เมื่อบ้านถูกขายทอดตลาดควรทำยังไงดีคะ

เรื่มแรก สามีของเราได้ค้ำประกันเงินกู้ ชพค. 
โดยเป็นคนค้ำที่2(มีคนค้ำ2คน) ยอดเงินกู้ 1,200,000
        ต่อมาประมาณ 10ปี มีจดหมายแจ้งว่า ลูกหนี้ขาดการชำระ เป็นเวลาหลายเดือน ให้ผู้กู้ และผู้ค้ำ ไปประนอมหนี้ที่ศาล  และสามีเราไปตามนัดค่ะ ได้เจอกับทนายที่มาไกล่เกลี่ย  และให้คนค้ำเซ็นเอกสาร เป็นลูกหนี้ร่วม ด้วยความไม่รู้จึงเซ็น
        ต่อมา อีก3ปี  มีจดหมายจากกรมบังคับคดี  แจ้งว่า บ้านนี้โดนยึด และเตรียมขายทอดตลาด  คนกู้ หาเงินได้ก้อนเล็กๆ เพื่อไประงับการขายทอดตลาด
         2ปี  ต่อมา  มีจดหมายมา ว่าบ้านเรา ขายทอดตลาดแล้ว และมีวัน เวลา ในการขาย ลงมาในจดหมาย  
         เราไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง กลัวทำอะไรผิดพลาดไปอีก ไม่รู้จะปรึกษาใคร

บ้านนี้ เรากู้ร่วมกับสามีค่ะ   ยังผ่อนกับ ธ.อาคารสงเคราห์อยู่  ราคาประเมิน 1,400,000   ยอดหนี้ ที่ยังเหลือ 700,000

ผู้ค้ำอีกคน ไม่มีทรัพย์สินให้ยึด จึงไม่ได้รับผลกระทบอะไร

คนที่กู้ มีห้องเอื้ออาทร ราคาประเมิน 500,000
ถูกยึดเช่นกัน

ถ้าบ้านเรา ขายไปแล้ว เรายังต้องส่งกับ ธ.อสคารสงเคราห์ต่อไหมคะ ขายแบบปลอดจำนองค่ะ

แล้วเรา ในส่วนของผู้กู้ร่วม จะได้ส่วนแบ่งยังไง 

เป็นกระทู้แรก แทกผิดห้อง ผิดพลาดยังไง ขออภัยด้วยค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ🙂🙂
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
Q : ถ้าบ้านเรา ขายไปแล้ว เรายังต้องส่งกับ ธ.อสคารสงเคราห์ต่อไหมคะ ขายแบบปลอดจำนองค่ะ
A : ถ้าบ้านถูกบังคับคดี ขายทอดตลาดไปแล้ว ก็ไม่ต้องผ่อน (เตรียมตัวย้ายออก)

Q : แล้วเรา ในส่วนของผู้กู้ร่วม จะได้ส่วนแบ่งยังไง
A : "ยอดเงินกู้ 1,200,000"
     "บ้านนี้ เรากู้ร่วมกับสามีค่ะ   ยังผ่อนกับ ธ.อาคารสงเคราห์อยู่  ราคาประเมิน 1,400,000   ยอดหนี้ ที่ยังเหลือ 700,000"
     "คนที่กู้ มีห้องเอื้ออาทร ราคาประเมิน 500,000 ถูกยึดเช่นกัน"

     ต้องดูว่า ราคาที่ขายได้ (ในที่นี้คือทั้ง 2 ทรัพย์ คนกู้+คนค้ำ) ขายไปได้ในราคาเท่าใด เมื่อนำมาหักกับหนี้ที่ต้องชำระเหลือหรือไม่
     ราคาประเมินไม่ต้องพูดถึง ... ดูที่ราคาประมูล

====
ค้ำประกัน ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ จะบอกไม่รู้ไม่ได้
หลักการก็ง่าย ๆ ลูกหนี้อยากกู้ เจ้าหนี้ไม่มั่นใจจะปล่อยกู้ คนค้ำอาสารับประกันให้
เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ คนค้ำประกันก็ต้องรับผิดชอบชำระแทน (แล้วค่อยไปไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้ เสมือนรับเป็นเจ้าหนี้แทนไป)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่