** กระทู้นี้ตั้งขึ้นมา เพื่อถกผลงานวิจัยของชิลี เเละกำจัดความเข้าใจผิด รวมถึงชี้ให้เห็นถึงจุดสำคัญที่หลายคนมองข้ามไป ไม่ได้มีเจตนาจะด้อยค่าวัคซีน หรืออวยวัคซีนบางชนิดอย่างที่บางกลุ่มได้มีการกล่าวอ้างกัน ขอให้สมาชิกดูที่ผลงานวิจัยเเละรายละเอียดงานวิจัยเป็นหลัก **
สืบเนื่องจากหลายต่อหลายครั้งที่มีการถกกันในเรื่องงานวิจัย ชาวพันทิปกลุ่มหนึ่งได้อ้างงานวิจัยจากชิลีที่ว่าวัคซีนซิโนเเวกนั้นมีประสิทธิภาพดี ไม่ต่างกับวัคซีนตัวอื่นเท่าไหร่นัก นี่คืองานวิจัยที่ว่าที่จขคห. นั้นได้นำมาถกกันในคราวก่อน
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2107715
โดยงานวิจัยดังกล่าวที่สมาชิกเหล่านี้นำมาอ้าง เป็นงานวิจัยที่ทำออกมาในเดือนพค-มิย ซึ่งหลายคนไม่ได้สังเกตุถึงรายละเอียดที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น วันที่ในการเก็บผลวิจัย
จะเห็นได้ว่าวันที่ที่เก็บงานวิจัยนั้น เป็นช่วงก่อนที่ชิลีจะเกิดการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลต้าเสียอีก
เคสเเรกที่ชิลีระบุว่าได้เจอสายกลายพันธุ์เเล้ว เป็นช่วงปลายมิ.ย หลังทำงานวิจัยเสร็จไปเเล้ว ดังนั้นตัวเลขดังกล่าว จึงไม่สามารถนำมาอ้างได้ในปัจจุบันที่สายพันธุ์กลายพันธุ์ได้กลืนกินสายพันเก่าไปยิ่งขึ้นเรื่อย งานวิจัยทุกตัวต่างบ่งชี้ว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกตัวต่างลดลงเมื่อเจอกับสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ ดังนั้นการจะนำข้อมูลดังกล่าวมาอ้างในสถาการณ์ปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นนำมาเทียบกับงานวิจัย mRNA ซึ่งเป็นงานวิจัยในประเทศที่ผจญกับสายพันธุ์กลายพันธุ์เป็นหลัก จึงไม่ควรอย่างยิ่ง
ข่าวดีก็ตือ ตอนนี้ได้มีงานวิจัยล่าสุดออกมาใหม่เเล้ว กับวัคซีนทั้ง 3 ชนิดซึ่งมี 3 ยี่ห้อได้แก่ Sinovac จากอาสาสมัคร 8.6 ล้านคน, Pfizer จากอาสาสมัคร 4.5 ล้านคน และ AstraZeneca จากอาสาสมัคร 2.3 ล้าน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม โดยมีการเทียบทั้งคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ฉีดวัคซีนแล้ว 1 เข็ม และครบ 2 เข็ม
**** ซึ่งจะเห็นว่า %eff นั้นของทุกวัคซีนได้หล่นลงมาเป็นอย่างมาก เเต่อย่าลิมว่าในเดือน กพ - มิย นั้นคนไข้ส่วนใหญ่ยังเป็นคนไข้จากสายพันธุ์เดิม ดังนั้นการศึกษานี้ จะมีผลการศึกษาของเดือนกค. เท่านั้นที่ถ่วงน้ำหนักของงานวิจัยในเเง่ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งถ้าหากเเยกงานวิจัยออกมาเพียงเเค่เดือนเดียว ผมคิดว่าตัวเลขต่างๆ คงมีการเปลี่ยนมากกว่านี้อีกเยอะ เเต่เราจะได้กลุ่มตัวอย่างที่น้อยลง ****
สำหรับ ซิโนแวคจะมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเหลือเเค่ 58.5% ป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาล 86% ป้องกันการป่วยหนัก 89.7% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 86% ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ค่อนข้างต่างจากงานวิจัยเดิม (ตามภาพด้านล่าง) พอสมควรในเเง่ของการป้องกันการติดโควิด ต่างเล็กน้อยในเเง่ของตัวเลขคนเข้ารพ.เเละ ICU เเละเเทบไม่มีผลต่างเลยสำหรับการป้องกันการตาย
ขณะที่ วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ในชิลีอยู่ที่ 87.7% ป้องกันการป่วยหนักเข้าห้องไอซียู 98% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับงานวิจัยของ UK ที่ออกมาก่อนหน้านี้สำหรับในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ
ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ 68.7% ป้องกันการป่วยหนัก 98% และป้องกันการเสียชีวิต 100%
รอดู Novavax ในอนาคตครับ อาจจะเป็นความหวังใหม่ที่ช่วยในเรื่องของการกลายพันธุ์ได้ไม่มากก็น้อย
ที่มา :
https://thematter.co/brief/151158/151158
https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/sinovacs-covid-19-vaccine-585-effective-preventing-illness-chile-real-world-2021-08-03/
งานวิจัยล่าสุดของชิลีกับประสิทธิภาพวัคซีนทั้ง 3 ชนิด Sinovac, Pfizer เเละ Az
สืบเนื่องจากหลายต่อหลายครั้งที่มีการถกกันในเรื่องงานวิจัย ชาวพันทิปกลุ่มหนึ่งได้อ้างงานวิจัยจากชิลีที่ว่าวัคซีนซิโนเเวกนั้นมีประสิทธิภาพดี ไม่ต่างกับวัคซีนตัวอื่นเท่าไหร่นัก นี่คืองานวิจัยที่ว่าที่จขคห. นั้นได้นำมาถกกันในคราวก่อน
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2107715
โดยงานวิจัยดังกล่าวที่สมาชิกเหล่านี้นำมาอ้าง เป็นงานวิจัยที่ทำออกมาในเดือนพค-มิย ซึ่งหลายคนไม่ได้สังเกตุถึงรายละเอียดที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น วันที่ในการเก็บผลวิจัย
จะเห็นได้ว่าวันที่ที่เก็บงานวิจัยนั้น เป็นช่วงก่อนที่ชิลีจะเกิดการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์เดลต้าเสียอีก เคสเเรกที่ชิลีระบุว่าได้เจอสายกลายพันธุ์เเล้ว เป็นช่วงปลายมิ.ย หลังทำงานวิจัยเสร็จไปเเล้ว ดังนั้นตัวเลขดังกล่าว จึงไม่สามารถนำมาอ้างได้ในปัจจุบันที่สายพันธุ์กลายพันธุ์ได้กลืนกินสายพันเก่าไปยิ่งขึ้นเรื่อย งานวิจัยทุกตัวต่างบ่งชี้ว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกตัวต่างลดลงเมื่อเจอกับสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ ดังนั้นการจะนำข้อมูลดังกล่าวมาอ้างในสถาการณ์ปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นนำมาเทียบกับงานวิจัย mRNA ซึ่งเป็นงานวิจัยในประเทศที่ผจญกับสายพันธุ์กลายพันธุ์เป็นหลัก จึงไม่ควรอย่างยิ่ง
ข่าวดีก็ตือ ตอนนี้ได้มีงานวิจัยล่าสุดออกมาใหม่เเล้ว กับวัคซีนทั้ง 3 ชนิดซึ่งมี 3 ยี่ห้อได้แก่ Sinovac จากอาสาสมัคร 8.6 ล้านคน, Pfizer จากอาสาสมัคร 4.5 ล้านคน และ AstraZeneca จากอาสาสมัคร 2.3 ล้าน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม โดยมีการเทียบทั้งคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ฉีดวัคซีนแล้ว 1 เข็ม และครบ 2 เข็ม
ขณะที่ วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ในชิลีอยู่ที่ 87.7% ป้องกันการป่วยหนักเข้าห้องไอซียู 98% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับงานวิจัยของ UK ที่ออกมาก่อนหน้านี้สำหรับในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ
ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ 68.7% ป้องกันการป่วยหนัก 98% และป้องกันการเสียชีวิต 100%
รอดู Novavax ในอนาคตครับ อาจจะเป็นความหวังใหม่ที่ช่วยในเรื่องของการกลายพันธุ์ได้ไม่มากก็น้อย
ที่มา :
https://thematter.co/brief/151158/151158
https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/sinovacs-covid-19-vaccine-585-effective-preventing-illness-chile-real-world-2021-08-03/