สืบเนื่องจากกระทู้...
https://ppantip.com/topic/40619470
ก็มีสมาชิกที่เคารพหลายๆท่าน ขอทราบแนวทางการลงทุน ทั้งที่สอบถามมาในกระทู้และก็ส่งข้อความมาหลังไมค์ ผมจึงต้องขอใช้เวลาเก็บข้อมูลสักพัก เนื่องจากหุ้นบางตัวเขายังไม่จบรอบ แต่เนื่องจากปัจจุบันผมได้ขายหุ้นออกและถือเงินสดเกิน 80 % (จากต้นปีที่ถือเงินสดที่ 10 %) วันนี้ก็เลยจะมาส่งการบ้านครับ
= ก่อนอื่นต้องขอเรียนทุกท่านว่า กระทู้นี้มีความประสงค์จะรีวิวแนวทางที่ผมสร้างพอร์ทขึ้นมา มิได้มีเจตนาชี้นำหรือบอกว่าหลักการนี้จะดีหรือไม่
ซึ่งหลักการที่ผมใช้นี้ก็มีจุดอ่อนอยู่มากพอสมควร แต่มันก็ถูกลบล้างด้วยกำไรและผลงานที่เป็นบวกแบบสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือ ช่วยปกป้องเงินต้นไม่ให้เสียหายหนัก สุดท้ายแล้วผมเชื่อว่าหลักการที่ดีนั้น ควรเป็นอะไรก็ได้ที่ทำให้ผลงานคุณเป็นบวกอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว และหลักการที่ผมเชื่อว่าดี่ที่สุดในโลกและมีผลงานที่ดีในระยะยาว นั่นคือหลักการ vi. ซึ่งแนวทางนี้ก็มีผลงานให้ประจักษ์ผ่านนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าทั้งเมืองไทยและระดับโลก... เพียงแต่เราต้องยอมรับว่าหลักการใดๆก็ย่อมมีจุดอ่อนและไม่สามารถจะทำกำไรได้ทุกๆครั้งและทุกๆช่วงเวลา ไม่ว่าคุณจะอ่านหนังสือมา 100 เล่ม ลงทุนมา 10 ปีก็ตาม หากยังไม่ประสบความสำเร็จก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแล้ว
ที่ผ่านมา ผมเองก็ยึดมั่นในหลักการ vi. มาตลอดแต่ขอบอกเลยว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ผลงานก็ลุ่มๆดอนๆ สุดท้ายแล้วผมได้ปฎิวัติแนวทางการลงทุนใหม่ทั้งหมด เปิดใจให้กับแนวทางอื่นๆพร้อมกับบันทึกข้อมูล และ เขียนคู่มือเฉพาะสำหรับตัวเองขึ้นมา...
พร้อมประเมินผลงานเป็นระยะๆ ผมกลับพบว่า ผลงานดีขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างน่าประหลาดใจ แต่..ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามผมก็ยังต้องเรียนรู้
และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อความมั่นคงในระยะยาว คำถามคือ แล้วผมใช้หลักการอะไรผลงานเป็นอย่างไร
ด้วยระดับพอร์ทที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก พร้อมเป้าหมายที่ตั้งใว้ในแต่ละปี คือมีผลงานเป็นบวกแบบทบต้น ตัวเลข 2 หลักก็พอใจแล้ว เช่น +10%ถึง + 20 % ต่อปี (ที่สำคัญคือป้องกันเงินต้นให้เสียหายน้อยเมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่ดีหรือเกิดวิกฤติ) ค่อยๆเติบโตเปรียบเสมือนการทำธุรกิจที่ต้องใช้เวลาหลายๆปี
ผมเองก็เชื่อว่าแนวทางการลงทุนแต่ละแนวทางนั้นดีหมด เพียงแต่ว่าเราจะนำมันมาใช้อย่างไร เวลาใด เปรียบเหมือนนักกีฬายิมนาสติก
คุณจะตีลังกา 8 รอบใส่เกลียวอีก 4 รอบ แต่สุดท้ายคุณต้องจบที่ท่าบังคับนั่นคือคุณต้องทรงตัวให้ได้ ย่อเข่าเล็กน้อยพร้อมยกมือขึ้นและโค้งคำนับ ... (ท่าจบของการลงทุนก็ควรเป็นกำไร) เช่นเดียวกันในเกมส์นี้เราก็ต้องเป็นทั้งโค้ชและผู้เล่นในคนๆเดียว ซึ่งการซื้อขายหุ้นก็มีความพิเศษอีกอย่างคือมันมักจะทำให้เราขาดทุนได้ตลอดเวลาเช่นกัน
หลังจากที่ผมกลับมาทบทวนวิธีการ พร้อมกับเปิดใจให้กับแนวทางใหม่และผสมผสานกัน ผมก็ได้พบแนวทางบางอย่าง ซึ่งก็ขอสรุปเบื้องต้นได้ดังนี้
= กล่องใบที่ 1.การคัดเลือก และคัดกรองหุ้น คือทฤษฏีการคัดเลือกหุ้นก็มีหลายแนวทาง ที่ผมเลือกใช้คือ
ทฤษฏี คัดเลือกหุ้นแบบ vi (หนังสือ ตีแตก ) พื้นฐานดี (super stock) ราคาเหมาะสม
ทฤษฏี ปีเตอร์ ลินซ์ คัดหุ้นที่เติบโต อย่างน้อย 20 %ต่อปี..
ทฤษฏี คัดเลือกหุ้น แบบ canslim ( william j.oneil) mcap.ไม่สูง ราคาถูก เติบโต
ทฤษฏี Tiny Titan ของ James O’Shaughnessy หุ้นเล็ก พื้นฐานดี
ทฤษฏี คัดเลือกหุ้นที่มีผลกำไรทำจุดสูงสุดใหม่
ทฤษฏี gap คัดหุ้นที่มีราคากระโดดสูงกว่าวันก่อนหน้า
ทฤษฏี momentum คัดหุ้นราคาสูงกว่า 52 สัปดาห์
ทฤษฏี bullish hight volume ราคาขึ้นพร้อมปริมาณการซื้อเพิ่ม
ทฤษฏี technical analysis (ema) หุ้นที่เกิดสัญญาณทางเทคนิคโดยใช้เส้นค่าเฉลี่ย
ทฤษฎี random แบบสุ่ม
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ผมได้ศึกษาและได้นำมาปรับปรุง (edit screener)เพื่อให้เหมาะสมเข้ากับ สไตน์ของตัวเอง ซึ่งแต่ละทฤษฏีการคัดเลือกหุ้นจะเป็นตะแกรงในแต่ละเบอร์ และผลจากการคัดกรองก็จะได้หุ้นมาเรื่อยๆ มากน้อยต่างกันไป เมื่อได้ทั้งหมดก็นำมาคัดโดยตะแกรงขั้นสุดท้ายคือ ตะแกรงปัจจัยพื้นฐาน ดูงบการเงิน 56-1, oppday... และนำเข้าในกล่องใบที่ 2 ต่อไป
= กล่องใบที่ 2. แนวทางก่อนการเข้าซื้อ
หลังจากได้หุ้นในกล่องใบที่ 1 มาแล้วผมก็นำมาดูพฤติกรรมของราคาและองค์ประกอบเพื่อดู ดีมานด์ ซัพพลาย เพราะผมมองว่าหุ้นที่พื้นฐานดี พฤติกรรมราคาต้องดีด้วย โดยการดู price pattern , price action , volume และสภาวะตลาด
จากการศึกษา price pattern ทั้งหุ้นไทยหุ้นต่างชาติย้อนหลังไปหลายๆสิบปี พบว่าพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นของนักลุงทุนผ่านการ เคลื่อนไหวของราคา( price action )มันจะมีเบาะแสหรือรูปทรงของหุ้นที่มีโอกาสที่จะขึ้นต่อ รูปแบบเดิมๆ คล้ายๆกัน หรือที่เรียกว่าทรงหุ้นผู้ชนะ (แนะนำว่าดูหนังสือของ william j.oneil จะมีตัวอย่างให้ดูครับ) และเมื่อหุ้นทำทรงแบบนี้ผมก็จะคัดมาใว้ใน ลิสต์ที่จะซื้อ หุ้นบางตัวยังไม่ทำทรง ผมจะยังไม่ทำอะไรแต่จะเก็บใว้ในกล่องที่ 2 เพื่อสังเกตุอาการ พร้อมรอดู volume และสุดท้ายดูสภาวะตลาดประกอบ
= กล่องใบที่ 3. แนวทางการเข้าซื้อ และการบริหารความเสี่ยง
-เมื่อได้หุ้นจากกล่องที่ 2 มาแล้วซึ่งองค์ประกอบครบ ทั้ง price pattern , price action และเมื่อเขาส่งสัญญาณโดยมีปริมาณการซื้อขาย volume ที่เพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ยปกติ ผมจะจับตาเป็นพิเศษ แต่ผมจะยังไม่ซื้อหรือไล่ราคา ซึ่งหลังจากปริมาณการซื้อขายลดลงพร้อมการย่อของราคา ก็ถึงจังหวะที่ผมจะเข้า โดยผมจะแบ่งเงินเข้าซื้อหุ้นตัวนั้นไม่เกิน 20-25 % ของมูลค่ารวมพอร์ต(เลือกขนาดตามความเสี่ยง) และจะไม่ซื้อทีเดียว แต่จะเป็นการซื้อถัวแบบขาขึ้น บางตัวใช้ 3- 3 -3-1หรือ 3 - 2 - 2 - 2 -1 หรือ 5 - 3 - 2 ... คำถามคือทำไมผมไม่ซื้อทีเดียว ส่วนตัวผมมองว่าเราควรป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเข้าซื้อแล้วไม่เป็นไปตามที่คิดใว้ และหลายๆครั้งแทนที่เขาจะขึ้นแต่กลับลงสวนทางและหลุดระดับลบ - 5 - 7 % ผมจะคัทแล้วเก็บเงินสดใว้และรอจังหวะใหม่ (จงเชื่อในพลังของการ cutloss ) เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแต่สิ่งที่เราต้องทำคือป้องกันความเสี่ยงใว้ก่อน หากสถานการณ์ไม่ดีผมจะถอยออกมากำเงินสดใว้ดีที่สุด แต่ถ้าเขาขึ้นต่อ ผมค่อย ๆ ทยอยเข้าซื้อจนครบ หลังจากนั้นก็อดทนอยู่กับเขาให้นานที่สุดจนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบราคาหรือเกิดการกลับตัว และสถานะที่ผมจะยืนมีแค่ 4 สถานะนั่นคือ 1.ขาดทุนเล็กน้อย 2.เท่าทุน 3. กำไรน้อย 4.กำไรมาก
(ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เราควรอยู่กับมันและบริหารมัน) ซึ่งในการซื้อ 10 ตัวผมอาจจะตัดขาดทุนหุ้นไป 4-6 ตัว แต่ในจำนวนที่เหลือนั้นมัน
อาจจะมี 1 - 2 ตัวที่ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งเท่านี้ก็เพียงพอที่จะทำให้พอร์ตเติบโตได้
การกระจายการลงทุนในหุ้นดีๆทั้งหลาย คงมีสักตัวที่กำไรเป็นเด้ง แค่นี้ก็พอแล้ว( ปีเตอร์ ลินซ์ ) และควรเก็บเงินสดสำรองในพอร์ตเสมอ
= กล่องใบที่ 4. จิตวิทยาการลงทุนและการขาย
เมื่อผมได้ซื้อหุ้นตัวใดตัวนึงไปแล้วสิ่งที่ผมจะต้องทำคือ ควบคุมสภาพจิตใจ การมีวินัย และความอดทน หุ้นบางตัวซื้อแล้ววิ่ง ผมจะทยอยซื้อแบบถัวเฉลี่ยขาขึ้นจนครบตามมูลค่าที่คิดใว้ หากเขาวิ่งต่อจนเรากลัวว่ามันจะลง สิ่งที่ผมทำคือจะแบ่งขายออก 30 % เพื่อความสบายใจเพราะอย่างน้อยผมยังได้กำไร โดยระดับที่ขาย ก็ประมาณ+ 25 % ของต้นทุน แต่บางตัวก็ต่ำกว่านั้น ส่วนที่เหลือผมจะอดทนอยู่กับกำไรให้นานที่สุด
บางตัวใช้เวลาเป็นปี
หรือหลายๆปี บางตัวขึ้น แล้วนิ่งนานๆ แต่กำไรยังเป็น + เช่น 10% +20 % ผมก็ไม่ต้องทำอะไร หากขึ้นต่อก็ทำตามแผน แต่หากลงเช่น ลงต่ำกว่าระดับ + 10 % ดูทรงแล้วไม่น่าใว้วางใจ ก็แบ่งขายเก็บกำไรบางส่วน
การพักผ่อน ออกกำลังกาย ใจเย็น ทำจิตใจให้ร่าเริง มั่นคง ให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนและระบบที่เราวางใว้
(ผมเชื่อว่าทัศนคติที่ดีจะส่งผลให้ผลงานดีด้วย) บางทีโชคมักมาจากการวางแผนอย่างรอบคอบและปฏิบัติตามแผนนั้นอย่างอดทน
ฉะนั้น อย่า ! รีบร้อน รวยเร็ว ทิ้งท้าย ด้วย 4 หลักการ
1.ตัดขาดทุนให้ไว
2.อยู่กับกำไรให้นาน
3.บริหารความเสี่ยงให้เป็น
4.ใจเย็น พักผ่อนให้เพียงพอ รอ และมีวินัย
= สุดท้ายคือ นำกล่องใบที่ 1- 4 มาใว้ในตู้ที่ชื่อว่า “ตู้แห่งการเรียนรู้” และนี่เป็นตัวอย่างบางส่วนที่ ผมได้จากการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก และบันทึก
- สมการ 72/R =T ยังเป็นสิ่งมหัสจรรย์เสมอ
- โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ตลาดทุนก็สามารถเปลี่ยนได้ทุกวัน
- สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตก็ไม่ได้การันตีว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
- อย่าห่วงกับภาวะเศรษฐกิจเพราะคุณไม่รู้หรอกว่าจะเป็นอย่างไร จงโฟกัสไปที่ธุรกิจนั้น
- สภาวะเศรษฐกิจ กับความความคาดหวังในตลาดทุนอาจสวนทางกัน
- อย่าหลงระเริงในความสำเร็จ
- ก่อนการนึกถึงกำไร ให้นึกถึงการปกป้องเงินทุน
- การที่เราเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
- ถ้าเราศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จ ให้ศึกษาตอนที่เขาล้มเหลวด้วย
- จงเปิดใจ เรียนรู้พัฒนาและปรับตัวอยู่เสมอ ที่สำคัญอย่าประมาท
- ความผิดพลาดคือครูชั้นเยี่ยม จงบันทึกและแก้ไข
- บางทีชัยชนะของเกมส์กีฬาไม่ใช่อยู่ที่การทำประตูแต่อาจจะอยู่ที่การป้องกันประตู
- เราไม่จำเป็นต้องเข้าเส้นชัยเป็นที่ 1 แต่สุดท้ายเราได้แชมป์ (Moto. gp)
- นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ก็สามารถบริหารกองทุนให้ขาดทุนได้เช่นกัน
- ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนบอกว่าคุณเป็นคนเก่ง และคุณก็คล้อยตามเขาจริงๆ
- เรายึดมั่นในหลักการได้ แต่ควรยืดหยุ่นในวิธีการ
- บางทีหลักการการลงทุนอาจจะขึ้นอยู่กับขนาดพอร์ตการลงทุน
- เกมส์ของการลงทุนมันจะมีกฎบางอย่างที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จ เพียงแต่คุณต้องหามันเอง
- อย่าพยายามเป็นฝ่ายถูก แต่จงพยายามอยู่กับฝ่ายที่ทำกำไร
- ในระยะสั้นวิธีการลงทุนที่ดีก็อาจทำให้ขาดทุนได้ แต่ระยะยาวควรกำไร(PL.)
- การขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดามาก หากมันเป็นจำนวนน้อย
- สิ่งที่สำคัญกว่าความรู้และทักษะ คือวินัยและความอดทน
- อย่าพยายามหาเหตุผลว่าหุ้นจะไปทางไหน จนกว่าจะพบเบาะแสโดยการเคลื่อนไหวของราคา แล้วเหตุผลจะตามมาเอง(่JL.)
- อย่าเสียเวลาคาดเดาว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง แต่จงใช้เวลาวางแผนว่าหากหุ้นไปทางนั้นแล้วเราจะทำอย่างไร
- ในตลาดหุ้นเราควรเป็นฝ่ายกระทำไม่ใช่เป็นฝ่ายถูกกระทำ
- ควรขายเพราะรู้สึกอยากขาย ไม่ใช่ขายเพราะจำเป็นต้องขาย
- จงทำทุกอย่างแบบมืออาชีพ แล้วผลลัพท์ก็จะได้แบบมืออาชีพ
- บทวิเคราะห์หรือข่าวมีใว้อ่าน ไม่ได้มีใว้ให้เชื่อ
- การลงทุนมันคือศิลปะ มันประกอบด้วยข้อมูลและจิตนาการ
- จงทำงานหนักแบบเงียบๆแล้วปล่อยให้ความสำเร็จมันเปล่งเสียง
- จงสนุกไปกับประสบการณ์ระหว่างทางเพราะปลายทางอาจไม่ใช่ที่สุดของความสำเร็จ(TC.)
- ผลงานการลงทุนที่ดี ควรมาจากสุขภาพกายและสุขภาพใจและทัศนคติที่ดีด้วย
- ความสำเร็จอาจไม่ใด้อยู่ข้างคนเก่งที่สุด แต่มันควรจะอยู่กับคนที่มีความสุขที่สุด
- เงินสามารถจุนเจือชีวิตได้ ความฝันสามารถจุนเจือจิตใจได้ แต่ความรักสามารถจุนเจือทุกสิ่งได้
= ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นบางส่วนในคู่มือการลงทุนของผมและมันก็เป็นเรื่องแปลกที่ทำให้ผลงานผมดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ !!!
ผมเองก็เชื่อมั่นว่าทุกๆท่านจะมีคู่มือในการลงทุนของตัวเอง ลองค้นหาและเขียนมันขึ้นมา มันอาจจะเป็น
คำภีร์ ที่นำพาท่านไปสู่ความสำเร็จก็ได้
ขอให้ทุกๆท่านโชคดีและมีความสุขในการลงทุน
ขอบคุณครับ
ทุ่งหญ้าแห่งความสุข
(ไว้มีโอกาสในบทความต่อไปผมจะมารีวิวตัวอย่างการซื้อ การขาย การตัดขาดทุนครับ)
= จากเด็ก กยศ. สู่พอร์ต 7 หลัก (รีวิวแนวทางการลงทุน)
ก็มีสมาชิกที่เคารพหลายๆท่าน ขอทราบแนวทางการลงทุน ทั้งที่สอบถามมาในกระทู้และก็ส่งข้อความมาหลังไมค์ ผมจึงต้องขอใช้เวลาเก็บข้อมูลสักพัก เนื่องจากหุ้นบางตัวเขายังไม่จบรอบ แต่เนื่องจากปัจจุบันผมได้ขายหุ้นออกและถือเงินสดเกิน 80 % (จากต้นปีที่ถือเงินสดที่ 10 %) วันนี้ก็เลยจะมาส่งการบ้านครับ
= ก่อนอื่นต้องขอเรียนทุกท่านว่า กระทู้นี้มีความประสงค์จะรีวิวแนวทางที่ผมสร้างพอร์ทขึ้นมา มิได้มีเจตนาชี้นำหรือบอกว่าหลักการนี้จะดีหรือไม่
ซึ่งหลักการที่ผมใช้นี้ก็มีจุดอ่อนอยู่มากพอสมควร แต่มันก็ถูกลบล้างด้วยกำไรและผลงานที่เป็นบวกแบบสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือ ช่วยปกป้องเงินต้นไม่ให้เสียหายหนัก สุดท้ายแล้วผมเชื่อว่าหลักการที่ดีนั้น ควรเป็นอะไรก็ได้ที่ทำให้ผลงานคุณเป็นบวกอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว และหลักการที่ผมเชื่อว่าดี่ที่สุดในโลกและมีผลงานที่ดีในระยะยาว นั่นคือหลักการ vi. ซึ่งแนวทางนี้ก็มีผลงานให้ประจักษ์ผ่านนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าทั้งเมืองไทยและระดับโลก... เพียงแต่เราต้องยอมรับว่าหลักการใดๆก็ย่อมมีจุดอ่อนและไม่สามารถจะทำกำไรได้ทุกๆครั้งและทุกๆช่วงเวลา ไม่ว่าคุณจะอ่านหนังสือมา 100 เล่ม ลงทุนมา 10 ปีก็ตาม หากยังไม่ประสบความสำเร็จก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแล้ว
ที่ผ่านมา ผมเองก็ยึดมั่นในหลักการ vi. มาตลอดแต่ขอบอกเลยว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ผลงานก็ลุ่มๆดอนๆ สุดท้ายแล้วผมได้ปฎิวัติแนวทางการลงทุนใหม่ทั้งหมด เปิดใจให้กับแนวทางอื่นๆพร้อมกับบันทึกข้อมูล และ เขียนคู่มือเฉพาะสำหรับตัวเองขึ้นมา...
พร้อมประเมินผลงานเป็นระยะๆ ผมกลับพบว่า ผลงานดีขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างน่าประหลาดใจ แต่..ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามผมก็ยังต้องเรียนรู้
และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อความมั่นคงในระยะยาว คำถามคือ แล้วผมใช้หลักการอะไรผลงานเป็นอย่างไร
ด้วยระดับพอร์ทที่ไม่ได้ใหญ่มากนัก พร้อมเป้าหมายที่ตั้งใว้ในแต่ละปี คือมีผลงานเป็นบวกแบบทบต้น ตัวเลข 2 หลักก็พอใจแล้ว เช่น +10%ถึง + 20 % ต่อปี (ที่สำคัญคือป้องกันเงินต้นให้เสียหายน้อยเมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่ดีหรือเกิดวิกฤติ) ค่อยๆเติบโตเปรียบเสมือนการทำธุรกิจที่ต้องใช้เวลาหลายๆปี
ผมเองก็เชื่อว่าแนวทางการลงทุนแต่ละแนวทางนั้นดีหมด เพียงแต่ว่าเราจะนำมันมาใช้อย่างไร เวลาใด เปรียบเหมือนนักกีฬายิมนาสติก
คุณจะตีลังกา 8 รอบใส่เกลียวอีก 4 รอบ แต่สุดท้ายคุณต้องจบที่ท่าบังคับนั่นคือคุณต้องทรงตัวให้ได้ ย่อเข่าเล็กน้อยพร้อมยกมือขึ้นและโค้งคำนับ ... (ท่าจบของการลงทุนก็ควรเป็นกำไร) เช่นเดียวกันในเกมส์นี้เราก็ต้องเป็นทั้งโค้ชและผู้เล่นในคนๆเดียว ซึ่งการซื้อขายหุ้นก็มีความพิเศษอีกอย่างคือมันมักจะทำให้เราขาดทุนได้ตลอดเวลาเช่นกัน
หลังจากที่ผมกลับมาทบทวนวิธีการ พร้อมกับเปิดใจให้กับแนวทางใหม่และผสมผสานกัน ผมก็ได้พบแนวทางบางอย่าง ซึ่งก็ขอสรุปเบื้องต้นได้ดังนี้
= กล่องใบที่ 1.การคัดเลือก และคัดกรองหุ้น คือทฤษฏีการคัดเลือกหุ้นก็มีหลายแนวทาง ที่ผมเลือกใช้คือ
ทฤษฏี คัดเลือกหุ้นแบบ vi (หนังสือ ตีแตก ) พื้นฐานดี (super stock) ราคาเหมาะสม
ทฤษฏี ปีเตอร์ ลินซ์ คัดหุ้นที่เติบโต อย่างน้อย 20 %ต่อปี..
ทฤษฏี คัดเลือกหุ้น แบบ canslim ( william j.oneil) mcap.ไม่สูง ราคาถูก เติบโต
ทฤษฏี Tiny Titan ของ James O’Shaughnessy หุ้นเล็ก พื้นฐานดี
ทฤษฏี คัดเลือกหุ้นที่มีผลกำไรทำจุดสูงสุดใหม่
ทฤษฏี gap คัดหุ้นที่มีราคากระโดดสูงกว่าวันก่อนหน้า
ทฤษฏี momentum คัดหุ้นราคาสูงกว่า 52 สัปดาห์
ทฤษฏี bullish hight volume ราคาขึ้นพร้อมปริมาณการซื้อเพิ่ม
ทฤษฏี technical analysis (ema) หุ้นที่เกิดสัญญาณทางเทคนิคโดยใช้เส้นค่าเฉลี่ย
ทฤษฎี random แบบสุ่ม
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ผมได้ศึกษาและได้นำมาปรับปรุง (edit screener)เพื่อให้เหมาะสมเข้ากับ สไตน์ของตัวเอง ซึ่งแต่ละทฤษฏีการคัดเลือกหุ้นจะเป็นตะแกรงในแต่ละเบอร์ และผลจากการคัดกรองก็จะได้หุ้นมาเรื่อยๆ มากน้อยต่างกันไป เมื่อได้ทั้งหมดก็นำมาคัดโดยตะแกรงขั้นสุดท้ายคือ ตะแกรงปัจจัยพื้นฐาน ดูงบการเงิน 56-1, oppday... และนำเข้าในกล่องใบที่ 2 ต่อไป
= กล่องใบที่ 2. แนวทางก่อนการเข้าซื้อ
หลังจากได้หุ้นในกล่องใบที่ 1 มาแล้วผมก็นำมาดูพฤติกรรมของราคาและองค์ประกอบเพื่อดู ดีมานด์ ซัพพลาย เพราะผมมองว่าหุ้นที่พื้นฐานดี พฤติกรรมราคาต้องดีด้วย โดยการดู price pattern , price action , volume และสภาวะตลาด
จากการศึกษา price pattern ทั้งหุ้นไทยหุ้นต่างชาติย้อนหลังไปหลายๆสิบปี พบว่าพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นของนักลุงทุนผ่านการ เคลื่อนไหวของราคา( price action )มันจะมีเบาะแสหรือรูปทรงของหุ้นที่มีโอกาสที่จะขึ้นต่อ รูปแบบเดิมๆ คล้ายๆกัน หรือที่เรียกว่าทรงหุ้นผู้ชนะ (แนะนำว่าดูหนังสือของ william j.oneil จะมีตัวอย่างให้ดูครับ) และเมื่อหุ้นทำทรงแบบนี้ผมก็จะคัดมาใว้ใน ลิสต์ที่จะซื้อ หุ้นบางตัวยังไม่ทำทรง ผมจะยังไม่ทำอะไรแต่จะเก็บใว้ในกล่องที่ 2 เพื่อสังเกตุอาการ พร้อมรอดู volume และสุดท้ายดูสภาวะตลาดประกอบ
= กล่องใบที่ 3. แนวทางการเข้าซื้อ และการบริหารความเสี่ยง
-เมื่อได้หุ้นจากกล่องที่ 2 มาแล้วซึ่งองค์ประกอบครบ ทั้ง price pattern , price action และเมื่อเขาส่งสัญญาณโดยมีปริมาณการซื้อขาย volume ที่เพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ยปกติ ผมจะจับตาเป็นพิเศษ แต่ผมจะยังไม่ซื้อหรือไล่ราคา ซึ่งหลังจากปริมาณการซื้อขายลดลงพร้อมการย่อของราคา ก็ถึงจังหวะที่ผมจะเข้า โดยผมจะแบ่งเงินเข้าซื้อหุ้นตัวนั้นไม่เกิน 20-25 % ของมูลค่ารวมพอร์ต(เลือกขนาดตามความเสี่ยง) และจะไม่ซื้อทีเดียว แต่จะเป็นการซื้อถัวแบบขาขึ้น บางตัวใช้ 3- 3 -3-1หรือ 3 - 2 - 2 - 2 -1 หรือ 5 - 3 - 2 ... คำถามคือทำไมผมไม่ซื้อทีเดียว ส่วนตัวผมมองว่าเราควรป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเข้าซื้อแล้วไม่เป็นไปตามที่คิดใว้ และหลายๆครั้งแทนที่เขาจะขึ้นแต่กลับลงสวนทางและหลุดระดับลบ - 5 - 7 % ผมจะคัทแล้วเก็บเงินสดใว้และรอจังหวะใหม่ (จงเชื่อในพลังของการ cutloss ) เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแต่สิ่งที่เราต้องทำคือป้องกันความเสี่ยงใว้ก่อน หากสถานการณ์ไม่ดีผมจะถอยออกมากำเงินสดใว้ดีที่สุด แต่ถ้าเขาขึ้นต่อ ผมค่อย ๆ ทยอยเข้าซื้อจนครบ หลังจากนั้นก็อดทนอยู่กับเขาให้นานที่สุดจนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบราคาหรือเกิดการกลับตัว และสถานะที่ผมจะยืนมีแค่ 4 สถานะนั่นคือ 1.ขาดทุนเล็กน้อย 2.เท่าทุน 3. กำไรน้อย 4.กำไรมาก
(ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เราควรอยู่กับมันและบริหารมัน) ซึ่งในการซื้อ 10 ตัวผมอาจจะตัดขาดทุนหุ้นไป 4-6 ตัว แต่ในจำนวนที่เหลือนั้นมัน
อาจจะมี 1 - 2 ตัวที่ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งเท่านี้ก็เพียงพอที่จะทำให้พอร์ตเติบโตได้
การกระจายการลงทุนในหุ้นดีๆทั้งหลาย คงมีสักตัวที่กำไรเป็นเด้ง แค่นี้ก็พอแล้ว( ปีเตอร์ ลินซ์ ) และควรเก็บเงินสดสำรองในพอร์ตเสมอ
= กล่องใบที่ 4. จิตวิทยาการลงทุนและการขาย
เมื่อผมได้ซื้อหุ้นตัวใดตัวนึงไปแล้วสิ่งที่ผมจะต้องทำคือ ควบคุมสภาพจิตใจ การมีวินัย และความอดทน หุ้นบางตัวซื้อแล้ววิ่ง ผมจะทยอยซื้อแบบถัวเฉลี่ยขาขึ้นจนครบตามมูลค่าที่คิดใว้ หากเขาวิ่งต่อจนเรากลัวว่ามันจะลง สิ่งที่ผมทำคือจะแบ่งขายออก 30 % เพื่อความสบายใจเพราะอย่างน้อยผมยังได้กำไร โดยระดับที่ขาย ก็ประมาณ+ 25 % ของต้นทุน แต่บางตัวก็ต่ำกว่านั้น ส่วนที่เหลือผมจะอดทนอยู่กับกำไรให้นานที่สุด บางตัวใช้เวลาเป็นปี
หรือหลายๆปี บางตัวขึ้น แล้วนิ่งนานๆ แต่กำไรยังเป็น + เช่น 10% +20 % ผมก็ไม่ต้องทำอะไร หากขึ้นต่อก็ทำตามแผน แต่หากลงเช่น ลงต่ำกว่าระดับ + 10 % ดูทรงแล้วไม่น่าใว้วางใจ ก็แบ่งขายเก็บกำไรบางส่วน
การพักผ่อน ออกกำลังกาย ใจเย็น ทำจิตใจให้ร่าเริง มั่นคง ให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนและระบบที่เราวางใว้
(ผมเชื่อว่าทัศนคติที่ดีจะส่งผลให้ผลงานดีด้วย) บางทีโชคมักมาจากการวางแผนอย่างรอบคอบและปฏิบัติตามแผนนั้นอย่างอดทน
ฉะนั้น อย่า ! รีบร้อน รวยเร็ว ทิ้งท้าย ด้วย 4 หลักการ
1.ตัดขาดทุนให้ไว
2.อยู่กับกำไรให้นาน
3.บริหารความเสี่ยงให้เป็น
4.ใจเย็น พักผ่อนให้เพียงพอ รอ และมีวินัย
= สุดท้ายคือ นำกล่องใบที่ 1- 4 มาใว้ในตู้ที่ชื่อว่า “ตู้แห่งการเรียนรู้” และนี่เป็นตัวอย่างบางส่วนที่ ผมได้จากการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก และบันทึก
- สมการ 72/R =T ยังเป็นสิ่งมหัสจรรย์เสมอ
- โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ตลาดทุนก็สามารถเปลี่ยนได้ทุกวัน
- สิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตก็ไม่ได้การันตีว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
- อย่าห่วงกับภาวะเศรษฐกิจเพราะคุณไม่รู้หรอกว่าจะเป็นอย่างไร จงโฟกัสไปที่ธุรกิจนั้น
- สภาวะเศรษฐกิจ กับความความคาดหวังในตลาดทุนอาจสวนทางกัน
- อย่าหลงระเริงในความสำเร็จ
- ก่อนการนึกถึงกำไร ให้นึกถึงการปกป้องเงินทุน
- การที่เราเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
- ถ้าเราศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จ ให้ศึกษาตอนที่เขาล้มเหลวด้วย
- จงเปิดใจ เรียนรู้พัฒนาและปรับตัวอยู่เสมอ ที่สำคัญอย่าประมาท
- ความผิดพลาดคือครูชั้นเยี่ยม จงบันทึกและแก้ไข
- บางทีชัยชนะของเกมส์กีฬาไม่ใช่อยู่ที่การทำประตูแต่อาจจะอยู่ที่การป้องกันประตู
- เราไม่จำเป็นต้องเข้าเส้นชัยเป็นที่ 1 แต่สุดท้ายเราได้แชมป์ (Moto. gp)
- นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ก็สามารถบริหารกองทุนให้ขาดทุนได้เช่นกัน
- ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนบอกว่าคุณเป็นคนเก่ง และคุณก็คล้อยตามเขาจริงๆ
- เรายึดมั่นในหลักการได้ แต่ควรยืดหยุ่นในวิธีการ
- บางทีหลักการการลงทุนอาจจะขึ้นอยู่กับขนาดพอร์ตการลงทุน
- เกมส์ของการลงทุนมันจะมีกฎบางอย่างที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จ เพียงแต่คุณต้องหามันเอง
- อย่าพยายามเป็นฝ่ายถูก แต่จงพยายามอยู่กับฝ่ายที่ทำกำไร
- ในระยะสั้นวิธีการลงทุนที่ดีก็อาจทำให้ขาดทุนได้ แต่ระยะยาวควรกำไร(PL.)
- การขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดามาก หากมันเป็นจำนวนน้อย
- สิ่งที่สำคัญกว่าความรู้และทักษะ คือวินัยและความอดทน
- อย่าพยายามหาเหตุผลว่าหุ้นจะไปทางไหน จนกว่าจะพบเบาะแสโดยการเคลื่อนไหวของราคา แล้วเหตุผลจะตามมาเอง(่JL.)
- อย่าเสียเวลาคาดเดาว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง แต่จงใช้เวลาวางแผนว่าหากหุ้นไปทางนั้นแล้วเราจะทำอย่างไร
- ในตลาดหุ้นเราควรเป็นฝ่ายกระทำไม่ใช่เป็นฝ่ายถูกกระทำ
- ควรขายเพราะรู้สึกอยากขาย ไม่ใช่ขายเพราะจำเป็นต้องขาย
- จงทำทุกอย่างแบบมืออาชีพ แล้วผลลัพท์ก็จะได้แบบมืออาชีพ
- บทวิเคราะห์หรือข่าวมีใว้อ่าน ไม่ได้มีใว้ให้เชื่อ
- การลงทุนมันคือศิลปะ มันประกอบด้วยข้อมูลและจิตนาการ
- จงทำงานหนักแบบเงียบๆแล้วปล่อยให้ความสำเร็จมันเปล่งเสียง
- จงสนุกไปกับประสบการณ์ระหว่างทางเพราะปลายทางอาจไม่ใช่ที่สุดของความสำเร็จ(TC.)
- ผลงานการลงทุนที่ดี ควรมาจากสุขภาพกายและสุขภาพใจและทัศนคติที่ดีด้วย
- ความสำเร็จอาจไม่ใด้อยู่ข้างคนเก่งที่สุด แต่มันควรจะอยู่กับคนที่มีความสุขที่สุด
- เงินสามารถจุนเจือชีวิตได้ ความฝันสามารถจุนเจือจิตใจได้ แต่ความรักสามารถจุนเจือทุกสิ่งได้
= ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นบางส่วนในคู่มือการลงทุนของผมและมันก็เป็นเรื่องแปลกที่ทำให้ผลงานผมดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ !!!
ผมเองก็เชื่อมั่นว่าทุกๆท่านจะมีคู่มือในการลงทุนของตัวเอง ลองค้นหาและเขียนมันขึ้นมา มันอาจจะเป็นคำภีร์ ที่นำพาท่านไปสู่ความสำเร็จก็ได้
ขอให้ทุกๆท่านโชคดีและมีความสุขในการลงทุน
ขอบคุณครับ
ทุ่งหญ้าแห่งความสุข
(ไว้มีโอกาสในบทความต่อไปผมจะมารีวิวตัวอย่างการซื้อ การขาย การตัดขาดทุนครับ)