ช่วงนี้คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนต่างมีความกังวลใจกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือแม้แต่การรับวัคซีนป้องกันในช่วงที่กำลังในนมบุตรอยู่ เพราะกลัวว่าถ้ารับวัคซีนไปแล้วจะไม่สามารถให้นมได้ วันนี้หมอแอนจะมาทำ Q&A คำถามที่พบบ่อยจากคุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณแม่หลังคลอดที่กังวลเกี่ยวกับผลต่อการให้นมบุตร
Q: ในขณะที่ตั้งครรภ์อยู่สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ได้ไหม
A: ได้ โดยแนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป กรณีมีความกังวลใจหรือมีโรคประจำตัว แนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์เพื่อประเมินข้อห้ามเฉพาะบุคคลก่อน
Q: คุณแม่ลูกอ่อนติด COVID-19 สามารถให้นมบุตรได้ไหม
A: สามารถให้นมได้ โดยคุณแม่จะต้องใส่หน้ากากตลอดเวลา และล้างมืออย่างสม่ำเสมอก่อนและหลังการให้นม ก่อนและหลังการสัมผัสทารกและเต้านม รวมถึงก่อนและหลังการสัมผัสสิ่งของ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้นม กรณีไม่ได้ให้นมด้วยการเข้าเต้าโดยตรง แต่ใช้การบีบ/ปั๊มนม ก็ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสเต้านม ก่อนสัมผัสอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั๊มนมและเก็บน้ำนม ระวังการปนเปื้อนของสารคัดหลั่งจากน้ำมูก/น้ำลาย/เสมหะ/น้ำตา ฯลฯ ไปยังทารกและน้ำนมที่เก็บ
ถ้าคุณแม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสเพื่อการรักษา COVID ให้หยุดการให้นมไปก่อน
Q: คุณแม่ลูกอ่อนที่รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 สามารถให้นมได้ไหม
A: สามารถให้นมได้ตามปกติ โดยปฏิบัติตัวตามขั้นตอนการรับวัคซีนแบบคนทั่วไปได้เลย
แนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน หากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรเข้ารับการฝากครรภ์เร็วตั้งแต่ต้น เพราะการฝากครรภ์มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ สูตินรีแพทย์จะช่วยดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกให้ปลอดภัย ทั้งทางด้านร่างกาย และ จิตใจ รวมถึงการตรวจคัดกรองที่สำคัญด้านต่างๆ อีกด้วย
ข้อมูลโดย
พญ. จิตรนพิน ดุลยเกษม สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลเวชธานี
COVID-19 กับคุณแม่ให้นมบุตร
Q: ในขณะที่ตั้งครรภ์อยู่สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID ได้ไหม
A: ได้ โดยแนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป กรณีมีความกังวลใจหรือมีโรคประจำตัว แนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์เพื่อประเมินข้อห้ามเฉพาะบุคคลก่อน
Q: คุณแม่ลูกอ่อนติด COVID-19 สามารถให้นมบุตรได้ไหม
A: สามารถให้นมได้ โดยคุณแม่จะต้องใส่หน้ากากตลอดเวลา และล้างมืออย่างสม่ำเสมอก่อนและหลังการให้นม ก่อนและหลังการสัมผัสทารกและเต้านม รวมถึงก่อนและหลังการสัมผัสสิ่งของ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้นม กรณีไม่ได้ให้นมด้วยการเข้าเต้าโดยตรง แต่ใช้การบีบ/ปั๊มนม ก็ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสเต้านม ก่อนสัมผัสอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั๊มนมและเก็บน้ำนม ระวังการปนเปื้อนของสารคัดหลั่งจากน้ำมูก/น้ำลาย/เสมหะ/น้ำตา ฯลฯ ไปยังทารกและน้ำนมที่เก็บ
A: สามารถให้นมได้ตามปกติ โดยปฏิบัติตัวตามขั้นตอนการรับวัคซีนแบบคนทั่วไปได้เลย
แนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน หากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรเข้ารับการฝากครรภ์เร็วตั้งแต่ต้น เพราะการฝากครรภ์มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ สูตินรีแพทย์จะช่วยดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกให้ปลอดภัย ทั้งทางด้านร่างกาย และ จิตใจ รวมถึงการตรวจคัดกรองที่สำคัญด้านต่างๆ อีกด้วย
ข้อมูลโดย พญ. จิตรนพิน ดุลยเกษม สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้