ผู้หญิงหลายคนที่ได้รับการตรวจแมมโมแกรมแล้วผลออกมาว่าเจอหินปูนในเต้านมทำให้วิตกไปกันว่าจะเสี่ยงมะเร็งเต้านมหรือเปล่า แต่อย่าพึ่งวิตกกันไป เพราะหินปูนในเต้านมนั้นมีหลายประเภทในบทความนี้จะกล่าวถึง หินปูนชนิดที่ไม่อันตรายก่อนค่ะหินปูน (Calcification) ในเต้านมชนิดไม่อันตราย ประกอบด้วย
1. Vascular calcification
จะเห็นเป็นเส้นขนานคล้ายรางรถไฟ และมักเป็นเส้นคดเคี้ยวไปมา
เป็นหินปูนที่จับตามผนังเส้นเลือดแดงในเต้านม มักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวเยอะ
2. Popcorn calcification
หินปูนขนาดใหญ่รูปคล้ายข้าวโพดคั่ว
มักเกิดอยู่ภายในก้อนเนื้องอกในเต้านมชนิดหนึ่ง ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดเป็นหินปูนขึ้นมา
3. Secretory calcification
ลักษณะเป็นแท่งเล็กทรงกระบอกในทิศทางวิ่งเรียงตัวเข้าหาหัวนม มักเป็นทั้ง2 เต้านม• เกิดจากเคยมีท่อน้ำนมอุดตัน
4. Rim or eggshell calcification
เป็นหินปูนทรงกลมที่มีขอบสีขาวหนาคล้ายเปลือกไข่
มักเกาะอยู่ที่ผนังของถุงน้ำ, อาจเคยโดนกระเเทกอย่างแรงที่เต้านม หรือเคยฉีดซิลิโคน โดยตรงในเต้านม แล้วทำให้มีการขาดเลือดของไขมันในเต้านม
5. Skin calcification
เป็นหินปูนขนาดเล็ก มักพบที่ผิวหนังบริเวณ รักแร้, ราวนม, รอบหัวนม
เกิดจากหินปูนในต่อมไขมันที่ผิวหนัง
6. Milk of calcium cysts calcification
เป็นหินปูนรูปถ้วยชา หรือรูปครึ่งวงกลม
เกิดจากของเหลวภายในท่อน้ำนมมีแคลเซียมสูง
7. Round calcification, punctate calcification
เป็นจุดกลมขนาดน้อยกว่า1 มิลลิเมตร มักกระจายทั่วๆทั้ง2 เต้านม
เป็นหินปูนภายในต่อมเล็กๆของนม
หินปูนในเต้านมนั้น จะพบจากการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น อาจพบได้ยากจากการคลำเต้านมหรือการตรวจอัลตราซาวด์ ดังนั้นการตรวจคัดกรองแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปีในผู้หญิงที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป จะทำให้ติดตามความเปลี่ยนแปลงของหินปูนได้
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมให้เป็นแบบ 3 มิติ (Digital breast tomosynthesis) ใช้เวลาถ่ายภาพเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อท่า ได้ภาพหินปูนที่ละเอียดเเละคมชัดถึงระดับมิลลิเมตร และหากพบว่ามีความผิดปกติในเต้านม สามารถเจาะชื้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยได้ทันที โดยการฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบ มีแผลขนาดเล็กเท่ารูเข็ม เจ็บตัวน้อย และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
ข้อมูลโดย
พญ.พรพรหม ตั้งคติขจรกิจ
คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม
หินปูนเต้านม ชนิดไม่อันตราย
1. Vascular calcification
จะเห็นเป็นเส้นขนานคล้ายรางรถไฟ และมักเป็นเส้นคดเคี้ยวไปมา
เป็นหินปูนที่จับตามผนังเส้นเลือดแดงในเต้านม มักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวเยอะ
2. Popcorn calcification
หินปูนขนาดใหญ่รูปคล้ายข้าวโพดคั่ว
มักเกิดอยู่ภายในก้อนเนื้องอกในเต้านมชนิดหนึ่ง ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดเป็นหินปูนขึ้นมา
3. Secretory calcification
ลักษณะเป็นแท่งเล็กทรงกระบอกในทิศทางวิ่งเรียงตัวเข้าหาหัวนม มักเป็นทั้ง2 เต้านม• เกิดจากเคยมีท่อน้ำนมอุดตัน
4. Rim or eggshell calcification
เป็นหินปูนทรงกลมที่มีขอบสีขาวหนาคล้ายเปลือกไข่
มักเกาะอยู่ที่ผนังของถุงน้ำ, อาจเคยโดนกระเเทกอย่างแรงที่เต้านม หรือเคยฉีดซิลิโคน โดยตรงในเต้านม แล้วทำให้มีการขาดเลือดของไขมันในเต้านม
5. Skin calcification
เป็นหินปูนขนาดเล็ก มักพบที่ผิวหนังบริเวณ รักแร้, ราวนม, รอบหัวนม
เกิดจากหินปูนในต่อมไขมันที่ผิวหนัง
6. Milk of calcium cysts calcification
เป็นหินปูนรูปถ้วยชา หรือรูปครึ่งวงกลม
เกิดจากของเหลวภายในท่อน้ำนมมีแคลเซียมสูง
7. Round calcification, punctate calcification
เป็นจุดกลมขนาดน้อยกว่า1 มิลลิเมตร มักกระจายทั่วๆทั้ง2 เต้านม
เป็นหินปูนภายในต่อมเล็กๆของนม
หินปูนในเต้านมนั้น จะพบจากการตรวจแมมโมแกรมเท่านั้น อาจพบได้ยากจากการคลำเต้านมหรือการตรวจอัลตราซาวด์ ดังนั้นการตรวจคัดกรองแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปีในผู้หญิงที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป จะทำให้ติดตามความเปลี่ยนแปลงของหินปูนได้
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมให้เป็นแบบ 3 มิติ (Digital breast tomosynthesis) ใช้เวลาถ่ายภาพเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อท่า ได้ภาพหินปูนที่ละเอียดเเละคมชัดถึงระดับมิลลิเมตร และหากพบว่ามีความผิดปกติในเต้านม สามารถเจาะชื้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยได้ทันที โดยการฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบ มีแผลขนาดเล็กเท่ารูเข็ม เจ็บตัวน้อย และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
ข้อมูลโดยพญ.พรพรหม ตั้งคติขจรกิจ
คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม