“ความเครียด VS โควิด”
จิตแพทย์แนะ ทำอย่างไร? ไม่ให้เครียด
ขณะนี้มีประชาชนในประเทศต่างๆ ได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น และเริ่มมีรายงานข่าวเกี่ยวกับผู้ที่แพ้วัคซีนรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความสงสัย ไม่แน่ใจ ขาดความเชื่อถือ และปฎิเสธที่จะฉีดวัคซีน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จนรัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนยอมมารับการฉีดวัคซีน
ฉีดหรือไม่ฉีด ดีกว่ากัน?
เนื่องจากขณะนี้เกิดความวิตกในหมู่คนไทยในวงกว้าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.
อยากฉีด เกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลรีบเร่งหาวัคซีนหลากหลายยี่ห้อในปริมาณที่มากพอ และในเวลาอันรวดเร็วต่อเนื่องกันมาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
2.
ไม่อยากฉีด เกิดจากความวิตกกังวลอย่างสูงว่าจะเกิดอาการแพ้วัคซีนจนถึงขั้นเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิต ซึ่งมีผลมาจากการนำเสนอข่าวกรณีแบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยที่หลายรายไม่มีการชี้แจงถึงสาเหตุที่แท้จริงอย่างชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.
เลือกฉีด อยากฉีดแต่ต้องการเลือกประเภทและยี่ห้อของวัคซีน
เรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้ก่อนฉีดวัคซีน
ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนบางรายอาจมีกลุ่มอาการอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังฉีด ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้ เหงื่อออก, หัวใจเต้นช้าลง, หน้ามืด, วิงเวียนจนอาจถึงขั้นหมดสติ สาเหตุเกิดจากความเครียด เช่น ขณะนั่งรอรับการฉีดวัคซีนเหลือบไปเห็นเข็มฉีดยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวเองหวาดกลัวมาก่อน ได้ยินคนข้างๆ พูดคุยเกี่ยวกับอาการแพ้ยาขั้นรุนแรง แล้วทำให้เกิดอาการหวาดกลัวสุดขีด ทำให้สมองถูกกระตุ้นส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงหลอดเลือดขยายตัวทั่วร่างกาย เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงเฉียบพลัน รวมทั้งแขน ขา ทำให้อ่อนแรงหรือหมดสติ ซึ่งโดยทั่วไปอาการจะเกิดเพียงไม่กี่วินาที หรืออย่างมากไม่เกิน 2 นาที
ข้อคิด
* การตัดสินใจที่จะฉีดหรือไม่เป็นสิทธิส่วนบุคคลทุกคนต้องรับผิดชอบการติดสินใจของตนเอง โดยการยอมรับถึงผลที่จะตามมา
* การควบคุมโรคระบาดด้วยการฉีดวัคซีนจะได้ผลต่อเมื่อสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นกับประชากรตั้งแต่ 70% ขึ้นไป จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะร่วมมือกันทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกๆ คน
* สำหรับผู้ที่ตัดสินใจจะไม่ฉีดวัคซีน ขอให้คำนึงถึงโอกาสที่ท่านอาจจะติดเชื้อจากลูกหลานของท่านที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน พวกเขาอาจจะนำเชื้อโควิดมาถึงท่านได้ทุกวัน ถึงแม้พวกเขาจะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม เพราะวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก็ยังไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ 100%
* หากท่านไม่ฉีดวัคซีน สักวันหนึ่งในอนาคตท่านอาจมีเหตุจำเป็นต้องออกนอกบ้าน บังเอิญโชคร้ายติดเชื้อโควิดทั้งที่ป้องกันตัวเองเต็มที่แล้วก็ตาม เมื่อถึงวันนั้นโรงพยาบาลต่างๆ อาจไม่มีเตียงว่าง ท่านจำเป็นต้องไปอยู่โรงพยาบาลสนาม กรณีนี้ท่านต้องถามตัวเองว่าอยากไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามหรือไม่
* ไม่มีวัคซีนตัวไหนสามารถป้องกันโรคเข้าสู่ร่างกายของท่านได้สิ่งที่วัคซีนทำได้คือ สร้างภูมิคุ้มกันในตัวท่านให้สูงขึ้นเพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิดได้ ท่านจึงต้องสวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือบ่อยๆ, รักษาระยะห่างทางสังคม, ไม่ไปอยู่ในพื้นเสี่ยง หรือมีคนอยู่แออัดและไม่มีการระบายอากาศดีพอ
* ไวรัสโควิด ก็คล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าเราอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันทุกๆ ปีเช่นเดียวกับ วัคซีนไข้หวัดใหญ่
“ความเครียด VS โควิด” จิตแพทย์แนะ ทำอย่างไร? ไม่ให้เครียด
“ความเครียด VS โควิด”
จิตแพทย์แนะ ทำอย่างไร? ไม่ให้เครียด
ขณะนี้มีประชาชนในประเทศต่างๆ ได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น และเริ่มมีรายงานข่าวเกี่ยวกับผู้ที่แพ้วัคซีนรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความสงสัย ไม่แน่ใจ ขาดความเชื่อถือ และปฎิเสธที่จะฉีดวัคซีน ดังเช่นที่เกิดขึ้นในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จนรัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนยอมมารับการฉีดวัคซีน
ฉีดหรือไม่ฉีด ดีกว่ากัน?
เนื่องจากขณะนี้เกิดความวิตกในหมู่คนไทยในวงกว้าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. อยากฉีด เกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลรีบเร่งหาวัคซีนหลากหลายยี่ห้อในปริมาณที่มากพอ และในเวลาอันรวดเร็วต่อเนื่องกันมาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
2. ไม่อยากฉีด เกิดจากความวิตกกังวลอย่างสูงว่าจะเกิดอาการแพ้วัคซีนจนถึงขั้นเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิต ซึ่งมีผลมาจากการนำเสนอข่าวกรณีแบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยที่หลายรายไม่มีการชี้แจงถึงสาเหตุที่แท้จริงอย่างชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. เลือกฉีด อยากฉีดแต่ต้องการเลือกประเภทและยี่ห้อของวัคซีน
เรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้ก่อนฉีดวัคซีน
ผู้ที่รับการฉีดวัคซีนบางรายอาจมีกลุ่มอาการอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังฉีด ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้ เหงื่อออก, หัวใจเต้นช้าลง, หน้ามืด, วิงเวียนจนอาจถึงขั้นหมดสติ สาเหตุเกิดจากความเครียด เช่น ขณะนั่งรอรับการฉีดวัคซีนเหลือบไปเห็นเข็มฉีดยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวเองหวาดกลัวมาก่อน ได้ยินคนข้างๆ พูดคุยเกี่ยวกับอาการแพ้ยาขั้นรุนแรง แล้วทำให้เกิดอาการหวาดกลัวสุดขีด ทำให้สมองถูกกระตุ้นส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงหลอดเลือดขยายตัวทั่วร่างกาย เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงเฉียบพลัน รวมทั้งแขน ขา ทำให้อ่อนแรงหรือหมดสติ ซึ่งโดยทั่วไปอาการจะเกิดเพียงไม่กี่วินาที หรืออย่างมากไม่เกิน 2 นาที
ข้อคิด
* การตัดสินใจที่จะฉีดหรือไม่เป็นสิทธิส่วนบุคคลทุกคนต้องรับผิดชอบการติดสินใจของตนเอง โดยการยอมรับถึงผลที่จะตามมา
* การควบคุมโรคระบาดด้วยการฉีดวัคซีนจะได้ผลต่อเมื่อสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นกับประชากรตั้งแต่ 70% ขึ้นไป จึงถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะร่วมมือกันทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกๆ คน
* สำหรับผู้ที่ตัดสินใจจะไม่ฉีดวัคซีน ขอให้คำนึงถึงโอกาสที่ท่านอาจจะติดเชื้อจากลูกหลานของท่านที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน พวกเขาอาจจะนำเชื้อโควิดมาถึงท่านได้ทุกวัน ถึงแม้พวกเขาจะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม เพราะวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก็ยังไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ 100%
* หากท่านไม่ฉีดวัคซีน สักวันหนึ่งในอนาคตท่านอาจมีเหตุจำเป็นต้องออกนอกบ้าน บังเอิญโชคร้ายติดเชื้อโควิดทั้งที่ป้องกันตัวเองเต็มที่แล้วก็ตาม เมื่อถึงวันนั้นโรงพยาบาลต่างๆ อาจไม่มีเตียงว่าง ท่านจำเป็นต้องไปอยู่โรงพยาบาลสนาม กรณีนี้ท่านต้องถามตัวเองว่าอยากไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนามหรือไม่
* ไม่มีวัคซีนตัวไหนสามารถป้องกันโรคเข้าสู่ร่างกายของท่านได้สิ่งที่วัคซีนทำได้คือ สร้างภูมิคุ้มกันในตัวท่านให้สูงขึ้นเพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิดได้ ท่านจึงต้องสวมหน้ากากอนามัย, ล้างมือบ่อยๆ, รักษาระยะห่างทางสังคม, ไม่ไปอยู่ในพื้นเสี่ยง หรือมีคนอยู่แออัดและไม่มีการระบายอากาศดีพอ
* ไวรัสโควิด ก็คล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าเราอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันทุกๆ ปีเช่นเดียวกับ วัคซีนไข้หวัดใหญ่