ค่านิยมรับราชการของไทยเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณ หรือเพิ่งเริ่มในช่วงสมัยรัชกาลที่ห้า

อยากทราบครับว่า ค่านิยมรับราชการของไทยเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณ หรือเพิ่งเริ่มในช่วงสมัยรัชกาลที่ห้า

หลายๆท่านคงเคยได้ยินคำพูดของคนรุ่นเก่าๆที่มักอยากให้ลูกหลานรับราชการที่ว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง" ใช่หรือไม่ครับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่าอาชีพราชการนั้นค่อนข้างมั่นคง เมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ในช่วงแรกๆ จขกท คิดว่าแนวคิดนี้น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ช่วงหลังมานี้ได้อ่านจากหนังสือหลายๆเล่ม กระทู้หลายๆกระทู้ รวมถึงฟังเกร็ดความรู้ต่างๆ เลยทำให้สงสัยว่าตกลงแนวคิดรับราชการของไทยนี่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณจริงหรือไม่ เพราะว่าเท่าที่อ่านมา ในสมัยก่อน งานราชการจะเน้นทำในตระกูล บางท่านเช่นอาจารย์ ส. ศิวรักษ์ ท่านเคยเล่าให้ฟังในวิดีโอหนึ่งว่า คนรุ่นคุณพ่อของท่านซึ่งเป็นคนสมัยรัชกาลที่ห้า ยังมีความคิดว่างานราชการนั้น "ใกล้หวายใกล้ตรวน" คือถ้าทำดีก็เป็นคุณ ทำไม่ดีก็เป็นโทษ ซึ่งถ้าเรื่องนี้เป็นแนวคิดใหม่จริง จขกท. คิดว่าน่าจะเริ่มมีในช่วงสมัยรัชกาลที่ห้า ที่ระบบการบริหารราชการแบบใหม่เข้ามาในสยาม ทางการสยามจึงพยายามดึงดูดให้คนจำนวนมากเข้ารับราชการ เพื่อเป็นกลไกในการบริหารราชการแบบใหม่ต่อไป ตรงนี้ขอเสริมข้อมูลจากที่อ่านมาเล็กน้อยครับว่า ในสมัยก่อน การศึกษาของราชการนั้น มักเน้นการบริหารทั่วไปซึ่งมักสืบทอดในตระกูล การเรียนหนังสือก็เรียนเพื่อให้อ่านออกเป็นสำคัญ ไม่เน้นเขียนได้ เพราะสามารถบอกเสมียนอาลักษณ์ให้จดได้ ต่อมาพอระบบราชการสมัยใหม่มา การรู้หนังสืออ่านออกเขียนได้จึงเป็นวิชาที่จำเป็นต่อการรับราชการ

รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
กระทู้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่