พระพุทธเจ้าคือพระของพุทธศาสนิกทุกคน...แม่คือพระของลูก
โดย ล. วิลิศมาหรา
องค์กษัตรีแห่งนครหริภุญชัย ทรงสิริโฉมในพัสตราภรณ์เยี่ยงสตรีทวาราวดีผู้สูงศักดิ์ ประทับว่าราชการงานเมืองอยู่เหนือบัลลังก์ทองของเวียงอันอลังการ พระองค์ปรารภกับขุนพลคู่พระทัย แม่ทัพหริภุญชัยผู้เก่งฉกาจนามว่าคะวะยะ พร้อมพระฤาษีที่ปรึกษาและเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่ในท้องพระโรงใหญ่
“เราจะทำเยี่ยงไรกับขุนหลวงวิรังคะนี้ดี กษัตริย์แห่งระมิงค์นครผู้นี้โอหังนัก กระทำการโดยไม่เกรงคำครหา ถึงกับแต่งขบวนมาขอข้าไปเป็นมเหสี ช่างหน้าไม่อายจริง ๆ อันตัวข้านี้ก็มีองค์รามแห่งละโว้เป็นพระสวามีอยู่แล้ว ลูกเต้าข้าก็มีเป็นฝาแฝดถึงสองพระองค์” ทรงนิ่วขนงเรียวงามพลางรับสั่งฉุนเฉียว
“ข้าหาวิธีหลีกเลี่ยงการทำสงครามกันจนถึงที่สุดแล้ว ด้วยการท้าพุ่งเสน้าโดยมิต้องทำศึกกัน แต่ขุนหลวงกุนาระผู้นี้จะเข้าใจความก็หาไม่ ยังดื้อดึงจะเอาตัวข้าไปยังนครลุ่มน้ำปิงให้ได้ เช่นนี้แล้วหริภุญชัยก็คงไม่แคล้วต้องทำศึกจริง เพราะถึงแม้เขาจะพุ่งเสน้ามาจนถึงใจกลางนครได้ครบทั้งสามครั้งดังคำท้าแล้ว แต่หริภุญชัยเราก็หาได้ยอมดองกับราชวงศ์ละว้าอันต่ำต้อยไม่ และหากคาถาเวทมนตร์ของขุนหลวงละว้าเสื่อมคลายลง ทำให้พุ่งเสน้ามาไม่ถึงใจเมืองเราจริง กษัตริย์แห่งเมืองระมิงค์ผู้นี้ก็ย่อมเดือดดาล พาลยกทัพมาตีเมืองเราเป็นแน่”
สองฤาษีเห็นอาการทุรนร้อนพระราชหฤทัยของมหาเทวีผู้เป็นเจ้า ที่ปรึกษาใหญ่วาสุเทพฤาษีและสุกกะทันตะฤาษีจึงกราบทูลพระนางว่า
“ข้าพระพุทธเจ้ามีดำริจะใช้วิชาอาคมสร้างพระเครื่องนารอท หรือพระนารท แจกจ่ายให้แก่ทหารทุกหมู่เหล่า เพื่อเสริมพระเกียรติและให้ทหารเราแคล้วคลาดจากภยันตรายในการสู้รบประการหนึ่ง อีกทั้งปราศจากโรคภัยทั้งปวงอีกประการหนึ่งด้วยพระพุทธเจ้าข้า”
ในเพลานั้นเอง จึงบังเกิดพระเครื่องเนื้อดินเผา พุทธลักษณะศิลปะแบบลพบุรียุคต้น ซึ่งเรียกขานนามว่าพระรอด พระเครื่องซึ่งเป็นเพชรน้ำเอกของนครหริภุญชัยขึ้นในราวปี พ.ศ.1223 แล้วพระนางเอกกษัตรีจึงมีรับสั่งให้แจกจ่ายเป็นเครื่องรางป้องกันศาสตราวุธ แก่ทหารหริภุญชัยทุกคน
กิเลสตัณหานำมาซึ่งหายนะและความตาย การศึกครานี้ได้ทำให้พื้นพสุธานอกกำแพงนครหริภุญชัยเจิ่งนองไปด้วยหยาดโลหิตของนักรบทั้งสองฝ่าย หากแต่ยิ่งรบกันนานวันเข้า ทัพระมิงค์นครกลับยิ่งปรากฏลางพ่ายแพ้ เพราะดูเหมือนพละกำลังของทหารละว้าจะอ่อนล้าลงทุกที กลับกันกับทหารหริภุญชัยที่ล้วนฮึกเหิมทรหด ไล่กระหน่ำต่อตีจนอีกฝ่ายถอยร่นไม่เป็นขบวน มิหนำซ้ำคมหอกดาบของศัตรูก็ดูเหมือนไม่ระคายผิว ล้วนพลาดไปเป็นอัศจรรย์ และแล้วด้วยศักดาแห่งกองทหารกล้า อีกทั้งอำนาจพุทธคุณแห่งพระรอด กองทัพหริภุญชัยจึงกำชัยชำนะเหนือกองทัพละว้าได้ในที่สุด
ครั้นบ้านเมืองสงบลง พระนางจามเทวีเป็นเจ้าจึงได้มีรับสั่งให้บรรจุพระรอดทั้งหมดไว้ในสถูปเจดีย์วัดมหาวัน ซึ่งเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูนนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา....สาธุ
(มีต่อ)
ชื่อเดียวเอี่ยวทุกเรื่อง แม่...แม่ทุกคนมีบุญคุณ แม้เป็นแม่บุญธรรม (ปาฏิหาริย์คุณพระช่วย รีไร้ท์)
องค์กษัตรีแห่งนครหริภุญชัย ทรงสิริโฉมในพัสตราภรณ์เยี่ยงสตรีทวาราวดีผู้สูงศักดิ์ ประทับว่าราชการงานเมืองอยู่เหนือบัลลังก์ทองของเวียงอันอลังการ พระองค์ปรารภกับขุนพลคู่พระทัย แม่ทัพหริภุญชัยผู้เก่งฉกาจนามว่าคะวะยะ พร้อมพระฤาษีที่ปรึกษาและเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่ในท้องพระโรงใหญ่
“เราจะทำเยี่ยงไรกับขุนหลวงวิรังคะนี้ดี กษัตริย์แห่งระมิงค์นครผู้นี้โอหังนัก กระทำการโดยไม่เกรงคำครหา ถึงกับแต่งขบวนมาขอข้าไปเป็นมเหสี ช่างหน้าไม่อายจริง ๆ อันตัวข้านี้ก็มีองค์รามแห่งละโว้เป็นพระสวามีอยู่แล้ว ลูกเต้าข้าก็มีเป็นฝาแฝดถึงสองพระองค์” ทรงนิ่วขนงเรียวงามพลางรับสั่งฉุนเฉียว
“ข้าหาวิธีหลีกเลี่ยงการทำสงครามกันจนถึงที่สุดแล้ว ด้วยการท้าพุ่งเสน้าโดยมิต้องทำศึกกัน แต่ขุนหลวงกุนาระผู้นี้จะเข้าใจความก็หาไม่ ยังดื้อดึงจะเอาตัวข้าไปยังนครลุ่มน้ำปิงให้ได้ เช่นนี้แล้วหริภุญชัยก็คงไม่แคล้วต้องทำศึกจริง เพราะถึงแม้เขาจะพุ่งเสน้ามาจนถึงใจกลางนครได้ครบทั้งสามครั้งดังคำท้าแล้ว แต่หริภุญชัยเราก็หาได้ยอมดองกับราชวงศ์ละว้าอันต่ำต้อยไม่ และหากคาถาเวทมนตร์ของขุนหลวงละว้าเสื่อมคลายลง ทำให้พุ่งเสน้ามาไม่ถึงใจเมืองเราจริง กษัตริย์แห่งเมืองระมิงค์ผู้นี้ก็ย่อมเดือดดาล พาลยกทัพมาตีเมืองเราเป็นแน่”
สองฤาษีเห็นอาการทุรนร้อนพระราชหฤทัยของมหาเทวีผู้เป็นเจ้า ที่ปรึกษาใหญ่วาสุเทพฤาษีและสุกกะทันตะฤาษีจึงกราบทูลพระนางว่า
“ข้าพระพุทธเจ้ามีดำริจะใช้วิชาอาคมสร้างพระเครื่องนารอท หรือพระนารท แจกจ่ายให้แก่ทหารทุกหมู่เหล่า เพื่อเสริมพระเกียรติและให้ทหารเราแคล้วคลาดจากภยันตรายในการสู้รบประการหนึ่ง อีกทั้งปราศจากโรคภัยทั้งปวงอีกประการหนึ่งด้วยพระพุทธเจ้าข้า”
ในเพลานั้นเอง จึงบังเกิดพระเครื่องเนื้อดินเผา พุทธลักษณะศิลปะแบบลพบุรียุคต้น ซึ่งเรียกขานนามว่าพระรอด พระเครื่องซึ่งเป็นเพชรน้ำเอกของนครหริภุญชัยขึ้นในราวปี พ.ศ.1223 แล้วพระนางเอกกษัตรีจึงมีรับสั่งให้แจกจ่ายเป็นเครื่องรางป้องกันศาสตราวุธ แก่ทหารหริภุญชัยทุกคน
กิเลสตัณหานำมาซึ่งหายนะและความตาย การศึกครานี้ได้ทำให้พื้นพสุธานอกกำแพงนครหริภุญชัยเจิ่งนองไปด้วยหยาดโลหิตของนักรบทั้งสองฝ่าย หากแต่ยิ่งรบกันนานวันเข้า ทัพระมิงค์นครกลับยิ่งปรากฏลางพ่ายแพ้ เพราะดูเหมือนพละกำลังของทหารละว้าจะอ่อนล้าลงทุกที กลับกันกับทหารหริภุญชัยที่ล้วนฮึกเหิมทรหด ไล่กระหน่ำต่อตีจนอีกฝ่ายถอยร่นไม่เป็นขบวน มิหนำซ้ำคมหอกดาบของศัตรูก็ดูเหมือนไม่ระคายผิว ล้วนพลาดไปเป็นอัศจรรย์ และแล้วด้วยศักดาแห่งกองทหารกล้า อีกทั้งอำนาจพุทธคุณแห่งพระรอด กองทัพหริภุญชัยจึงกำชัยชำนะเหนือกองทัพละว้าได้ในที่สุด
ครั้นบ้านเมืองสงบลง พระนางจามเทวีเป็นเจ้าจึงได้มีรับสั่งให้บรรจุพระรอดทั้งหมดไว้ในสถูปเจดีย์วัดมหาวัน ซึ่งเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูนนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา....สาธุ
(มีต่อ)