JJNY : กรมวิทย์แจงที่มาแอฟริกาโผล่กทม.│หมอธีระแนะชะลอเปิดปท.│หมอธีระวัฒน์ถามปิดร้านอาหารทำไม│แม่เฒ่าไหว้ขอพรให้ตกปลาได้

กรมวิทย์ แจงที่มาสายพันธุ์แอฟริกาโผล่ กทม. ห่วงอินเดียพุ่ง คาดมาแทนอังกฤษ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6477714
 
 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการติดตาม เฝ้าระวังการกลายพันธุ์เชื้อโควิด พบสัปดาห์นี้ เดลตา พุ่ง คาด อีก 2- 3 เดือน มาแทน อังกฤษ

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 28 มิ.ย.64 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 ในประเทศไทย ว่า เฉพาะสัปดาห์ทีผ่านมา ภาพรวมทั้งประเทศ มี สายพันธุ์แอลฟา (อังกฤษ) 80.19% สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) 16.59% สายพันธุ์ เบตา (แอฟริกาใต้) 3.2% โดยพบว่า พื้นที่ กทม. 1 ใน 3 เป็นสายพันธุ์เดลตา 32.39% ในขณะที่ระดับภูมิภาค เดลตา ขยับเป็น 7% จาก 5% ทำให้คาดว่า อีก 2-3 เดือน สายพันธุ์เดลตา อาจจะมากกว่าสายพันธุ์แอลฟาเดิม
 
สำหรับข้อมูลรายจังหวัด สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) สัปดาห์นี้มีเพิ่มที่ จ.พะเยา 1 เพชรบูรณ์ 1 อุตรดิตถ์ 4 อุทัยธานี 2 นครสวรรค์ 11 พระนครศรีอยุธยา 7 ชลบุรี 1 ขอนแก่น 3 ร้อยเอ็ด 3 มหาสารคาม 1 กาฬสินธุ์ 6 อุดรธานี 23 สกลนคร 22 นครพนม 3 บึงกาฬ 4 เลย 20 หนองคาย 2 หนองบัวลำภู 12 ส่วนใหญ่เดินทางไปจาก กทม.
 
ที่น่าสังเกตคือเดลต้าเดิมไม่มีในภาคใต้แต่วันนี้พบในภาคใต้ที่นราธิวาส 2 รายและจากการสอบข้อมูลเป็นคนที่ข้ามมาจากรัฐเคดาห์ที่นราธิวาส ทำให้เดลตางหมด ในพื้นที่กรุงเทพฯเพิ่มมากที่สุด 331 ราย ส่วนใหญ่เป็นแคมป์คนงานที่เป็นคัตเตอร์ใหญ่จะเจอเดลต้า ทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้น 459 รายสะสม 1,120 ราย
 
ในส่วนของ สายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) เพิ่มขึ้น 89 ราย สะสม 127 ราย ค่อนข้างเยอะ ในสัปดาห์นี้พบว่า สุราษฎร์ธานี 1 ราย นราธิวาส 84 ยะลา 2 พัทลุง 1 กรุงเทพฯ 1 
 
สำหรับ กทม. พบว่าผู้ป่วยเป็นลูกจ้างในตลาดแห่งหนึ่ง ลูกเดินทางมาจากนราธิวาส ขณะที่ลูกระหว่างเดินทางมายังไม่พบอาการอะไร หลังจากกลับจากเยี่ยมพ่อ พบว่าติดเชื้อ ส่วนพ่อเมื่อตรวจก็พบว่าติดเชื้อและเป็นสายพันธุ์เบต้า ส่วนญาติอีก 2 คน พบว่าติดเชื้อและกำลังตรวจสายพันธุ์ ส่วนเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานอีก 6-7 คน ไม่พบเชื้อ เชื่อว่า ติดมาจากลูกที่เดินทางมาเยี่ยม เชื่อว่ารายเดียวที่พบ จะล็อกอยู่ อาจมีแค่รายเดียวแล้วหายไป
 
“การที่เราไม่ได้ห้ามการเดินทางภายในประเทศ ก็อย่าไปแปลกใจที่จะพบเชื้อไปที่อื่น แต่เบต้า พบว่า ฤทธิ์ในการแพร่กระจายไม่ได้สูง ที่เป็นห่วง คือ สายพันธุ์อินเดีย ที่มีฤทธิ์การแพร่ระบาดได้มากว่า”
 

 
'หมอธีระ' แนะรัฐชะลอเปิดปท. ชี้ถ้าระบบป้องกันยังไม่ดี สมดุลสุขภาพ-ศก.ไม่มีทางเกิด
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2798991
 
‘หมอธีระ’ แนะรัฐศึกหนักแบบนี้ ต้องไม่เหยียบเรือสองแคมออกมาตรการ  สมดุลเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจไม่ทีทางเกิดขึ้น ถ้าอาวุธ-ระบบป้องกันไม่ดีพอ 
 
วันนี้ (28 มิ.ย.) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)” ถึงสถานการณ์ทั่วโลก 28 มิถุนายน 2564…
 
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 304,046 คน รวมแล้วตอนนี้ 181,846,798 คน ตายเพิ่มอีก 5,653 คน ยอดตายรวม 3,938,424 คน
 
5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ อินเดีย บราซิล โคลอมเบีย อินโดนีเซีย และรัสเซีย
 
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 4,638 คน รวม 34,494,575 คน ตายเพิ่ม 92 คน ยอดเสียชีวิตรวม 619,434 คน อัตราตาย 1.8%
 
อินเดีย ติดเพิ่ม 46,592 คน รวม 30,278,912 คน ตายเพิ่ม 973 คน ยอดเสียชีวิตรวม 396,753 คน อัตราตาย 1.3%
 
บราซิล ติดเพิ่ม 33,704 คน รวม 18,420,598 คน ตายเพิ่มถึง 655 คน ยอดเสียชีวิตรวม 513,474 คน อัตราตาย 2.8%
 
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 1,578 คน ยอดรวม 5,770,021 คน ตายเพิ่ม 17 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,968 คน อัตราตาย 1.9%
 
รัสเซีย ติดเพิ่ม 20,538 คน รวม 5,451,291 คน ตายเพิ่ม 599 คน ยอดเสียชีวิตรวม 133,282 คน อัตราตาย 2.4%
 
อันดับ 6-10 เป็น ตุรกี สหราชอาณาจักร อาร์เจนติน่า อิตาลี และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น
 
แถบอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย อย่างชิลี โบลิเวีย แซมเบีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพัน ยกเว้นแอฟริกาใต้ยังเกินหมื่น
 
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นคาซักสถาน และมองโกเลียที่ยังหลักพัน
 
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน
 
เกาหลีใต้ เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ไต้หวัน ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกงติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
  
…สงครามโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดในรอบ 102 ปีนั้นยังคงลามต่อเนื่องมากว่า 1.5 ปี แม้โลกจะเริ่มมีอาวุธป้องกันอย่างวัคซีนมาใช้ แต่ยังเจอปัญหาท้าทายทั้งเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ความเพียงพอ ความครอบคลุม และเรื่องไวรัสที่กลายพันธุ์
 
บางประเทศในโลกสามารถจัดการการระบาดได้ดี เช่น อเมริกา แม้จะเคยระบาดหนักมากถึงราวสี่แสนคนต่อวัน แต่การเลือกใช้ความรู้ที่ถูกต้องมาชี้นำนโยบาย ปรับรูปแบบการบริหารจัดการของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง mRNA vaccines ก็พิสูจน์ให้โลกเห็นได้ว่าสามารถกดการระบาดลงมาได้ถึง 100 เท่า จนล่าสุดลดลงมาเหลือเพียง 4,638 คน
 
บางประเทศ อย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดการของภาครัฐ มีนโยบายที่เข้มแข็งชัดเจน ใช้มาตรการล็อคดาวน์ระยะสั้นเพื่อจัดการโรคระบาดตั้งแต่เนิ่นๆ แม้เจอไม่กี่เคสก็รีบล็อคดาวน์และปูพรมตรวจในพื้นที่เสี่ยง ก็ทำให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตปกติได้เร็ว ช่วยลดจำนวนคนป่วยและคนเสียชีวิตได้ และประคองเศรษฐกิจไปได้พร้อมกัน ในขณะที่เรื่องวัคซีนที่ใช้ ก็เน้นการใช้ความรู้ที่ถูกต้อง เลือกชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย ตัวใดมีความเสี่ยงชัดเจน ก็ตัดสินใจที่ปรับเปลี่ยน
 
สำหรับไทยเรา ตอนนี้สถานการณ์การระบาดรุนแรง กระจายไปทั่ว ไม่ได้จำเพาะเจาะจงกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทุกคนในสังคมล้วนมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้เสมอ ดังนั้นจึงต้องป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด
 
…การสื่อสารสาธารณะ จำเป็นจะต้องบอกความจริง ชัดเจน สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ประชาชนกำลังเผชิญ ก็จะทำให้สร้างความเชื่อมั่นได้
 
…แผนในการจัดการโรคระบาดนั้น รายละเอียดของทุกมาตรการควรได้รับการบอกกล่าวเล่าแจ้งแก่ประชาชน เพื่อให้ได้ทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมตัวเตรียมใจ และร่วมแรงร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้
 
…สัจธรรมที่เราเห็นจากบทเรียนทั่วโลกคือ การใช้ความรู้ที่ถูกต้อง วางแผนเป็นระบบ โปร่งใส เลือกใช้คนให้ถูกคนถูกงาน เลือกอาวุธต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพจริง และสื่อสารความจริงอย่างชัดเจน ก็จะทำให้มีโอกาสชนะศึกได้มากขึ้น
 
หาไม่แล้ว ก็จะเกิดปัญหาทั้งเรื่องการหลงทิศหลงทาง (loss of direction), ความหวาดกลัวที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมของผู้ปฏิบัติงานหน้างานเพราะสับสนในทิศทาง (Pervasive fear), การบริหารจัดการและดำเนินการล้มเหลว (Implementation failure) และวิกฤติความเชื่อมั่นศรัทธา (Crisis of trust) และจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การเจ็บป่วยมากมาย และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมระยะยาว
 
ผลลัพธ์ของการจัดการระลอกสอง และสามที่ผ่านมากว่าครึ่งปี ชี้ให้เห็นชัดเจน ถึงเวลาที่ควรปรับเปลี่ยนกลไกนโยบายสุขภาพท่องเที่ยวเดินทาง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
สำหรับประชาชนอย่างพวกเราทุกคน ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า
 
จากนั้น รศ.นพ.ธีระ ยังได้โพสต์ข้อเขียนเรื่อง สมดุลเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจ โดยมีเนื้อหาดังนี้
 
สมดุลเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจนั้นไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง
ตราบใดที่… การระบาดยังรุนแรง กระจายไปทั่ว
 
ตราบใดที่… ระบบสนับสนุนมีศักยภาพจำกัด ทั้งคนเงินของหยูกยาเตียงในระบบดูแลรักษา และระบบตรวจคัดกรองที่ทำได้จำกัด
 
ตราบใดที่… อาวุธป้องกันมีประสิทธิภาพจำกัด และอาวุธที่ดีจริงยังมีไม่มากพอ
 
ควรชะลอเรื่องการเปิดการค้าและการท่องเที่ยวไปได้เลยครับ เพราะหากฝืนผลักดันไประหว่างการระบาด เศรษฐกิจจะยิ่งทรุดและสังคมจะยิ่งบอบช้ำ สูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ
 
มองภาพจริง ไม่หลงกับภาพวาด
 
ระบาดรุนแรง ต้องมุ่งรักษาปกป้องชีวิต
 
มาตรการแบบเหยียบเรือสองแคม หรือรักพี่เสียดายน้อง จะใช้ไม่ได้ผลกับศึกหนักเช่นนี้
 
เน้นย้ำว่า ควรตรวจให้มากที่สุด และหา mRNA vaccines และ Protein subunit vaccine มาใช้เป็นหลักครับ
 
ก่อนจะสายเกินไป…
ด้วยรักและห่วงใย”
 
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10222714978415572
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10222715813116439
 

 
หมอธีระวัฒน์ ถามปิดร้านอาหารทั้งหมดทำไม? ชี้ การตีขลุมไม่ช่วยคุมโรค แถมซ้ำเติมปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2799176

หมอธีระวัฒน์ ถามปิดร้านอาหารทั้งหมดทำไม? ชี้ การตีขลุมไม่ช่วยคุมโรค แถมซ้ำเติมปชช. 

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า
 
ปิดร้านอาหารทำไม?
 
การตัดสินใจปิดไม่ให้ประชาชนนั่งทานในร้านอาหาร อาจจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลให้ถี่ถ้วน
 
จริงอยู่มีผู้ประกอบการอยู่บ้างที่ไม่เข้มงวด ในเรื่องของจำนวนคนที่เข้าร้าน ทำให้การรักษาระยะห่างไม่ได้ผลและไม่ได้ควบคุมวินัย
แต่ตัวอย่างดังกล่าวไม่ควรนำมาถึงการห้ามทั้งหมด ในเมื่อสามารถที่จะควบคุมให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดได้…ไม่ใช่หรือ?
 
และในเมื่อเราก็ทราบอยู่เต็มอกแล้วว่า ชีวิตชาวโลกคงต้องอยู่กับโควิดไปอีกนาน และประเทศไทยเองก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของวัคซีนทั้งจำนวนและความหลากหลายของวัคซีน
 
การทำให้การดำรงชีวิตของคนไทยเข้าใกล้ปกติอย่างปลอดภัยทั้งตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคมกลับเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริมมากกว่า….ไม่ใช่หรือ?
การดูตัวอย่างที่ไม่ดีแต่ตีคลุมไปว่า เลวร้ายไปทั้งหมด นอกจากจะไม่ช่วยการควบคุมโรค แต่น่าจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนและลูกจ้างที่มีอาชีพสุจริตและปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดมาตลอด
 
ขอแสงสว่างเล็กๆน้อยๆบ้างก็ยังดี
 
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/4630992806934237
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่