พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่เก็บรวบรวมชิ้นส่วนของอาคาร 137 เสา
ระหว่างที่ทำการบูรณะที่เสื่อมสภาพและไม่อยู่ในสภาพที่นำกลับไปประกอบไว้กับอาคารได้
แต่มีคุณค่าในฐานะที่เป็นวัตถุพยานทางประวัติศาสตร์
ที่บอกถึงบริบท ทางสังคมในสมัยที่อาคารหลังนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2432
บ้าน 137 เสา หรือบ้านบอร์เนียว สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักงานเพื่อทำกิจการป่าไม้เมื่อประมาณปี พ.ศ.2432
โดยนายหลุนส์ ที เลโอโนเวนส์ ผู้จัดการคนแรกของบริษัท
โดยความช่วยเหลือของ นายแพทย์ มาเรียน อิลฟรองโซ ชีค ตัวแทนอย่างไม่เป็นทางการ
ท้ายที่สุด วิลเลี่ยม เบนส์ ผู้จัดการคนสุดท้ายของบริษัทได้ซื้อไว้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ.2482
และได้ยกให้กับลูกของท่านก่อนจะขายให้กับ บริษัท วงศ์พันเลิศ จำกัด เพื่อพัฒนาเป็นโรงแรม
.
ว่าด้วยลักษณะของบ้าน
บ้าน 137 เสา เป็นบ้านทำด้วยไม้ เดิมประกอบด้วย 2 ส่วนเป็นหลักคือ ส่วนบ้านหลัก และเรือนครัว
ต่อมาภายหลังมีการต่อเติมเรือนพักแม่บ้านขึ้นมาจึงกลายเป็น 2 ส่วน
แต่ส่วนเรือนครัวและเรือนพักแม่บ้านได้ทรุดโทรมเสียหายไปมาก ยากแก่การบูรณะจึงได้รื้อถอนออกไป
แต่ได้ทำการสำรวจรังวัด และถ่ายรูปบันทึกไว้อย่างละเอียด รวมทั้งเก็บชิ้นส่วนที่ยังไม่เสียหายเอาไว้
.
บ้าน 137 เสา เป็นอาคารรูปแบบอาณานิคม ทำด้วยไม้สักเป็นส่วนมากทั้งโครงสร้าง พื้น และผนัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอแบบพื้นเมืองเชียงใหม่
ประตูที่อยู่ภายในบ้านน่าจะนำเข้ามาจากเมืองมะละแหม่งในสมัยนั้น
ส่วนประตูที่กั้นระหว่างภายในและภายนอกอาคารน่าจะเป็นฝีมือช่างชาวจีนที่ขึ้นมาทำการก่อสร้างอาคารร้านค้าในย่านนี้สมัยนั้น
นอกจากนี้ส่วนยอดผนังโดยรอบอาคาร ทำเป็นลายไม้ฉลุแบบพรรณพฤกษา
.
ลักษณะแปรรูปไม้เพื่อทำการก่อสร้างสำหรับบ้านหลังนี้จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การใช้เลื่อยตั้ง ทำการแปรรูปไม้ในส่วนของโครงสร้างทั้งหมดซึ่งทิ้งร่องรอยดังกล่าวเอาไว้
2. การใช้เลื่อยนอน ในการแปรรูปไม้ทำผนัง พื้นและชิ้นส่วนประตูหน้าต่าง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ประกอบอาคาร เช่น บานพับกลอน มือจับ ขอสับหน้าต่างส่วนมากนำเข้ามาจากต่างประเทศ
.
การบูรณะบ้าน 137 เสา
ในการบูรณะบ้าน 137 เสา เริ่มต้นจากการสำรวจรังวัดอาคารในสภาพเดิมทั้งหมด ประกอบกับการศึกษาประวัติศาสตร์ของอาคาร
บริบทแวดล้อมของสังคมในสมัยนั้น รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคารหลังนี้
แล้วจึงเริ่มทำการออกแบบการบูรณะอาคารให้ตรงกับความต้องการในการใช้สอยอาคารแล้วจึงเริ่มทำการบูรณะ
.
เริ่มจากการรื้อหลังคาดินขอลงมาขัดล้างทำความสะอาด และทาน้ำยาป้องกันความชื้น
หลังจากนั้นจึงทำการยกระดับบ้านขึ้นจากระดับเดิม 3.00 เมตร ด้วยแม่แรงจำนวน 60 อัน
โดยยกพร้อมกันทีเดียวทั้งหลังและทำโครงสร้างเสาและคานเหล็กรับโครงสร้างพื้นไม้เดิม เพื่อเพิ่มสมรรถนะการรับน้ำหนักของอาคารเพื่อเป็นอาคารสาธารณะ
หลังจากนั้นจึงบูรณะพื้นและผนังทั้งหมด ด้วยการขัดกระดาษทรายอย่างทะนุถนอมทั้งหลังและทาทับด้วยน้ำมันธรรมชาติ เพื่อรักษาสภาพชิ้นส่วนที่เป็นไม้ทั้งหมด
หลังจากนั้นจึงมุงหลังคากลับเข้าไปเหมือนเดิม ก่อนมุงหลังคากลับได้ทำระบบป้องกันน้ำฝนรั่วซึมซ้อนไว้บนโครงสร้างหลังคา
หลังจากนั้นจึงทำองค์ประกอบประดับหลังคากลับไป แทนที่เสียหายผุพัง
ชิ้นส่วนของประตูและหน้าต่างถูกบูรณะด้วยความประณีตด้วยวิธีขัดกระดาษทรายอย่างละเอียดด้วยมือแล้วทาทับด้วยน้ำมันธรรมชาติ
ยังคงเก็บชิ้นส่วนของอุปกรณ์ประกอบประตูและหน้าต่างส่วนใหญ่ไว้กับบาน
นอกจากบางส่วนที่เสียหาย ได้ทำใหม่เหมือนของเดิม ประกอบกลับเข้าไปใหม่
ชิ้นส่วนไม้ที่เสียหายไปอย่างมาก เช่น บันได เชิงชาย เครื่องประดับหลังคา ได้ทำขึ้นมาใหม่ด้วยไม้สักที่มีอายุใกล้เคียงกับบ้าน แล้วประกอบกลับเข้าไปใหม่
เชียงใหม่-นำชมพิพิธภัณฑ์บ้านบอร์เนียว 137 Pillars House Museum
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่เก็บรวบรวมชิ้นส่วนของอาคาร 137 เสา
ระหว่างที่ทำการบูรณะที่เสื่อมสภาพและไม่อยู่ในสภาพที่นำกลับไปประกอบไว้กับอาคารได้
แต่มีคุณค่าในฐานะที่เป็นวัตถุพยานทางประวัติศาสตร์
ที่บอกถึงบริบท ทางสังคมในสมัยที่อาคารหลังนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2432
บ้าน 137 เสา หรือบ้านบอร์เนียว สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักงานเพื่อทำกิจการป่าไม้เมื่อประมาณปี พ.ศ.2432
โดยนายหลุนส์ ที เลโอโนเวนส์ ผู้จัดการคนแรกของบริษัท
โดยความช่วยเหลือของ นายแพทย์ มาเรียน อิลฟรองโซ ชีค ตัวแทนอย่างไม่เป็นทางการ
ท้ายที่สุด วิลเลี่ยม เบนส์ ผู้จัดการคนสุดท้ายของบริษัทได้ซื้อไว้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ.2482
และได้ยกให้กับลูกของท่านก่อนจะขายให้กับ บริษัท วงศ์พันเลิศ จำกัด เพื่อพัฒนาเป็นโรงแรม
.
ว่าด้วยลักษณะของบ้าน
บ้าน 137 เสา เป็นบ้านทำด้วยไม้ เดิมประกอบด้วย 2 ส่วนเป็นหลักคือ ส่วนบ้านหลัก และเรือนครัว
ต่อมาภายหลังมีการต่อเติมเรือนพักแม่บ้านขึ้นมาจึงกลายเป็น 2 ส่วน
แต่ส่วนเรือนครัวและเรือนพักแม่บ้านได้ทรุดโทรมเสียหายไปมาก ยากแก่การบูรณะจึงได้รื้อถอนออกไป
แต่ได้ทำการสำรวจรังวัด และถ่ายรูปบันทึกไว้อย่างละเอียด รวมทั้งเก็บชิ้นส่วนที่ยังไม่เสียหายเอาไว้
.
บ้าน 137 เสา เป็นอาคารรูปแบบอาณานิคม ทำด้วยไม้สักเป็นส่วนมากทั้งโครงสร้าง พื้น และผนัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอแบบพื้นเมืองเชียงใหม่
ประตูที่อยู่ภายในบ้านน่าจะนำเข้ามาจากเมืองมะละแหม่งในสมัยนั้น
ส่วนประตูที่กั้นระหว่างภายในและภายนอกอาคารน่าจะเป็นฝีมือช่างชาวจีนที่ขึ้นมาทำการก่อสร้างอาคารร้านค้าในย่านนี้สมัยนั้น
นอกจากนี้ส่วนยอดผนังโดยรอบอาคาร ทำเป็นลายไม้ฉลุแบบพรรณพฤกษา
.
ลักษณะแปรรูปไม้เพื่อทำการก่อสร้างสำหรับบ้านหลังนี้จำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การใช้เลื่อยตั้ง ทำการแปรรูปไม้ในส่วนของโครงสร้างทั้งหมดซึ่งทิ้งร่องรอยดังกล่าวเอาไว้
2. การใช้เลื่อยนอน ในการแปรรูปไม้ทำผนัง พื้นและชิ้นส่วนประตูหน้าต่าง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ประกอบอาคาร เช่น บานพับกลอน มือจับ ขอสับหน้าต่างส่วนมากนำเข้ามาจากต่างประเทศ
.
การบูรณะบ้าน 137 เสา
ในการบูรณะบ้าน 137 เสา เริ่มต้นจากการสำรวจรังวัดอาคารในสภาพเดิมทั้งหมด ประกอบกับการศึกษาประวัติศาสตร์ของอาคาร
บริบทแวดล้อมของสังคมในสมัยนั้น รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคารหลังนี้
แล้วจึงเริ่มทำการออกแบบการบูรณะอาคารให้ตรงกับความต้องการในการใช้สอยอาคารแล้วจึงเริ่มทำการบูรณะ
.
เริ่มจากการรื้อหลังคาดินขอลงมาขัดล้างทำความสะอาด และทาน้ำยาป้องกันความชื้น
หลังจากนั้นจึงทำการยกระดับบ้านขึ้นจากระดับเดิม 3.00 เมตร ด้วยแม่แรงจำนวน 60 อัน
โดยยกพร้อมกันทีเดียวทั้งหลังและทำโครงสร้างเสาและคานเหล็กรับโครงสร้างพื้นไม้เดิม เพื่อเพิ่มสมรรถนะการรับน้ำหนักของอาคารเพื่อเป็นอาคารสาธารณะ
หลังจากนั้นจึงบูรณะพื้นและผนังทั้งหมด ด้วยการขัดกระดาษทรายอย่างทะนุถนอมทั้งหลังและทาทับด้วยน้ำมันธรรมชาติ เพื่อรักษาสภาพชิ้นส่วนที่เป็นไม้ทั้งหมด
หลังจากนั้นจึงมุงหลังคากลับเข้าไปเหมือนเดิม ก่อนมุงหลังคากลับได้ทำระบบป้องกันน้ำฝนรั่วซึมซ้อนไว้บนโครงสร้างหลังคา
หลังจากนั้นจึงทำองค์ประกอบประดับหลังคากลับไป แทนที่เสียหายผุพัง
ชิ้นส่วนของประตูและหน้าต่างถูกบูรณะด้วยความประณีตด้วยวิธีขัดกระดาษทรายอย่างละเอียดด้วยมือแล้วทาทับด้วยน้ำมันธรรมชาติ
ยังคงเก็บชิ้นส่วนของอุปกรณ์ประกอบประตูและหน้าต่างส่วนใหญ่ไว้กับบาน
นอกจากบางส่วนที่เสียหาย ได้ทำใหม่เหมือนของเดิม ประกอบกลับเข้าไปใหม่
ชิ้นส่วนไม้ที่เสียหายไปอย่างมาก เช่น บันได เชิงชาย เครื่องประดับหลังคา ได้ทำขึ้นมาใหม่ด้วยไม้สักที่มีอายุใกล้เคียงกับบ้าน แล้วประกอบกลับเข้าไปใหม่