.
เป็นโควิด-19 รักษาหายแล้ว ต้องทำอย่างไร มีอะไรบ้างที่ต้องระวัง คนไข้โควิด-19 ส่วนใหญ๋ที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล, โรงพยาบาลสนาม, Hospitel หรือสถานที่รักษาตัวผู้ป่วยโควิด-19 ต่าง ๆ เมื่อคุณหมออนุญาตให้กลับบ้านส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หรือถ้ามีจะพบอาการเพียงเล็กน้อย มักเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาอย่างน้อย 14 วัน โดยมีใบรับรองแพทย์ยืนยันการรักษา โดยกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อก่อนกลับบ้านหรือกลับไปทำงาน
.
ข้อปฎิบัติสำหรับผู้ที่รักษาโควิด-19 หายและกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
-สังเกตอาการอยู่บ้าน อย่างน้อย 10-14 วัน โดยให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
-ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ วันละ 2- 2 ลิตรครึ่ง ผู้สูงอายุดื่มน้ำประมาณ 1-2 ลิตร โดยเน้นดื่มน้ำช่วงกลางวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะช่วงกลางคืน
-รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เน้นอาหารย่อยง่าย และทานต่อมื้อน้อย ๆ แต่ให้ทานบ่อย ๆ
-พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนให้เร็ว
-อย่าใช้สายตามากจนเกินไป พักสายตาจากโทรศัพท์มือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ ให้สายตาได้พัก
-ล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระหรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
-ไม่ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารและแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น
-ควรออกไปโดนแดดบ้าง เช่น แดดอ่อน ๆ ตอนเช้า หรือตอนเย็น สัก 10-15 นาที
-ออกกำลังกายเบาๆ ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือด
-เมื่อกลับไปทำงาน ให้เน้นมาตรการป้องกันตัวเช่นเดิม และงดเว้นการรับประทานอาหารร่วมกัน
.
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงช่วงพักฟื้น
-หลีกเลี่ยงข่าวสารด้านลบ เพื่อให้ร่างกาย ความคิด สมองได้พักผ่อน
-แอลกอฮอล์
-ยาชุด หรือยาที่นอกเหนือจากที่แพทย์แนะนำ
-อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด หมักดอง ย่อยยาก
.
แต่หากผู้ป่วย มีอาการหลังกลับบ้าน
ซึ่งมีรายงานว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวหายแล้ว หากมีอาการยังสามารถ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 จะยังคงมีอาการแสดงหลังรักษาโควิด-19 หายแล้ว โดยจะยังมีอาการภายใน 4 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ หายไป
กลุ่มที่ 2 ยังคงมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน และอาการจะหายช้า ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งกลุ่มที่มีอาการมากกว่า 4-6 สัปดาห์ จะเป็นอาการที่เรียกว่า Post Covid Syndrome หรือ Long Covid อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19
.
Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่สามารถเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง
-ปวดหัว มึนงง ไม่สดชื่น
-แสบตา คันตา น้ำตาไหล
-คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น
-การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย
-มีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน
-ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
-ปวดข้อ กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
-วิตกกังวล ซึมเศร้า
อาการข้างต้น คืออาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ที่พบมากที่สุดคือภาวะหายใจหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
.
โดยแพทย์จะพิจารณาอาการต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น
1.
อาการที่เกิดขึ้น เกิดจากการนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน เช่น อาการจิตตก ซึมเศร้า ติดเตียง แผลกดทับ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ
2.
อาการเกิดจากผลแทรกซ้อนที่ได้รับจากยาขณะเข้ารับการรักษาโควิด-19 ส่วนใหญ่ยารักษาโรคโควิด-19 มักจะไม่พบผลแทรกซ้อนในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับยาในระยะสั้น ๆ แต่อาจสามารถพบได้กับยาที่รักษาอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างรักษาโควิด-19 เช่น ยากลุ่ม สเตียรอยด์ อาการที่อาจพบได้หลังกลับบ้าน เช่น แสบกระเพาะ รู้สึกเหมือนมีอาการกรดไหลย้อน ค่าน้ำตาลไม่คงที่ หรือมีอาการทางเบาหวาน
3.
อาการที่เกิดจากผลแทรกซ้อนของโควิด-19 อาจเกิดขึ้นได้ในระยะ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง แบ่งออกเป็น
-กลุ่มที่มีอาการต่อเนื่อง มาตรวจและไม่พบความผิดปกติ เช่น หอบเหนื่อย เพลีย รู้สึกเหมือนร่างกายยังไม่ฟื้น การรักษา จะรักษาตามอาการ รอจนร่างกายปรับและฟื้นตัว
-กลุ่มที่มีอาการต่อเนื่อง มาตรวจและพบความผิดปกติ เช่น พบผังผืดที่ปอด หรือพบความผิดปกติที่ปอด เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน พบความผิดเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ภาวะติดเชื้อ เกิดการอักเสบภายในอวัยวะสำคัญ ซึ่งพบได้น้อย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ การรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
-กลุ่มที่ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบอาการผิดปกติที่ปอด การรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
.
เพราะฉะนั้นเมื่อหายจากโควิด-19 และกลับไปพักฟื้นที่บ้าน หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น ให้ติดต่อสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
.
.
ติดตามบทความดี ๆ จาก
รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขมได้ในบทความต่อไปครับ
สิ่งที่ต้องทำ เมื่อหายป่วยจากโควิด-19
.
ข้อปฎิบัติสำหรับผู้ที่รักษาโควิด-19 หายและกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
-สังเกตอาการอยู่บ้าน อย่างน้อย 10-14 วัน โดยให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
-ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ วันละ 2- 2 ลิตรครึ่ง ผู้สูงอายุดื่มน้ำประมาณ 1-2 ลิตร โดยเน้นดื่มน้ำช่วงกลางวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะช่วงกลางคืน
-รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เน้นอาหารย่อยง่าย และทานต่อมื้อน้อย ๆ แต่ให้ทานบ่อย ๆ
-พักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนให้เร็ว
-อย่าใช้สายตามากจนเกินไป พักสายตาจากโทรศัพท์มือถือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ ให้สายตาได้พัก
-ล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระหรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
-ไม่ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารและแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น
-ควรออกไปโดนแดดบ้าง เช่น แดดอ่อน ๆ ตอนเช้า หรือตอนเย็น สัก 10-15 นาที
-ออกกำลังกายเบาๆ ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือด
-เมื่อกลับไปทำงาน ให้เน้นมาตรการป้องกันตัวเช่นเดิม และงดเว้นการรับประทานอาหารร่วมกัน
.
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงช่วงพักฟื้น
-หลีกเลี่ยงข่าวสารด้านลบ เพื่อให้ร่างกาย ความคิด สมองได้พักผ่อน
-แอลกอฮอล์
-ยาชุด หรือยาที่นอกเหนือจากที่แพทย์แนะนำ
-อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด หมักดอง ย่อยยาก
.
แต่หากผู้ป่วย มีอาการหลังกลับบ้าน
ซึ่งมีรายงานว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวหายแล้ว หากมีอาการยังสามารถ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 จะยังคงมีอาการแสดงหลังรักษาโควิด-19 หายแล้ว โดยจะยังมีอาการภายใน 4 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ หายไป
กลุ่มที่ 2 ยังคงมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน และอาการจะหายช้า ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งกลุ่มที่มีอาการมากกว่า 4-6 สัปดาห์ จะเป็นอาการที่เรียกว่า Post Covid Syndrome หรือ Long Covid อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19
.
Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่สามารถเกิดขึ้นได้มีอะไรบ้าง
-ปวดหัว มึนงง ไม่สดชื่น
-แสบตา คันตา น้ำตาไหล
-คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น
-การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย
-มีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน
-ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย
-ปวดข้อ กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
-วิตกกังวล ซึมเศร้า
อาการข้างต้น คืออาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ที่พบมากที่สุดคือภาวะหายใจหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
.
โดยแพทย์จะพิจารณาอาการต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น
1. อาการที่เกิดขึ้น เกิดจากการนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน เช่น อาการจิตตก ซึมเศร้า ติดเตียง แผลกดทับ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ
2. อาการเกิดจากผลแทรกซ้อนที่ได้รับจากยาขณะเข้ารับการรักษาโควิด-19 ส่วนใหญ่ยารักษาโรคโควิด-19 มักจะไม่พบผลแทรกซ้อนในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับยาในระยะสั้น ๆ แต่อาจสามารถพบได้กับยาที่รักษาอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างรักษาโควิด-19 เช่น ยากลุ่ม สเตียรอยด์ อาการที่อาจพบได้หลังกลับบ้าน เช่น แสบกระเพาะ รู้สึกเหมือนมีอาการกรดไหลย้อน ค่าน้ำตาลไม่คงที่ หรือมีอาการทางเบาหวาน
3. อาการที่เกิดจากผลแทรกซ้อนของโควิด-19 อาจเกิดขึ้นได้ในระยะ 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง แบ่งออกเป็น
-กลุ่มที่มีอาการต่อเนื่อง มาตรวจและไม่พบความผิดปกติ เช่น หอบเหนื่อย เพลีย รู้สึกเหมือนร่างกายยังไม่ฟื้น การรักษา จะรักษาตามอาการ รอจนร่างกายปรับและฟื้นตัว
-กลุ่มที่มีอาการต่อเนื่อง มาตรวจและพบความผิดปกติ เช่น พบผังผืดที่ปอด หรือพบความผิดปกติที่ปอด เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน พบความผิดเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ภาวะติดเชื้อ เกิดการอักเสบภายในอวัยวะสำคัญ ซึ่งพบได้น้อย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ การรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
-กลุ่มที่ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบอาการผิดปกติที่ปอด การรักษาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
.
เพราะฉะนั้นเมื่อหายจากโควิด-19 และกลับไปพักฟื้นที่บ้าน หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น ให้ติดต่อสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
.
.
รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขมได้ในบทความต่อไปครับ