ทำไมหนังสือประวัติศาสตร์ไทยที่ใช้เป็นเล่มหลักในการศึกษา (โดยเฉพาะในต่างประเทศ) ถึงเป็นเล่มที่แต่งโดยชาวต่างประเทศ

อยากทราบว่า ทำไมหนังสือประวัติศาสตร์ไทยที่ใช้เป็นเล่มหลักในการศึกษา (โดยเฉพาะในต่างประเทศ) ถึงเป็นเล่มที่แต่งโดยชาวต่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น ชุดหนังสือประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของมูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่เป็นการนำหนังสือประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆมาแปลเป็นภาษาไทย สิ่งที่น่าสังเกตคือ มีอยู่สามประเทศที่ผู้แต่งไม่ได้เป็นคนในประเทศนั้นๆ คือกัมพูชา แต่งโดย David Chandler ลาว แต่งโดย Martin Stuart Fox และไทย แต่งโดย David K. Wyatt หรือที่นักวิชาการไทย (หลายคนเป็นลูกศิษย์ของท่านที่ Cornell ด้วย) เรียกว่าอาจารย์วัยอาจ ในขณะที่เล่มอื่นๆมักแต่งโดยคนในประเทศนั้นๆเป็นหลัก จขกท. ไม่แน่ใจว่าจะมีเล่มอื่นๆด้วยหรือเปล่า

รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: ในมุมมองของ จขกท. การที่มูลนิธิฯ ได้ยกเล่มนี้มาแปลเป็นภาษาไทย แสดงให้เห็นได้ระดับหนึ่งว่า หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นเล่มหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะในต่างประเทศ เลยยกมา เป็นการยกมาตามมุมมองเฉยๆ หากท่านไหนทราบว่ามีเล่มอื่นๆด้วย หรือมีเล่มที่แต่งโดยชาวไทยที่เป็นตำราเล่มหลักที่ใช้ในการศึกษาในต่างประเทศ ก็รบกวนยกตัวอย่างมาด้วยครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่