🇹🇭มาลาริน❤22ส.ค. ป่วย19,014คน หายป่วย20,672คน ตาย233คน 21ส.ค.วัคซีน404,078โดส/โควิด77จว./SVมาอีก1ล้าน/อภ.คว้ารางวัลโลก

เพี้ยนแคปเจอร์โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 19,014 ราย เสียชีวิต 233 ราย กลับบ้านได้ 20,672 ราย



สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 19,014 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 18,818 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 196 ราย ยอดติดเชื้อรวมระลอกเมษายน 1,020,432 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 1,049,295 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 233 ราย เสียชีวิตสะสม 9,320 ราย หายป่วยเพิ่ม 20,672 ราย หายป่วยสะสมระลอกเมษายน 812,210 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 200,339 ราย



https://www.sanook.com/news/8430742/

เม่าแพนด้าเช็กที่นี่!ยอดติดโควิดทั่วไทย-10 อันดับจังหวัดสูงสุด ‘กทม.’ยังทะลุ 4 พัน
วันอาทิตย์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 13.01 น.



ส่วนยอดผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศรายใหม่ ตามรายภาค วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2564 จำนวน 18,808 ราย เป็นดังนี้



https://www.naewna.com/local/596718



22 สิงหาคม 2564 เพจเฟซบุ๊ก Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความหัวข้อ “ความร่วมมือด้านวัคซีนระหว่างจีน-ไทย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ว่า.....👇

ความร่วมมือด้านวัคซีนระหว่างจีน-ไทยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม วัคซีนโควิด-19 ของประเทศจีนล็อตที่ 25 จำนวน 1 ล้านโดสส่งมาถึงกรุงเทพฯ ขณะนี้ ประเทศจีนได้ส่งวัคซีนให้ประเทศไทยทั้งหมด 25.55 ล้านโดส

ปีนี้ ประเทศจีนได้ส่งความช่วยเหลือทางด้านวัคซีนมาให้ประเทศไทยในโอกาสแรก โดยพยายามหาทางออกในความยากลำบากที่ภายในประเทศต้องการใช้วัคซีนเยอะจนทำให้ผลิตไม่ทัน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ วัคซีนจีนจำนวน 200,000 โดสส่งถึงกรุงเทพฯ ซึ่งก็เป็นวัคซีนล็อตแรกที่รัฐบาลไทยได้รับ  6 เดือนที่ผ่านมา

จีนได้รักษาคำมั่นสัญญา ส่งวัคซีนให้ประเทศไทยอย่างทันท่วงที ต่อเนื่องและตรงเวลาตามที่ได้นัดหมาย จำนวนวัคซีนจีนที่ส่งเข้ามามากกว่า 60% ของวัคซีนนำเข้าทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งก็เป็นการสร้างหลักประกันชีวิตและสุขภาพให้ประชาชนไทย
 
วัคซีนทั้งหมดที่ฝ่ายจีนส่งมาให้ฝ่ายไทยนั้น องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้รับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน และได้ผ่านการวิจัยและทดลองในมนุษย์ในระยะต่างๆ ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยอย่างเคร่งครัด  เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ มีผลในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีต่อไวรัสกลายพันธุ์ต่างๆ เช่น Delta 

เมื่อเร็วๆนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขไทยชี้ให้เห็นว่า ประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวคในการป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 72 % ป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ถึง 98%  และเมื่อเจอกับไวรัสกลายพันธุ์ ประสิทธิผลก็ยังคงที่

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติของประเทศเปรูในเดือนกรกฎาคมแสดงให้เห็นว่า วัคซีนซิโนฟาร์มมีประสิทธิผลในการป้องกันการเสียชีวิตถึง 94% วารสารทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือ เช่น "New England Journal of Medicine" และ "The Lancet" ได้ตีพิมพ์รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องเช่นกัน ต่างยืนยันว่าวัคซีนจีนได้มาตรฐานความปลอดภัยและประสิทธิผล เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ปัจจุบัน ประเทศต่างๆทั่วโลกกว่า 100 ประเทศได้อนุมัติการใช้วัคซีนจีน และมีผู้นำกว่า 30 ประเทศได้ฉีดวัคซีนจีนแล้ว ประชาคมโลกให้ความไว้วางใจกับวัคซีนที่มีคุณภาพสูงของจีน
 
ในการต่อสู้กับไวรัส ต้องยึดมั่นในหลักการที่“ประชาชนเป็นหลัก”และ "ชีวิตเหนือสิ่งอื่นใด" ประเทศจีนได้เสนอคำมั่นสัญญาในโอกาสแรกว่า จะให้วัคซีนเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะของโลก และก็ได้พยายามปฏิบัติตามนี้ ปัจจุบัน จีนได้ส่งวัคซีนมากกว่า 800 ล้านโดสไปทั่วโลก โดยเฉพาะส่งไปที่ประเทศกำลังพัฒนา เป็นประเทศที่ส่งออกวัคซีนมากที่สุดในโลก

ขณะเดียวกัน จีนยังได้ดำเนินความร่วมมือด้านการผลิตกับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ เพื่อขยายกำลังการผลิตวัคซีนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ให้คำมั่นสัญญาอย่างหนักแน่นในบทกล่าวที่การประชุมครั้งแรกของ International Forum on Covid-19 Vaccine Cooperation ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ว่า ปีนี้ประเทศจีนจะพยายามส่งวัคซีน 2 พันล้านโดสไปให้ทั่วโลก และจะบริจาค 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯให้โครงการCOVAX เพื่อใช้ในการจัดสรรวัดซีนให้กับประเทศกำลังพัฒนา

การที่ประเทศจีนดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านวัคซีนนั้น ไม่เคยมีเงื่อนไขทางการเมือง และไม่เคยหวังผลประโยชน์ใดๆ ยิ่งจะไม่ใช้ประโยชน์เพื่อแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ เป้าหมายอย่างเดียวก็คือ ร่วมมือกับประเทศไทยและประเทศต่างๆ เพื่อได้รับความชัยชนะในการต่อสู้กับโควิด-19ในเร็ววัน

https://www.thansettakij.com/general-news/492843

นานาเยี่ยมโรงงานผลิตวัคซีนชีววัตถุ อภ. คว้ารางวัลระดับโลก 'FOYA' 2021



21 ส.ค.64-  นพ.วิฑูรย์  ด่านวิบูลย์  ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า โรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ของ องค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นโรงงานตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เข้าร่วมการประกวดรางวัล Facility of the Year Awards 2021 (FOYA) ของสมาคม International Society for Pharmaceutical Engineering หรือ ISPE ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติมีสมาชิกที่ดำเนินการด้านเทคโนโลยีและวิศวเภสัชกรรมกว่า 18,000 ราย อยู่ในมากกว่า 90 ประเทศ โดยคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัลซึ่งล้วนเป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่โดดเด่น และมีประสบการณ์ระดับโลกมากมาย ได้พิจารณาให้โรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ ของ อภ.รับรางวัลสาขา Social Impact จาก 6 สาขารางวัลที่มีการจัดมอบปีนี้ทั้งหมด ได้แก่...👇

สาขา Facility Integration
สาขา Operational Excellence
สาขา Project Execution  
สาขา Process Intelligence and Innovation
สาขา Social Impact
และรางวัลพิเศษ Special Recognition Award for Operational Agility: COVID-19 Impact 

“การที่โรงงานผลิตวัคซีนได้รับรางวัลระดับโลกในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกำลังใจสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้มุ่งมั่นพัฒนาการผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพ สร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านวัคซีนให้กับประเทศไทย ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค โดยพิธีมอบรางวัลอย่างเป็นทางการจะจัดขึ้นในงาน ISPE Annual Meeting and Expo ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2564 ที่เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา” 
  
ด้าน นายกิตติศักดิ์  ภูพิพัฒน์ผล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม ซึ่งรับผิดชอบงานด้านวัคซีนและชีววัตถุ กล่าวว่า โรงงานผลิต(วัคซีน)ชีววัตถุ ของ องค์การฯที่ ได้รับรางวัลระดับโลกครั้งนี้ มีผลงานที่โดดเด่น ด้านนวัตกรรมการพัฒนาและผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ ได้นำเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโดยใช้ไข่ไก่ฟักที่มีศักยภาพและความพร้อมอยู่แล้ว มาปรับใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 โดยองค์การฯได้ นำเชื้อไวรัสตั้งต้นที่ได้รับจากองค์กร PATH ภายใต้ข้อตกลงระหว่าง PATH กับโรงเรียนแพทย์ Icahn School of Medicine at Mount Sinai และมหาวิทยาลัยเทกซัส (University of Texas at Austin) มาวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 

ขณะนี้การศึกษาวิจัยในมนุษย์ในระยะที่ 1 ได้ผลการวิเคราะห์ภูมิคุ้มกันที่ 14 วัน หลังจากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว และได้เริ่มทำการศึกษาวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 2 แล้ว  และจะดำเนินการในระยะที่ 3 ต่อไป โดยจะเริ่มทำการผลิตในระดับอุตสาหกรรมหลังจากวัคซีนได้รับทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา คาดว่าภายในปี 2565 จะยื่นขอรับทะเบียนตำรับและเริ่มผลิตวัคซีนในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อนำมาใช้ได้ โดยมีกำลังการผลิต 20-30 ล้านโดสต่อปี”

“ที่สำคัญโรงงานแห่งนี้ก่อสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เชิงสังคม สร้างความมั่นคงยั่งยืนด้านวัคซีนของประเทศไทย เพิ่มการเข้าถึงวัคซีนทั้งสถานการณ์ปกติและป้องกันการขาดแคลนของวัคซีนในประเทศจากสถานการณ์การระบาดของโรคหรือเมื่อเกิดวิกฤตด้านสุขภาพภายในประเทศต่าง ๆ  โรงงานถูกออกแบบให้มีความยั่งยืนเป็นโรงงานสีเขียว (Green Factory) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยของเสียออกสู่ภายนอก ด้วยระบบการกำจัดของเสียจากกระบวนการทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ลดการปล่อยคาร์บอน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop ) ทุกอาคาร ซึ่งเป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

https://www.thaipost.net/main/detail/114065

ปูเสื่อวันนี้หายป่วยมากกว่าป่วยใหม่ 1,658 คน

ยอดเสียชีวิตยังสูงถึง 233 คน ตามคาดการณ์เพราะมีคนป่วยหนักใส่เครื่องช่วยหายใจมาก

จังหวัดที่ติดเชื้อเกิน 1,000 คน เหลือ 3 จังหวัดแล้ว

จีนยังส่งซิโนแวคมาให้ไทยอีกอย่างต่อเนื่องค่ะ มิตรแท้ยามยากลำบากที่ไทยต้องจารึกไว้

ส่วนอภ.ไทยก็ได้รับรางวัลระดับโลก ชี้ให้เห็นประสิทธิภาพของหน่วยงานสธ.ไทยค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 23

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 21 สิงหาคม ฉีดวัคซีนแล้ว 26,428,101 โดส และทั่วโลกแล้ว 4,898 ล้านโดส ใน 203 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 224.25 ล้านโดส โดยจังหวัดของไทยที่ฉีดมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ โดยฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 82.5%”

(21 สิงหาคม 2564) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 4,898 ล้านโดส ใน 203 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 36.2 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 361 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 170 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 224.25 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (76.6% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 88.19 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 26,428,101 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 55.17%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 4,898 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 26,428,101 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 19,973,692 โดส (30.2% ของประชากร)
-เข็มสอง 5,920,614 โดส (8.9% ของประชากร)
-เข็มสาม 533,795 โดส (0.8% ของประชากร)

2) อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 21 ส.ค. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 26,428,101 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 609,435 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 461,837 โดส/วัน

3) อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 8,872,131 โดส
- เข็มที่ 2 3,456,473 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 9,267,048 โดส
- เข็มที่ 2 1,693,231 โดส
- เข็มที่ 3 201,671 โดส
วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 1,696,790  โดส
- เข็มที่ 2 743,425 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 137,723  โดส
- เข็มที่ 2 27,485 โดส
- เข็มที่ 3 332,124 โดส

4) การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 121.6% เข็มที่2 105.4% เข็มที่3 75%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 53.4% เข็มที่2 32.4% เข็มที่3 0%
- อสม เข็มที่1 60.1% เข็มที่2 28% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 35.4% เข็มที่1 6.7% เข็มที่3 0%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 38.5% เข็มที่2 11.9% เข็มที่3 0%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 38.6% เข็มที่2 4.2% เข็มที่3 0%
- หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่1 4.2% เข็มที่2 0.3% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 39.9% เข็มที่2 11.8% เข็มที่3 1.1%

5) จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 60.6% เข็มที่2 14.8% เข็มที่3 1.1% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่1 82.5% เข็มที่2 18.9% เข็มที่3 1.6%
- สมุทรสาคร เข็มที่1 38.1% เข็มที่2 15.8% เข็มที่3 0.5%
- นนทบุรี เข็มที่1 38.4% เข็มที่2 13.4% เข็มที่3 0.7%
- สมุทรปราการ เข็มที่1 41.1% เข็มที่2 8.5% เข็มที่3 0.6%
- ปทุมธานี เข็มที่1 38.7% เข็มที่2 8.9% เข็มที่3 0.5%
- นครปฐม เข็มที่1 24.5% เข็มที่2 6.2% เข็มที่3 0.7%

จังหวัดอื่น ๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 19.2% เข็มที่2 6.5% เข็มที่3 0.7%
- ชลบุรี เข็มที่1 33.1% เข็มที่2 10.5% เข็มที่3 1.0%
- พระนครศรีอยุธยา เข็มที่1 21.3% เข็มที่2 6% เข็มที่3 0.4%
- สงขลา เข็มที่1 26.4% เข็มที่2 8.4% เข็มที่3 1.1%
- ยะลา เข็มที่1 29% เข็มที่2 9.2% เข็มที่3 0.7%
- ปัตตานี เข็มที่1 21.8% เข็มที่2 7% เข็มที่3 0.5%
- ฉะเชิงเทรา เข็มที่1 44% เข็มที่2 6.8% เข็มที่3 0.6%

6) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 224,255,395 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 88,197,072 โดส (20.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. มาเลเซีย จำนวน 30,370,403 โดส (54.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
3. ฟิลิปปินส์ จำนวน 29,127,240 โดส (14.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca  
4. ไทย จำนวน 26,428,101 โดส (30.2%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. กัมพูชา จำนวน 17,664,675 โดส (56.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
6. เวียดนาม จำนวน 16,306,199 โดส (15%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
7. สิงคโปร์ จำนวน 8,707,880 โดส (76.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
8. ลาว จำนวน 3,707,109 โดส (28%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
9. พม่า จำนวน 3,500,000 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
10. บรูไน จำนวน 246,716 โดส (41%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

7) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 66.97%
2. อเมริกาเหนือ 10.97%
3. ยุโรป 13.17%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.64%
5. แอฟริกา 1.83%
6. โอเชียเนีย 0.42%

8) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 1,912.42 ล้านโดส (68.3% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. อินเดีย จำนวน 572.28 ล้านโดส (20.9%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 360.63 ล้านโดส (56.4%)
4. บราซิล จำนวน 173.65 ล้านโดส (42.3%)
5. ญี่ปุ่น  จำนวน 115.65 ล้านโดส (45.9%)

9) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. มัลดีฟส์ (87.9% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
2. บาห์เรน (82.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
3. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (82%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)  
4. สิงคโปร์ (76.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)
5. กาตาร์ (75.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
6. อุรุกวัย (74.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
7. ชิลี (72.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)  
8. เดนมาร์ก (71.7%) (ฉีดวัคซีนของ  Moderna, Pfizer/BioNTech และ J&J)    
9. อิสราเอล (69.9%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
10. แคนาดา (52.18%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4082910938501114


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 21 ส.ค. 2564)
รวม 26,832,179 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 21 สิงหาคม 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 404,078 โดส

เข็มที่ 1 : 298,479 ราย
เข็มที่ 2 : 97,206 ราย
เข็มที่ 3 : 8,393 ราย

----------------------------

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 20,272,171 ราย
(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 6,017,820 ราย
(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 542,188 ราย
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/391323272486003


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2564 จำนวน 233 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/391319712486359


กรุงเทพมหานคร  เปิด Walk-in  12 จุด "ไทยร่วมใจ" เร่งฉีดวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ ลดอัตราเสี่ยงเสียชีวิต

วันที่ 25-27 ส.ค. 64  

ที่มา : กรุงเทพมหานคร http://www.prbangkok.com/th/hotnews/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQ2NTY2Mg
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/391343922483938
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่