
เมื่อการศึกษาวิจัยในมนุษย์ครบทั้ง 3 ระยะ และได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินจาก อย. คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในกลางปี 2565 มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 20 - 30 ล้านโดสต่อปี
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1243745122757958
กรมทางหลวงชนบท ขยายถนนสาย สป.1011 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 - เทพารักษ์ สมุทรปราการ รองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการมีพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานคร จึงได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับมีสถานที่และหน่วยงานราชการที่สำคัญ เช่น โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการ ตามพระราชดำริ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและพยากรณ์อากาศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ส่งผลให้มีปริมาณการจราจรหนาแน่นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทช. จึงดำเนินการขยายถนนทางหลวงชนบทสาย สป.1011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 - เทพารักษ์ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จากเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร โดยก่อสร้างเป็นผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็กจาก กม. ที่ 0+000 - กม. ที่ 2+200 และ กม. ที่ 2+900 - กม. ที่ 3+875 ระยะทาง 3.175 กิโลเมตร และช่วงบริเวณหน้าสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ก่อสร้างเป็น 6 ช่องจราจร จาก กม. ที่ 2+200 - กม. ที่ 2+900 ระยะทาง 0.700 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 3.875 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 แห่ง ระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องหมายจราจร และสิ่งอำนวยความปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่หนาแน่น รองรับการขยายตัวของพื้นที่ในอนาคต สนับสนุนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจการขนส่งและการท่องเที่ยวบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียงให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย สอดรับนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ปัจจุบันโครงการมีความก้าวหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 68 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับโครงสร้างทาง งานชั้นโครงสร้างทาง และงานผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการตอกเสาเข็มปูพรมเต็มพื้นที่พร้อมแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กก่อนก่อสร้างโครงสร้างคันทาง เพื่อป้องกันการทรุดตัวบนพื้นที่ดินอ่อนอีกด้วย โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณปลายปี 2564
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6714778101880986
กระทรวงอุตสาหกรรม ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมรายปีแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ 2 และ จำพวกที่ 3
กระทรวงอุตสาหกรรม ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมรายปีแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ 2 และ จำพวกที่ 3 เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก้ผู้ประกอบกิจการโรงงาน สมควรยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ทุกขนาด
โดยมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/053/T_0010.PDF
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6715991108426352
พาณิชย์ชี้แจง 5 แนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกลำไย
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ชี้แจงปัญหาราคาลำไยตกต่ำว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าลำไยจากไทยรายใหญ่สัดส่วนประมาณร้อยละ 70-80 ได้ชะลอการสั่งซื้อ ประกอบกับผลผลิตในประเทศเวียดนามมีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงนำเข้าลำไยรูดร่วงจากไทยเพื่อไปอบแห้งลดลง โดยมูลค่าการส่งออกลำไยอบแห้งของไทยไปตลาดต่างประเทศ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.64 มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 29.49 และในเดือน ก.ค.64 ลดลง ร้อยละ 17 ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้รับผลกระทบ
อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในและสำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยเฉพาะเชียงใหม่และลำพูนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ด้านผลผลิต พบว่า คุณภาพของผลผลิตลำไยในฤดูกาลผลิตปี 64 ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ ทำให้แก่เร็วกว่าปกติ ลูกเล็กแตกลายและผลผลิตส่วนใหญ่เป็นลำไยเกรดรองที่ต้องแปรรูป ส่งผลให้ราคาลำไยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนและเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ก.พาณิชย์ได้แก้ไขปัญหาตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 64 ดังนี้
1. สนับสนุนความช่วยเหลือด้านตลาดรองรับในประเทศ โดยรับซื้อผ่านสัญญาข้อตกลงระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับห้างค้าส่ง-ค้าปลีก (บิ๊กซี เดอะมอลล์ โลตัส แม็คโคร) ตลาดกลางสินค้าเกษตร โรงงานแปรรูป รวมถึงช่วยกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต เพื่อจำหน่ายในตลาดปลายทางทั่วประเทศ อาทิ ร้านธงฟ้า รถโมบายผลไม้ และสถานีบริการน้ำมัน จำนวน 1,028 สาขา (พีทีจี ปตท บางจาก) รวมกว่า 80,000 ตัน สนับสนุนค่ารวบรวมและกระจายผลผลิตให้จังหวัดแหล่งผลิตลำไย ในอัตรา 3 บาทต่อกิโลกรัม รวม 6 จังหวัด ปริมาณ 15,764 ตัน
2. รับซื้อผลผลิตลำไยรูดร่วง ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก รวมปริมาณรับซื้อ 3,000 ตัน โดยเข้าไปรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.64
3. ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (รูดร่วง) โดยขยายช่องทางการตลาดเชื่อมโยงเข้าสู่โรงงานแปรรูป รวมปริมาณ 5,600 ตัน ซึ่งช่วยรักษาเสถียรภาพราคาลำไยได้จนสิ้นสุดฤดูกาลผลิตนี้ ทั้งนี้ผลผลิตลำไยในแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่และลำพูน เข้าสู่ช่วงปลายฤดูกาล โดยผลผลิตได้ออกสู่ตลาดมากกว่าร้อยละ 85 แล้ว
4. สนับสนุนกล่องบรรจุผลไม้และค่าขนส่งฟรี รวม 200,000 กล่อง โดยกรมฯ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ online ซึ่งสามารถติดต่อขอรับการสนับสนุนได้จากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ สำหรับปัญหาการส่งสินค้าไปยังปลายทางที่มีปัญหาโควิด-19 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้แจ้งไปยังสาขาทุกแห่งเพื่อจัดระบบงานรองรับผลผลิตของเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งปัจจุบันสามารถแก้ไขปัญหาให้ระบายผลผลิตไปยังปลายทางได้ทั่วประเทศแล้ว
5. สนับสนุนค่าบริหารจัดการผลักดันส่งออกผลไม้กิโลกรัมละ 5 บาท เป้าหมาย 60,000 ตัน ช่วยแก้ปัญหาช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ความต้องการบริโภคลดลงทั้งในและต่างประเทศ จากการแก้ไขปัญหาได้ส่งผลให้ราคาลำไยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ราคาเกรด AA อยู่ที่ 20 บาท/กก. เกรด A อยู่ที่ 8 บาท/กก. เกรด B อยู่ที่ 5 บาท/กก. และเกรด C สูงสุดถึง 3 บาท/กก.
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1011095959723134
กยศ. ลดต้น ลดดอก ผ่อนผันชำระหนี้ ชะลอการฟ้องร้องคดี
ปัจจุบันมีการกู้ยืมเงินของ กยศ. มากกว่า 5 ล้านราย รวมวงเงินมากกว่า 6 แสนล้านบาท แต่ยังมีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้มากกว่า 60% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ.ประเภทต่างๆ ดังนี้
• ผู้ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.01% ต่อปี และเพิ่มส่วนลดเงินต้นจาก 3% เป็น 5%
มีผล 1 พ.ค. - 31 ธ.ค.64
• ผู้ไม่สามารถชำระหนี้ชั่วคราว ผ่อนผันจากเดิมจ่ายขั้นต่ำ 100 บาท ลดลงเหลือเพียง10 บาทต่อเดือน
มีผลตั้งแต่ ส.ค.64 - มิ.ย.65
• กลุ่มที่ผิดชำระหนี้ ลดเบี้ยปรับ 100% ในการชำระหนี้ปิดบัญชีและเพิ่มส่วนลดเบี้ยปรับจาก 75% เป็น 80% เพื่อให้เบี้ยปรับลดลง มีผล 1 พ.ค. - 31 ธ.ค.64
• ลูกหนี้ที่มีสถานะปกติ ลดอัตราเบี้ยปรับลงเหลือ 0.5% ต่อปี มีผล 1 พ.ค. - 31 ธ.ค.64
• ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องร้อง ให้ชะลอการฟ้องร้องคดีและบังคับคดีออกไป มีผล 5 ก.ค.63 - 31 มี.ค.64 (เว้นแต่คดีที่ขาดอายุความ) รวมถึงชะลอการบังคับคดีและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ถึง 31 ธ.ค.64
• ลูกหนี้รายใหม่ ให้ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.studentloan.or.th
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6714887008536762
ปลัด สธ.เผย กต.เจรจาระดับภาคพื้นยุโรปซื้อต่อวัคซีน แอสตร้าฯ - ไฟเซอร์ ทั้ง 2 ชนิด เพิ่มเดือนละ 2-3 ล้านโดส นาน 4 เดือน เร่งฉีด 100 ล้านโดสภายในปีนี้
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า วัคซีนในส่วนที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดหา ล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศ ได้พยายามจัดหาเพิ่มเติม โดยการเจรจาในระดับภาคพื้นยุโรปขายต่อวัคซีนส่วนเกินจากการใช้มาให้ ขณะนี้ประสานขอซื้อต่อมาได้ คือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนไฟเซอร์ โดยจะขายให้ได้เดือนละประมาณ 2-3 ล้านโดส เป็นระยะเวลา 4 เดือน ทั้ง 2 ชนิด
กรมควบคุมโรคจะไปดำเนินต่อเพื่อจัดซื้อวัคซีนต่อไป สร้างเสริมวัคซีนให้มีอย่างเพียงพอ จากการคำนวณอีก 4 เดือนจากนี้ ตั้งแต่ ก.ย.ไปจนถึง ธ.ค.จะมีวัคซีนเข้ามาในจำนวนมาก จะฉีดให้กับคนไทยได้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านโดส
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6714871405204989
อภ. ผลิตวัคซีน HXP–GPOVac เร่งศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2 คาดเริ่มผลิตได้กลางปี 65
องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เผยความคืบหน้า การผลิตวัคซีนป้องกันโควิด HXP–GPOVac ขณะนี้ การศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1 ได้ผลการวิเคราะห์ภูมิคุ้มกันที่ 14 วัน หลังจากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว และกำลังเริ่มทำการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2
การผลิตวัคซีนดังกล่าว เป็นการใช้นวัตกรรมเชื้อตายชนิดลูกผสม (Inactivated chimeric vaccine) ผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก (Egg-based) เช่นเดียวกับการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่
เมื่อการศึกษาวิจัยในมนุษย์ครบทั้ง 3 ระยะ และได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินจาก อย. คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในกลางปี 2565 มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 20 - 30 ล้านโดสต่อปี
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1243745122757958
กรมทางหลวงชนบท ขยายถนนสาย สป.1011 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 - เทพารักษ์ สมุทรปราการ รองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการมีพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานคร จึงได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับมีสถานที่และหน่วยงานราชการที่สำคัญ เช่น โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการ ตามพระราชดำริ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและพยากรณ์อากาศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ส่งผลให้มีปริมาณการจราจรหนาแน่นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทช. จึงดำเนินการขยายถนนทางหลวงชนบทสาย สป.1011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 - เทพารักษ์ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จากเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร โดยก่อสร้างเป็นผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็กจาก กม. ที่ 0+000 - กม. ที่ 2+200 และ กม. ที่ 2+900 - กม. ที่ 3+875 ระยะทาง 3.175 กิโลเมตร และช่วงบริเวณหน้าสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ก่อสร้างเป็น 6 ช่องจราจร จาก กม. ที่ 2+200 - กม. ที่ 2+900 ระยะทาง 0.700 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 3.875 กิโลเมตร พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 แห่ง ระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องหมายจราจร และสิ่งอำนวยความปลอดภัย เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่หนาแน่น รองรับการขยายตัวของพื้นที่ในอนาคต สนับสนุนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจการขนส่งและการท่องเที่ยวบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียงให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย สอดรับนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ปัจจุบันโครงการมีความก้าวหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 68 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับโครงสร้างทาง งานชั้นโครงสร้างทาง และงานผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการตอกเสาเข็มปูพรมเต็มพื้นที่พร้อมแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กก่อนก่อสร้างโครงสร้างคันทาง เพื่อป้องกันการทรุดตัวบนพื้นที่ดินอ่อนอีกด้วย โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณปลายปี 2564
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/6714778101880986
แสดงความคิดเห็น
🧡มาลาริน/รัฐบาลชี้สัญญาณต่างชาติมั่นใจศก.ไทยคงอันดับเครดิตเรตติงท์ - คำขอลงทุนเพิ่ม
รัฐบาลเผย บริษัทมูดี้ส์ คงอันดับความน่าเชื่อถือประเทศ “มีเสถียรภาพ” บีโอไอชี้ ต่างชาติขอรับการส่งเสริมการลงทุนครึ่งปีแรก กว่า 3.8 แสนล้าน เพิ่ม 158% ลุยเพิ่มสิทธิประโยชน์ดึงนักลงทุนเพิ่ม
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 นับตังแต่ปีที่แล้ว เศรษฐกิจประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นเดียวกับประเทศอื่นทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานทางการเงินการคลังล่าสุด บริษัท Moody’s Investors Service ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ Baa1 หรือเทียบเท่า BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) จากปัจจัยสำคัญ คือ ไทยมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่และหลากหลาย ภาครัฐมีฐานการเงินที่เข็มแข็ง ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่ง หนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 8 สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลสกุลเงินต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำมาก คือ น้อยกว่าร้อยละ 2 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพ
ขณะเดียวกัน ตัวเลขมูลค่าการส่งออกและการลงทุนในประเทศ เป็นอีกสองตัวชี้วัดถึงโอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า การส่งออกในช่วงเดือนม.ค.-ก.ค.ปี64 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 16.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเกินดุลการค้าอยู่ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการลงทุนในประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) รายงานภาวะการลงทุนครึ่งปีแรกของปี 64 ว่า มีโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 801 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 3.86 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 158% ประเทศที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน และเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนในประเทศมากขึ้นอีก BOI ได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย
1) การทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ยกเว้นภาษีฯ 300%
2) สนับสนุนกองทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยกเว้นภาษีฯ 100%
3) ฝึกอบรมหรือฝึกการทำงาน เพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับนักศึกษาฝึกงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยกเว้นภาษีฯ 200% 4) ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาในประเทศ ยกเว้นภาษีฯ 200%
5) การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ยกเว้นภาษีฯ 200% 6) พัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ ยกเว้นภาษีฯ 200% 7) การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ยกเว้นภาษีฯ 200% โดยจะได้รับระยะเวลายกเว้นภาษีสูงสุด 3 ปี
นางสาวรัชดา กล่าวว่า ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ และยังได้รับการประเมินทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ หลังจากผ่านช่วงโควิด19 นี้ไป มูดี้ส์ ยังคาดว่าการลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะช่วยเพิ่มการลงทุน การจ้างงานของภาคเอกชนและอุปสงค์ภายในประเทศอีกมาก และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างแน่นอน ควบคู่กันไป
โดยรัฐบาลได้เดินหน้านโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มSME และเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ที่สำคัญ หวังว่าทุกฝ่ายจะร่วมกันแสดงความเห็นต่างทางการเมืองอยู่บนวิถีประชาธิปไตยในกรอบกฎหมาย เพื่อไม่ให้กระทบโอกาศเติบโตทางเศรษฐกิจ และบรรยากาศที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนของประเทศ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956719
มูดี้ส์’การันตีไทยแกร่ง รับมือโควิดได้/ห่วง‘การเมือง’ป่วน
วันพุธ ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
วันที่ 24 ส.ค. 2564 บริษัท Moody’s Investors Service (มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส)
หรือ Moody’s ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ Baa1 หรือเทียบเท่า BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้...👇
1.ประเทศไทยมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่และหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดีและอุตสาหกรรมส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจผประเทศไทยยังเป็นฐานของเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวที่โดดเด่นและมีชื่อเสียง อีกทั้งการจ้างงานรายได้และผลที่เกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ประเทศไทยมีความสามารถที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้ (Economic Shock) และฐานการเงินภาครัฐที่แข็งแกร่งทำให้มีพื้นที่ทางการคลังที่รองรับแรงกระทบจาก Economic Shock ได้
นอกจากนี้ Moody’s คาดว่าการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะช่วยเพิ่มการลงทุนของภาคเอกชนและอุปสงค์ภายในประเทศในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด แต่ Moody’s คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2564 และ ปี 2565 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 2 และร้อยละ 5.8ตามลำดับ เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยและเศรษฐกิจโลกและในระยะยาวการระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงจำกัด
2.ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance)ของประเทศไทยมีความแข็งแกร่งร้อยละ 8และมีสัดส่วนหนี้ภาครัฐบาลสกุลเงินต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำมาก (น้อยกว่าร้อยละ 2) เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (Baa peers) เช่น อินเดีย ฮังการี เม็กซิโกคาซัคสถาน อินโดนีเซีย ฯลฯ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับสูง (High Debt Affordability)
3.ภาคการเงินต่างประเทศ (ExternalFinance) มีความเข้มแข็ง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงและสามารถนำมาใช้สนับสนุนการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมในอนาคต
ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Moody’s ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)ของประเทศไทย คือ ความสำเร็จของการดำเนินนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง อาทิ ปัญหาโครงสร้างประชากรสูงอายุ (Ageing Population) และปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ (Labor Skills)
ส่วนปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย คือ ปัจจัยทางการเมืองที่อาจจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาในระยะยาว การชะลอตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI)และกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและภาคการคลังของประเทศ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956719
ประเทศไทยยังมีบรรยากาศที่ดีทางเศรษฐกิจในสายตาต่างชาติ
ประเมินว่าไทยรับมือโควิดได้ ซึ่งก็เป็นไปตามสถานการณ์จริงที่ปรากฎอยู่ค่ะ
เป็นเรื่องดีที่ทยอยเข้ามาให้คนไทยได้มีความหวังนะคะ