เศร้า! ครูสาวเสียชีวิต หลังฉีดสูตรผสม แอสตร้าฯ+ซิโนแวค เพียง 1 วัน รอผลแพทย์พิสูจน์
https://www.matichon.co.th/region/news_2840173
เศร้า! ครูสาวเสียชีวิต หลังฉีดวัคซีนสูตรผสม แอสตร้าฯ+ซิโนแวค เพียง 1 วัน รอผลแพทย์พิสูจน์ สามีชี้ภรรยามีโรคประจำตัวหมอบอกไม่มีผลต่อการฉีด
วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ต.ต.
พสิษฐ์ จุลทะการ สารวัตรสอบสวน สภ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้รับแจ้งมีคนเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ภายในห้องนอนในบ้านพัก ถนนมหาราช 1 เขตเทศบาลเมืองประจวบฯใกล้กับสถานีรถไฟประจวบฯแห่งใหม่ หลังได้รับแจ้งจึงพร้อมด้วยแพทย์เวรโรงพยาบาลประจวบ
เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างประจวบตรวจสอบที่เกิดเหตุเป็นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น เปิดเป็นโรงเรียนสอนพิเศษ สถาบันพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์คิงแมทส์ พบผู้เสียชีวิต ทราบชื่อ นางสาว
พงศ์ภัค ศรัทธาโสภณ อายุ 39 ปี เป็นเจ้าของโรงเรียนและครูสอนพิเศษ นอนเสียชีวิตอยู่ภายในห้องนอนเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้นำศพส่งชันสูตรที่โรงพยาบาลประจวบฯเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต
นาย
ศักดิ์สิทธิ์ ดุจวรรณ์ อายุ 44 ปี สามีของผู้เสียชีวิต ครูสอนพิเศษ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ตนพร้อมกับภรรยาไปฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ที่โรงพยาบาลประจวบฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไปฉีดวัคซีนยี่ห้อ ซิโนแวค เข็มแรกแล้ว หลังจากเดินทางกลับภรรยาขอนอนพักผ่อน สำหรับตนมีอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อย ปวดหัวตัวร้อนหนาวสั่น จึงกินยาพาราเซตามอล จากนั้นมาทำงานพร้อมดูแลบุตรสาว 2 คนที่ชั้นล่าง โดยให้ภรรยาพักบนห้องนอน และไม่ได้ดูอาการ เมื่อขึ้นไปดูอาการช่วงเวลา 19.00 น. วันที่ 20 กรกฎาคม พบว่าภรรยาได้เสียชีวิตแล้วจึงโทรแจ้งโรงพยาบาล
“จะรอผลยืนยันจากแพทย์หลังผ่าชันสูตรเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตให้แน่ชัด เพื่อพิสูจน์ว่าภรรยาเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนต่างยี่ห้อหรือไม่ ขณะที่ภรรยามีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว ก่อนฉีดแพทย์ยืนยันว่าไม่มีผลต่อการฉีดวัคซีนจึงทำให้มั่นใจ ยอมรับว่าเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นกับครอบครัวทำให้สูญเสียความมั่นใจในวัคซีน และความเชื่อมั่นในระบบการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข” นาย
ศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
โควิด-19 ทำพิษ 1 ใน 3 'ฆ่าตัวตาย' จากผลกระทบเศรษฐกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/950039?aoj=
สสส. เผยผลสำรวจ 'โควิด-19' ทำคน 'ภาคท่องเที่ยว' ตกงานกว่า 4 ล้านคน นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 82.5% รายได้ลด 1.34 ล้านล้านบาท กระทบเศรษฐกิจ เครียดจัด ยอด 'ฆ่าตัวตาย' พุ่ง
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และกรมสุขภาพจิต จัดเสวนาออนไลน์ ความจำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพจิตของเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและ SME ด้วยวิธีการ สร้างวัคซีนใจ
พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมเครื่องมือดูแลจิตใจ “เว็บไซต์วัคซีนใจ” เครื่องมือประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต พร้อมแนวทางดูแลสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากสถานการณ์โควิด-19 และสำหรับประยุกต์ใช้ในทุกอาชีพต่อไป
นาย
ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกต้องจำกัดการเดินทางเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงโดยตรงกับเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบ 100% เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีหนี้สินเพิ่มจากการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง แรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถูกเลิกจ้าง ทั้งธุรกิจเกี่ยวกับร้านค้า ที่พัก บริการท่องเที่ยว และบริการขนส่ง
1 ใน 3 'ฆ่าตัวตาย' จากเศรษฐกิจ
จากข้อมูลคนว่างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปี 2563 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่า มีแรงงานว่างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถึง 25% ของแรงงานว่างงานทั้งหมด หรือกว่า 4 ล้านคน ต้องขาดรายได้ กระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือน นำไปสู่ความเครียดสะสม เกิดปัญหาสุขภาพจิต เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเหตุปัจจัยของการฆ่าตัวตายปี 2563 โดยกรมสุขภาพจิต พบว่า ผลกระทบจากภาวะเครียดเรื่องเศรษฐกิจ เป็น 1 ใน 3 เหตุปัจจัยสูงสุดของการฆ่าตัวตาย ปี 2563 ความเครียดจึงถือเป็นเหตุของปัญหาสุขภาพที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นาย
ชาติวุฒิ กล่าวว่า สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องเร่งยกระดับการสร้างเสริมสุขภาพจิตคนไทยอย่างเร่งด่วน จึงร่วมกับ มศว. และกรมสุขภาพจิต ริเริ่มโครงการพัฒนาสุขภาวะด้านจิตใจในกลุ่มผู้ประกอบการและพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว พร้อมพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือเว็บไซต์วัคซีนใจ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากโควิด-19 ฟื้นฟูจิตใจตัวเองด้วยแบบทดสอบง่ายๆ เข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ขั้นตอนทำแบบทดสอบจิตใจ
1. วัดระดับสภาพจิตใจ 20 ข้อ
2. พัฒนาเป้าหมายและส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น
3. ประเมินตนเอง ค้นหาข้อดี และเห็นความสำคัญของคนรอบข้าง
โดยจะมีการแจ้งเตือนให้ผู้เข้าร่วมทำแบบทดสอบทุกๆ 30 วัน
• ปี 63 นักท่องเที่ยวลดลงถึง 82.5%
ผศ.ดร.
ศรัณย์ พิมพ์ทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว. และผู้จัดการโครงการพัฒนาสุขภาวะด้านจิตใจในกลุ่มผู้ประกอบการและพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีมากว่า 2 ปี ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยอย่างหนัก
โดยในปี 2563 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยลดลงถึง 82.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 กระทบถึงรายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงกว่า 1.34 ล้านล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหดตัวอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ที่น่าห่วงคือธุรกิจ SME บางกลุ่มต้องเลิกกิจการ แต่สำหรับกลุ่มที่ยังคงประกอบธุรกิจอยู่ก็ได้รับผลกระทบ
ส่งผลให้ผู้ประกอบการและพนักงานเกิดความเครียดสะสม หมดกำลังใจ ท้อแท้ ซึ่งกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลสุขภาพด้านจิตใจอย่างเร่งด่วนและทั่วถึง โดยภายในปีนี้ตั้งเป้าหมายสานพลังร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เพื่อขยายพื้นที่พัฒนาสุขภาพจิตผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างกว้างขวางไปทั่วประเทศ
อ.จุฬาฯ ตั้งคำถาม กรณีรัฐดีลทำสัญญากับ 'ไฟเซอร์' ทำไมไม่ทำตั้งแต่ต้น ปล่อยให้บานปลายจนเกิดความสูญเสีย
https://ch3plus.com/news/category/249613
วันที่ 20 ก.ค.64 ผศ.ดร.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือสัญญาวัคซีนโควิดกับไฟเซอร์ว่า
"ยินดีกับประชาชนคนไทยด้วยครับ ในที่สุด! ก็มีวัคซีนอย่างไฟเซอร์ (mRNA) 20 ล้านโดส เข้ามาเพื่อช่วยการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิดที่รุนแรงตอนนี้แล้ว ซึ่งตามข่าวจะมาช่วงราวตั้งแต่ช่วงตุลาคมนี้เป็นต้นไป
สำหรับผม การลงนามสั่งซื้อวัคซีนไฟเซอร์ระหว่างรัฐบาลกับบริษัทไฟเซอร์ครั้งนี้สะท้อนว่า หากรัฐบาลจะทำก็ทำได้ แต่คำถามคือ แล้วทำไมจึงไม่ทำตั้งแต่ต้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ ทำไมจึงปล่อยให้สถานการณ์มันรุนแรงบานปลายถึงขนาดทำให้เกิดเหตุการณ์ที่น่าหดหู่ของประชาชนเกิดขึ้นรายวันขนาดนี้"
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/10159743504375979
JJNY : ครูสาวเสียชีวิตหลังฉีดสูตรผสม│1ใน3'ฆ่าตัวตาย'จากศก.│อ.จุฬาฯถามดีล'ไฟเซอร์'ทำไมไม่ทำตั้งแต่ต้น│จี้สอบ เหรียญทอง
https://www.matichon.co.th/region/news_2840173
เศร้า! ครูสาวเสียชีวิต หลังฉีดวัคซีนสูตรผสม แอสตร้าฯ+ซิโนแวค เพียง 1 วัน รอผลแพทย์พิสูจน์ สามีชี้ภรรยามีโรคประจำตัวหมอบอกไม่มีผลต่อการฉีด
วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ต.ต.พสิษฐ์ จุลทะการ สารวัตรสอบสวน สภ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้รับแจ้งมีคนเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ภายในห้องนอนในบ้านพัก ถนนมหาราช 1 เขตเทศบาลเมืองประจวบฯใกล้กับสถานีรถไฟประจวบฯแห่งใหม่ หลังได้รับแจ้งจึงพร้อมด้วยแพทย์เวรโรงพยาบาลประจวบ
เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างประจวบตรวจสอบที่เกิดเหตุเป็นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น เปิดเป็นโรงเรียนสอนพิเศษ สถาบันพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์คิงแมทส์ พบผู้เสียชีวิต ทราบชื่อ นางสาวพงศ์ภัค ศรัทธาโสภณ อายุ 39 ปี เป็นเจ้าของโรงเรียนและครูสอนพิเศษ นอนเสียชีวิตอยู่ภายในห้องนอนเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้นำศพส่งชันสูตรที่โรงพยาบาลประจวบฯเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต
นายศักดิ์สิทธิ์ ดุจวรรณ์ อายุ 44 ปี สามีของผู้เสียชีวิต ครูสอนพิเศษ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ตนพร้อมกับภรรยาไปฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า ที่โรงพยาบาลประจวบฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไปฉีดวัคซีนยี่ห้อ ซิโนแวค เข็มแรกแล้ว หลังจากเดินทางกลับภรรยาขอนอนพักผ่อน สำหรับตนมีอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อย ปวดหัวตัวร้อนหนาวสั่น จึงกินยาพาราเซตามอล จากนั้นมาทำงานพร้อมดูแลบุตรสาว 2 คนที่ชั้นล่าง โดยให้ภรรยาพักบนห้องนอน และไม่ได้ดูอาการ เมื่อขึ้นไปดูอาการช่วงเวลา 19.00 น. วันที่ 20 กรกฎาคม พบว่าภรรยาได้เสียชีวิตแล้วจึงโทรแจ้งโรงพยาบาล
“จะรอผลยืนยันจากแพทย์หลังผ่าชันสูตรเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตให้แน่ชัด เพื่อพิสูจน์ว่าภรรยาเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนต่างยี่ห้อหรือไม่ ขณะที่ภรรยามีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคประจำตัว ก่อนฉีดแพทย์ยืนยันว่าไม่มีผลต่อการฉีดวัคซีนจึงทำให้มั่นใจ ยอมรับว่าเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นกับครอบครัวทำให้สูญเสียความมั่นใจในวัคซีน และความเชื่อมั่นในระบบการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข” นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
โควิด-19 ทำพิษ 1 ใน 3 'ฆ่าตัวตาย' จากผลกระทบเศรษฐกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/950039?aoj=
สสส. เผยผลสำรวจ 'โควิด-19' ทำคน 'ภาคท่องเที่ยว' ตกงานกว่า 4 ล้านคน นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 82.5% รายได้ลด 1.34 ล้านล้านบาท กระทบเศรษฐกิจ เครียดจัด ยอด 'ฆ่าตัวตาย' พุ่ง
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และกรมสุขภาพจิต จัดเสวนาออนไลน์ ความจำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพจิตของเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและ SME ด้วยวิธีการ สร้างวัคซีนใจ
พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมเครื่องมือดูแลจิตใจ “เว็บไซต์วัคซีนใจ” เครื่องมือประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต พร้อมแนวทางดูแลสุขภาพจิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากสถานการณ์โควิด-19 และสำหรับประยุกต์ใช้ในทุกอาชีพต่อไป
นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกต้องจำกัดการเดินทางเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงโดยตรงกับเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบ 100% เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีหนี้สินเพิ่มจากการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง แรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถูกเลิกจ้าง ทั้งธุรกิจเกี่ยวกับร้านค้า ที่พัก บริการท่องเที่ยว และบริการขนส่ง
1 ใน 3 'ฆ่าตัวตาย' จากเศรษฐกิจ
จากข้อมูลคนว่างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปี 2563 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่า มีแรงงานว่างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถึง 25% ของแรงงานว่างงานทั้งหมด หรือกว่า 4 ล้านคน ต้องขาดรายได้ กระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือน นำไปสู่ความเครียดสะสม เกิดปัญหาสุขภาพจิต เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเหตุปัจจัยของการฆ่าตัวตายปี 2563 โดยกรมสุขภาพจิต พบว่า ผลกระทบจากภาวะเครียดเรื่องเศรษฐกิจ เป็น 1 ใน 3 เหตุปัจจัยสูงสุดของการฆ่าตัวตาย ปี 2563 ความเครียดจึงถือเป็นเหตุของปัญหาสุขภาพที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นายชาติวุฒิ กล่าวว่า สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องเร่งยกระดับการสร้างเสริมสุขภาพจิตคนไทยอย่างเร่งด่วน จึงร่วมกับ มศว. และกรมสุขภาพจิต ริเริ่มโครงการพัฒนาสุขภาวะด้านจิตใจในกลุ่มผู้ประกอบการและพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว พร้อมพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือเว็บไซต์วัคซีนใจ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากโควิด-19 ฟื้นฟูจิตใจตัวเองด้วยแบบทดสอบง่ายๆ เข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ขั้นตอนทำแบบทดสอบจิตใจ
1. วัดระดับสภาพจิตใจ 20 ข้อ
2. พัฒนาเป้าหมายและส่งต่อแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น
3. ประเมินตนเอง ค้นหาข้อดี และเห็นความสำคัญของคนรอบข้าง
โดยจะมีการแจ้งเตือนให้ผู้เข้าร่วมทำแบบทดสอบทุกๆ 30 วัน
• ปี 63 นักท่องเที่ยวลดลงถึง 82.5%
ผศ.ดร.ศรัณย์ พิมพ์ทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว. และผู้จัดการโครงการพัฒนาสุขภาวะด้านจิตใจในกลุ่มผู้ประกอบการและพนักงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีมากว่า 2 ปี ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยอย่างหนัก
โดยในปี 2563 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยลดลงถึง 82.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 กระทบถึงรายได้ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงกว่า 1.34 ล้านล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหดตัวอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ที่น่าห่วงคือธุรกิจ SME บางกลุ่มต้องเลิกกิจการ แต่สำหรับกลุ่มที่ยังคงประกอบธุรกิจอยู่ก็ได้รับผลกระทบ
ส่งผลให้ผู้ประกอบการและพนักงานเกิดความเครียดสะสม หมดกำลังใจ ท้อแท้ ซึ่งกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลสุขภาพด้านจิตใจอย่างเร่งด่วนและทั่วถึง โดยภายในปีนี้ตั้งเป้าหมายสานพลังร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เพื่อขยายพื้นที่พัฒนาสุขภาพจิตผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างกว้างขวางไปทั่วประเทศ
อ.จุฬาฯ ตั้งคำถาม กรณีรัฐดีลทำสัญญากับ 'ไฟเซอร์' ทำไมไม่ทำตั้งแต่ต้น ปล่อยให้บานปลายจนเกิดความสูญเสีย
https://ch3plus.com/news/category/249613
วันที่ 20 ก.ค.64 ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือสัญญาวัคซีนโควิดกับไฟเซอร์ว่า
"ยินดีกับประชาชนคนไทยด้วยครับ ในที่สุด! ก็มีวัคซีนอย่างไฟเซอร์ (mRNA) 20 ล้านโดส เข้ามาเพื่อช่วยการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิดที่รุนแรงตอนนี้แล้ว ซึ่งตามข่าวจะมาช่วงราวตั้งแต่ช่วงตุลาคมนี้เป็นต้นไป
สำหรับผม การลงนามสั่งซื้อวัคซีนไฟเซอร์ระหว่างรัฐบาลกับบริษัทไฟเซอร์ครั้งนี้สะท้อนว่า หากรัฐบาลจะทำก็ทำได้ แต่คำถามคือ แล้วทำไมจึงไม่ทำตั้งแต่ต้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ ทำไมจึงปล่อยให้สถานการณ์มันรุนแรงบานปลายถึงขนาดทำให้เกิดเหตุการณ์ที่น่าหดหู่ของประชาชนเกิดขึ้นรายวันขนาดนี้"
https://www.facebook.com/pornson.liengboonlertchai/posts/10159743504375979