รู้เรื่องเครื่องสำอางกับรักวันนี้
ขอมาอัพเดตแบบ
รู้ไว้ใช่ว่า ตามดราม่าในทวิต #ผ้าอนามัยไม่มีภาษี
ซึ่งก็คือ #ผ้าอนามัยแบบสอด นั่นเอง
💛💛💛💛💛💛💛💛💛
🔸มาอ่านข้อมูลจริงๆกันว่าเค้าเขียนว่าอะไรบ้าง 🔸
ตามประกาศของราชกิจจานุเบกษา
ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564
ที่มีการประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยการกำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564
ซึ่งอาศัยอำนาจตามความใน (3) ของบทนิยามคำว่า ‘เครื่องสำอาง’
ในมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
📌ให้ผ้าอนามัยชนิดสอดที่ใช้สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อซับเลือดประจำเดือนเป็นเครื่องสำอาง📌
และโดยที่มีความจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
ของผ้าอนำมัยชนิดสอดเพื่อให้สามารถคุ้มครองความปลอดภัยและอนามัยของผู้บริโภคได้ สมควรกำหนด ให้ผ้ำอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอาง
💛💛💛💛💛💛💛💛💛
เมื่ออ่านของจริงยึบยือจนจบแล้ว
มาอ่านแบบเข้าใจง่ายๆกันดีกว่า
ก็คือ
เค้าประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ 19/7/21
ให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอางเพราะ
1️⃣ มีกฎหมายข้อนึงของเครื่องสำอางที่เปิดไว้ว่า
ใดๆก็ตามที่กฎกระทรวงกำหนดก็จะเป็นเครื่องสำอาง
2️⃣ เค้าอยากจะให้ควมคุมคุณภาพและความปลอดภัยก็เลยกำหนดไว้
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
ซึ่งเมื่อแปลออกมาแล้วก็จะทำให้คนทั่วไปเกิดความเอ๊ะๆหลายเรื่อง
1️⃣ ผ้าอนามัยแบบสอดดูไม่น่าใช่เครื่องสำอางเลย
ทำไมถึงมาเป็นเครื่องสำอางได้
จริงๆแล้วตามนิยามของเครื่องสำอางตามกฎหมายอ่ะ
มันมีหลายตัวมากเลยที่ดูไม่น่าเป็นเครื่องสำอางแต่ก็เป็น
เช่น น้ำยาบ้วนปาก สบู่ แชมพู ยาทาเล็บ สีย้อมผม
และแม้กระทั่งผ้าอนามัยแบบธรรมดา
เพราะ ตาม พรบ. คสอ. 2558 เค้าพูดไว้แบบนี้
(ถ้าอ่านแล้วงงก็ข้ามไปดูที่รักแปลได้เลย)
(1) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วน
ภายนอกของร่างกายมนุษย์
และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก
โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลีกษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่าง ๆ นั้นให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินต่าง ๆ สำหรับผิวด้วย
แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
📌แปลไทยเป็นไทยคือ
ใดๆที่ใช้ภายนอกร่างกายเพื่อความสะอาดก็เป็นเครื่องสำอาง
ดังนั้น ผ้าอนามัยก็เลยเป็นเครื่องสำอาง
พออ่านมาถึงตรงนี้ผ้าอนามัยแบบสอด
✅ใช้เพือความสะอาดก็จริงแต่
❌แต่มันใส่เข้าไปในร่างกาย
ทำไมเข้าเกณฑ์ คสอ.หละ
คำตอบ
ก็เพราะเค้ามีนิยามข้อ 3 ตามพรบ. คสอ. 2558 ว่า
สิ่งใดที่กฎกระทรวงกำหนดสิ่งนั้นเป็น คสอ.
สรุป คือ ก็อาศัยข้อยกเว้นมากำหนดนั่นเอง
แต่ ‼️‼️
อย่าเพิ่งเกรี้ยวกราด
จริงๆแล้วทั้งผ้าอนามัยแบบธรรมดาและแบบสอด
เคยเป็นเครื่องสำอางมาก่อนทั้งคู่ค่า
เพราะ พรบ. คสอ.เดิมก่อนปี 2558 บอกว่า
#ใช้กับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
แต่พรบ.ปี 2558 ดันเขียนว่า
#ใช้ภายนอก
เลยทำให้ผ้าอนามัยธรรมดายังคงเป็นเครื่องสำอาง
แต่แบบสอดเลยกระเด็นออกมาเป็นเครื่องมือแพทย์อยู่ 5 ปี
และเพื่อให้กลับมาควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยแบบเดียวกัน
เลยจับแบบสอดกลับเข้ามาเป็นเครื่องสำอาง
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
2️⃣ เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดเปลี่ยนมาเป็นเครื่องสำอางแล้วจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยแล้วถูกเก็บภาษีมั้ย
นี่แหละคือความข้องความข้องใจของประชาชนทั่วไป
เพราะสาวๆก็กังวลภาษีจะเพิ่มขึ้น 5 เท่า!!!
จาก 7% เป็นเพดานภาษี 30%
แปลว่า เรากำลังจะซื้อผ้าอนามัยแพงขึ้นหรอ
แต่ก่อนอื่นรักว่ามีหลายคนสงสัย
ผ้าอนามัยแบบสอดเค้าใช้กันด้วยหรอ
ใช้ค่ะ !!!!
นิยมมากด้วย
เพราะใช้แล้วเหมือนไม่มีประจำเดือน
ไม่ต้องกลัวเลอะ ไม่อึดอัด
ออกกำลังกายได้เต็มที่
ไม่ต้องกังวล
จึงทำให้ความนิยมพุ่งทะยาน
💛กลับมาที่เรื่องภาษี💛
จริงๆแล้วถึงผ้าอนามัยธรรมดาถึงจะเป็นเครื่องสำอาง
แต่เครื่องสำอางก็เป็นสินค้าควบคุมตามประกาศ
ยกเว้น น้ำหอมที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยแต่ก็ถูกเก็บภาษีที่ 8%
ดังนั้น ผ้าอนามัย
จะถูกเก็บ vat 7% ตามสินค้าทั่วไป
และผ้าอนามัยแบบสอดที่เพิ่งกลับมาเป็นเครื่องสำอาง
ก็จะไม่ถูกเก็บภาษีแพงและโดนแค่ vat 7% เช่นกันค่า
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
สรุป
1. ผ้าอนามัยธรรมดาเป็นเครื่องสำอางเพราะตรงตามนิยามกฎหมายเครื่องสำอางว่าใช้เพื่อความสะอาดและใช้ภายนอก
2. ผ้าอนามัยแบบสอดล่าสุดเป็นเครื่องสำอางเพราะเป็นข้อยกเว้นและถูกกำหนดให้เป็นตามนั้น
3. ทั้ง2แบบนี้เคยเป็นเครื่องสำอางมาทั้งคู่แต่เพราะนิยามเปลี่ยนแบบสอดเลยกระเด็นออกมาเป็นเครื่องมือแพทย์อยู่ 5 ปี
4. ทั้ง 2 แบบไม่ได้เป็oสินค้าฟุ่มเฟือย มีข้อกำหนดว่าไม่ต้องถูกเก็บภาษีแพงๆเพดาน 30% แต่ยังมี vat7% เหมือนเดิมค่า
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
ปล. แอบให้ข้อมูลเรื่องภาษีผ้าอนามัยเพิ่มเติมของทั่วโลก
🌟 สกอตแลนด์ คือประเทศแรกของโลกที่ให้ผู้หญิงและผู้ที่มีประจำเดือนใช้ผ้าอนามัยฟรี
🌟เคนยา คือ ประเทศแรกของโลกที่ยกเลิกภาษีผ้าอนามัยตั้งแต่ 2004
🌟สหรัฐอเมริกา 18 รัฐ, ไนจีเรีย, ไอร์แลนด์, จาเมกา, เลบานอน, แทนซาเนีย, มาเลเซีย, นิการากัว ก็เลิกเก็บภาษีผ้าอนามัยแล้วเช่นกัน
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
#เพราะรักจึงเล่าให้ฟัง
#เภสัชกรรัก
🔥#ผ้าอนามัยไม่มีภาษี เรื่องจริงดราม่าติดเทรนด์ทวิตเตอร์🔥
ขอมาอัพเดตแบบ
รู้ไว้ใช่ว่า ตามดราม่าในทวิต #ผ้าอนามัยไม่มีภาษี
ซึ่งก็คือ #ผ้าอนามัยแบบสอด นั่นเอง
💛💛💛💛💛💛💛💛💛
🔸มาอ่านข้อมูลจริงๆกันว่าเค้าเขียนว่าอะไรบ้าง 🔸
ตามประกาศของราชกิจจานุเบกษา
ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564
ที่มีการประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยการกำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564
ซึ่งอาศัยอำนาจตามความใน (3) ของบทนิยามคำว่า ‘เครื่องสำอาง’
ในมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
📌ให้ผ้าอนามัยชนิดสอดที่ใช้สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อซับเลือดประจำเดือนเป็นเครื่องสำอาง📌
และโดยที่มีความจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
ของผ้าอนำมัยชนิดสอดเพื่อให้สามารถคุ้มครองความปลอดภัยและอนามัยของผู้บริโภคได้ สมควรกำหนด ให้ผ้ำอนามัยชนิดสอดเป็นเครื่องสำอาง
💛💛💛💛💛💛💛💛💛
เมื่ออ่านของจริงยึบยือจนจบแล้ว
มาอ่านแบบเข้าใจง่ายๆกันดีกว่า
ก็คือ
เค้าประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ 19/7/21
ให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอางเพราะ
1️⃣ มีกฎหมายข้อนึงของเครื่องสำอางที่เปิดไว้ว่า
ใดๆก็ตามที่กฎกระทรวงกำหนดก็จะเป็นเครื่องสำอาง
2️⃣ เค้าอยากจะให้ควมคุมคุณภาพและความปลอดภัยก็เลยกำหนดไว้
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
ซึ่งเมื่อแปลออกมาแล้วก็จะทำให้คนทั่วไปเกิดความเอ๊ะๆหลายเรื่อง
1️⃣ ผ้าอนามัยแบบสอดดูไม่น่าใช่เครื่องสำอางเลย
ทำไมถึงมาเป็นเครื่องสำอางได้
จริงๆแล้วตามนิยามของเครื่องสำอางตามกฎหมายอ่ะ
มันมีหลายตัวมากเลยที่ดูไม่น่าเป็นเครื่องสำอางแต่ก็เป็น
เช่น น้ำยาบ้วนปาก สบู่ แชมพู ยาทาเล็บ สีย้อมผม
และแม้กระทั่งผ้าอนามัยแบบธรรมดา
เพราะ ตาม พรบ. คสอ. 2558 เค้าพูดไว้แบบนี้
(ถ้าอ่านแล้วงงก็ข้ามไปดูที่รักแปลได้เลย)
(1) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์
และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลีกษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่าง ๆ นั้นให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินต่าง ๆ สำหรับผิวด้วย
แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
📌แปลไทยเป็นไทยคือ
ใดๆที่ใช้ภายนอกร่างกายเพื่อความสะอาดก็เป็นเครื่องสำอาง
ดังนั้น ผ้าอนามัยก็เลยเป็นเครื่องสำอาง
พออ่านมาถึงตรงนี้ผ้าอนามัยแบบสอด
✅ใช้เพือความสะอาดก็จริงแต่
❌แต่มันใส่เข้าไปในร่างกาย
ทำไมเข้าเกณฑ์ คสอ.หละ
คำตอบ
ก็เพราะเค้ามีนิยามข้อ 3 ตามพรบ. คสอ. 2558 ว่า
สิ่งใดที่กฎกระทรวงกำหนดสิ่งนั้นเป็น คสอ.
สรุป คือ ก็อาศัยข้อยกเว้นมากำหนดนั่นเอง
แต่ ‼️‼️
อย่าเพิ่งเกรี้ยวกราด
จริงๆแล้วทั้งผ้าอนามัยแบบธรรมดาและแบบสอด
เคยเป็นเครื่องสำอางมาก่อนทั้งคู่ค่า
เพราะ พรบ. คสอ.เดิมก่อนปี 2558 บอกว่า
#ใช้กับส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
แต่พรบ.ปี 2558 ดันเขียนว่า
#ใช้ภายนอก
เลยทำให้ผ้าอนามัยธรรมดายังคงเป็นเครื่องสำอาง
แต่แบบสอดเลยกระเด็นออกมาเป็นเครื่องมือแพทย์อยู่ 5 ปี
และเพื่อให้กลับมาควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยแบบเดียวกัน
เลยจับแบบสอดกลับเข้ามาเป็นเครื่องสำอาง
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
2️⃣ เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดเปลี่ยนมาเป็นเครื่องสำอางแล้วจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยแล้วถูกเก็บภาษีมั้ย
นี่แหละคือความข้องความข้องใจของประชาชนทั่วไป
เพราะสาวๆก็กังวลภาษีจะเพิ่มขึ้น 5 เท่า!!!
จาก 7% เป็นเพดานภาษี 30%
แปลว่า เรากำลังจะซื้อผ้าอนามัยแพงขึ้นหรอ
แต่ก่อนอื่นรักว่ามีหลายคนสงสัย
ผ้าอนามัยแบบสอดเค้าใช้กันด้วยหรอ
ใช้ค่ะ !!!!
นิยมมากด้วย
เพราะใช้แล้วเหมือนไม่มีประจำเดือน
ไม่ต้องกลัวเลอะ ไม่อึดอัด
ออกกำลังกายได้เต็มที่
ไม่ต้องกังวล
จึงทำให้ความนิยมพุ่งทะยาน
💛กลับมาที่เรื่องภาษี💛
จริงๆแล้วถึงผ้าอนามัยธรรมดาถึงจะเป็นเครื่องสำอาง
แต่เครื่องสำอางก็เป็นสินค้าควบคุมตามประกาศ
ยกเว้น น้ำหอมที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยแต่ก็ถูกเก็บภาษีที่ 8%
ดังนั้น ผ้าอนามัย
จะถูกเก็บ vat 7% ตามสินค้าทั่วไป
และผ้าอนามัยแบบสอดที่เพิ่งกลับมาเป็นเครื่องสำอาง
ก็จะไม่ถูกเก็บภาษีแพงและโดนแค่ vat 7% เช่นกันค่า
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
สรุป
1. ผ้าอนามัยธรรมดาเป็นเครื่องสำอางเพราะตรงตามนิยามกฎหมายเครื่องสำอางว่าใช้เพื่อความสะอาดและใช้ภายนอก
2. ผ้าอนามัยแบบสอดล่าสุดเป็นเครื่องสำอางเพราะเป็นข้อยกเว้นและถูกกำหนดให้เป็นตามนั้น
3. ทั้ง2แบบนี้เคยเป็นเครื่องสำอางมาทั้งคู่แต่เพราะนิยามเปลี่ยนแบบสอดเลยกระเด็นออกมาเป็นเครื่องมือแพทย์อยู่ 5 ปี
4. ทั้ง 2 แบบไม่ได้เป็oสินค้าฟุ่มเฟือย มีข้อกำหนดว่าไม่ต้องถูกเก็บภาษีแพงๆเพดาน 30% แต่ยังมี vat7% เหมือนเดิมค่า
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
ปล. แอบให้ข้อมูลเรื่องภาษีผ้าอนามัยเพิ่มเติมของทั่วโลก
🌟 สกอตแลนด์ คือประเทศแรกของโลกที่ให้ผู้หญิงและผู้ที่มีประจำเดือนใช้ผ้าอนามัยฟรี
🌟เคนยา คือ ประเทศแรกของโลกที่ยกเลิกภาษีผ้าอนามัยตั้งแต่ 2004
🌟สหรัฐอเมริกา 18 รัฐ, ไนจีเรีย, ไอร์แลนด์, จาเมกา, เลบานอน, แทนซาเนีย, มาเลเซีย, นิการากัว ก็เลิกเก็บภาษีผ้าอนามัยแล้วเช่นกัน
💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙
#เพราะรักจึงเล่าให้ฟัง
#เภสัชกรรัก