ประโยค‘จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้‘ ถูกใช้สอนกันทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องดีครับ ที่สอนให้เรามีจินตนาการ ไม่ใช่มีแค่ความรู้
แต่ขอเสริมความเห็นส่วนตัว ผมว่าประโยคนี้ถูกครึ่งนึงน่ะครับ ไม่ใช่ทุกกรณี มันเป็นประโยคที่’จริงแบบมีเงื่อนไข’
..ปกติเวลาเราถนัดอะไร เราก็มักจะทำสิ่งนั้นซ้ำๆด้วยความเคยชิน และไม่ได้ทำสิ่งตรงข้ามที่เป็นคู่กัน
เช่น ถนัดเหตุผลก็มักจะอ่อนอารมณ์ ถนัดปฏิบัติก็มักจะอ่อนทฤษฎี ถนัดคำนวณก็มักจะอ่อนภาษา
ขอยกสุภาษิตโบราณนะครับ ที่มักจะมีคู่ที่ย้อนแย้งกัน แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ว่าเน้นทำอะไรเพียงด้านเดียว แล้วทุกอย่างจะโอเค
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ตรงข้ามกับ สิบเบี้ยใกล้มือ
ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ตรงข้ามกับ น้ำขึ้นให้รีบตัก
หรือ ปลอดภัยไว้ก่อน ตรงข้ามกับ อย่าตีตนไปก่อนไข้
สุภาษิตซ้ายใช้เตือนคนเร็ว ใจร้อน ไม่รอบคอบ ส่วนสุภาษิตขวาใช้เตือนคนช้า เฉื่อยๆ ขี้กลัว
แต่ความเป็นจริงมักจะกลับด้านครับ เราไม่ได้ใช้สุภาษิตเพื่อเตือนสติสิ่งที่เราอ่อน กลับมักจะเอามาใช้เสริมสิ่งที่เราถนัดมากกว่า
เช่น คนใจร้อน มักยกข้อดีของ น้ำขึ้นให้รีบตัก มากกว่าจะเผื่อใจว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ซึ่งจะส่งผลให้ยิ่งขาดความรอบคอบมากขึ้น
คนเฉื่อย ก็มักพูดข้อดีของ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม มากกว่าการเตือนตัวเองว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก การทำงานก็ยิ่งช้าต่อไปอีก
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ก็เช่นกันครับ
ผู้พูดประโยคนี้ เป็นหนึ่งในคนที่ฉลาดที่สุดในโลก มีความรู้มาก
และด้วยความอัจฉริยะ เค้าจึงเตือนสิ่งที่คนมีความรู้มากมักจะขาดไป โดยเฉพาะนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ ที่มักยึดกรอบทฤษฎีมาก จนขาดจินตนาการ และสร้างสรรค์อะไรไม่ได้จริง
ประโยคนี้จึงถูกครึ่งนึงครับ
ถ้าเรามีความรู้มาก เรียนเก่ง ศึกษาอะไรลึกซึ้งจริงจัง คำนี้ใช้เตือนเราได้อย่างเหมาะสม ต้องระวังการขาดจินตนาการ
ถ้าเรามีความรู้ตามสมควร ศึกษาอะไรก็มีลึกบ้างไม่ลึกบ้าง ผมน่าจะอยู่กลุ่มนี้ครับ และคิดว่าผมควรระวังเรื่องการไม่รู้จริง และควรศึกษาให้ลึกซึ้งก่อนจะดีกว่า
..ถ้าเน้นแต่ว่าจินตนาการสำคัญ แล้วไม่ได้พัฒนาความรู้เลย อาจยิ่งผิดพลาดได้นะครับ
https://neopositive.wordpress.com
จินตนาการ อาจไม่สำคัญกว่าความรู้
ประโยค‘จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้‘ ถูกใช้สอนกันทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องดีครับ ที่สอนให้เรามีจินตนาการ ไม่ใช่มีแค่ความรู้
แต่ขอเสริมความเห็นส่วนตัว ผมว่าประโยคนี้ถูกครึ่งนึงน่ะครับ ไม่ใช่ทุกกรณี มันเป็นประโยคที่’จริงแบบมีเงื่อนไข’
..ปกติเวลาเราถนัดอะไร เราก็มักจะทำสิ่งนั้นซ้ำๆด้วยความเคยชิน และไม่ได้ทำสิ่งตรงข้ามที่เป็นคู่กัน
เช่น ถนัดเหตุผลก็มักจะอ่อนอารมณ์ ถนัดปฏิบัติก็มักจะอ่อนทฤษฎี ถนัดคำนวณก็มักจะอ่อนภาษา
ขอยกสุภาษิตโบราณนะครับ ที่มักจะมีคู่ที่ย้อนแย้งกัน แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ว่าเน้นทำอะไรเพียงด้านเดียว แล้วทุกอย่างจะโอเค
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ตรงข้ามกับ สิบเบี้ยใกล้มือ
ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ตรงข้ามกับ น้ำขึ้นให้รีบตัก
หรือ ปลอดภัยไว้ก่อน ตรงข้ามกับ อย่าตีตนไปก่อนไข้
สุภาษิตซ้ายใช้เตือนคนเร็ว ใจร้อน ไม่รอบคอบ ส่วนสุภาษิตขวาใช้เตือนคนช้า เฉื่อยๆ ขี้กลัว
แต่ความเป็นจริงมักจะกลับด้านครับ เราไม่ได้ใช้สุภาษิตเพื่อเตือนสติสิ่งที่เราอ่อน กลับมักจะเอามาใช้เสริมสิ่งที่เราถนัดมากกว่า
เช่น คนใจร้อน มักยกข้อดีของ น้ำขึ้นให้รีบตัก มากกว่าจะเผื่อใจว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ซึ่งจะส่งผลให้ยิ่งขาดความรอบคอบมากขึ้น
คนเฉื่อย ก็มักพูดข้อดีของ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม มากกว่าการเตือนตัวเองว่า น้ำขึ้นให้รีบตัก การทำงานก็ยิ่งช้าต่อไปอีก
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ก็เช่นกันครับ
ผู้พูดประโยคนี้ เป็นหนึ่งในคนที่ฉลาดที่สุดในโลก มีความรู้มาก
และด้วยความอัจฉริยะ เค้าจึงเตือนสิ่งที่คนมีความรู้มากมักจะขาดไป โดยเฉพาะนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ ที่มักยึดกรอบทฤษฎีมาก จนขาดจินตนาการ และสร้างสรรค์อะไรไม่ได้จริง
ประโยคนี้จึงถูกครึ่งนึงครับ
ถ้าเรามีความรู้มาก เรียนเก่ง ศึกษาอะไรลึกซึ้งจริงจัง คำนี้ใช้เตือนเราได้อย่างเหมาะสม ต้องระวังการขาดจินตนาการ
ถ้าเรามีความรู้ตามสมควร ศึกษาอะไรก็มีลึกบ้างไม่ลึกบ้าง ผมน่าจะอยู่กลุ่มนี้ครับ และคิดว่าผมควรระวังเรื่องการไม่รู้จริง และควรศึกษาให้ลึกซึ้งก่อนจะดีกว่า
..ถ้าเน้นแต่ว่าจินตนาการสำคัญ แล้วไม่ได้พัฒนาความรู้เลย อาจยิ่งผิดพลาดได้นะครับ
https://neopositive.wordpress.com