คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n3263.aspx
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ธปท. ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จึงได้หารือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สมาคมและชมรมของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 9 แห่ง ออกมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2 - 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)
2) เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด สำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 2
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ธปท. ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จึงได้หารือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สมาคมและชมรมของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 9 แห่ง ออกมาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1) ปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2 - 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)
2) เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด สำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
มีนักเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ว่า
ณ ตอนนี้ สถาบัญการเงินไทย เลือกที่จะช่วยเฉพาะลูกค้าที่ผ่านเกณฑ์แล้วว่า "ช่วยแล้วรอด" ครับ
คือตอนนี้ จะไม่ช่วยแบบหว่านแหอีกแล้ว
และลูกค้าที่มีแนวโน้มว่า "ช่วยพัก 3 เดือนไป, พอเดือนที่ 4 ก็ไม่มีจ่ายอีก"
พูดง่ายๆ คือลูกค้าที่ "หมดศักยภาพ" ไปแล้ว, ธนาคารจะหยุดช่วย และเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ไปเลย
พูดให้ง่ายอีกคือ ธนาคาร เลือกตัดหางลูกค้าด้อยคุณภาพไปแล้ว แล้วไปใช้ขั้นตอนการจัดการหนี้เสียเอา
ณ ตอนนี้ สถาบัญการเงินไทย เลือกที่จะช่วยเฉพาะลูกค้าที่ผ่านเกณฑ์แล้วว่า "ช่วยแล้วรอด" ครับ
คือตอนนี้ จะไม่ช่วยแบบหว่านแหอีกแล้ว
และลูกค้าที่มีแนวโน้มว่า "ช่วยพัก 3 เดือนไป, พอเดือนที่ 4 ก็ไม่มีจ่ายอีก"
พูดง่ายๆ คือลูกค้าที่ "หมดศักยภาพ" ไปแล้ว, ธนาคารจะหยุดช่วย และเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ไปเลย
พูดให้ง่ายอีกคือ ธนาคาร เลือกตัดหางลูกค้าด้อยคุณภาพไปแล้ว แล้วไปใช้ขั้นตอนการจัดการหนี้เสียเอา
แสดงความคิดเห็น
สถานการณ์แบบนี้ สถาบันการเงินไม่ช่วยเลยหรอครับ
ตอนนี้หลายๆท่านเดือดร้อนจากการขาดรายได้ แต่ก็พอจะได้การช่วยเหลือจากรัฐบ้าง
ถามว่าพอไหม ก็คงจะไม่ถึงกับพอ แต่ก็ไม่อดตายได้พอจะประทังชีวิตให้รอดได้
ที่จะอดตายเพราะ บัตรเครดิต และธนาคารมากกว่า พวกนี้ยังต้องจ่ายทั้งที่ไม่มีรายได้
บางแห่งให้พักชำระ แต่ก็ไปเพิ่มดอกเบี้ยคงค้างอยู่ดี
ทำไมรัฐไม่กำกับหรือขอความร่วมมือจากกลุ่ม เครดิตและธนาคารสักหน่อย เพราะพวกเขาถ้าช่วยเหลือจริงๆ ก็คงแค่ "ขาดทุนกำไร"
ไม่ได้เสียหายหรือล้มละลายแน่นอน ทุกวันนี้คนตายเพราะโควิด คนตายเพราะเครียด ส่วนรัฐก็แจกช่วยจนเป็นหนี้ไปเรื่อยๆ
แต่นายแบงค์ อยู่ดีกินดีอาจกังวลบ้างที่รายได้ลดลง
สรุปว่าผมมาบ่นให้อ่านครับและมองว่า น่าจะดีถ้าแก้ตรงจุดนี้ได้