อาการคางสั่นในเด็กแรกเกิด เป็นภาวะที่เด็กมักจะมีอาการสั่นที่ปากหรือบริเวณคาง ในตอนที่ร้องไห้ หรือตอนที่หิวนม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดได้กับเด็กทารกหลังคลอด
อาการคางสั่นในเด็กทารก เกิดจากอะไร
คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไป หากลูกน้อยคางสั่น หรือมักจะขยับปากขึ้น ๆ ลง ๆ หลังจากที่ร้องไห้ หรือก่อนที่จะกินนม เพราะอาการนี้ มักจะเกิดจากการตอบสนองทางร่างกายของเด็ก เนื่องจากระบบประสาทของเด็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และตัวเด็กเอง ก็ยังไม่สามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะเห็นว่าขาและแขนของเด็กเกิดอาการสั่นในตอนที่เด็กร้องไห้ด้วย ซึ่งอาการคางสั่นและอาการเหล่านี้ ถือเป็นภาวะที่ปกติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิด และก็จะหายไปเองตอนที่เด็กเริ่มอายุได้ 1-2 เดือน
สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เด็กมีอาการคางสั่น อาจได้แก่ การดูดนมเป็นเวลานาน จนเด็กเมื่อยปากและคาง หรืออาจเกิดจากการที่ร่างกายเด็กขาดวิตามินดี มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติก็เป็นได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กเริ่มคางสั่นหรือปากสั่น ให้คุณแม่ลองยัดเด็กเข้าเต้า และดูว่าอาการสั่นหายไปหรือไม่ หากอาการสั่นยังคงอยู่ คุณแม่อาจต้องพาเด็กเข้าพบคุณหมอ เพื่อตรวจดูความผิดปกตินะคะ
พัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด
ในระหว่างนี้ เด็ก ๆ จะเริ่มเรียนรู้การขยับร่างกาย โดยการขยับมือ แขน ขา หรือเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อของตัวเอง ใบบางครั้ง สมองของเด็กอาจปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาเยอะเกินไป จนทำให้เด็กมีอาการกระตุกบ้างเป็นบางครั้ง แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องตกใจหรือเครียดไป ทั้งนี้ คุณแม่ยังอาจเห็นว่าบางที ลูกน้อยก็มีอาการกระวนกระวาย ซึ่งนี่อาจเป็นเพราะว่าร่างกายเด็กปล่อยฮอร์โมน นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ออกมา เพื่อตอบสนองต่อความเครียดของเด็กนั่นเอง
อาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กได้ ไม่ใช่เรื่องอันตราย
เนื่องจากว่าระบบการทำงานในร่างกายเด็กและระบบประสาทของเด็ก ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เด็ก ๆ ก็เลยอาจจะมีอาการแปลก ๆ เช่น ตัวสั่นเวลาที่ร้องไห้ ตัวกระตุกเวลานอน หายใจแบบมีเสียง หายใจไม่สม่ำเสมอ หรือสำลักตอนกินนมหรือกินอาหาร เป็นต้น
ควรพาเด็กไปหาหมอตอนไหน
แม้อาการบางอาการ เกิดขึ้นได้ตามปกติกับเด็กทารก แต่หากคุณแม่สังเกตว่าลูกกำลังตกอยู่ในอันตราย หรือหากเด็กมีอาการต่อไปนี้ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอทันที
- มีอาการชัก หรือคาดว่าเด็กจะชัก ซึ่งอาการชักอาจเกิดจากโรคลมบ้าหมู โรคดาวน์ซินโดรม หรืออาการบาดเจ็บทางร่างกาย
- มีไข้ทั้งที่อายุยังไม่ถึง 1 ปี (ห้ามให้เด็กรับประทานยาก่อนปรึกษาหมอเด็ดขาด)
- หายใจติดขัด เสียงหายใจดังเป็นพิเศษ หรือส่งเสียงร้องออกมาตอนที่หายใจ
- นอนหลับไม่ตื่น ปลุกไม่ตื่น
- ไม่ขยับตัว หรือร่างกายอ่อนแอมากเป็นพิเศษ
- ร้องไห้อย่างอ่อนแรงและเงียบไป ก่อนจะกลับมาร้องไห้ใหม่อีกรอบ
- ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้นมีสีคล้ำ หรือเป็นสีเทา
- ไม่มีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
- ไม่ยิ้มหรือหัวเราะเวลาที่พ่อแม่เล่นด้วย
- ขยับปากลำบาก
อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้น ว่าอาการคางสั่นหรือคางกระตุกในเด็กทารก เป็นพัฒนาการของเด็กแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป เด็กบางคน อาจมีอาการสั่นและกระตุกไปจนถึงตอนอายุ 4 ขวบ เพราะทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กยังไม่เข้าที่เข้าทาง หรืออาจเป็นเพราะพันธุกรรมหรือระบบประสาทของเด็กก็เป็นได้ หากคุณแม่รู้สึกกังวลใจและไม่สบายใจ ที่อาการสั่นของลูกยังไม่หายไปสักที หรือเกิดขึ้นบ่อยจนน่าตกใจ ก็สามารถเข้าปรึกษาคุณหมอได้ค่ะ หากตรวจพบเจอความผิดปกติได้ไว ก็จะได้รีบรักษาให้หาย
ลูกน้อย คางสั่น อาการนี้ถือว่าผิดปกติหรือไม่ เป็นอันตรายหรือเปล่า
อาการคางสั่นในเด็กทารก เกิดจากอะไร
คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไป หากลูกน้อยคางสั่น หรือมักจะขยับปากขึ้น ๆ ลง ๆ หลังจากที่ร้องไห้ หรือก่อนที่จะกินนม เพราะอาการนี้ มักจะเกิดจากการตอบสนองทางร่างกายของเด็ก เนื่องจากระบบประสาทของเด็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และตัวเด็กเอง ก็ยังไม่สามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะเห็นว่าขาและแขนของเด็กเกิดอาการสั่นในตอนที่เด็กร้องไห้ด้วย ซึ่งอาการคางสั่นและอาการเหล่านี้ ถือเป็นภาวะที่ปกติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิด และก็จะหายไปเองตอนที่เด็กเริ่มอายุได้ 1-2 เดือน
สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เด็กมีอาการคางสั่น อาจได้แก่ การดูดนมเป็นเวลานาน จนเด็กเมื่อยปากและคาง หรืออาจเกิดจากการที่ร่างกายเด็กขาดวิตามินดี มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติก็เป็นได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กเริ่มคางสั่นหรือปากสั่น ให้คุณแม่ลองยัดเด็กเข้าเต้า และดูว่าอาการสั่นหายไปหรือไม่ หากอาการสั่นยังคงอยู่ คุณแม่อาจต้องพาเด็กเข้าพบคุณหมอ เพื่อตรวจดูความผิดปกตินะคะ
พัฒนาการเด็กทารกแรกเกิด
ในระหว่างนี้ เด็ก ๆ จะเริ่มเรียนรู้การขยับร่างกาย โดยการขยับมือ แขน ขา หรือเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อของตัวเอง ใบบางครั้ง สมองของเด็กอาจปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาเยอะเกินไป จนทำให้เด็กมีอาการกระตุกบ้างเป็นบางครั้ง แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องตกใจหรือเครียดไป ทั้งนี้ คุณแม่ยังอาจเห็นว่าบางที ลูกน้อยก็มีอาการกระวนกระวาย ซึ่งนี่อาจเป็นเพราะว่าร่างกายเด็กปล่อยฮอร์โมน นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ออกมา เพื่อตอบสนองต่อความเครียดของเด็กนั่นเอง
อาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กได้ ไม่ใช่เรื่องอันตราย
เนื่องจากว่าระบบการทำงานในร่างกายเด็กและระบบประสาทของเด็ก ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เด็ก ๆ ก็เลยอาจจะมีอาการแปลก ๆ เช่น ตัวสั่นเวลาที่ร้องไห้ ตัวกระตุกเวลานอน หายใจแบบมีเสียง หายใจไม่สม่ำเสมอ หรือสำลักตอนกินนมหรือกินอาหาร เป็นต้น
ควรพาเด็กไปหาหมอตอนไหน
แม้อาการบางอาการ เกิดขึ้นได้ตามปกติกับเด็กทารก แต่หากคุณแม่สังเกตว่าลูกกำลังตกอยู่ในอันตราย หรือหากเด็กมีอาการต่อไปนี้ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอทันที
- มีอาการชัก หรือคาดว่าเด็กจะชัก ซึ่งอาการชักอาจเกิดจากโรคลมบ้าหมู โรคดาวน์ซินโดรม หรืออาการบาดเจ็บทางร่างกาย
- มีไข้ทั้งที่อายุยังไม่ถึง 1 ปี (ห้ามให้เด็กรับประทานยาก่อนปรึกษาหมอเด็ดขาด)
- หายใจติดขัด เสียงหายใจดังเป็นพิเศษ หรือส่งเสียงร้องออกมาตอนที่หายใจ
- นอนหลับไม่ตื่น ปลุกไม่ตื่น
- ไม่ขยับตัว หรือร่างกายอ่อนแอมากเป็นพิเศษ
- ร้องไห้อย่างอ่อนแรงและเงียบไป ก่อนจะกลับมาร้องไห้ใหม่อีกรอบ
- ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้นมีสีคล้ำ หรือเป็นสีเทา
- ไม่มีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
- ไม่ยิ้มหรือหัวเราะเวลาที่พ่อแม่เล่นด้วย
- ขยับปากลำบาก
อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้น ว่าอาการคางสั่นหรือคางกระตุกในเด็กทารก เป็นพัฒนาการของเด็กแรกเกิดโดยทั่ว ๆ ไป เด็กบางคน อาจมีอาการสั่นและกระตุกไปจนถึงตอนอายุ 4 ขวบ เพราะทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กยังไม่เข้าที่เข้าทาง หรืออาจเป็นเพราะพันธุกรรมหรือระบบประสาทของเด็กก็เป็นได้ หากคุณแม่รู้สึกกังวลใจและไม่สบายใจ ที่อาการสั่นของลูกยังไม่หายไปสักที หรือเกิดขึ้นบ่อยจนน่าตกใจ ก็สามารถเข้าปรึกษาคุณหมอได้ค่ะ หากตรวจพบเจอความผิดปกติได้ไว ก็จะได้รีบรักษาให้หาย