ผู้ป่วย 'โควิด' ไร้เตียง นำเต็นท์มากาง นอนกักตัว ใต้สะพานลอย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6503361
โควิด : เพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า โพสต์ภาพ ผู้ป่วย โควิด-19 แห่เอาเต็นท์มากาง นอนกักตัวใต้สะพานลอย ชุมชนริมทางรถไฟสายท่าเรือ
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก “
หมอแล็บแพนด้า” ได้โพสต์ภาพ พร้อมระบุข้อความว่า
“ผู้ป่วยมีจำนวนมากเหลือเกินครับ บางครอบครัวเค้าติดเชื้อแล้วไม่มีที่ไป ต้องแยกตัวเองออกมาจากครอบครัว โดยใช้วิธีกางเต็นท์ ชาวบ้านในชุมชนก็มาช่วยกันล้อมผ้า ทำครัวเล็ก ๆ ให้ผู้ป่วยได้กิน”
โดยภาพที่โพสต์นั้น เป็นภาพประชาชนนำเต็นท์ลายพรางสีเขียว มากางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ และมีระยะห่าง โดยใช้ไม้พาเลทมาวางรองเต็นท์เพื่อให้สูงขึ้นจากพื้น ซึ่งสถานที่ดังกล่าวอยู่บริเวณลานสนามกีฬาใต้สะพานลอย ชุมชนริมทางรถไฟสายท่าเรือ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ได้มีผู้เข้ามาแสดงความเห็น และมีการแชร์ออกไปเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว มีทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยทุกคน ร่วมถึงสอบถามช่องทางบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น และอาหาร เพื่อจะส่งไปบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วยอีกด้วย
https://www.facebook.com/MTlikesara/posts/361780001972135
‘เบื่อโดนเท’ เสียงจากประชาชนปมเลื่อนฉีดวัคซีน หนุ่มโฟร์แมนรอตรวจเชื้อ 3 วันยังไม่ได้คิว
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2823775
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยวันนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 9,539 ราย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2,741 ราย ยอดป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน อยู่ที่ 96,545 ราย
ทำให้ประชาชนมีการตรวจคัดกรองโรคมากขึ้น แต่ดูเหมือนไม่ได้รับการบริการที่ทั่วถึง ทำให้เกิดภาพประชาชนจำนวนมากต้องนอนรอคิวข้ามวันข้ามคืนในหลายจุดของพื้นที่กรุงเทพฯ ที่เปิดบริการให้ตรวจฟรี โดยเฉพาะวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่เกิดความแออัดอยู่หลายวัน กว่าที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตบางเขนจะลงมาบริหารจัดการ
สำหรับจุดนี้สำนักงานเขตบางเขนร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน และบริษัท ATGene ให้บริการตรวจคัดกรองเชิงรุกฟรีแก่ประชาชนทั่วไปที่มีสัญชาติไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วันละ 900 ราย
รวมถึงกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้สัมผัสผู้ป่วยที่ศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ ส่งมาขอรับบริการตรวจอีก 100 ราย รวมทั้งสิ้น 1,000 รายต่อวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-14.00 น. ระหว่างวันที่ 5-11 กรกฎาคม 2564
ผู้สื่อข่าว ‘
มติชน’ ลงพื้นที่โดยมีประชาชนให้ข้อมูลและสะท้อนปัญหารวมถึงนำเสนอข้อคิดถึงหน่วยงานภาครัฐ
จิตติกานต์ คันช่างทอง อายุ 47 ปี เจ้าของอู่ซ่อมรถย่านสายไหม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ทางสำนักงานเขตบางเขนเข้ามาบริหารจัดการคิวใหม่ ทำให้ไม่ต้องรอนานเหมือนช่วงแรกๆ วันนี้ได้คิวตรวจที่ 200 กว่า ที่ผ่านมาจะไปตรวจที่โรงพยาบาล คิวเต็มเลยไม่รับตรวจ จึงเดินทางมาที่วัดพระศรีฯ
“จริงๆ เขาน่าจะลงมาจัดการตั้งแต่วันแรกๆ แล้ว ปล่อยให้ประชาชนนอนรอข้ามวันได้อย่างไร อยากฝากถึงรัฐบาลขอให้เอาวัคซีนมาฉีดให้ประชาชน ลงทะเบียนไปก็ถูกเลื่อนไม่มีกำหนด และอยากขอให้เพิ่มจุดตรวจฟรีทุกเขต ไม่ใช่ปล่อยให้มาแย่ง มารอกันแบบนี้ เพราะคนป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน เราเองก็กลัว”
‘
ปลา’ อายุ 44 ปี อาชีพรับจ้างขายของ กล่าวว่า ตนกับเพื่อนมารอตั้งแต่เมื่อคืน ตอน 2 ทุ่ม ได้คิวตอน 4 ทุ่ม ไม่แออัดเหมือนวันแรกๆ หลังเขตมาจัดคิว แจกบัตรเร็วขึ้น แต่ก็มีคนที่นอนรอในวัดเพราะไม่อยากกลับบ้าน และฝนก็ตก
“เราไม่มีประกันสังคม และจะไปตรวจโรงพยาบาลค่าใช้จ่ายแพงหลายพันบาทในแต่ละครั้ง เห็นว่าที่นี่ตรวจฟรีเลยมาใช้บริการ เพราะเราเองก็เสี่ยง เป็นแม่ค้าขายของเจอคนเยอะ อยากบอกรัฐบาลว่าขอฉีดวีคซีนเข็มแรกหน่อย อย่าเลื่อนบ่อยหนักเลย ลงทะเบียนไปได้คิวฉีดวันที่ 1 กรกฎาคม บ่าย 3 วันที่ 30 มิถุนายน มาบอกว่าเลื่อนไม่มีกำหนด
อยากจะถามรัฐบาลเหมือนกันว่าที่อื่น เช่น ลาว เขาตรวจ เขาฉีดให้ฟรี ทำไมบ้านเราไม่มี ต้องให้รอคิว ลงทะเบียนอะไรอีกให้ยุ่งยาก แถมบริหารจัดการยังไม่ดี ถ้าบริหารจัดการไม่ได้ไม่ต้องเปิดให้จองคิวเลย ประเทศไทยมีตั้งกี่สิบล้านคน ยังฉีดเข็มแรกไปได้ไม่เท่าไหร่เอง
“ยังมาเจอล็อกดาวน์อีก เราเป็นคนหาเช้ากินค่ำ ได้ค่าจ้างวันละ 300-400 บาท งานก็ต้องไปทำแต่เช้าๆ ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี 3 แต่ห้ามเดินทางให้ออกตอนตี 4 จะไปทันอะไร กว่าจะไปตลาด ไปขายของก็สายแล้ว เชื้อโรคโควิดไม่ได้หยุดงานตอนกลางคืนนะ ไปขายแล้วก็ไม่รู้จะขายได้หรือเปล่า เพราะคนทำงานที่บ้านกันหมด ใครจะมาซื้อ”
‘เจี๊ยบ’ อายุ 39 ปี อดีตพนักงานร้านอาหารญี่ปุ่น กล่าวว่า จากโควิดระลอก 2 ตนถูกนายจ้างบีบให้ออกจากงานเพื่อลดพนักงาน โดยให้หยุดงานแบบไม่รับเงินเดือน และย้ายไปประจำที่สาขาที่ไกลจากบ้านมาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงตัดสินใจลาออก จากนั้นก็รับจ้างขายของเป็นรายวันจนมาได้งานใหม่ จึงต้องนำผลตรวจโควิดไปยืนยันว่าปลอดภัยไม่ติดเชื้อ
“เพิ่งตรวจครั้งแรก รอคิวตั้งแต่เมื่อคืน ยังดีที่เขตบริหารจัดการคิว ถึงได้ตรวจ เพราะจะให้ไปตรวจโรงพยาบาลก็แพงและไม่รับตรวจ ประกันสังคมก็ไม่มี ตอนนี้รอคิวฉีดวัคซีน ก่อนหน้านี้จองไว้แล้วแต่ถูกเลื่อนไม่มีกำหนด เลยลงทะเบียนได้คิววันที่ 2 สิงหาคม รอลุ้นจะถูกเลื่อนอีกหรือเปล่า อยากจะฝากถึงรัฐบาล ขอให้บริหารจัดการตรวจหาเชื้อ และฉีดวัคซีนให้ดีหน่อย เพราะคนตาย คนป่วยเพิ่มทุกวัน”
ปิดท้าย
‘ไมค์’ หนุ่มอุดรธานี วัย 25 ปี อาชีพโฟร์แมนก่อสร้างบริษัทรับเหมารายใหญ่แห่งหนึ่ง โดยระบุว่าทำงานอยู่ที่ไซต์ก่อสร้างอโศก งานเสร็จแล้ว เหลือแค่เก็บความเรียบร้อย ซึ่งตนมาตรวจหาเชื้อ 2 ครั้งแล้วที่ศูนย์ราชการ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เดินทางจากที่พักย่านอโศกมาตรวจฟรีที่วัดพระศรีฯ
“ผมมาที่นี่ 3 วันแล้ว ยังไม่ได้คิว เมื่อคืนผมมาตอนตี 3 เขาบอกว่าคิวเต็ม เพราะบริหารจัดการแจกบัตรคิวใหม่ เริ่มแจกตั้งแต่ 6 โมงเย็น ผมก็ไม่รู้ว่าจะกลับไปกลับมาแบบนี้ ถ้ารู้คงมาก่อน ที่ต้องมาตรวจซ้ำหลายรอบเพราะที่ทำงานมีนโยบายให้ตรวจ 4-5 รอบเพื่อความมั่นใจ เพราะเป็นรับเหมาก่อสร้าง”
ทั้งนี้ ในวันที่ 12 กรกฎาคม กทม.จัดหน่วยบริการตรวจเชิงรุกโควิด-19 ฟรี 6 จุด ได้แก่ ลานจอด ศบส. 38 จี๊ด-ทองคำบำเพ็ญ เขตดุสิต, โลตัสเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เขตลาดพร้าว, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี, วัดยาง ถนนอ่อนนุช เขตสวนหลวง, ลานใต้สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด และวัดราษฎร์บูรณะ เขตราษฏร์บูรณะ เริ่มตรวจตั้งแต่ 08.00 เป็นต้นไป
อาจารย์แพทย์ โรคปอดในสหรัฐ แนะวิธีปฏิบัติ หากโควิดลงปอด แต่รพ.ไม่มีเตียงรักษา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6503246
อาจารย์แพทย์ โรคปอดในสหรัฐ แนะวิธีปฏิบัติ หากโควิดลงปอด แต่ไม่มีเตียงรักษาที่โรงพยาบาล เตือนอย่าล็อกประตู-ให้ติดต่อญาติบ่อยๆเพื่อแจ้งอาการ
วันที่ 11 ก.ค.64 นพ.
ธนีย์ ธนียวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่คลิปยูทูบ ให้คำแนะนำผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เชื้อลงปอดและอยู่ระหว่างรอเตียงโรงพยาบาล ความว่า
1. ถ้ามีอาการเหนื่อยให้สงสัยว่าโควิดลงปอดไว้ก่อน สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่าเหนื่อย ให้ลองเดินไปมา ลุกยืนจากท่านั่งสักสามครั้ง หรือกลั้นหายใจสัก 10-15 วินาที ถ้าทำแล้วเหนื่อย ก็แสดงว่า เหนื่อยจริงๆ ถ้าคนที่มีเครื่องวัดออกซิเจนแล้วเจอออกซิเจนต่ำกว่า 94% ลงไป ก็ถือว่าโควิดน่าจะลงปอด ให้ทำในข้ออื่นๆ ด้วย
2. นอนคว่ำ อย่าเดินไปมามากถ้าเหนื่อย ถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง สำหรับคนท้องให้นอนตะแคงเอาด้านซ้ายลง
3. พยายามขยับขาบ่อยๆ ถ้านอน เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
4.ทานอาหารให้พอ ถ้าทานไม่ได้ให้ทานน้ำประมาณ 2-2.5 ลิตรต่อวัน ทานมากไปก็ไม่ดี ถ้าทานอาหารไม่ได้เลยควรทานน้ำเกลือแร่ เช่น ที่ใช้เวลาท้องเสีย น้ำเกลือแร่ที่ทานเวลาออกกำลังกาย ถ้าไม่มีให้ผสมเกลือสักช้อนชานึงกับน้ำตาลลงในน้ำแล้วดื่มได้
5. ทานยาประจำตัวสม่ำเสมอ อย่าขาด กรณีที่เป็นเบาหวานควรตรวจน้ำตาลบ่อยๆ ถ้าต่ำควรงดอินซูลิน หรือยาทาน ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรวัดความดันบ่อยๆ ถ้าต่ำเช่น 90/60 ควรงดยา ถ้าทานยาขับปัสสาวะอยู่และทานน้ำไม่ได้ ให้งดยาไปก่อน
6. เตรียมยาพาราเซตามอล ไทลินอล ไว้ทานเวลามีไข้ อย่าทานยากลุ่มอื่นโดยเฉพาะ NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (ponstan), diclofenac (voltaren) เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาได้ ถ้าแพ้ยาพาราให้เช็ดตัวเอา ถ้าจะทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ก็ทานตามที่กำหนดที่ข้างฉลาก อย่าทานเกิน ท่านที่มีโรคตับห้ามทานเพราะอาจทำให้ตับวาย
7.ถ้าเหนื่อยมาก อย่าไปเข้าห้องน้ำ เพราะการเบ่งถ่าย และลุกนั่งอาจทำให้เป็นลมหมดสติ หัวใจหยุดเต้นได้ ควรเข้าที่ข้างเตียงเลยดีที่สุด ใช้กระโถน กระดาษ หรืออะไรที่หาได้ …ถ้าจะเข้าห้องน้ำ
อย่าล็อกประตูเด็ดขาด และควรบอกคนอื่นๆ ในครอบครัวด้วย มีหลายรายที่เหนื่อยแล้วไปเข้าห้องน้ำ จากนั้นเป็นลม หัวใจหยุดเต้นครับ ท่านที่ท้องผูก ให้ทานยาระบาย ทานน้ำมากๆ การเบ่งอุจจาระจะทำให้หน้ามืดได้ในกรณีที่ออกซิเจนต่ำ
8. หมั่นติดต่อกับครอบครัว ญาติ เพื่อนๆ เพื่อแจ้งอาการสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ นพ.ธนีย์ ธนียวัน ยังได้แนะนำวิธีการนอนคว่ำ เพราะมีประโยชน์ทำให้ปอด 2 ใน 3 ของเราไม่ถูกกดทับ พร้อมแนะนำวิธีนอนคว่ำ โดยใช้หมอนวางไว้ใต้ตัว แล้วนอนคว่ำลงไป ซึ่งเป็นวิธีที่มีประโยชน์มาก หรือหากไม่สามารถนอนคว่ำได้ด้วยสรีระของร่างกาย แนะนำให้นอนตะแคงลงไป หรือนอนเฉียงลงไป ส่วนคนตั้งครรภ์แนะนำให้นอนตะแคงด้านซ้าย เพื่อให้เลือดไหวเวียนสะดวก
วัดเสาธงหิน ประกาศรับเผาศพโควิดฟรี ชวนคนใจบุญบริจาคสมทบซื้อน้ำมัน-โลงศพ
https://www.matichon.co.th/region/news_2823286
วัดเสาธงหิน ประกาศรับเผาศพโควิดฟรี ชวนคนใจบุญบริจาคสมทบช่วยซื้อน้ำมัน-โลงศพ
หลังจากที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ซึ่งส่งผลถึงการประกอบพิธีทางศาสนาและการดำเนินการฌาปนกิจของวัดต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม เพจ
วัดเสาธงหิน เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร โพสต์ประกาศทางวัดรับเผาศพผู้ป่วยโควิด รวมถึงศพของผู้ยากไร้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดยทางวัดจะตั้งบำเพ็ญกุศลศพและทำพิธีกรรมทางศาสนาให้ครบถ้วนทุกอย่าง ตลอดถึงเก็บอัฐิแปรธาตุ และถ้าไม่มีญาติมาเก็บอัฐิทางวัดก็จะทำพิธีแปรธาตุเก็บอัฐิให้ ตลอดถึงทำบุญถวายภัตตาหารพระสงฆ์ และทำพิธีลอยอังคารให้เช่นกัน
นอกจากนี้ วัดเสาธงหิน เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร ระบุว่า ขอขอบคุณทุกท่านได้ร่วมแบ่งปันทรัพย์ โอนปัจจัยมายังบัญชีวัดเสาธงหิน เลขที่ 020 3 63276 450 ธนาคารออมสิน สาขาเซ็นทรัลเวสต์เกต เพื่อซื้อน้ำมันเผาศพ และซื้อโรงศพผู้ยากไร้ กับวัดเล็กๆ วัดหนึ่ง ในอำเภอบางใหญ่นี้
JJNY : 5in1 กักตัวใต้สะพานลอย│‘เบื่อโดนเท’│อ.แพทย์แนะปฏิบัติหากโควิดลงปอด│วัดเสาธงหินรับเผาศพโควิดฟรี│เตือนครัวเรือนไทย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6503361
โควิด : เพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า โพสต์ภาพ ผู้ป่วย โควิด-19 แห่เอาเต็นท์มากาง นอนกักตัวใต้สะพานลอย ชุมชนริมทางรถไฟสายท่าเรือ
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก “หมอแล็บแพนด้า” ได้โพสต์ภาพ พร้อมระบุข้อความว่า
“ผู้ป่วยมีจำนวนมากเหลือเกินครับ บางครอบครัวเค้าติดเชื้อแล้วไม่มีที่ไป ต้องแยกตัวเองออกมาจากครอบครัว โดยใช้วิธีกางเต็นท์ ชาวบ้านในชุมชนก็มาช่วยกันล้อมผ้า ทำครัวเล็ก ๆ ให้ผู้ป่วยได้กิน”
โดยภาพที่โพสต์นั้น เป็นภาพประชาชนนำเต็นท์ลายพรางสีเขียว มากางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ และมีระยะห่าง โดยใช้ไม้พาเลทมาวางรองเต็นท์เพื่อให้สูงขึ้นจากพื้น ซึ่งสถานที่ดังกล่าวอยู่บริเวณลานสนามกีฬาใต้สะพานลอย ชุมชนริมทางรถไฟสายท่าเรือ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ได้มีผู้เข้ามาแสดงความเห็น และมีการแชร์ออกไปเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว มีทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยทุกคน ร่วมถึงสอบถามช่องทางบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น และอาหาร เพื่อจะส่งไปบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วยอีกด้วย
https://www.facebook.com/MTlikesara/posts/361780001972135
‘เบื่อโดนเท’ เสียงจากประชาชนปมเลื่อนฉีดวัคซีน หนุ่มโฟร์แมนรอตรวจเชื้อ 3 วันยังไม่ได้คิว
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2823775
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยวันนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 9,539 ราย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2,741 ราย ยอดป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน อยู่ที่ 96,545 ราย
ทำให้ประชาชนมีการตรวจคัดกรองโรคมากขึ้น แต่ดูเหมือนไม่ได้รับการบริการที่ทั่วถึง ทำให้เกิดภาพประชาชนจำนวนมากต้องนอนรอคิวข้ามวันข้ามคืนในหลายจุดของพื้นที่กรุงเทพฯ ที่เปิดบริการให้ตรวจฟรี โดยเฉพาะวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่เกิดความแออัดอยู่หลายวัน กว่าที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตบางเขนจะลงมาบริหารจัดการ
สำหรับจุดนี้สำนักงานเขตบางเขนร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน และบริษัท ATGene ให้บริการตรวจคัดกรองเชิงรุกฟรีแก่ประชาชนทั่วไปที่มีสัญชาติไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วันละ 900 ราย
รวมถึงกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้สัมผัสผู้ป่วยที่ศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ ส่งมาขอรับบริการตรวจอีก 100 ราย รวมทั้งสิ้น 1,000 รายต่อวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-14.00 น. ระหว่างวันที่ 5-11 กรกฎาคม 2564
ผู้สื่อข่าว ‘มติชน’ ลงพื้นที่โดยมีประชาชนให้ข้อมูลและสะท้อนปัญหารวมถึงนำเสนอข้อคิดถึงหน่วยงานภาครัฐ
จิตติกานต์ คันช่างทอง อายุ 47 ปี เจ้าของอู่ซ่อมรถย่านสายไหม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ทางสำนักงานเขตบางเขนเข้ามาบริหารจัดการคิวใหม่ ทำให้ไม่ต้องรอนานเหมือนช่วงแรกๆ วันนี้ได้คิวตรวจที่ 200 กว่า ที่ผ่านมาจะไปตรวจที่โรงพยาบาล คิวเต็มเลยไม่รับตรวจ จึงเดินทางมาที่วัดพระศรีฯ
“จริงๆ เขาน่าจะลงมาจัดการตั้งแต่วันแรกๆ แล้ว ปล่อยให้ประชาชนนอนรอข้ามวันได้อย่างไร อยากฝากถึงรัฐบาลขอให้เอาวัคซีนมาฉีดให้ประชาชน ลงทะเบียนไปก็ถูกเลื่อนไม่มีกำหนด และอยากขอให้เพิ่มจุดตรวจฟรีทุกเขต ไม่ใช่ปล่อยให้มาแย่ง มารอกันแบบนี้ เพราะคนป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน เราเองก็กลัว”
‘ปลา’ อายุ 44 ปี อาชีพรับจ้างขายของ กล่าวว่า ตนกับเพื่อนมารอตั้งแต่เมื่อคืน ตอน 2 ทุ่ม ได้คิวตอน 4 ทุ่ม ไม่แออัดเหมือนวันแรกๆ หลังเขตมาจัดคิว แจกบัตรเร็วขึ้น แต่ก็มีคนที่นอนรอในวัดเพราะไม่อยากกลับบ้าน และฝนก็ตก
“เราไม่มีประกันสังคม และจะไปตรวจโรงพยาบาลค่าใช้จ่ายแพงหลายพันบาทในแต่ละครั้ง เห็นว่าที่นี่ตรวจฟรีเลยมาใช้บริการ เพราะเราเองก็เสี่ยง เป็นแม่ค้าขายของเจอคนเยอะ อยากบอกรัฐบาลว่าขอฉีดวีคซีนเข็มแรกหน่อย อย่าเลื่อนบ่อยหนักเลย ลงทะเบียนไปได้คิวฉีดวันที่ 1 กรกฎาคม บ่าย 3 วันที่ 30 มิถุนายน มาบอกว่าเลื่อนไม่มีกำหนด
อยากจะถามรัฐบาลเหมือนกันว่าที่อื่น เช่น ลาว เขาตรวจ เขาฉีดให้ฟรี ทำไมบ้านเราไม่มี ต้องให้รอคิว ลงทะเบียนอะไรอีกให้ยุ่งยาก แถมบริหารจัดการยังไม่ดี ถ้าบริหารจัดการไม่ได้ไม่ต้องเปิดให้จองคิวเลย ประเทศไทยมีตั้งกี่สิบล้านคน ยังฉีดเข็มแรกไปได้ไม่เท่าไหร่เอง
“ยังมาเจอล็อกดาวน์อีก เราเป็นคนหาเช้ากินค่ำ ได้ค่าจ้างวันละ 300-400 บาท งานก็ต้องไปทำแต่เช้าๆ ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตี 3 แต่ห้ามเดินทางให้ออกตอนตี 4 จะไปทันอะไร กว่าจะไปตลาด ไปขายของก็สายแล้ว เชื้อโรคโควิดไม่ได้หยุดงานตอนกลางคืนนะ ไปขายแล้วก็ไม่รู้จะขายได้หรือเปล่า เพราะคนทำงานที่บ้านกันหมด ใครจะมาซื้อ”
‘เจี๊ยบ’ อายุ 39 ปี อดีตพนักงานร้านอาหารญี่ปุ่น กล่าวว่า จากโควิดระลอก 2 ตนถูกนายจ้างบีบให้ออกจากงานเพื่อลดพนักงาน โดยให้หยุดงานแบบไม่รับเงินเดือน และย้ายไปประจำที่สาขาที่ไกลจากบ้านมาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงตัดสินใจลาออก จากนั้นก็รับจ้างขายของเป็นรายวันจนมาได้งานใหม่ จึงต้องนำผลตรวจโควิดไปยืนยันว่าปลอดภัยไม่ติดเชื้อ
“เพิ่งตรวจครั้งแรก รอคิวตั้งแต่เมื่อคืน ยังดีที่เขตบริหารจัดการคิว ถึงได้ตรวจ เพราะจะให้ไปตรวจโรงพยาบาลก็แพงและไม่รับตรวจ ประกันสังคมก็ไม่มี ตอนนี้รอคิวฉีดวัคซีน ก่อนหน้านี้จองไว้แล้วแต่ถูกเลื่อนไม่มีกำหนด เลยลงทะเบียนได้คิววันที่ 2 สิงหาคม รอลุ้นจะถูกเลื่อนอีกหรือเปล่า อยากจะฝากถึงรัฐบาล ขอให้บริหารจัดการตรวจหาเชื้อ และฉีดวัคซีนให้ดีหน่อย เพราะคนตาย คนป่วยเพิ่มทุกวัน”
ปิดท้าย ‘ไมค์’ หนุ่มอุดรธานี วัย 25 ปี อาชีพโฟร์แมนก่อสร้างบริษัทรับเหมารายใหญ่แห่งหนึ่ง โดยระบุว่าทำงานอยู่ที่ไซต์ก่อสร้างอโศก งานเสร็จแล้ว เหลือแค่เก็บความเรียบร้อย ซึ่งตนมาตรวจหาเชื้อ 2 ครั้งแล้วที่ศูนย์ราชการ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เดินทางจากที่พักย่านอโศกมาตรวจฟรีที่วัดพระศรีฯ
“ผมมาที่นี่ 3 วันแล้ว ยังไม่ได้คิว เมื่อคืนผมมาตอนตี 3 เขาบอกว่าคิวเต็ม เพราะบริหารจัดการแจกบัตรคิวใหม่ เริ่มแจกตั้งแต่ 6 โมงเย็น ผมก็ไม่รู้ว่าจะกลับไปกลับมาแบบนี้ ถ้ารู้คงมาก่อน ที่ต้องมาตรวจซ้ำหลายรอบเพราะที่ทำงานมีนโยบายให้ตรวจ 4-5 รอบเพื่อความมั่นใจ เพราะเป็นรับเหมาก่อสร้าง”
ทั้งนี้ ในวันที่ 12 กรกฎาคม กทม.จัดหน่วยบริการตรวจเชิงรุกโควิด-19 ฟรี 6 จุด ได้แก่ ลานจอด ศบส. 38 จี๊ด-ทองคำบำเพ็ญ เขตดุสิต, โลตัสเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เขตลาดพร้าว, สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี, วัดยาง ถนนอ่อนนุช เขตสวนหลวง, ลานใต้สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด และวัดราษฎร์บูรณะ เขตราษฏร์บูรณะ เริ่มตรวจตั้งแต่ 08.00 เป็นต้นไป
อาจารย์แพทย์ โรคปอดในสหรัฐ แนะวิธีปฏิบัติ หากโควิดลงปอด แต่รพ.ไม่มีเตียงรักษา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6503246
อาจารย์แพทย์ โรคปอดในสหรัฐ แนะวิธีปฏิบัติ หากโควิดลงปอด แต่ไม่มีเตียงรักษาที่โรงพยาบาล เตือนอย่าล็อกประตู-ให้ติดต่อญาติบ่อยๆเพื่อแจ้งอาการ
วันที่ 11 ก.ค.64 นพ.ธนีย์ ธนียวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่คลิปยูทูบ ให้คำแนะนำผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เชื้อลงปอดและอยู่ระหว่างรอเตียงโรงพยาบาล ความว่า
1. ถ้ามีอาการเหนื่อยให้สงสัยว่าโควิดลงปอดไว้ก่อน สำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่าเหนื่อย ให้ลองเดินไปมา ลุกยืนจากท่านั่งสักสามครั้ง หรือกลั้นหายใจสัก 10-15 วินาที ถ้าทำแล้วเหนื่อย ก็แสดงว่า เหนื่อยจริงๆ ถ้าคนที่มีเครื่องวัดออกซิเจนแล้วเจอออกซิเจนต่ำกว่า 94% ลงไป ก็ถือว่าโควิดน่าจะลงปอด ให้ทำในข้ออื่นๆ ด้วย
2. นอนคว่ำ อย่าเดินไปมามากถ้าเหนื่อย ถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง สำหรับคนท้องให้นอนตะแคงเอาด้านซ้ายลง
3. พยายามขยับขาบ่อยๆ ถ้านอน เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
4.ทานอาหารให้พอ ถ้าทานไม่ได้ให้ทานน้ำประมาณ 2-2.5 ลิตรต่อวัน ทานมากไปก็ไม่ดี ถ้าทานอาหารไม่ได้เลยควรทานน้ำเกลือแร่ เช่น ที่ใช้เวลาท้องเสีย น้ำเกลือแร่ที่ทานเวลาออกกำลังกาย ถ้าไม่มีให้ผสมเกลือสักช้อนชานึงกับน้ำตาลลงในน้ำแล้วดื่มได้
5. ทานยาประจำตัวสม่ำเสมอ อย่าขาด กรณีที่เป็นเบาหวานควรตรวจน้ำตาลบ่อยๆ ถ้าต่ำควรงดอินซูลิน หรือยาทาน ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรวัดความดันบ่อยๆ ถ้าต่ำเช่น 90/60 ควรงดยา ถ้าทานยาขับปัสสาวะอยู่และทานน้ำไม่ได้ ให้งดยาไปก่อน
6. เตรียมยาพาราเซตามอล ไทลินอล ไว้ทานเวลามีไข้ อย่าทานยากลุ่มอื่นโดยเฉพาะ NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (ponstan), diclofenac (voltaren) เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาได้ ถ้าแพ้ยาพาราให้เช็ดตัวเอา ถ้าจะทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ก็ทานตามที่กำหนดที่ข้างฉลาก อย่าทานเกิน ท่านที่มีโรคตับห้ามทานเพราะอาจทำให้ตับวาย
7.ถ้าเหนื่อยมาก อย่าไปเข้าห้องน้ำ เพราะการเบ่งถ่าย และลุกนั่งอาจทำให้เป็นลมหมดสติ หัวใจหยุดเต้นได้ ควรเข้าที่ข้างเตียงเลยดีที่สุด ใช้กระโถน กระดาษ หรืออะไรที่หาได้ …ถ้าจะเข้าห้องน้ำ
อย่าล็อกประตูเด็ดขาด และควรบอกคนอื่นๆ ในครอบครัวด้วย มีหลายรายที่เหนื่อยแล้วไปเข้าห้องน้ำ จากนั้นเป็นลม หัวใจหยุดเต้นครับ ท่านที่ท้องผูก ให้ทานยาระบาย ทานน้ำมากๆ การเบ่งอุจจาระจะทำให้หน้ามืดได้ในกรณีที่ออกซิเจนต่ำ
8. หมั่นติดต่อกับครอบครัว ญาติ เพื่อนๆ เพื่อแจ้งอาการสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ นพ.ธนีย์ ธนียวัน ยังได้แนะนำวิธีการนอนคว่ำ เพราะมีประโยชน์ทำให้ปอด 2 ใน 3 ของเราไม่ถูกกดทับ พร้อมแนะนำวิธีนอนคว่ำ โดยใช้หมอนวางไว้ใต้ตัว แล้วนอนคว่ำลงไป ซึ่งเป็นวิธีที่มีประโยชน์มาก หรือหากไม่สามารถนอนคว่ำได้ด้วยสรีระของร่างกาย แนะนำให้นอนตะแคงลงไป หรือนอนเฉียงลงไป ส่วนคนตั้งครรภ์แนะนำให้นอนตะแคงด้านซ้าย เพื่อให้เลือดไหวเวียนสะดวก
วัดเสาธงหิน ประกาศรับเผาศพโควิดฟรี ชวนคนใจบุญบริจาคสมทบซื้อน้ำมัน-โลงศพ
https://www.matichon.co.th/region/news_2823286
วัดเสาธงหิน ประกาศรับเผาศพโควิดฟรี ชวนคนใจบุญบริจาคสมทบช่วยซื้อน้ำมัน-โลงศพ
หลังจากที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ซึ่งส่งผลถึงการประกอบพิธีทางศาสนาและการดำเนินการฌาปนกิจของวัดต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม เพจ วัดเสาธงหิน เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร โพสต์ประกาศทางวัดรับเผาศพผู้ป่วยโควิด รวมถึงศพของผู้ยากไร้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดยทางวัดจะตั้งบำเพ็ญกุศลศพและทำพิธีกรรมทางศาสนาให้ครบถ้วนทุกอย่าง ตลอดถึงเก็บอัฐิแปรธาตุ และถ้าไม่มีญาติมาเก็บอัฐิทางวัดก็จะทำพิธีแปรธาตุเก็บอัฐิให้ ตลอดถึงทำบุญถวายภัตตาหารพระสงฆ์ และทำพิธีลอยอังคารให้เช่นกัน
นอกจากนี้ วัดเสาธงหิน เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร ระบุว่า ขอขอบคุณทุกท่านได้ร่วมแบ่งปันทรัพย์ โอนปัจจัยมายังบัญชีวัดเสาธงหิน เลขที่ 020 3 63276 450 ธนาคารออมสิน สาขาเซ็นทรัลเวสต์เกต เพื่อซื้อน้ำมันเผาศพ และซื้อโรงศพผู้ยากไร้ กับวัดเล็กๆ วัดหนึ่ง ในอำเภอบางใหญ่นี้