ท้องแล้วไม่อยากกินข้าว เบื่ออาหาร มีวิธีแก้ไหม แม่ท้องหลายคนคงกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อยู่ และก็พยายามทำให้ตัวเองทานอาหารให้ได้ เพราะกลัวว่าลูกในท้องจะไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน กลัวว่าลูกจะไม่แข็งแรง ส่งผลให้มีพัฒนาการการเติบโตที่ไม่เต็มที่ บางครั้งก็ลองพยายามกินแล้วแต่อาการ เบื่ออาหาร ก็ทำให้ทานได้เพียงนิดเดียว แล้วคนท้องอย่างเรา ที่มีอาการแบบนี้ ควรทำอย่างไร มีวิธีแก้ไขหรือไม่
ทำไมคนท้องถึงเบื่ออาหาร
โดยมากอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นกับคนท้องนั้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้องไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้อาเจียน หรือร่างกายรู้สึกเหนื่อยจนทำให้รู้สึกไม่อยากทานอาหารนั่นเอง แต่สาเหตุหลัก ๆ นั้น เราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้
1. ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนของคนท้อง
โดยมากเราจะเห็นว่า คนที่มักจะมีอาการดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในระยะ 1 – 3 เดือนแรก เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนของฮอร์โมนในร่างกายอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ และมีอาการเบื่ออาหารเกิดขึ้น
2. คุณแม่รู้สึกว่าไม่ชอบกลิ่น และรสชาติของอาหาร
อาการดังกล่าว เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสามารถรับรู้รส และกลิ่นต่าง ๆ เปลี่ยนไป อาหารบางอย่างที่คุณเคยชอบ อาจจะเมินหน้าหนีแทบไม่ทันก็เป็นได้
3. กลัวอาเจียน
บางคนมีอาการแพ้ท้องด้วยการอาเจียนหนักมาก จนเกิดเป็นความกลัว และความกังวลใจ และมักจะคิดว่า หากไม่ทานเข้าไป ก็จะทำให้ไม่เกิดการอาเจียน จนทำให้จากความกลัว กลายเป็นการเบื่ออาหารไปโดยปริยาย
4. มีอาการขมในปาก ที่เรียกว่า “Metallic taste” (การรู้สึกเหมือนมีโลหะในปาก)
ในบางเคส ลิ้นสัมผัสจะเปลี่ยนไป ทำให้การรับรู้รสของอาหารเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งโดยมาก จะทำให้มีความรู้สึกถึงความขมในปาก เหมือนกับมีโลหะเป็นส่วนผสมของอาหาร ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่อยากทานเข้าไป และในบางครั้ง อาจจะมีผลถึงกลิ่นของอาหารนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน
ทำอย่างไรให้ลูกในท้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
1. ดื่มน้ำให้บ่อย ๆ
คุณแม่ต้องพยายามทำให้ร่างกายมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา และควรดื่มน้ำมาก ๆ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 – 3 ลิตรต่อวัน โดยอาจจะดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำมะนาวเพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
2. แบ่งเป็นหลาย ๆ มื้อ
หากคุณแม่รู้สึกว่าในมื้อนั้นยังไม่ค่อยอยากกินอาหารเท่าไหร่ ก็ต้องพยายามทานอาหารหน่อยถึงแม้ว่าจะทานได้น้อยก็ตาม แต่อาศัยทานให้บ่อยขึ้น แบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อ อาจจะเป็น 6 มื้อต่อวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนค่ะ
3. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
คุณแม่ไม่ควรทานอาหารที่มีรส เค็มจัด เผ็ดจัด หรือหวานจัด จนเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่มีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน โรคเบาหวาน และอาการบวมต่าง ๆ ค่ะ โดยเฉพาะโรคกรดไหลย้อน เวลาที่คุณแม่เป็นแล้ว จะทำให้ไม่อยากอาหารได้ และไม่ควรกินอาหารที่มีกลิ่นแรง เพราะคนท้องจะมีประสาทสัมผัสที่ไวต่อกลิ่น ทำให้ไม่อยากอาหารได้ค่ะ
4. กินอาหารเบา ๆ
พยายามเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องอืด และการทำงานของกระเพาะอาหารที่หนักจนเกินไป เพราะคุณแม่จะรู้สึก ว่าไม่อยากอาหารเอาได้ โดยคุณแม่อาจเลือกทานเนื้อไก่ โยเกิร์ต หรือกล้วย เพราะอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้คุณแม่อิ่มนานถึงแม้ว่าจะทานน้อยค่ะ
5. ลองกินอาหารเย็น
ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเริ่มไม่อยากกินอาหาร ลองเปลี่ยนมากินอาหารที่เย็นดูบ้าง หรือแช่เย็นดูบ้าง เช่น ผลไม้แช่เย็น หรือข้าวแช่ เพื่อเป็นการเปลี่ยนลักษณะการทานอาหาร ทำให้คนแม่อยากอาหารมากขึ้นค่ะ
6. ทานวิตามินอย่างต่อเนื่อง
เมื่อรู้ว่าตัวเองไม่อยากทานอาหาร ดังนั้นการทานพวกวิตามินเสริมต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะยาที่คุณหมอให้มา เพราะนั่นจะช่วยให้ลูกน้อยในท้อง มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และเติบโตได้อย่างแข็งแรงค่ะ
7. พยายามอย่าหยุดกินอาหาร
ถ้าไม่อยากอาหาร คุณแม่ห้ามหยุดที่จะกินเป็นอันเด็ดขาด อย่างน้อยกินบ้างเล็กน้อยก็ยังดีค่ะ เพื่อให้มีอะไรตกถึงท้อง เพราะการที่แม่ไม่ยอมกินข้าวนั้น ย่อมส่งผลเสียต่อลูกมากกว่าที่คิด
เบื่ออาหารจากสาเหตุอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคน กลับมีอาการเบื่ออาหารที่เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างออกไป เช่นการเบื่ออาหารจากสภาวะเครียด หรือมีโรคที่มีความผิดปกติในการกิน เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวคุณแม่เอง และคนรอบข้าง จะต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ซึ่งสาเหตุที่นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของโฮโมนในร่างกายนั้น แยกได้ดังนี้
1. เสียใจมาก หรือรู้สึกผิด
2. เบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจ
3. นอนไม่หลับ
4. ท้องผูก
5. คลื่นไส้
6. ภาวะจิตตก (คิดฆ่าตัวตาย)
ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นสาเหตุจากสภาวะจิตใจที่มีความวิตกกังวล จากความกดดัน หรือปฏิกิริยาเคมีในร่างกายที่ผิดปกติ (โรคซึมเศร้า) ในบางรายจะเกิดอาการเหล่านี้หลังจากที่คลอดบุตรมาแล้ว แต่ในบางราย ก็สามารถเป็นในขณะที่ตั้งครรภ์ได้ด้วยเช่นกัน
หากคุณสงสัยว่าคุณมีอาการเบื่ออาหาร จากสาเหตุเหล่านี้ ควรที่จะรีบเข้าพบ และปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อให้เกิดการบำบัดในทางที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ และลูกน้อยในครรภ์นั่นเองค่ะ
ท้องแล้วไม่อยากกินข้าว เบื่ออาหาร มีวิธีแก้ไหม คนท้องควรทำอย่างไร?
ทำไมคนท้องถึงเบื่ออาหาร
โดยมากอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นกับคนท้องนั้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้องไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้อาเจียน หรือร่างกายรู้สึกเหนื่อยจนทำให้รู้สึกไม่อยากทานอาหารนั่นเอง แต่สาเหตุหลัก ๆ นั้น เราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้
1. ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนของคนท้อง
โดยมากเราจะเห็นว่า คนที่มักจะมีอาการดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในระยะ 1 – 3 เดือนแรก เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนของฮอร์โมนในร่างกายอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ และมีอาการเบื่ออาหารเกิดขึ้น
2. คุณแม่รู้สึกว่าไม่ชอบกลิ่น และรสชาติของอาหาร
อาการดังกล่าว เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสามารถรับรู้รส และกลิ่นต่าง ๆ เปลี่ยนไป อาหารบางอย่างที่คุณเคยชอบ อาจจะเมินหน้าหนีแทบไม่ทันก็เป็นได้
3. กลัวอาเจียน
บางคนมีอาการแพ้ท้องด้วยการอาเจียนหนักมาก จนเกิดเป็นความกลัว และความกังวลใจ และมักจะคิดว่า หากไม่ทานเข้าไป ก็จะทำให้ไม่เกิดการอาเจียน จนทำให้จากความกลัว กลายเป็นการเบื่ออาหารไปโดยปริยาย
4. มีอาการขมในปาก ที่เรียกว่า “Metallic taste” (การรู้สึกเหมือนมีโลหะในปาก)
ในบางเคส ลิ้นสัมผัสจะเปลี่ยนไป ทำให้การรับรู้รสของอาหารเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งโดยมาก จะทำให้มีความรู้สึกถึงความขมในปาก เหมือนกับมีโลหะเป็นส่วนผสมของอาหาร ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่อยากทานเข้าไป และในบางครั้ง อาจจะมีผลถึงกลิ่นของอาหารนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน
ทำอย่างไรให้ลูกในท้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
1. ดื่มน้ำให้บ่อย ๆ
คุณแม่ต้องพยายามทำให้ร่างกายมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา และควรดื่มน้ำมาก ๆ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 – 3 ลิตรต่อวัน โดยอาจจะดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำมะนาวเพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
2. แบ่งเป็นหลาย ๆ มื้อ
หากคุณแม่รู้สึกว่าในมื้อนั้นยังไม่ค่อยอยากกินอาหารเท่าไหร่ ก็ต้องพยายามทานอาหารหน่อยถึงแม้ว่าจะทานได้น้อยก็ตาม แต่อาศัยทานให้บ่อยขึ้น แบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อ อาจจะเป็น 6 มื้อต่อวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนค่ะ
3. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
คุณแม่ไม่ควรทานอาหารที่มีรส เค็มจัด เผ็ดจัด หรือหวานจัด จนเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่มีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน โรคเบาหวาน และอาการบวมต่าง ๆ ค่ะ โดยเฉพาะโรคกรดไหลย้อน เวลาที่คุณแม่เป็นแล้ว จะทำให้ไม่อยากอาหารได้ และไม่ควรกินอาหารที่มีกลิ่นแรง เพราะคนท้องจะมีประสาทสัมผัสที่ไวต่อกลิ่น ทำให้ไม่อยากอาหารได้ค่ะ
4. กินอาหารเบา ๆ
พยายามเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องอืด และการทำงานของกระเพาะอาหารที่หนักจนเกินไป เพราะคุณแม่จะรู้สึก ว่าไม่อยากอาหารเอาได้ โดยคุณแม่อาจเลือกทานเนื้อไก่ โยเกิร์ต หรือกล้วย เพราะอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้คุณแม่อิ่มนานถึงแม้ว่าจะทานน้อยค่ะ
5. ลองกินอาหารเย็น
ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเริ่มไม่อยากกินอาหาร ลองเปลี่ยนมากินอาหารที่เย็นดูบ้าง หรือแช่เย็นดูบ้าง เช่น ผลไม้แช่เย็น หรือข้าวแช่ เพื่อเป็นการเปลี่ยนลักษณะการทานอาหาร ทำให้คนแม่อยากอาหารมากขึ้นค่ะ
6. ทานวิตามินอย่างต่อเนื่อง
เมื่อรู้ว่าตัวเองไม่อยากทานอาหาร ดังนั้นการทานพวกวิตามินเสริมต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะยาที่คุณหมอให้มา เพราะนั่นจะช่วยให้ลูกน้อยในท้อง มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และเติบโตได้อย่างแข็งแรงค่ะ
7. พยายามอย่าหยุดกินอาหาร
ถ้าไม่อยากอาหาร คุณแม่ห้ามหยุดที่จะกินเป็นอันเด็ดขาด อย่างน้อยกินบ้างเล็กน้อยก็ยังดีค่ะ เพื่อให้มีอะไรตกถึงท้อง เพราะการที่แม่ไม่ยอมกินข้าวนั้น ย่อมส่งผลเสียต่อลูกมากกว่าที่คิด
เบื่ออาหารจากสาเหตุอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคน กลับมีอาการเบื่ออาหารที่เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างออกไป เช่นการเบื่ออาหารจากสภาวะเครียด หรือมีโรคที่มีความผิดปกติในการกิน เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวคุณแม่เอง และคนรอบข้าง จะต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ซึ่งสาเหตุที่นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของโฮโมนในร่างกายนั้น แยกได้ดังนี้
1. เสียใจมาก หรือรู้สึกผิด
2. เบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจ
3. นอนไม่หลับ
4. ท้องผูก
5. คลื่นไส้
6. ภาวะจิตตก (คิดฆ่าตัวตาย)
ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นสาเหตุจากสภาวะจิตใจที่มีความวิตกกังวล จากความกดดัน หรือปฏิกิริยาเคมีในร่างกายที่ผิดปกติ (โรคซึมเศร้า) ในบางรายจะเกิดอาการเหล่านี้หลังจากที่คลอดบุตรมาแล้ว แต่ในบางราย ก็สามารถเป็นในขณะที่ตั้งครรภ์ได้ด้วยเช่นกัน
หากคุณสงสัยว่าคุณมีอาการเบื่ออาหาร จากสาเหตุเหล่านี้ ควรที่จะรีบเข้าพบ และปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อให้เกิดการบำบัดในทางที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ และลูกน้อยในครรภ์นั่นเองค่ะ