บทความเรื่องนี้ได้ถูกเขียนไว้ในเพจ เมื่อมอดไหม้ไฟสงคราม
https://www.facebook.com/AftermathofWaR
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มาจะกล่าวบทไป ถึงสงครามใหญ่ในภาคเหนือของรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์ชาวเขา
ปฐมเหตุของเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แต่มีเหตุให้วุ่นวายเนื่องด้วยการรัฐประหารในไทยเมื่อ พ.ศ. 2500 และกองกำลังเถื่อนที่สร้างความยุ่งยากให้กับรัฐบาลไทย ก่อนอื่นขอกล่าวถึงกองกำลังรบพิเศษที่ซี.ไอ.เอ ชุบเลี้ยงและภาคภูมิใจอย่างมากที่สุดในยุคนั้นก่อน นั่นคือ หน่วยพลร่มรบพิเศษในเหล่าตำรวจ ชื่อในภาษาอังกฤษว่า POLICE AERIAL RESUPPLY (PARU.)
แนวคิดที่จะสร้างกองกำลังกึ่งทหารนี้อยู่บนพื้นฐานของความพยายามแทรกแซงทางการเมืองในประเทศลาว โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ซี.ไอ.เอ ได้ส่งเจ้าหน้าที่กองกำลังพิเศษที่ 1 จากฐานทัพโอกินาวา แบ่งออกเป็นสองหน่วย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ตำรวจพลร่มหน่วยหนึ่ง และเป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานของตำรวจตระเวนชายแดนหน่วยหนึ่ง ซึ่งตชด. พวกนี้จะเป็นด่านแรกของการต่อต้านการไหลบ่าของคอมมิวนิสต์จากดินแดนลาว ส่วนพวกพารูตำรวจพลร่มจะได้รับการฝึกทางยุทธวิธีสงครามนอกแบบ ได้รับการฝึกให้สามารถดำรงชีพอยู่ในป่าได้นาน และการลาดตระเวนระยะไกลเพื่อหาข่าวซึ่งจะแตกต่างจากงานของ ตชด. ในพวกแรก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้William J. Donovan (คนกลาง) พลเอกโดโนแวน เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำประเทศไทย(หัวหน้าCIAประจำประเทศไทยก็ว่าได้) ตรวจแถวหน่วยเสริมกำลังทางอากาศของตำรวจตระเวนชายแดน (PARU) ภาพถ่ายโดยท่าน บุญเสริม สาตราภัย http://lannainfo.library.cmu.ac.th/
จุดเด่นของหน่วยนี้สามารถแทรกซึมจากเบื้องบนด้วยการกระโดดร่มลงพื้นที่เป้าหมาย ในบรรดาหน่วยงานทั้งหมดที่ซีไอเอได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ในแถบเอเชียนี้ เห็นจะมีก็แต่พารู PARU. เท่านั้นที่ ซี.ไอ.เอ ภาคภูมิใจที่สุด เนื่องจากเป็นกองกำลังที่ไม่ใช่ทหาร แต่รบได้อย่างทหารและเหนือกว่าทหารตรงที่เขาไม่รบตามแบบ และสามารถปฏิบัติการตามแนวตะเข็บชายแดนได้ โดยไม่ขัดต่อสนธิสัญญากรุงเจนีวาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ 25 กิโลเมตรจากแนวชายแดน ดังนั้น ตชด.( Border Patrol Police ) และพารูจึงถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นด่านแรกในการต่อต้านการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่พารูกลับได้รับภารกิจที่พิเศษมากกว่านั้น ด้วยการเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เพื่อทำกาารฝึกและจัดกำลังรบให้กับกองพลม้งในลาวอีกด้วย
นี่เป็นแผนการสุดจะลึกล้ำของสหรัฐที่ใช้แผ่นดินไทยเป็นฐานแทรกแซงรุกรานกัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่าและจีน โดยได้มีการจัดตั้ง บก.333 ขึ้นมาเป็นกองบัญชาการใหญ่สำหรับส่งทหารรับจ้างเข้าไปปฏิบัติการรบในลาวอีกทางหนึ่ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ภาพประกอบจาก http://www.igreenstory.co/
ภาคเหนือของไทย
มีลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน มีเขตแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายจุด พวกชาวเขาจึงสามารถเดินทางเข้าออกจากยูนานของจีนไปยังพม่า ลาว และไทยได้โดยสะดวก และไม่คำนึงถึงเส้นเขตแดนสมมติระหว่างประเทศแต่อย่างใด สร้างปัญหาความยุ่งยากต่อฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทยหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วนอย่างภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ และยาเสพติดที่ทะลักเข้ามามิขาดสาย
หลังจากได้มีการจัดตั้งหน่วยตำรวจพลร่มขึ้นในปี 2496 ตชด.ที่รักจึงลงภาคสนามเข้าสู่พื้นที่จริง ภารกิจแรกคือต้องสร้างสัมพันธไมตรีกับชาวเขาซึ่งอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตามชายแดน แต่เพื่อความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ตชด. จำต้องเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ยอมงดเว้นที่จะเข้าไปมีบทบาทในการบังคับใช้กฎหมายฝิ่น กฎหมายป่าไม้ กฎหมายปืนและกฎหมายอื่นๆ ที่มีลักษณะครอบคลุมทางวัฒนธรรมหรือประเพณีของชาวเขา ต่อจากนั้นจึงเริ่มวางโครงการชุมชนสัมพันธ์ด้วยการสร้างโรงเรียนสำหรับชาวเขาขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 แต่กิจกรรมของ ตชด. ที่ภาคเหนือเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากรัฐบาลกลางยังไม่เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนใดๆ ที่จะปูทางด้านสาธารณะประโยชน์ให้กับชาวเขาผู้ไม่มีหัวนอนปลายตีน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้-โรงเรียนชาวเขา หลังคามุงหญ้าข้างฝามุงแดดลม
-หนังสือแบบเรียนไทย ที่ ตชด. นำมาใช้ในโครงการชุมชนสัมพันธ์
ภาพประกอบจากยูทูบ Thailand 1964 US Army; The Big Picture TV-616
รัฐประหาร พ.ศ. 2500 เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความปั่นป่วน และเนิ่นช้าให้แก่โครงการสำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านชายแดนของ ตชด. ความพ่ายแพ้อย่างหมดรูปของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และรัฐตำรวจของเผ่า ศรียานนท์ สร้างผลในทางลบเกี่ยวกับความพยายามริเริ่มโครงการใหม่ๆ สำหรับชาวเขา เมื่อรัฐทหารของสฤษดิ์ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างเต็มที่แล้วนั้น ว่ากันว่า ครั้งหนึ่งเมื่อสฤษดิ์ได้เข้าไปตรวจค่ายฝึกพารูถึงขั้นตกใจเมื่อเห็นอาวุธของฝ่าย ตชด.ในขณะนั้นล้ำสมัยกว่าของกองทัพบกหลายขุม สฤษดิ์เคยตั้งใจว่าจะยุบหน่วยพารูเสียด้วย แต่เนื่องจากหน่วยนี้อยู่ภายใต้พระราชอุปถัมภ์จึงทำให้ทั้งหน่วยรอดพ้นกรงเล็บจอมพลสฤษดิ์มาได้
การทำรัฐประหารของไทยในสมัยนั้นอยู่ในสังเกตุการณ์ของประชาคมโลก เนื่องจากมีรายงานเพิ่มเติมเรื่องรัฐประหารของไทย โดย Frank O Darling ของสำนักข่าวประชาสัมพันธ์ วอชิงตันดีซี ว่าเบื้องลึกรัฐประหารนี้มิได้มีเพียงดุลย์อำนาจทางการเมืองเพียงอย่างเดียว หากแต่มีเรื่องการแก่งแย่งกันควบคุมฝิ่นระหว่างทหารกับตำรวจซ้อนอยู่ด้วย
เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วคงไม่แปลกอะไร เพราะ 1. ชายแดนทางภาคเหนือเป็นตลาดค้าของเถื่อนที่ใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะที่สามเหลี่ยมทองคำ 2. ฝิ่นเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวเขา และรัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย อย่าง ตชด. มิอาจเข้าไปบังคับใช้กฎหมายฝิ่นได้สมบูรณ์ เพราะมีผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจซึ่งอาจสร้างความกระด้างกระเดื่องได้อย่างแน่นอน 3. ซีไอเอ.คือนักค้าของเถื่อนรายใหญ่ที่สุดในขณะนั้น ทั้งแร่เถื่อน ยาเสพติด อาวุธ ฯ มูลค้าปีๆหนึ่งราคานับหมื่นล้านบาท ดังนั้น วงจรตลาดมืดในชายแดนจึงขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้ ซี.ไอ.เอ ฉันใด การรัฐประหารของไทยในสมัยนั้น มีหรือที่ ซี.ไอ.เอ จะไม่รู้เห็น !?
เมื่อ ตชด. มีความสนิทสนมกับชาวเขามากขึ้นเรื่อยๆ การข่าวก็เริ่มมีผลให้รัฐบาลกลางหันมาให้ความสนใจภารกิจของ ตชด. เมื่อมีข่าวการไหล่บ่าของคอมมิวนิสต์ในลาว และข่าวว่าชายชาวเขาบางหมู่บ้านถูกส่งไปฝึกยุทธวิธีการรบที่ฮัวบินห์เวียดนามเหนือ
ในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลกลางมีแนวคิดที่จะอนุมัติโครงการสำรวจชาวเขาทางภาคเหนืออย่างละเอียด โดยคณะที่ปรึกษาของตำรวจชายแดนจัดทำขึ้นเกี่ยวกับปัญหาชนกลุ่มน้อยและชาวเขา โดยเริ่มจากการสำรวจทางอากาศเพื่อทำแผนที่ตั้งแต่และแห่ง ว่าอยู่ในเขตไหนอำเภอใด การสำรวจทางเท้าเริ่มขึ้นด้วยการลาดตระเวนไปเรื่อยๆ ทางจังหวัดที่ติดชายแดนลาว โดยได้ทำการติดต่อขั้นต้นกับชาวเขาเผ่าม้งและเย้า ในระยะเวลาหนึ่งปีถัดมา ตชด. ได้ขยายโครงการมวลชนสัมพันธ์ครอบคลุมไปถึงเผ่าลิซู ละว้า อีก้อในแถบจังหวัดชายแดนพม่าอีกด้วย มีการสร้างสนามบินขึ้น-ลงระยะสั้น สิ่งนี้คือผลชี้วัดความสำเร็จโครงการของ ตชด. ซึ่งแบ่งเป็นหลายระยะ จากการติดต่อขั้นต้น, สร้างโรงเรียน, ศูนย์แพทย์ชุมชน ไปจนถึงการสร้างสนามบินขึ้นลงระยะสั้น อันเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถสร้างเครือข่ายความมมั่นคงขึ้นในเขตชาวเขา
ในการเดินเท้าขึ้นไปติดต่อกันแต่ละครั้ง ตชด. อาจจะนำเมล็ดพันธุ์พืชใหม่ๆ และยาเข้าไปแจกจ่ายด้วย ทั้งหมดนี้จะกระทำควบคู่ไปกับการสืบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ หลังจากสัมพันธภาพระหว่างรัฐกับชาวเขาได้เริ่มพัฒนาขึ้นในทางบวกแล้ว ข่าวคราวความเคลื่อนไหวที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลก็ค่อยๆ ถูกเผยออกมาเรื่อยๆ จากปากคำของลูกบ้าน หรือผู้นำชุมชน
ระยะต่อมาแผนงานขยายความมั่นคงได้เริ่มจากการเลือกหมู่บ้านสำคัญ(Key)ขึ้นเพื่อใช้ติดต่อ ประเมินผลปฏิบัติการต่างๆ ในช่วงแรกของการติดต่อหมู่บ้านชาวเขาในขั้นต้นนั้นมีนโยบายการติดต่อแค่พอประมาณ แต่เมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์ในลาวมากขึ้น ตชด. จึงเปลี่ยนนโยบายเข้ามาตั้งค่ายอยู่ใกล้หมู่บ้านแทน และเมื่อมีการเลือกหมู่บ้านสำคัญแล้วต่อมาจึงคัดเลือกผู้เข้าไปรับการอบรมทางการเกษตร การแพทย์ และความรู้วิทยาการใหม่ๆ ในระหว่างที่ตชด. กำลังสานสัมพันธ์กับชาวเขาทางภาคเหนือ เหตุปะทะกันอย่างรุนแรงในลาวก็เริ่มหนักขึ้นทุกที เริ่มจาก พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ตชด. ได้สืบข่าวทราบมาว่ามีชายชาวเขาเผ่าม้งบางหมู่บ้านเข้ารับการอบรมทางยุทธวิธีจากเวียดนามเหนือ และเข้าไปทำการรบในลาวเมื่อปี 2504 และกลับมาบ้านเดิมของตัวเองในไทยในปี 2505 ขณะเดียวกันที่จ.อุดร ซีไอเอ.ได้ลำเลียงทหารม้งเข้ามาฝึกการรบอย่างลับๆ และโยกย้ายกำลังรบพิเศษต่างๆ ของไทยเข้าไปในลาวกันจ้าล่ะหวั่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หนังสือสองเล่มที่นำเสนอผลงานชิ้นโบว์ดำของ กอ.รมน.
หน่วยข่าวกรองของไทย หรือ กอ.ปค. (กองอำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ต่อมาใช้ชื่อ กอ.รมน.) สืบทราบว่ามีการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งกระทำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ไทยและลาว ด้วยการจะช่วยชาวม้งจัดตั้งรัฐอิสระและจะได้เฝ้ากษัตริย์ม้งเป็นข้าช่วงใช้ ระหว่างนี้ก็มักจะมีข่าวการซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐอยู่เนืองๆ การซุ่มโจมตีแต่ละครั้งมิใช้เกิดจากฝีมือของพลพรรคคอมมิวนิสต์
หากแต่เป็นเหตุที่เจ้าหน้าที่รัฐมักจะเข้าไปข่มขู่เอาเงินจากชาวเขาอยู่บ่อยครั้งโดยอ้างเป็นค่าภาษี การปะทะกันแต่ละครั้ง
เจ้าหน้าที่รัฐจะเขียนรายงานว่าเป็นการปะทะกับคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งเกิดเหตุรุนแรงขึ้นจนทำให้ความสัมพันธ์ของ ตชด. กับชาวเขาแทบหักสะบั้นลงในปี พ.ศ. 2510 เกิดเหตุเผาหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งห้วยชมพู อ.เทิง จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่รัฐรายงานเบื้องต้นว่าเป็นปฏิบัติการต่อเนื่องจากเหตุปะทะกับคอมมิวนิสต์ชาวเขา แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ชาวเขาได้เริ่มตัดไม้เพื่อทำไร่เลื่อนลอย และเผาหญ้าแห้งเพื่อปรับพื้นที่ ควันจากการเผาไหม้นี่เองทำให้เจ้าหน้าที่ทราบว่ามีการลักลอบตัดไม้ จึงขึ้นไปเพื่อข่มขู่เอาเงิน ชาวเขาจึงยอมให้เพื่อเป็นค่าธรรมเนียม หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็ขึ้นมาอีกนายและข่มขู่เอาเงินเป็นครั้งที่สอง และชาวเขาก็ยินยอมจ่ายให้ ตำรวจภูธรอำเภอเทิงทราบข่าวจึงได้เข้ามาและข่มขู่เอาเงินอีกเป็นครั้งที่สาม โดยไม่ทราบว่าก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่รัฐได้เข้ามาเอาเงินไปแล้วในถึงสองครั้ง คราวนี้ชาวเขาหมดความอดทน จึงจ่ายให้เป็นลูกปืนแทนก่อนจะหลบหนีเข้าไปในป่า ฝ่ายทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปติดตามที่หมู่บ้าน แต่ไม่พบผู้ชายชาวเขามีก็แต่เพียงเด็กและคนชรา แต่ปรากฎว่าระหว่างเดินทางกลับ คณะตำรวจภูธรถูกชาวเขาซุ่มโจมตี ยังผลให้ตำรวจเสียชีวิตหนึ่งนาย บาดเจ็บสี่นายและถูกจับเป็นเชลยสามนาย รุ่งเช้าตำรวจภูธรได้ส่งกำลังขึ้นไปหมู่บ้านและเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง ชาวเขาได้ล่าถอยและปล่อยเชลยทั้งหมด จากนั้นตำรวจที่ตามมาสมทบได้ขึ้นไปถึงหมู่บ้านและทำการเผาหมู่บ้านห้วยชมพู ทำลายยุ้งฉาง ฆ่าสัตว์เลี้ยงทิ้งทั้งหมด ชาวเขาที่เหลือก็หนีเข้าป่าลึกไป บางส่วนเข้าสมทบกับพลพรรคคอมมิวนิสต์ที่อ้าแขนรอต้อนรับอยู่
ระหว่างนี้ความรุนแรงทางภาคเหนือก็ยิ่งทวีขึ้นอีก เมื่อกองกำลังเถื่อนที่รัฐไทยซุกซ่อนไว้เกิดปะทะกันเองจนลุกลามกลายเป็นสงครามฝิ่นในที่สุด.....
องค์การปรสิต ตอนที่ 1 ปฐมเหตุสงครามทางภาคเหนือของรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์ชาวเขา
บทความเรื่องนี้ได้ถูกเขียนไว้ในเพจ เมื่อมอดไหม้ไฟสงคราม
https://www.facebook.com/AftermathofWaR
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มาจะกล่าวบทไป ถึงสงครามใหญ่ในภาคเหนือของรัฐไทยกับคอมมิวนิสต์ชาวเขา
ปฐมเหตุของเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แต่มีเหตุให้วุ่นวายเนื่องด้วยการรัฐประหารในไทยเมื่อ พ.ศ. 2500 และกองกำลังเถื่อนที่สร้างความยุ่งยากให้กับรัฐบาลไทย ก่อนอื่นขอกล่าวถึงกองกำลังรบพิเศษที่ซี.ไอ.เอ ชุบเลี้ยงและภาคภูมิใจอย่างมากที่สุดในยุคนั้นก่อน นั่นคือ หน่วยพลร่มรบพิเศษในเหล่าตำรวจ ชื่อในภาษาอังกฤษว่า POLICE AERIAL RESUPPLY (PARU.)
แนวคิดที่จะสร้างกองกำลังกึ่งทหารนี้อยู่บนพื้นฐานของความพยายามแทรกแซงทางการเมืองในประเทศลาว โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ซี.ไอ.เอ ได้ส่งเจ้าหน้าที่กองกำลังพิเศษที่ 1 จากฐานทัพโอกินาวา แบ่งออกเป็นสองหน่วย ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ตำรวจพลร่มหน่วยหนึ่ง และเป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานของตำรวจตระเวนชายแดนหน่วยหนึ่ง ซึ่งตชด. พวกนี้จะเป็นด่านแรกของการต่อต้านการไหลบ่าของคอมมิวนิสต์จากดินแดนลาว ส่วนพวกพารูตำรวจพลร่มจะได้รับการฝึกทางยุทธวิธีสงครามนอกแบบ ได้รับการฝึกให้สามารถดำรงชีพอยู่ในป่าได้นาน และการลาดตระเวนระยะไกลเพื่อหาข่าวซึ่งจะแตกต่างจากงานของ ตชด. ในพวกแรก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จุดเด่นของหน่วยนี้สามารถแทรกซึมจากเบื้องบนด้วยการกระโดดร่มลงพื้นที่เป้าหมาย ในบรรดาหน่วยงานทั้งหมดที่ซีไอเอได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ในแถบเอเชียนี้ เห็นจะมีก็แต่พารู PARU. เท่านั้นที่ ซี.ไอ.เอ ภาคภูมิใจที่สุด เนื่องจากเป็นกองกำลังที่ไม่ใช่ทหาร แต่รบได้อย่างทหารและเหนือกว่าทหารตรงที่เขาไม่รบตามแบบ และสามารถปฏิบัติการตามแนวตะเข็บชายแดนได้ โดยไม่ขัดต่อสนธิสัญญากรุงเจนีวาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ 25 กิโลเมตรจากแนวชายแดน ดังนั้น ตชด.( Border Patrol Police ) และพารูจึงถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นด่านแรกในการต่อต้านการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่พารูกลับได้รับภารกิจที่พิเศษมากกว่านั้น ด้วยการเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เพื่อทำกาารฝึกและจัดกำลังรบให้กับกองพลม้งในลาวอีกด้วย
นี่เป็นแผนการสุดจะลึกล้ำของสหรัฐที่ใช้แผ่นดินไทยเป็นฐานแทรกแซงรุกรานกัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่าและจีน โดยได้มีการจัดตั้ง บก.333 ขึ้นมาเป็นกองบัญชาการใหญ่สำหรับส่งทหารรับจ้างเข้าไปปฏิบัติการรบในลาวอีกทางหนึ่ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาคเหนือของไทย
มีลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน มีเขตแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายจุด พวกชาวเขาจึงสามารถเดินทางเข้าออกจากยูนานของจีนไปยังพม่า ลาว และไทยได้โดยสะดวก และไม่คำนึงถึงเส้นเขตแดนสมมติระหว่างประเทศแต่อย่างใด สร้างปัญหาความยุ่งยากต่อฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทยหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วนอย่างภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ และยาเสพติดที่ทะลักเข้ามามิขาดสาย
หลังจากได้มีการจัดตั้งหน่วยตำรวจพลร่มขึ้นในปี 2496 ตชด.ที่รักจึงลงภาคสนามเข้าสู่พื้นที่จริง ภารกิจแรกคือต้องสร้างสัมพันธไมตรีกับชาวเขาซึ่งอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตามชายแดน แต่เพื่อความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ตชด. จำต้องเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ยอมงดเว้นที่จะเข้าไปมีบทบาทในการบังคับใช้กฎหมายฝิ่น กฎหมายป่าไม้ กฎหมายปืนและกฎหมายอื่นๆ ที่มีลักษณะครอบคลุมทางวัฒนธรรมหรือประเพณีของชาวเขา ต่อจากนั้นจึงเริ่มวางโครงการชุมชนสัมพันธ์ด้วยการสร้างโรงเรียนสำหรับชาวเขาขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 แต่กิจกรรมของ ตชด. ที่ภาคเหนือเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากรัฐบาลกลางยังไม่เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนใดๆ ที่จะปูทางด้านสาธารณะประโยชน์ให้กับชาวเขาผู้ไม่มีหัวนอนปลายตีน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รัฐประหาร พ.ศ. 2500 เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความปั่นป่วน และเนิ่นช้าให้แก่โครงการสำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านชายแดนของ ตชด. ความพ่ายแพ้อย่างหมดรูปของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และรัฐตำรวจของเผ่า ศรียานนท์ สร้างผลในทางลบเกี่ยวกับความพยายามริเริ่มโครงการใหม่ๆ สำหรับชาวเขา เมื่อรัฐทหารของสฤษดิ์ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างเต็มที่แล้วนั้น ว่ากันว่า ครั้งหนึ่งเมื่อสฤษดิ์ได้เข้าไปตรวจค่ายฝึกพารูถึงขั้นตกใจเมื่อเห็นอาวุธของฝ่าย ตชด.ในขณะนั้นล้ำสมัยกว่าของกองทัพบกหลายขุม สฤษดิ์เคยตั้งใจว่าจะยุบหน่วยพารูเสียด้วย แต่เนื่องจากหน่วยนี้อยู่ภายใต้พระราชอุปถัมภ์จึงทำให้ทั้งหน่วยรอดพ้นกรงเล็บจอมพลสฤษดิ์มาได้
การทำรัฐประหารของไทยในสมัยนั้นอยู่ในสังเกตุการณ์ของประชาคมโลก เนื่องจากมีรายงานเพิ่มเติมเรื่องรัฐประหารของไทย โดย Frank O Darling ของสำนักข่าวประชาสัมพันธ์ วอชิงตันดีซี ว่าเบื้องลึกรัฐประหารนี้มิได้มีเพียงดุลย์อำนาจทางการเมืองเพียงอย่างเดียว หากแต่มีเรื่องการแก่งแย่งกันควบคุมฝิ่นระหว่างทหารกับตำรวจซ้อนอยู่ด้วย
เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วคงไม่แปลกอะไร เพราะ 1. ชายแดนทางภาคเหนือเป็นตลาดค้าของเถื่อนที่ใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะที่สามเหลี่ยมทองคำ 2. ฝิ่นเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวเขา และรัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย อย่าง ตชด. มิอาจเข้าไปบังคับใช้กฎหมายฝิ่นได้สมบูรณ์ เพราะมีผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจซึ่งอาจสร้างความกระด้างกระเดื่องได้อย่างแน่นอน 3. ซีไอเอ.คือนักค้าของเถื่อนรายใหญ่ที่สุดในขณะนั้น ทั้งแร่เถื่อน ยาเสพติด อาวุธ ฯ มูลค้าปีๆหนึ่งราคานับหมื่นล้านบาท ดังนั้น วงจรตลาดมืดในชายแดนจึงขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ให้ ซี.ไอ.เอ ฉันใด การรัฐประหารของไทยในสมัยนั้น มีหรือที่ ซี.ไอ.เอ จะไม่รู้เห็น !?
เมื่อ ตชด. มีความสนิทสนมกับชาวเขามากขึ้นเรื่อยๆ การข่าวก็เริ่มมีผลให้รัฐบาลกลางหันมาให้ความสนใจภารกิจของ ตชด. เมื่อมีข่าวการไหล่บ่าของคอมมิวนิสต์ในลาว และข่าวว่าชายชาวเขาบางหมู่บ้านถูกส่งไปฝึกยุทธวิธีการรบที่ฮัวบินห์เวียดนามเหนือ
ในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลกลางมีแนวคิดที่จะอนุมัติโครงการสำรวจชาวเขาทางภาคเหนืออย่างละเอียด โดยคณะที่ปรึกษาของตำรวจชายแดนจัดทำขึ้นเกี่ยวกับปัญหาชนกลุ่มน้อยและชาวเขา โดยเริ่มจากการสำรวจทางอากาศเพื่อทำแผนที่ตั้งแต่และแห่ง ว่าอยู่ในเขตไหนอำเภอใด การสำรวจทางเท้าเริ่มขึ้นด้วยการลาดตระเวนไปเรื่อยๆ ทางจังหวัดที่ติดชายแดนลาว โดยได้ทำการติดต่อขั้นต้นกับชาวเขาเผ่าม้งและเย้า ในระยะเวลาหนึ่งปีถัดมา ตชด. ได้ขยายโครงการมวลชนสัมพันธ์ครอบคลุมไปถึงเผ่าลิซู ละว้า อีก้อในแถบจังหวัดชายแดนพม่าอีกด้วย มีการสร้างสนามบินขึ้น-ลงระยะสั้น สิ่งนี้คือผลชี้วัดความสำเร็จโครงการของ ตชด. ซึ่งแบ่งเป็นหลายระยะ จากการติดต่อขั้นต้น, สร้างโรงเรียน, ศูนย์แพทย์ชุมชน ไปจนถึงการสร้างสนามบินขึ้นลงระยะสั้น อันเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถสร้างเครือข่ายความมมั่นคงขึ้นในเขตชาวเขา
ในการเดินเท้าขึ้นไปติดต่อกันแต่ละครั้ง ตชด. อาจจะนำเมล็ดพันธุ์พืชใหม่ๆ และยาเข้าไปแจกจ่ายด้วย ทั้งหมดนี้จะกระทำควบคู่ไปกับการสืบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ หลังจากสัมพันธภาพระหว่างรัฐกับชาวเขาได้เริ่มพัฒนาขึ้นในทางบวกแล้ว ข่าวคราวความเคลื่อนไหวที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลก็ค่อยๆ ถูกเผยออกมาเรื่อยๆ จากปากคำของลูกบ้าน หรือผู้นำชุมชน
ระยะต่อมาแผนงานขยายความมั่นคงได้เริ่มจากการเลือกหมู่บ้านสำคัญ(Key)ขึ้นเพื่อใช้ติดต่อ ประเมินผลปฏิบัติการต่างๆ ในช่วงแรกของการติดต่อหมู่บ้านชาวเขาในขั้นต้นนั้นมีนโยบายการติดต่อแค่พอประมาณ แต่เมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์ในลาวมากขึ้น ตชด. จึงเปลี่ยนนโยบายเข้ามาตั้งค่ายอยู่ใกล้หมู่บ้านแทน และเมื่อมีการเลือกหมู่บ้านสำคัญแล้วต่อมาจึงคัดเลือกผู้เข้าไปรับการอบรมทางการเกษตร การแพทย์ และความรู้วิทยาการใหม่ๆ ในระหว่างที่ตชด. กำลังสานสัมพันธ์กับชาวเขาทางภาคเหนือ เหตุปะทะกันอย่างรุนแรงในลาวก็เริ่มหนักขึ้นทุกที เริ่มจาก พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ตชด. ได้สืบข่าวทราบมาว่ามีชายชาวเขาเผ่าม้งบางหมู่บ้านเข้ารับการอบรมทางยุทธวิธีจากเวียดนามเหนือ และเข้าไปทำการรบในลาวเมื่อปี 2504 และกลับมาบ้านเดิมของตัวเองในไทยในปี 2505 ขณะเดียวกันที่จ.อุดร ซีไอเอ.ได้ลำเลียงทหารม้งเข้ามาฝึกการรบอย่างลับๆ และโยกย้ายกำลังรบพิเศษต่างๆ ของไทยเข้าไปในลาวกันจ้าล่ะหวั่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หน่วยข่าวกรองของไทย หรือ กอ.ปค. (กองอำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ต่อมาใช้ชื่อ กอ.รมน.) สืบทราบว่ามีการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งกระทำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ไทยและลาว ด้วยการจะช่วยชาวม้งจัดตั้งรัฐอิสระและจะได้เฝ้ากษัตริย์ม้งเป็นข้าช่วงใช้ ระหว่างนี้ก็มักจะมีข่าวการซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐอยู่เนืองๆ การซุ่มโจมตีแต่ละครั้งมิใช้เกิดจากฝีมือของพลพรรคคอมมิวนิสต์ หากแต่เป็นเหตุที่เจ้าหน้าที่รัฐมักจะเข้าไปข่มขู่เอาเงินจากชาวเขาอยู่บ่อยครั้งโดยอ้างเป็นค่าภาษี การปะทะกันแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่รัฐจะเขียนรายงานว่าเป็นการปะทะกับคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งเกิดเหตุรุนแรงขึ้นจนทำให้ความสัมพันธ์ของ ตชด. กับชาวเขาแทบหักสะบั้นลงในปี พ.ศ. 2510 เกิดเหตุเผาหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งห้วยชมพู อ.เทิง จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่รัฐรายงานเบื้องต้นว่าเป็นปฏิบัติการต่อเนื่องจากเหตุปะทะกับคอมมิวนิสต์ชาวเขา แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ชาวเขาได้เริ่มตัดไม้เพื่อทำไร่เลื่อนลอย และเผาหญ้าแห้งเพื่อปรับพื้นที่ ควันจากการเผาไหม้นี่เองทำให้เจ้าหน้าที่ทราบว่ามีการลักลอบตัดไม้ จึงขึ้นไปเพื่อข่มขู่เอาเงิน ชาวเขาจึงยอมให้เพื่อเป็นค่าธรรมเนียม หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็ขึ้นมาอีกนายและข่มขู่เอาเงินเป็นครั้งที่สอง และชาวเขาก็ยินยอมจ่ายให้ ตำรวจภูธรอำเภอเทิงทราบข่าวจึงได้เข้ามาและข่มขู่เอาเงินอีกเป็นครั้งที่สาม โดยไม่ทราบว่าก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่รัฐได้เข้ามาเอาเงินไปแล้วในถึงสองครั้ง คราวนี้ชาวเขาหมดความอดทน จึงจ่ายให้เป็นลูกปืนแทนก่อนจะหลบหนีเข้าไปในป่า ฝ่ายทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปติดตามที่หมู่บ้าน แต่ไม่พบผู้ชายชาวเขามีก็แต่เพียงเด็กและคนชรา แต่ปรากฎว่าระหว่างเดินทางกลับ คณะตำรวจภูธรถูกชาวเขาซุ่มโจมตี ยังผลให้ตำรวจเสียชีวิตหนึ่งนาย บาดเจ็บสี่นายและถูกจับเป็นเชลยสามนาย รุ่งเช้าตำรวจภูธรได้ส่งกำลังขึ้นไปหมู่บ้านและเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง ชาวเขาได้ล่าถอยและปล่อยเชลยทั้งหมด จากนั้นตำรวจที่ตามมาสมทบได้ขึ้นไปถึงหมู่บ้านและทำการเผาหมู่บ้านห้วยชมพู ทำลายยุ้งฉาง ฆ่าสัตว์เลี้ยงทิ้งทั้งหมด ชาวเขาที่เหลือก็หนีเข้าป่าลึกไป บางส่วนเข้าสมทบกับพลพรรคคอมมิวนิสต์ที่อ้าแขนรอต้อนรับอยู่
ระหว่างนี้ความรุนแรงทางภาคเหนือก็ยิ่งทวีขึ้นอีก เมื่อกองกำลังเถื่อนที่รัฐไทยซุกซ่อนไว้เกิดปะทะกันเองจนลุกลามกลายเป็นสงครามฝิ่นในที่สุด.....