รอคอยมานานมากกว่าจะได้สัมผัสตัวเป็นๆ นับวันรอเลย รู้สึกตื่นเต้นกับเจ้าหนูแดงมาก ยิ่งเป็นเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องรถไฟฟ้าอยู่แล้ว !!! แต่...
จขกท.มีความชอบในระบบขนส่งมวลชนทางรางอยู่แล้วเป็นทุนเดิม มาดูหน้าตารถไฟที่ใช้งานในประเทศไทย จะขาดก็แต่ Bombardier Innovia APM ที่ให้บริการใน BTS สายสีทอง ที่ยังไม่ได้ไปหาเจ้าหนูทองเลย ฮ่าๆ (สถานีแถวนู้นคนค่อนข้างเยอะ กลัวโควิด-19 ด้วยแหละ พักก่อนนน...)
ขออนุญาตข้ามวิธีการเดินทางไปยังสถานี และข้อมูลทางเทคนิคของเจ้าหนูแดงไปเลยนะครับ ต้องขออภัยถ้าข้อมูลที่จะแชร์ร่วมกันต่อไปนี้ไม่ถูกใจ หรือมีประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ได้พูดถึง เช่น พื้นที่จอดรถ วิธีการเดินทาง จำนวนของสถานี เจ้าหนูแดงมีกี่ขบวน ฯลฯ เพราะทุกท่านสามารถหาอ่านหรือรับชมได้จากเพจ และสื่อออนไลน์ช่องทางอื่นได้ เช่น Youtube , Facebook ,atc.
วันนี้จะพาไปดู "รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)" SRT RED LINE (Commuter Train) เจ้าหนูแดงที่รอคอย ให้บรรยากาศรถไฟชานเมืองกรุงเทพเหมือนอยู่ที่เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น อีกครั้ง (**หมายเหตุ - จขกท. ไม่ได้ต้องการเทียบชั้นระบบขนส่งมวลชนทางรางของประเทศญี่ปุ่นหรือดูถูกดูแคลนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางของประเทศไทย ความตั้งใจคือต้องการบอกความรู้สึกที่ไปสัมผัสมาแล้ว ให้อารมณ์คล้ายๆ อยู่ชานเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น) ถ้าพร้อมแล้วเรานั่งรถไฟไปพร้อมกันเนอะ....
1. ทางเชื่อมระหว่างสถานี หรือ ทางเชื่อมไปชานชาลา
Bangkok (ภาพด้านบน) : เป็นอุโมงค์ทางเชื่อมจาก MRT Blue Line มายัง Bang Sue Grand Station ทางเดินจะโล่งๆ ตามสไตล์ประเทศไทย
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : เป็นทางเชื่อมจากทางเข้า Kyoto Station ไปยังชานชาลารถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่ออกไปชานเมือง จะเห็นว่ามีตู้รับฝากของอัตโนมัติเยอะมาก
สรุป : ทางเชื่อมระหว่างสถานี หรือ ทางเชื่อมไปชานชาลา
- ความเหมือน : ทางเชื่อมระหว่างสถานี หรือชานชาลาระยะเดินไกลมาก ซึ่งที่เกียวโตก็เดินไกลประมาณนี้ หรือมากกว่านี้แหละ ฮ่าๆ
- ความแตกต่าง : ที่ Kyoto ตู้รับฝากของอัตโนมัติเยอะมากถึงมากที่สุด (ตรงชานชาลามีห้องสูบบุหรี่ และห้องพักรอให้ด้วยนะ) ส่วนที่ Bangkok ก็จะทางเดินโล่งๆ แต่ที่ BTS สถานีศาลาแดง เห็นมีตู้รับฝากของอัตโนมัติให้ใช้บริการ มีจำนวนไม่มาก
2. ทางเข้า และทางออก ซื้อตั๋วโดยสาร
Bangkok (ภาพด้านบน) : ป้ายจะโล่งๆ และคนจะน้อยนิดนึง (อยู่ในช่วงทดลองการให้บริการ และสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : สถานีหลักของเกียวโต ส่วนใหญ่คนจะเยอะอยู่แล้ว แถมช่องทางเดินเชื่อมไปชานชาลาต่างๆ เยอะมาก จนเดินหลงบ่อยๆ ฮ่าๆ
สรุป : ทางเข้า และทางออก ซื้อตั๋วโดยสาร (ไม่ขอพูดถึงการรับตั๋วร่วมนะครับ)
- ความเหมือน : มีเครื่องตรวจรับบัตรโดยสารอัตโนมัติ และมีช่องซื้อบัตรโดยสารอยู่ด้านข้าง
- ความแตกต่าง : การออกแบบสีป้ายเข้าและออกบอกทางในสถานีที่ Bangkok สีจะโทนนี้แหละสีน้ำเงิน+สีขาว ดูแล้วต้องอ่านซ้ำ 2-3 ครั้ง ส่วนที่ Kyoto หรือ Tokyo จะเป็นป้ายมาตรฐานสีขาว กล่องตัวอักษรจะสีเดียวกับสีสายรถไฟฟ้านั้นๆ และป้ายทางออกเป็นสีเหลืองชัดเจน
3. นาฬิกาบอกเวลาในชานชาลา หรือทางเดินระหว่างสถานี สำคัญยังไง ?
Bangkok (ภาพด้านบน) : นาฬิกานี้เห็นแทบทุกสถานีไม่ว่าจะเป็นที่สถานีของ BTS MRT SRT และ ARL เน้นเรียบ เพราะดูแล้วต้องวิ่งมองหาป้ายบอกทางกันต่อไป
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : นาฬิกาเน้นดู+ให้บริการบอกความชัดเจนของเวลารถที่เดินเข้าสถานี บางแห่งมีบอกเวลาแบบตัวเลขดิจิทัลด้วย มีตารางเวลาแนบมาให้ด้วย ทำให้มั่นใจว่าขึ้นไม่ผิดขบวนแน่นอน
สรุป : นาฬิกาบอกเวลาในชานชาลา หรือทางเดินระหว่างสถานี สำคัญยังไง ??
- ความเหมือน : มีนาฬิกาแบบทรงกลมๆ อนาล๊อกแบบนี้เหมือนกัน
- ความแตกต่าง : นาฬิกาที่สถานีใน Bangkok มีไว้บอกเพียงเวลาจริง ส่วนนาฬิกาที่สถานีแถบ Kyoto ให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลาและความถูกต้องของชานชาลาซึ่งสำคัญมากที่ญี่ปุ่น ยิ่งเป็นรถไฟฟ้าเข้าสถานีตรงเวลาแบบเป็นวินาที หากมาช้าเพียง 1-5 วินาที คือตกรถคือตกจริงแบบไม่ใช้ตัวแสดงแทน ฮ่าๆ
4. ความบันไดเลื่อน เพื่อไปหาเจ้าหนูแดง
Bangkok (ภาพด้านบน) : บันไดเลื่อนทางขึ้นและลง จะไม่มีร้านค้าให้ใช้บริการได้เลย (ช่วงนี้เปิดให้ทดลองการให้บริการ ต้องรอดูในอนาคตอาจจะมีก็ได้นะ)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : เห็นบันไดเลื่อนที่ไหน ย่อมมีร้านค้าให้ได้อิ่มในอิ่ม เงินหมดในเงินหมด ฮ่าๆ ไม่รวมตู้กดน้ำอัตโนมัตินะมีทุกที่เยอะมากกอไก่ล้านตัว
สรุป : ความบันไดเลื่อน เพื่อไปหาเจ้าหนูแดง
- ความเหมือน : ทั้ง Bangkok และ Kyoto มีความบันไดเลื่อนสีดำ ฮ่าๆ
- ความแตกต่าง : ความบันไดเลื่อน Bangkok เน้นเรียบและเน้นให้สมาธิในการเดินขึ้นชานชาลา ส่วนความบันไดเลื่อน Kyoto เน้นอิ่มเน้นซื้อเสร็จแล้ววิ่งขึ้นชานชาลา (จะตกรถมัวแต่ช๊อปปิ้ง)
5. ความชานชาลา + ขบวนเจ้าหนูแดงปรากฏตัว
Bangkok (ภาพด้านบน) : ขบวนขยับมาแบบเนิบๆ เน้นสีเรียบหรูดูดีแบบญี่ปุ่น ความชานชาลามีป้ายบอกเลขชานชาลามินิมอลเรียบง่าย ไม่มีป้ายบอกเลขขบวนหรือตารางเวลาใดๆ ไม่มีร้านสะดวกซื้อ (ใน Bangkok ยังไม่เคยเห็นร้านสะดวกซื้อภายในชานชาลา ใครเห็นแนะนำมาหน่อยครับ) ถ้าเป็นรถไฟ SRT ทางไกลที่ต่างจังหวัดเหมือนเคยเห็นร้านสะดวกซื้ออยู่ภายในชานชาลาอยู่นะ)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : ขบวนขยับมาแบบเนิบๆเหมือนกัน เน้นเรียบหรูแบบรถไฟทรงโลกอนาคต ความชานชานชาลามีเลขบอกชานชาลาชัดเจน มีปุ่ม SOS ให้กดเยอะมาก (สถิติคนฆ่าตัวตายที่ญี่ปุ่นค่อนข้างสูง โดยการกระโดดไปในรางรถไฟ) บางแห่งมีร้านสะดวกซื้ออยู่ภายในชานชาลา
สรุป : ความชานชาลา + ขบวนเจ้าหนูแดงปรากฏตัว
- ความเหมือน : รูปทรงดูเป็นรถไฟโลกอนาคต ตอนรถเดินเข้าสถานียอมรับว่าตื่นเต้นมาก รอคอยมานาน คุ้มค่าการรอคอยสีสวย + วิ่งได้เร็วแบบนิ่งที่สุดเท่าที่ประเทศไทยมีตอนนี้ ความชานชาลาดูสะอาดเหมือนอยู่ญี่ปุ่น (ณ สถานีกลางบางซื่อ)
- ความแตกต่าง : ที่ Kyoto หรือ Tokyo หรือแทบทุกสถานีที่พื้นชานชาลาจะมีหมายเลขตู้ขบวน (ที่นั่งแบบจองหรือที่นั่งแบบไม่ได้จอง) เพื่อความรวดเร็วให้ไปยืนตำแหน่งตามตั๋วโดยสารที่เรามี บางชานชาลามีร้านสะดวกอยู่ในชานชาลาให้ได้อิ่ม (อีกแล้ว ฮ่าๆ) ส่วนที่ Bangkok ไม่มีหมายเลขตู้ขบวนที่พื้นชานชาลา ต้องดูที่ข้างขบวนรถไฟเอาน่ะแหละ และไม่มีร้านสะดวกซื้อใดๆ (ณ ตอนนี้ ในอนาคตอยากให้มีจัง)
6. การออกแบบภายในตัวขบวน และออกแบบภายนอกภาพรวม
Bangkok (ภาพด้านบน) : ความเป็นรถไฟชานเมืองภายนอกถือว่าหล่อเลย แต่ภายในที่นั่งวัสดุแข็งๆ เหมือนรถไฟ Metro ที่ใช้ในเมือง ถ้าในอนาคตเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานที่นั่งแบบจองและสามารถรับประทานอาหารเครื่องดื่มได้น่าจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น (แต่ราคาก็ต้องบวกเพิ่มเช่นกัน ฮ่าๆ) ที่ถูกใจมากคงเป็นกระจกบานใหญ่ถึงใหญ่ที่สุด (ในอนาคตอย่าติดโฆษณาอะไรเพิ่มเลย พลีสสส บังวิสัยทัศน์การมองเห็น)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : ความเป็นรถไฟชานเมืองของญี่ปุ่นมีหลายประเภทมาก ตั้งแต่ Local ,Semi-Express ,Express ,Rapid Express และ Limited Express จขกท.ไม่อาจเอารถไฟ Limited Express ตามภาพนี้ไปเปรียบเทียบได้ แต่ก็หวังไว้เป็นแนวทางให้รถไฟชานเมือง หรือรถไฟทางไกล (ระบบไฟฟ้า) พัฒนาเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง ซึ่งแม้ที่นั่งแบบไม่จองก็สะดวกสบายสามารถรับประทานอาหารเครื่องดื่มได้
สรุป : การออกแบบภายในตัวขบวน และออกแบบภายนอกภาพรวม
- ความเหมือน : ตัวขบวนภายในมีความสะอาดมาก และการออกแบบกระจกบานใหญ่ที่สามารถดูวิวได้ตื่นตาตื่นใจมากตอนรถไฟทำความเร็ว 149.2 Km/h (โคตรสุดเหมือนนั่งรถไฟอยู่ที่ญี่ปุ่น) การบอกตำแหน่งการเดินทางถึงสถานีต่างๆ สามารถรับฟังเป็นภาษาอังกฤษได้เหมือนกัน
- ความแตกต่าง : ใน Bangkok ยังคงการออกแบบที่นั่งแข็งๆ เหมือนรถไฟประเภท Local ของญี่ปุ่น หน้าจอมอนิเตอร์บอกตำแหน่งการเดินทางถึงสถานีต้องเดินไปดูที่หน้าประตู และรับฟังเสียงประกาศเพียงอย่างเดียว ส่วนที่ Kyoto การออกแบบที่นั่งนุ่มๆ มีให้เลือกประเภทขบวนรถไฟได้หลากหลาย ความสะดวกสบายของที่นั่งก็ตามประเภทของขบวนรถไฟน่ะแหละ หน้าจอมอนิเตอร์บอกตำแหน่งการเดินทางถึงสถานีทำได้ดีกว่า เช่น นั่งตรงไหนก็มองเห็นจอได้
SRT RED LINE (Commuter Train) เจ้าหนูแดงที่รอคอย ให้บรรยากาศรถไฟชานเมืองกรุงเทพเหมือนอยู่ที่เกียวโตอีกครั้ง
จขกท.มีความชอบในระบบขนส่งมวลชนทางรางอยู่แล้วเป็นทุนเดิม มาดูหน้าตารถไฟที่ใช้งานในประเทศไทย จะขาดก็แต่ Bombardier Innovia APM ที่ให้บริการใน BTS สายสีทอง ที่ยังไม่ได้ไปหาเจ้าหนูทองเลย ฮ่าๆ (สถานีแถวนู้นคนค่อนข้างเยอะ กลัวโควิด-19 ด้วยแหละ พักก่อนนน...)
ขออนุญาตข้ามวิธีการเดินทางไปยังสถานี และข้อมูลทางเทคนิคของเจ้าหนูแดงไปเลยนะครับ ต้องขออภัยถ้าข้อมูลที่จะแชร์ร่วมกันต่อไปนี้ไม่ถูกใจ หรือมีประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ได้พูดถึง เช่น พื้นที่จอดรถ วิธีการเดินทาง จำนวนของสถานี เจ้าหนูแดงมีกี่ขบวน ฯลฯ เพราะทุกท่านสามารถหาอ่านหรือรับชมได้จากเพจ และสื่อออนไลน์ช่องทางอื่นได้ เช่น Youtube , Facebook ,atc.
วันนี้จะพาไปดู "รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)" SRT RED LINE (Commuter Train) เจ้าหนูแดงที่รอคอย ให้บรรยากาศรถไฟชานเมืองกรุงเทพเหมือนอยู่ที่เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น อีกครั้ง (**หมายเหตุ - จขกท. ไม่ได้ต้องการเทียบชั้นระบบขนส่งมวลชนทางรางของประเทศญี่ปุ่นหรือดูถูกดูแคลนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางของประเทศไทย ความตั้งใจคือต้องการบอกความรู้สึกที่ไปสัมผัสมาแล้ว ให้อารมณ์คล้ายๆ อยู่ชานเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น) ถ้าพร้อมแล้วเรานั่งรถไฟไปพร้อมกันเนอะ....
1. ทางเชื่อมระหว่างสถานี หรือ ทางเชื่อมไปชานชาลา
Bangkok (ภาพด้านบน) : เป็นอุโมงค์ทางเชื่อมจาก MRT Blue Line มายัง Bang Sue Grand Station ทางเดินจะโล่งๆ ตามสไตล์ประเทศไทย
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : เป็นทางเชื่อมจากทางเข้า Kyoto Station ไปยังชานชาลารถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่ออกไปชานเมือง จะเห็นว่ามีตู้รับฝากของอัตโนมัติเยอะมาก
สรุป : ทางเชื่อมระหว่างสถานี หรือ ทางเชื่อมไปชานชาลา
- ความเหมือน : ทางเชื่อมระหว่างสถานี หรือชานชาลาระยะเดินไกลมาก ซึ่งที่เกียวโตก็เดินไกลประมาณนี้ หรือมากกว่านี้แหละ ฮ่าๆ
- ความแตกต่าง : ที่ Kyoto ตู้รับฝากของอัตโนมัติเยอะมากถึงมากที่สุด (ตรงชานชาลามีห้องสูบบุหรี่ และห้องพักรอให้ด้วยนะ) ส่วนที่ Bangkok ก็จะทางเดินโล่งๆ แต่ที่ BTS สถานีศาลาแดง เห็นมีตู้รับฝากของอัตโนมัติให้ใช้บริการ มีจำนวนไม่มาก
2. ทางเข้า และทางออก ซื้อตั๋วโดยสาร
Bangkok (ภาพด้านบน) : ป้ายจะโล่งๆ และคนจะน้อยนิดนึง (อยู่ในช่วงทดลองการให้บริการ และสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : สถานีหลักของเกียวโต ส่วนใหญ่คนจะเยอะอยู่แล้ว แถมช่องทางเดินเชื่อมไปชานชาลาต่างๆ เยอะมาก จนเดินหลงบ่อยๆ ฮ่าๆ
สรุป : ทางเข้า และทางออก ซื้อตั๋วโดยสาร (ไม่ขอพูดถึงการรับตั๋วร่วมนะครับ)
- ความเหมือน : มีเครื่องตรวจรับบัตรโดยสารอัตโนมัติ และมีช่องซื้อบัตรโดยสารอยู่ด้านข้าง
- ความแตกต่าง : การออกแบบสีป้ายเข้าและออกบอกทางในสถานีที่ Bangkok สีจะโทนนี้แหละสีน้ำเงิน+สีขาว ดูแล้วต้องอ่านซ้ำ 2-3 ครั้ง ส่วนที่ Kyoto หรือ Tokyo จะเป็นป้ายมาตรฐานสีขาว กล่องตัวอักษรจะสีเดียวกับสีสายรถไฟฟ้านั้นๆ และป้ายทางออกเป็นสีเหลืองชัดเจน
3. นาฬิกาบอกเวลาในชานชาลา หรือทางเดินระหว่างสถานี สำคัญยังไง ?
Bangkok (ภาพด้านบน) : นาฬิกานี้เห็นแทบทุกสถานีไม่ว่าจะเป็นที่สถานีของ BTS MRT SRT และ ARL เน้นเรียบ เพราะดูแล้วต้องวิ่งมองหาป้ายบอกทางกันต่อไป
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : นาฬิกาเน้นดู+ให้บริการบอกความชัดเจนของเวลารถที่เดินเข้าสถานี บางแห่งมีบอกเวลาแบบตัวเลขดิจิทัลด้วย มีตารางเวลาแนบมาให้ด้วย ทำให้มั่นใจว่าขึ้นไม่ผิดขบวนแน่นอน
สรุป : นาฬิกาบอกเวลาในชานชาลา หรือทางเดินระหว่างสถานี สำคัญยังไง ??
- ความเหมือน : มีนาฬิกาแบบทรงกลมๆ อนาล๊อกแบบนี้เหมือนกัน
- ความแตกต่าง : นาฬิกาที่สถานีใน Bangkok มีไว้บอกเพียงเวลาจริง ส่วนนาฬิกาที่สถานีแถบ Kyoto ให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลาและความถูกต้องของชานชาลาซึ่งสำคัญมากที่ญี่ปุ่น ยิ่งเป็นรถไฟฟ้าเข้าสถานีตรงเวลาแบบเป็นวินาที หากมาช้าเพียง 1-5 วินาที คือตกรถคือตกจริงแบบไม่ใช้ตัวแสดงแทน ฮ่าๆ
4. ความบันไดเลื่อน เพื่อไปหาเจ้าหนูแดง
Bangkok (ภาพด้านบน) : บันไดเลื่อนทางขึ้นและลง จะไม่มีร้านค้าให้ใช้บริการได้เลย (ช่วงนี้เปิดให้ทดลองการให้บริการ ต้องรอดูในอนาคตอาจจะมีก็ได้นะ)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : เห็นบันไดเลื่อนที่ไหน ย่อมมีร้านค้าให้ได้อิ่มในอิ่ม เงินหมดในเงินหมด ฮ่าๆ ไม่รวมตู้กดน้ำอัตโนมัตินะมีทุกที่เยอะมากกอไก่ล้านตัว
สรุป : ความบันไดเลื่อน เพื่อไปหาเจ้าหนูแดง
- ความเหมือน : ทั้ง Bangkok และ Kyoto มีความบันไดเลื่อนสีดำ ฮ่าๆ
- ความแตกต่าง : ความบันไดเลื่อน Bangkok เน้นเรียบและเน้นให้สมาธิในการเดินขึ้นชานชาลา ส่วนความบันไดเลื่อน Kyoto เน้นอิ่มเน้นซื้อเสร็จแล้ววิ่งขึ้นชานชาลา (จะตกรถมัวแต่ช๊อปปิ้ง)
5. ความชานชาลา + ขบวนเจ้าหนูแดงปรากฏตัว
Bangkok (ภาพด้านบน) : ขบวนขยับมาแบบเนิบๆ เน้นสีเรียบหรูดูดีแบบญี่ปุ่น ความชานชาลามีป้ายบอกเลขชานชาลามินิมอลเรียบง่าย ไม่มีป้ายบอกเลขขบวนหรือตารางเวลาใดๆ ไม่มีร้านสะดวกซื้อ (ใน Bangkok ยังไม่เคยเห็นร้านสะดวกซื้อภายในชานชาลา ใครเห็นแนะนำมาหน่อยครับ) ถ้าเป็นรถไฟ SRT ทางไกลที่ต่างจังหวัดเหมือนเคยเห็นร้านสะดวกซื้ออยู่ภายในชานชาลาอยู่นะ)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : ขบวนขยับมาแบบเนิบๆเหมือนกัน เน้นเรียบหรูแบบรถไฟทรงโลกอนาคต ความชานชานชาลามีเลขบอกชานชาลาชัดเจน มีปุ่ม SOS ให้กดเยอะมาก (สถิติคนฆ่าตัวตายที่ญี่ปุ่นค่อนข้างสูง โดยการกระโดดไปในรางรถไฟ) บางแห่งมีร้านสะดวกซื้ออยู่ภายในชานชาลา
สรุป : ความชานชาลา + ขบวนเจ้าหนูแดงปรากฏตัว
- ความเหมือน : รูปทรงดูเป็นรถไฟโลกอนาคต ตอนรถเดินเข้าสถานียอมรับว่าตื่นเต้นมาก รอคอยมานาน คุ้มค่าการรอคอยสีสวย + วิ่งได้เร็วแบบนิ่งที่สุดเท่าที่ประเทศไทยมีตอนนี้ ความชานชาลาดูสะอาดเหมือนอยู่ญี่ปุ่น (ณ สถานีกลางบางซื่อ)
- ความแตกต่าง : ที่ Kyoto หรือ Tokyo หรือแทบทุกสถานีที่พื้นชานชาลาจะมีหมายเลขตู้ขบวน (ที่นั่งแบบจองหรือที่นั่งแบบไม่ได้จอง) เพื่อความรวดเร็วให้ไปยืนตำแหน่งตามตั๋วโดยสารที่เรามี บางชานชาลามีร้านสะดวกอยู่ในชานชาลาให้ได้อิ่ม (อีกแล้ว ฮ่าๆ) ส่วนที่ Bangkok ไม่มีหมายเลขตู้ขบวนที่พื้นชานชาลา ต้องดูที่ข้างขบวนรถไฟเอาน่ะแหละ และไม่มีร้านสะดวกซื้อใดๆ (ณ ตอนนี้ ในอนาคตอยากให้มีจัง)
6. การออกแบบภายในตัวขบวน และออกแบบภายนอกภาพรวม
Bangkok (ภาพด้านบน) : ความเป็นรถไฟชานเมืองภายนอกถือว่าหล่อเลย แต่ภายในที่นั่งวัสดุแข็งๆ เหมือนรถไฟ Metro ที่ใช้ในเมือง ถ้าในอนาคตเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานที่นั่งแบบจองและสามารถรับประทานอาหารเครื่องดื่มได้น่าจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น (แต่ราคาก็ต้องบวกเพิ่มเช่นกัน ฮ่าๆ) ที่ถูกใจมากคงเป็นกระจกบานใหญ่ถึงใหญ่ที่สุด (ในอนาคตอย่าติดโฆษณาอะไรเพิ่มเลย พลีสสส บังวิสัยทัศน์การมองเห็น)
Kyoto (ภาพด้านล่าง) : ความเป็นรถไฟชานเมืองของญี่ปุ่นมีหลายประเภทมาก ตั้งแต่ Local ,Semi-Express ,Express ,Rapid Express และ Limited Express จขกท.ไม่อาจเอารถไฟ Limited Express ตามภาพนี้ไปเปรียบเทียบได้ แต่ก็หวังไว้เป็นแนวทางให้รถไฟชานเมือง หรือรถไฟทางไกล (ระบบไฟฟ้า) พัฒนาเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง ซึ่งแม้ที่นั่งแบบไม่จองก็สะดวกสบายสามารถรับประทานอาหารเครื่องดื่มได้
สรุป : การออกแบบภายในตัวขบวน และออกแบบภายนอกภาพรวม
- ความเหมือน : ตัวขบวนภายในมีความสะอาดมาก และการออกแบบกระจกบานใหญ่ที่สามารถดูวิวได้ตื่นตาตื่นใจมากตอนรถไฟทำความเร็ว 149.2 Km/h (โคตรสุดเหมือนนั่งรถไฟอยู่ที่ญี่ปุ่น) การบอกตำแหน่งการเดินทางถึงสถานีต่างๆ สามารถรับฟังเป็นภาษาอังกฤษได้เหมือนกัน
- ความแตกต่าง : ใน Bangkok ยังคงการออกแบบที่นั่งแข็งๆ เหมือนรถไฟประเภท Local ของญี่ปุ่น หน้าจอมอนิเตอร์บอกตำแหน่งการเดินทางถึงสถานีต้องเดินไปดูที่หน้าประตู และรับฟังเสียงประกาศเพียงอย่างเดียว ส่วนที่ Kyoto การออกแบบที่นั่งนุ่มๆ มีให้เลือกประเภทขบวนรถไฟได้หลากหลาย ความสะดวกสบายของที่นั่งก็ตามประเภทของขบวนรถไฟน่ะแหละ หน้าจอมอนิเตอร์บอกตำแหน่งการเดินทางถึงสถานีทำได้ดีกว่า เช่น นั่งตรงไหนก็มองเห็นจอได้