ถ้ารอเตียงนาน มีคำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ที่มีอาการไอและหายใจลำบาก
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ป่วยโควิด-19 จะมีปัญหาในเรื่องระบบการหายใจ ทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้แบบเต็มที่ เวลาหายใจเลยรู้สึกเหนื่อย ซึ่งผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) หรือกำลังรอเตียงโรงพยาบาล ควรเรียนรู้ท่านอนคว่ำที่จะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้นเอาไว้ด้วย
“ท่านอนคว่ำ”ถือเป็นท่ามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยโควิดท่าหนึ่งเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการนอนหงายจะทำให้การหายใจทำได้ลำบากมากขึ้นเนื่องจากปอดส่วนใหญ่ของเรานั้นจะค่อนไปทางด้านหลังสักหน่อย แถมหัวใจก็ยังอยู่ด้านหน้าปอดอีก ดังนั้น ถ้าเรานอนหงายหัวใจและน้ำหนักตัวก็จะมากดทับปอดทำให้ปอดแฟบลง ซึ่งถ้าเป็นในภาวะปกติก็ไม่มีปัญหา แต่กรณีที่ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพแล้วมาเจออะไรกดทับเข้าไปก็ยิ่งทำให้หายใจยากขึ้นไปอีก ดังนั้นการนอนคว่ำแบบนี้ แม้จะไม่ค่อยถนัดแต่ก็ช่วยลดแรงกดทับทำให้หายใจได้คล่องขึ้น
โดยวิธีนอนง่ายๆ เลยก็คือหาหมอนมารองตรงอกแล้วก็นอนคว่ำหน้าลงไปเลย ถ้าชอบสูงหน่อยก็เพิ่มหมอนเอา ส่วนจะเอียงหน้าซ้ายหรือขวาก็จัดได้ตามสะดวกแต่บางคนที่ไม่สามารถนอนคว่ำได้เนื่องจากข้อจำกัดของร่างกายเช่น อ้วนมากๆ หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ กรณีนี้ให้เปลี่ยนจากนอนคว่ำ เป็นนอนตะแคงกึ่งคว่ำแทนคือแทนที่จะนอนตะแคงแบบตรงๆ ก็ให้เอียงตัวโน้มมาทางด้านหน้าสักหน่อยให้คล้ายการนอนคว่ำ อาจไม่ดีเท่านอนคว่ำไปเลย แต่ก็ช่วยเรื่องการหายใจได้เช่นกัน ส่วนถ้าเมื่อยก็แค่สลับด้านเอาเท่านั้น
** กรณีที่อายุครรภ์มากๆ ล่ะก็ถ้าเป็นไปได้ อยากให้นอนตะแคงแล้วเอาด้านซ้ายลง เพื่อไม่ให้น้ำหนักของมดลูกไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ แถวๆนั้นมีอยู่หนึ่งเส้นที่ทำหน้าที่นำเลือดที่ใช้แล้วจากขาหรือช่องท้องของเรากลับเข้าสู่ปอด ซึ่งถ้าไปทับนานๆ อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้
คำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ที่มีอาการไอและหายใจลำบาก
* ไม่ควรนอนหงายเป็นเวลานาน การเปลี่ยนท่า “นอนคว่ำ” บ้างจะช่วยให้อากาศเข้าไปปอดได้ดีขึ้น อาการเหนื่อยอาจลดลงบ้าง
* นอนคว่ำควรหาหมอนหนุน ไม่คว่ำหน้า ให้ตะแคงหน้า เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
ท่าที่ 1 นอนคว่ำ แต่ใบหน้าตะแคง นาน 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 2 นอนตะแคงขวา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 3 นั่ง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 4 นอนตะแคงซ้าย 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 5 กลับมานอนคว่ำ แล้วเปลี่ยนท่าทางไปเรื่อยๆ
ถ้ารอเตียงนาน มีคำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ที่มีอาการไอและหายใจลำบาก
ถ้ารอเตียงนาน มีคำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ที่มีอาการไอและหายใจลำบาก
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ป่วยโควิด-19 จะมีปัญหาในเรื่องระบบการหายใจ ทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้แบบเต็มที่ เวลาหายใจเลยรู้สึกเหนื่อย ซึ่งผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) หรือกำลังรอเตียงโรงพยาบาล ควรเรียนรู้ท่านอนคว่ำที่จะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้นเอาไว้ด้วย
“ท่านอนคว่ำ”ถือเป็นท่ามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยโควิดท่าหนึ่งเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการนอนหงายจะทำให้การหายใจทำได้ลำบากมากขึ้นเนื่องจากปอดส่วนใหญ่ของเรานั้นจะค่อนไปทางด้านหลังสักหน่อย แถมหัวใจก็ยังอยู่ด้านหน้าปอดอีก ดังนั้น ถ้าเรานอนหงายหัวใจและน้ำหนักตัวก็จะมากดทับปอดทำให้ปอดแฟบลง ซึ่งถ้าเป็นในภาวะปกติก็ไม่มีปัญหา แต่กรณีที่ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพแล้วมาเจออะไรกดทับเข้าไปก็ยิ่งทำให้หายใจยากขึ้นไปอีก ดังนั้นการนอนคว่ำแบบนี้ แม้จะไม่ค่อยถนัดแต่ก็ช่วยลดแรงกดทับทำให้หายใจได้คล่องขึ้น
โดยวิธีนอนง่ายๆ เลยก็คือหาหมอนมารองตรงอกแล้วก็นอนคว่ำหน้าลงไปเลย ถ้าชอบสูงหน่อยก็เพิ่มหมอนเอา ส่วนจะเอียงหน้าซ้ายหรือขวาก็จัดได้ตามสะดวกแต่บางคนที่ไม่สามารถนอนคว่ำได้เนื่องจากข้อจำกัดของร่างกายเช่น อ้วนมากๆ หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ กรณีนี้ให้เปลี่ยนจากนอนคว่ำ เป็นนอนตะแคงกึ่งคว่ำแทนคือแทนที่จะนอนตะแคงแบบตรงๆ ก็ให้เอียงตัวโน้มมาทางด้านหน้าสักหน่อยให้คล้ายการนอนคว่ำ อาจไม่ดีเท่านอนคว่ำไปเลย แต่ก็ช่วยเรื่องการหายใจได้เช่นกัน ส่วนถ้าเมื่อยก็แค่สลับด้านเอาเท่านั้น
** กรณีที่อายุครรภ์มากๆ ล่ะก็ถ้าเป็นไปได้ อยากให้นอนตะแคงแล้วเอาด้านซ้ายลง เพื่อไม่ให้น้ำหนักของมดลูกไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ แถวๆนั้นมีอยู่หนึ่งเส้นที่ทำหน้าที่นำเลือดที่ใช้แล้วจากขาหรือช่องท้องของเรากลับเข้าสู่ปอด ซึ่งถ้าไปทับนานๆ อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้
คำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ที่มีอาการไอและหายใจลำบาก
* ไม่ควรนอนหงายเป็นเวลานาน การเปลี่ยนท่า “นอนคว่ำ” บ้างจะช่วยให้อากาศเข้าไปปอดได้ดีขึ้น อาการเหนื่อยอาจลดลงบ้าง
* นอนคว่ำควรหาหมอนหนุน ไม่คว่ำหน้า ให้ตะแคงหน้า เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
ท่าที่ 1 นอนคว่ำ แต่ใบหน้าตะแคง นาน 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 2 นอนตะแคงขวา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 3 นั่ง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 4 นอนตะแคงซ้าย 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
ท่าที่ 5 กลับมานอนคว่ำ แล้วเปลี่ยนท่าทางไปเรื่อยๆ