1989 กองทัพโซเวียตหนีตายจาก อัฟกานิสถาน



เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ฝูงชนที่ตกตะลึงมองดูกองทหารโซเวียตคนสุดท้ายที่ออกจากอัฟกานิสถานเหนือสะพานมิตรภาพ ซึ่งพ่ายแพ้หลังจากสงคราม
 
“ชาวรัสเซียโบกมือและยิ้มให้ประชาชน ดูเหมือนพวกเขาจะเหนื่อยกับการสู้รบ”
อับดุล กอยุม ผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาชายแดนในเมืองฮาราตัน บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำอามูดารยาไปยังประเทศอุซเบกิสถานปัจจุบัน บอกกับเอเอฟพี
 
ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิต 1.5 ล้านคนในฝั่งอัฟกานิสถานและเกือบ 15,000 คนจากโซเวียต 
กองทัพแดงได้ล่าถอย เพราะการต่อต้านอย่างหนักจากนักรบมูจาฮิดีนของอัฟกานิสถาน
 
การรุกรานของโซเวียตเกิดขึ้นวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เป็นการตัดสินใจอย่างลับๆ โดยพรรคการเมืองที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกโปลิตบูโร 
ได้ถูกนำเสนอให้โฆษณาชวนเชื่อว่าได้เข้ามาช่วยเหลือ "พี่น้องประชาชน" ที่เผชิญหน้ากับกลุ่มกบฏอิสลาม
 
ทั้งสองประเทศเชื่อมโยงกันด้วยสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือที่ลงนามหลังอัฟกานิสถานกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในปีก่อนหลังการทำรัฐประหาร
 
ควายุม ซึ่งปัจจุบันอายุ 60 ปี หวนนึกถึงความวุ่นวายในขณะที่ทหารกองทัพแดงเคลื่อนตัวเข้าไปในอัฟกานิสถาน
 
“มีทหารจำนวนมาก นับไม่ถ้วน บรรดาทหารที่ข้ามไปยังเมืองฮาราตันได้มุ่งหน้าไปยังกรุงคาบูลทันที พวกเขาข้ามไปทั้งวันและคืน” เขากล่าว
 
มอสโกคิดว่ามันจะเป็นภารกิจที่ง่าย แต่ก็ไม่สามารถตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงของฝ่ายต่อต้านที่ต้องผ่านภูเขาได้
กลุ่มต่อต้านถูกติดอาวุธโดยชาวอเมริกัน ได้รับทุนสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบีย และด้วยการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์จากปากีสถาน
 
เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2531 สหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญาในกรุงเจนีวาเพื่อถอนกองกำลังทหารทั้งหมดมากกว่า 100,000 นายภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
 
- ความสุข ความเจ็บปวด ความขมขื่น -
 
การถอนตัวออกเป็นสองขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนอนุญาตให้อพยพทหารได้ประมาณ 50,000 คน
 
ครั้งแรกกินเวลาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ถึง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531
 
ครั้งที่สองมีกำหนดจะเริ่มในวันที่ 15 พฤศจิกายน แต่กลับถูกยิงกดดันหนักจากมูจาฮิดีนช่วงต้นเดือนธันวาคม
 
เงื่อนไขเป็นเรื่องยาก ที่เหล่ายานเกราะต้องมุ่งหน้าไปยังชายแดนกรุงคาบูลตรงผ่านด่านสลังพาส  ด้วยระดับความสูง 3,600 เมตร ในฤดูหนาวที่หนาวที่สุดของในรอบ 16 ปี ไม่มีการหยุดยิงจากมูจาฮิดี และทหารโซเวียตก็เสียชีวิตลงจนถึงวันสุดท้ายถอนกำลัง
 
ในตอนเย็นของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เมื่อทุกอย่างจบลง ทางการคอมมิวนิสต์ได้จัดงานยกย่องทหาร "ที่กลับบ้านหลังจากได้ปฏิบัติหน้าที่ว่ารักชาติ  ซื่อสัตย์และกล้าหาญ"
 
ในบันทึกความทรงจำของประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ ผู้สั่งให้โซเวียตล่าถอย ในปี 2546 ว่า "คณะกรรมการกลางเต็มไปด้วยจดหมายเรียกร้องให้ยุติสงคราม พวกเขาเขียนขึ้นโดยแม่ ภรรยา และพี่สาวของทหาร..."
 
“เจ้าหน้าที่ไม่สามารถอธิบายให้ลูกน้องฟังได้ว่าทำไมพวกเขาถึงต่อสู้กัน สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ที่นั่น ทำเพื่ออะไร” กอร์บาชอฟ กล่าวในภายหลังว่าการบุกอัฟกานิสถานเป็น "ความผิดพลาดทางการเมือง" อย่างร้ายแรง
 
ตรงข้ามในกรุงคาบูล "ไม่มีการประชาสัมพันธ์หรือพิธีพิเศษใดๆ ที่บ่งบอกถึงการจากไปของทหารโซเวียตคนสุดท้าย เจ้าหน้าที่และประชาชนในท้องถิ่นไม่แยแส" ทูตพิเศษของเอเอฟพีเขียนไว้ในรายงานเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
 
สามปีต่อมา ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด นาจิบุลเลาะห์ ลาออก ส่งสัญญาณให้ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดในอัฟกานิสถาน รัฐบาลของเขาถูกแทนที่ด้วยกลุ่มที่ประกอบด้วยกลุ่มมูจาฮิดีนเผ่าต่างๆ ที่ขับไล่โซเวียตออกไป พวกเขาหันต่อสู้กันเองอย่างรวดเร็ว
 
อัฟกานิสถานถูกทำลายล้างมากขึ้นกว่าเดิม สงครามกลางเมืองครั้งใหม่ที่โหดร้ายปะทุขึ้นในไม่ช้าก่อนที่กลุ่มตอลิบานอิสลามิสต์จะยึดอำนาจในปี 2539
 
กงล้อแห่งประวัติศาสตร์จะกลับมาซ้ำรอยเดิมอีกหรือไม่ ในวันที่สหรัฐถอนทหารออกไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่