หมอรามา เผยเตียงในกทม.-ปริมณฑล วิกฤตมากแล้ว อาจจะเป็นแบบอินเดียในไม่ช้านี้
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6471119
หมอรามา เผยเตียงในกทม.-ปริมณฑลขั้นวิกฤตแล้ว อาจจะเป็นแบบอินเดียในไม่ช้านี้ ห่วงยอดผู้ติดเชื้อใหม่ อาจไม่ตรงกับความจริง หลายแห่งเริ่มไม่ยอมตรวจโควิดแล้ว
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.64 นพ.
ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊กบอกเล่าการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่กำลังทำสงครามกับโควิด โดยเชื่อว่ายอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 4,000 คน อาจไม่ใช่ยอดที่แท้จริง เพราะหลายแห่งไม่ยอมตรวจให้คนไข้ เพราะกังวลว่าจะต้องหาเตียงให้ ข้อความทั้งหมดมีดังนี้
จะขออนุญาตมาอัพเดตสถานการณ์ให้ฟัง (ยาวมากๆใครอ่านไม่ไหว ให้ดูย่อหน้าท้าย) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จะสังเกตว่ายอดคนไข้ใหม่รายวันนั้นไม่ลดลงเลย มีแต่จะเพิ่มเรื่อย ๆ และแนวโน้ม admit ต่อวันก็ยังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
Testing: PCR swab: หลายๆที่ก็ทำการตรวจได้จำกัด และบางสถานพยาบาลได้จำกัดการตรวจต่อวันจริง (ซึ่งเข้าใจและเห็นใจ เพราะบางรพ.ตรวจกันจนเกินศักยภาพที่เจ้าหน้าที่จะทำไหวแล้ว)
แต่ก็มีบางที่ที่ไม่ยอมตรวจให้คนไข้ เพราะก็กังวลว่าถ้า positive แล้ว จะให้ไปอยู่ที่ไหน จะต้อง admit ที่ไหน เตียงจะหาได้ไหมนั่นเอง โดยสรุป เชื่อว่า ที่เห็นยอด 4000 คน/วันนั้น อาจจะไม่ใช่ยอดที่แท้จริง เพราะถ้าตรวจได้มากพอ อาจจะยอดติดเชื้อจริงสูงมากกว่านี้
เคยมีคนพูดเรื่องระบบประสานงา(น) ที่รัฐบาลบอกว่า positive แล้วสามารถนำผู้ป่วยที่ positive เอาเข้า pool กลางผ่านระบบ co-linkได้ แต่ !!! เอาจริง ๆ นะ ระบบประสานงานถ้ามันดีจริงนะ แล้วทำไมพอส่งไป คนไข้ก็ยังบ่นว่ารอเตียงอยู่นาน (จะเห็นว่าถึงกับต้องให้ดารา หรือ influencer หรือสื่อต่าง ๆ ช่วยประสานหาเตียงให้อีกหลายๆ คน) และหลาย ๆ ครั้งเองที่หลาย ๆ โรงพยาบาลส่งโควต้ารายชื่อเข้าระบบส่วนกลางเพื่อหาเตียง ตามความรุนแรงหนักเบา
แต่พอส่งๆ ไป ปรากฏว่า คนไข้ไม่ได้ admit 3-4 วันจนอาการแย่ลง ท้ายสุด จนท ก็บอกปลายสายว่า “swab ที่ไหน ก็ไปนอนที่นั่นค่ะ” อ้าว พอแบบนี้ รพ หลาย ๆ ที่ก็ไม่กล้าตรวจเยอะสิ เพราะถ้าตรวจเยอะเกินกว่าศักยภาพในการรับ admit ผู้ป่วยได้ แล้วจะทำไง เพราะส่งส่วนกลางไป ก็วนกลับมาที่เก่าเหมือนบูมเมอแรง เหมือนกินซูชิหมุนเลยที่ส่งไปแต่ไม่มีใคร(ยอม)คับ จนวนกลับมาที่เดิม
บางโรงพยาบาลเริ่มบอกว่า “เราไม่รับตรวจแล้ว ให้ท่านไปตรวจที่อื่นเอง” เกิดปรากฏการณ์ผึ้งแตกรัง คนต้องดิ้นรนกระจายตัวไปหาตรวจเอง แล้วพอเกิดการเดินทางไปๆมาๆ การแพร่กระจายเชื้อโรคก็ยิ่งไปกันใหญ่สิ คุมไม่ได้แน่ ๆ
ทีนี้พอเตียงเต็ม/ล้น/ไม่พอ (แต่ก็งงที่รัฐชอบบอกว่ามีเตียงทิพย์ตลอดเวลา) คนไข้จากที่เป็นสีเขียว ก็กลายเป็นสีเหลือง จากสีเหลือง ก็กลายเป็นสีส้ม แดง พอส้ม หรือแดง (อาการหนัก) …ก็ต้องใช้ ICU/intermediate ward ต้องใช้ รพ. ศักยภาพสูงมากอีก แต่เตียง ICU มันเต็มๆๆๆๆๆ จริงๆ เพราะ ICU 1 case นอนทีกินเตียง 2-4 weeks กันอย่างน้อย บางคนนอน 2 เดือน บางคนเอาท่อช่วยหายใจออกไม่ได้ ต้องเจาะคอ
จะเพิ่มศักยภาพอย่างไร ก็ไม่มีทางทำได้แล้ว พยาบาล หมอก็มีเท่าเดิม (และมีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ เพราะบางส่วนก็ติดเชื้อด้วย) จะเปิด รพ.สนามเพิ่มอีกกี่ที่ ก็ไม่ไหว ไม่มีคนแล้วววววว ระบบ node ที่จะส่งต่อเคสที่หนักเมื่อเกินศักยภาพของแต่ละรพ. ก็เริ่มติดขัดฝืดเคืองมากขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดก็ไปต่อไม่ได้
ล่าสุดมีศูนย์ nursing home แห่งหนึ่งที่ติดเชื้อกว่า 40 คน และผู้สูงอายุอายุ 80-90 ปี ทยอยแย่ลงเรื่อยๆ แต่ไม่สามารถรับเข้าไปรักษาใน รพ.ได้อีกแล้ว ในที่สุดมีผู้ป่วยบางส่วนเริ่มทยอยสิ้นลม และเปลี่ยนเป็นสถานที่ดูแลระยะสุดท้าย (palliative care) เหมือนในต่างประเทศที่เคยปรากฏมา และมันกำลังจะเกิดแบบนี้ในทุกๆ ที่
ปัญหาการหาเตียง ทั้งสามัญและ ICU ในตอนนี้ของ กทม.และปริมณฑลนั้นคือวิกฤตมากๆๆๆๆ และเราอาจจะเป็นแบบที่อินเดียประสบพบในไม่ช้านี้ และนี่คือยังไม่นับว่าสายพันธุ์เดลต้า (น้องอินเดีย) กำลังจะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดกับสายพันธุ์เบต้า (น้องแอฟริกาใต้) จากเจ้าตลาดเดิม (สายพันธุ์อัลฟา น้องอังกฤษ) ตอนนั้น คิดไม่ออกเลยว่าจะเป็นเช่นไร
รัฐเคยดีใจกับอันดับ 6 ในการรักษา/จัดการ covid-19 แต่ตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อรายวันของเราแซงหน้าสหรัฐอเมริกาไปแล้ว …. จากวันละ 2 แสนคน/วัน เหลือแค่หลักพัน หลังฉีด high potency vaccine อย่าง Pfizer/Moderna/JJ ไปกว่า 150 ล้านโดส
กลับมามองที่เรา เราใช้ sinoVac (ที่มาแบบซื้อง่ายขายคล่อง)/ Astra (ที่มาแบบจำกัดจำเขี่ย) และอัตราการฉีดแบบม้าตีนต้น และจำนวนการฉีดยังน้อยมาก ๆ และยังงงว่า ทำไมไม่หา 2P modification vaccine ที่สามารถต่อกรกับสายพันธุ์ใหม่ๆได้อย่าง Pfizer/Moderna/JJ มาให้ไวกว่านี้ เค้าว่า ๆ เราจะได้ Q4 (แต่ทำไมประเทศอื่นๆ deal ได้ก่อนเรามากๆ?)
ผมไม่เคยเชื่อว่าเราจะเปิดประเทศด้วย sinoVac ได้เลย เพราะเราก็เห็นตัวอย่างมากมายที่ฉีด sinoVac แล้วต้องกลับมา lock down กันมากมาย เหมือนที่ผมเคยได้กล่าวไว้หลายเดือนก่อน ช่วง vaccine forum และผมคิดว่า อะไรที่เรายังไม่มีข้อมูล ถ้าเป็นนักวิชาการที่ยังซื่อสัตย์กับ profession ของตัวเอง ก็จงอย่าพูดอะไรที่ยังไม่มีแม้แต่งานวิจัย หรือ publication มาพูด
เพราะไอ้ของที่ดี มีงานวิจัยรองรับมาก ๆ มีข้อมูล real world setting ดี ๆมาชัดเจน ประสบการณ์ใช้ที่มากพอ ทำไมไม่ยอมพูด ไม่ยอมใช้ และไม่ยอมพูดตามข้อมูลความจริงที่มีปรากฏ จนงงว่า เราจะนำพาประเทศไปแบบนี้หรือ
เราอยากมีคนอย่าง Dr Fauci ที่คอยให้คำปรึกษากับผู้มีอำนาจของประเทศไทย และเราก็ยังหวังลึก ๆ ว่าเราจะมีคนแบบนี้มานำพาให้เราพ้นวิกฤตได้จริง
ใครขี้เกียจอ่าน สรุปในประโยคสั้นๆ ว่า “ทีมบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้ากำลังต่อสู้สงครามประหนึ่งชาวบ้านบางระจัน ที่ใส่ชุดตะเบงมานและเอาจอบ ขวาน มีด มาสู้ศึก ขอปืนใหญ่ไปแต่ไม่ได้มา ได้แต่ปืนแก๊บ และตอนนี้พยายามหล่อปืน ตีดาบใช้ตามมีตามเกิด” อาเมน
https://www.facebook.com/nungtoxic/posts/4187134071325226
สธ. ลดนอน รพ.เหลือ 10 วัน ดันคนไข้กลับบ้าน เคลียร์เตียงรับวิกฤติ
https://www.prachachat.net/general/news-697189
สธ. ลดนอนโรงพยาบาลเหลือ 10 วัน จากมาตรฐานเดิม 14 วัน กักตัว-แยกตัวที่บ้าน 4 วัน เตรียมแผนชะลอแพทย์ศึกษาต่อ ระดมพยาบาลต่างจังหวัดดูแลผู้ป่วยสีแดง อาการหนัก
วันที่ 24 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์เตียงคนไข้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ อยู่ในภาวะวิกฤติ ไม่เพียงพอต่อการรับคนไข้เพิ่ม หลายโรงพยาบาลปิดรับคนไข้ และเร่งรัดให้คนไข้ออกจากโรงพยาบาล ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นมากในแต่ละวัน ทำให้ปัญหาเตียงไม่เพียงพอและวิกฤตการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ไม่สามารถขยายเตียงรองรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้ สถานการณ์เตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐ ทุกระดับสีขณะนี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เต็มศักยภาพการรับผู้ป่วยรายใหม่แล้ว
ล่าสุด นายแพทย์
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ ในประเด็นดังกล่าว ผ่านรายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ช่อง 9 อสทม. ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
พิธีกรรายการ ได้หยิบยกโพสต์เฟซบุ๊กของ “
หมอแล็บแพนด้า” ซึ่งเป็นบัญชีผู้ใช้ของ ทนพ.
ภาคภูมิ เดชหัสดิน หรือ “
หมอแม็กซ์” นักเทคนิคการแพทย์ หัวหน้างานตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตโซวิธีอณูชีววิทยาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระบุว่า ที่มีประชาชนแจ้งปัญหาว่าตนเองติดเชื้อโควิด และนอนรออยู่ที่บ้าน เนื่องจากยังไม่มีเตียง
รวมไปถึง ศ.นพ.
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “
หมอธีระวัฒน์” หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แสดงความเห็นเรื่องเตียงผู้ป่วยโควิดผ่านเฟซบุ๊กเช่นกัน ระบุว่า
หน่วยคัดกรองของ จุฬาฯ ปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 24-27 มิถุนายน ทำให้ไม่มีเตียงรับผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยก็มาแจ้งที่จุดบริการฉุกเฉิน หรือ ER อยู่แล้ว เพราะไปที่อื่นก็ไม่ได้รับการตรวจเช่นกัน เนื่องจากหากตรวจพบเชื้อก็ต้องรับผู้ป่วยดูแล แต่ทางโรงพยาบาลก็ไม่มีเตียงอยู่ดี จึงกลายเป็นผู้ป่วยมีอาการก่อน แล้วจึงมาจุดฉุกเฉิน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีอาการปอดบวมแล้ว และทุกโรงพยาบาลน่าจะเหมือนกันหมด
https://www.facebook.com/MTlikesara/posts/349406069876195
‘แอร์เอเชีย’จี้รัฐอัดฉีดเงินกระตุ้นท่องเที่ยว หนุนรูทบินในประเทศฟื้นตัว30%
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945079
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ภายในประเทศยังคงยืดเยื้อและส่อลากยาว! จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันยังสูงจนคนไทยหวาดหวั่น ไม่กล้าออกเดินทางท่องเที่ยว ส่งผลให้ธุรกิจ “สายการบิน” หลายแห่งต้องปรับลดจำนวนเที่ยวบินในประเทศสอดรับกับดีมานด์ที่หดหาย!
ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชียเอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นใหญ่ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เล่าว่า สถานการณ์เที่ยวบินในประเทศของ “ไทยแอร์เอเชีย” ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 โดยเดือน มิ.ย.นี้ใช้เครื่องบินทำการบิน 5 ลำ จากที่มีฝูงบินกว่า 60 ลำ เท่ากับเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาซึ่งใช้เครื่องบินไม่เกิน 5 ลำเช่นกัน โดยอัตราการขนส่งผู้โดยสาร (โหลดแฟคเตอร์) อยู่ที่ประมาณ 50-60% จากการให้บริการไปยังจังหวัดละแค่ 1-2 เที่ยวบินต่อวัน บางจังหวัดให้บริการแบบวันเว้นวันด้วยซ้ำในตอนนี้
“ส่วนการเพิ่มเที่ยวบินในเดือน ก.ค.นี้ต้องดูผลจากมาตรการผ่อนคลายของ ศบค.ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มเติม ซึ่งต้องมาพร้อมกับการกระจายฉีดวัคซีนแก่คนไทยมากขึ้น ถึงจะหนุนภาพการเดินทางด้วยเครื่องบินฟื้นตัว หากสามารถเร่งฉีดวัคซีนได้มากเท่าไร ก็ผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น”
ภาพรวมแผนการทำตลาดของไทยแอร์เอเชียในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 จึงยังไม่เน้นเชิงรุก เพราะตลาดการเดินทางในประเทศยังไม่เปิดเต็มที่ ยังต้องจับตาดูภาพรวมของธุรกิจท่องเที่ยว บริการ โรงแรม ร้านอาหาร และอื่นๆ ด้วยว่ามีการเปิดให้บริการมากน้อยแค่ไหน กล่าวคือต้องมีการเปิดให้บริการแบบ “ครบวงจร” ภายใต้มาตรการรักษาระยะห่าง จากนั้นไทยแอร์เอเชียถึงจะพิจารณาเพิ่มเที่ยวบิน
โดยมองว่ายังคงไม่เห็นภาพธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการแบบพรึ่บเดียว!ในช่วงนี้ เพราะการเดินทางตอนนี้น้อยมาก ประกอบกับคนไม่ค่อยมีกำลังซื้อด้านท่องเที่ยวแล้วด้วย รัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการออกมากระตุ้นเพิ่ม! นอกเหนือจากโครงการ “
เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” และโครงการ “
ทัวร์เที่ยวไทย” เพราะหากมีโครงการใหม่ๆ ที่จะช่วยอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนแก่ภาคท่องเที่ยวก็นับว่ายิ่งดี!
JJNY : หมอรามาเผยอาจจะเป็นแบบอินเดียในไม่ช้านี้│สธ.ลดนอนรพ.│จี้อัดเงินกระตุ้นท่องเที่ยว│'ปดิพัทธ์'ซัดพปชร.หวังกินรวบ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6471119
หมอรามา เผยเตียงในกทม.-ปริมณฑลขั้นวิกฤตแล้ว อาจจะเป็นแบบอินเดียในไม่ช้านี้ ห่วงยอดผู้ติดเชื้อใหม่ อาจไม่ตรงกับความจริง หลายแห่งเริ่มไม่ยอมตรวจโควิดแล้ว
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.64 นพ.ศุภโชค เกิดลาภ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊กบอกเล่าการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่กำลังทำสงครามกับโควิด โดยเชื่อว่ายอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 4,000 คน อาจไม่ใช่ยอดที่แท้จริง เพราะหลายแห่งไม่ยอมตรวจให้คนไข้ เพราะกังวลว่าจะต้องหาเตียงให้ ข้อความทั้งหมดมีดังนี้
จะขออนุญาตมาอัพเดตสถานการณ์ให้ฟัง (ยาวมากๆใครอ่านไม่ไหว ให้ดูย่อหน้าท้าย) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จะสังเกตว่ายอดคนไข้ใหม่รายวันนั้นไม่ลดลงเลย มีแต่จะเพิ่มเรื่อย ๆ และแนวโน้ม admit ต่อวันก็ยังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
Testing: PCR swab: หลายๆที่ก็ทำการตรวจได้จำกัด และบางสถานพยาบาลได้จำกัดการตรวจต่อวันจริง (ซึ่งเข้าใจและเห็นใจ เพราะบางรพ.ตรวจกันจนเกินศักยภาพที่เจ้าหน้าที่จะทำไหวแล้ว)
แต่ก็มีบางที่ที่ไม่ยอมตรวจให้คนไข้ เพราะก็กังวลว่าถ้า positive แล้ว จะให้ไปอยู่ที่ไหน จะต้อง admit ที่ไหน เตียงจะหาได้ไหมนั่นเอง โดยสรุป เชื่อว่า ที่เห็นยอด 4000 คน/วันนั้น อาจจะไม่ใช่ยอดที่แท้จริง เพราะถ้าตรวจได้มากพอ อาจจะยอดติดเชื้อจริงสูงมากกว่านี้
เคยมีคนพูดเรื่องระบบประสานงา(น) ที่รัฐบาลบอกว่า positive แล้วสามารถนำผู้ป่วยที่ positive เอาเข้า pool กลางผ่านระบบ co-linkได้ แต่ !!! เอาจริง ๆ นะ ระบบประสานงานถ้ามันดีจริงนะ แล้วทำไมพอส่งไป คนไข้ก็ยังบ่นว่ารอเตียงอยู่นาน (จะเห็นว่าถึงกับต้องให้ดารา หรือ influencer หรือสื่อต่าง ๆ ช่วยประสานหาเตียงให้อีกหลายๆ คน) และหลาย ๆ ครั้งเองที่หลาย ๆ โรงพยาบาลส่งโควต้ารายชื่อเข้าระบบส่วนกลางเพื่อหาเตียง ตามความรุนแรงหนักเบา
แต่พอส่งๆ ไป ปรากฏว่า คนไข้ไม่ได้ admit 3-4 วันจนอาการแย่ลง ท้ายสุด จนท ก็บอกปลายสายว่า “swab ที่ไหน ก็ไปนอนที่นั่นค่ะ” อ้าว พอแบบนี้ รพ หลาย ๆ ที่ก็ไม่กล้าตรวจเยอะสิ เพราะถ้าตรวจเยอะเกินกว่าศักยภาพในการรับ admit ผู้ป่วยได้ แล้วจะทำไง เพราะส่งส่วนกลางไป ก็วนกลับมาที่เก่าเหมือนบูมเมอแรง เหมือนกินซูชิหมุนเลยที่ส่งไปแต่ไม่มีใคร(ยอม)คับ จนวนกลับมาที่เดิม
บางโรงพยาบาลเริ่มบอกว่า “เราไม่รับตรวจแล้ว ให้ท่านไปตรวจที่อื่นเอง” เกิดปรากฏการณ์ผึ้งแตกรัง คนต้องดิ้นรนกระจายตัวไปหาตรวจเอง แล้วพอเกิดการเดินทางไปๆมาๆ การแพร่กระจายเชื้อโรคก็ยิ่งไปกันใหญ่สิ คุมไม่ได้แน่ ๆ
ทีนี้พอเตียงเต็ม/ล้น/ไม่พอ (แต่ก็งงที่รัฐชอบบอกว่ามีเตียงทิพย์ตลอดเวลา) คนไข้จากที่เป็นสีเขียว ก็กลายเป็นสีเหลือง จากสีเหลือง ก็กลายเป็นสีส้ม แดง พอส้ม หรือแดง (อาการหนัก) …ก็ต้องใช้ ICU/intermediate ward ต้องใช้ รพ. ศักยภาพสูงมากอีก แต่เตียง ICU มันเต็มๆๆๆๆๆ จริงๆ เพราะ ICU 1 case นอนทีกินเตียง 2-4 weeks กันอย่างน้อย บางคนนอน 2 เดือน บางคนเอาท่อช่วยหายใจออกไม่ได้ ต้องเจาะคอ
จะเพิ่มศักยภาพอย่างไร ก็ไม่มีทางทำได้แล้ว พยาบาล หมอก็มีเท่าเดิม (และมีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ เพราะบางส่วนก็ติดเชื้อด้วย) จะเปิด รพ.สนามเพิ่มอีกกี่ที่ ก็ไม่ไหว ไม่มีคนแล้วววววว ระบบ node ที่จะส่งต่อเคสที่หนักเมื่อเกินศักยภาพของแต่ละรพ. ก็เริ่มติดขัดฝืดเคืองมากขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดก็ไปต่อไม่ได้
ล่าสุดมีศูนย์ nursing home แห่งหนึ่งที่ติดเชื้อกว่า 40 คน และผู้สูงอายุอายุ 80-90 ปี ทยอยแย่ลงเรื่อยๆ แต่ไม่สามารถรับเข้าไปรักษาใน รพ.ได้อีกแล้ว ในที่สุดมีผู้ป่วยบางส่วนเริ่มทยอยสิ้นลม และเปลี่ยนเป็นสถานที่ดูแลระยะสุดท้าย (palliative care) เหมือนในต่างประเทศที่เคยปรากฏมา และมันกำลังจะเกิดแบบนี้ในทุกๆ ที่
ปัญหาการหาเตียง ทั้งสามัญและ ICU ในตอนนี้ของ กทม.และปริมณฑลนั้นคือวิกฤตมากๆๆๆๆ และเราอาจจะเป็นแบบที่อินเดียประสบพบในไม่ช้านี้ และนี่คือยังไม่นับว่าสายพันธุ์เดลต้า (น้องอินเดีย) กำลังจะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดกับสายพันธุ์เบต้า (น้องแอฟริกาใต้) จากเจ้าตลาดเดิม (สายพันธุ์อัลฟา น้องอังกฤษ) ตอนนั้น คิดไม่ออกเลยว่าจะเป็นเช่นไร
รัฐเคยดีใจกับอันดับ 6 ในการรักษา/จัดการ covid-19 แต่ตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อรายวันของเราแซงหน้าสหรัฐอเมริกาไปแล้ว …. จากวันละ 2 แสนคน/วัน เหลือแค่หลักพัน หลังฉีด high potency vaccine อย่าง Pfizer/Moderna/JJ ไปกว่า 150 ล้านโดส
กลับมามองที่เรา เราใช้ sinoVac (ที่มาแบบซื้อง่ายขายคล่อง)/ Astra (ที่มาแบบจำกัดจำเขี่ย) และอัตราการฉีดแบบม้าตีนต้น และจำนวนการฉีดยังน้อยมาก ๆ และยังงงว่า ทำไมไม่หา 2P modification vaccine ที่สามารถต่อกรกับสายพันธุ์ใหม่ๆได้อย่าง Pfizer/Moderna/JJ มาให้ไวกว่านี้ เค้าว่า ๆ เราจะได้ Q4 (แต่ทำไมประเทศอื่นๆ deal ได้ก่อนเรามากๆ?)
ผมไม่เคยเชื่อว่าเราจะเปิดประเทศด้วย sinoVac ได้เลย เพราะเราก็เห็นตัวอย่างมากมายที่ฉีด sinoVac แล้วต้องกลับมา lock down กันมากมาย เหมือนที่ผมเคยได้กล่าวไว้หลายเดือนก่อน ช่วง vaccine forum และผมคิดว่า อะไรที่เรายังไม่มีข้อมูล ถ้าเป็นนักวิชาการที่ยังซื่อสัตย์กับ profession ของตัวเอง ก็จงอย่าพูดอะไรที่ยังไม่มีแม้แต่งานวิจัย หรือ publication มาพูด
เพราะไอ้ของที่ดี มีงานวิจัยรองรับมาก ๆ มีข้อมูล real world setting ดี ๆมาชัดเจน ประสบการณ์ใช้ที่มากพอ ทำไมไม่ยอมพูด ไม่ยอมใช้ และไม่ยอมพูดตามข้อมูลความจริงที่มีปรากฏ จนงงว่า เราจะนำพาประเทศไปแบบนี้หรือ
เราอยากมีคนอย่าง Dr Fauci ที่คอยให้คำปรึกษากับผู้มีอำนาจของประเทศไทย และเราก็ยังหวังลึก ๆ ว่าเราจะมีคนแบบนี้มานำพาให้เราพ้นวิกฤตได้จริง
ใครขี้เกียจอ่าน สรุปในประโยคสั้นๆ ว่า “ทีมบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้ากำลังต่อสู้สงครามประหนึ่งชาวบ้านบางระจัน ที่ใส่ชุดตะเบงมานและเอาจอบ ขวาน มีด มาสู้ศึก ขอปืนใหญ่ไปแต่ไม่ได้มา ได้แต่ปืนแก๊บ และตอนนี้พยายามหล่อปืน ตีดาบใช้ตามมีตามเกิด” อาเมน
https://www.facebook.com/nungtoxic/posts/4187134071325226
สธ. ลดนอน รพ.เหลือ 10 วัน ดันคนไข้กลับบ้าน เคลียร์เตียงรับวิกฤติ
https://www.prachachat.net/general/news-697189
สธ. ลดนอนโรงพยาบาลเหลือ 10 วัน จากมาตรฐานเดิม 14 วัน กักตัว-แยกตัวที่บ้าน 4 วัน เตรียมแผนชะลอแพทย์ศึกษาต่อ ระดมพยาบาลต่างจังหวัดดูแลผู้ป่วยสีแดง อาการหนัก
วันที่ 24 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์เตียงคนไข้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ อยู่ในภาวะวิกฤติ ไม่เพียงพอต่อการรับคนไข้เพิ่ม หลายโรงพยาบาลปิดรับคนไข้ และเร่งรัดให้คนไข้ออกจากโรงพยาบาล ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นมากในแต่ละวัน ทำให้ปัญหาเตียงไม่เพียงพอและวิกฤตการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ไม่สามารถขยายเตียงรองรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้ สถานการณ์เตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐ ทุกระดับสีขณะนี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เต็มศักยภาพการรับผู้ป่วยรายใหม่แล้ว
ล่าสุด นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ ในประเด็นดังกล่าว ผ่านรายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ช่อง 9 อสทม. ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
พิธีกรรายการ ได้หยิบยกโพสต์เฟซบุ๊กของ “หมอแล็บแพนด้า” ซึ่งเป็นบัญชีผู้ใช้ของ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน หรือ “หมอแม็กซ์” นักเทคนิคการแพทย์ หัวหน้างานตรวจโรคติดเชื้อทางโลหิตโซวิธีอณูชีววิทยาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระบุว่า ที่มีประชาชนแจ้งปัญหาว่าตนเองติดเชื้อโควิด และนอนรออยู่ที่บ้าน เนื่องจากยังไม่มีเตียง
รวมไปถึง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอธีระวัฒน์” หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แสดงความเห็นเรื่องเตียงผู้ป่วยโควิดผ่านเฟซบุ๊กเช่นกัน ระบุว่า
หน่วยคัดกรองของ จุฬาฯ ปิดบริการ ตั้งแต่วันที่ 24-27 มิถุนายน ทำให้ไม่มีเตียงรับผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยก็มาแจ้งที่จุดบริการฉุกเฉิน หรือ ER อยู่แล้ว เพราะไปที่อื่นก็ไม่ได้รับการตรวจเช่นกัน เนื่องจากหากตรวจพบเชื้อก็ต้องรับผู้ป่วยดูแล แต่ทางโรงพยาบาลก็ไม่มีเตียงอยู่ดี จึงกลายเป็นผู้ป่วยมีอาการก่อน แล้วจึงมาจุดฉุกเฉิน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีอาการปอดบวมแล้ว และทุกโรงพยาบาลน่าจะเหมือนกันหมด
https://www.facebook.com/MTlikesara/posts/349406069876195
‘แอร์เอเชีย’จี้รัฐอัดฉีดเงินกระตุ้นท่องเที่ยว หนุนรูทบินในประเทศฟื้นตัว30%
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945079
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ภายในประเทศยังคงยืดเยื้อและส่อลากยาว! จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันยังสูงจนคนไทยหวาดหวั่น ไม่กล้าออกเดินทางท่องเที่ยว ส่งผลให้ธุรกิจ “สายการบิน” หลายแห่งต้องปรับลดจำนวนเที่ยวบินในประเทศสอดรับกับดีมานด์ที่หดหาย!
ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชียเอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นใหญ่ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย เล่าว่า สถานการณ์เที่ยวบินในประเทศของ “ไทยแอร์เอเชีย” ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 โดยเดือน มิ.ย.นี้ใช้เครื่องบินทำการบิน 5 ลำ จากที่มีฝูงบินกว่า 60 ลำ เท่ากับเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาซึ่งใช้เครื่องบินไม่เกิน 5 ลำเช่นกัน โดยอัตราการขนส่งผู้โดยสาร (โหลดแฟคเตอร์) อยู่ที่ประมาณ 50-60% จากการให้บริการไปยังจังหวัดละแค่ 1-2 เที่ยวบินต่อวัน บางจังหวัดให้บริการแบบวันเว้นวันด้วยซ้ำในตอนนี้
“ส่วนการเพิ่มเที่ยวบินในเดือน ก.ค.นี้ต้องดูผลจากมาตรการผ่อนคลายของ ศบค.ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มเติม ซึ่งต้องมาพร้อมกับการกระจายฉีดวัคซีนแก่คนไทยมากขึ้น ถึงจะหนุนภาพการเดินทางด้วยเครื่องบินฟื้นตัว หากสามารถเร่งฉีดวัคซีนได้มากเท่าไร ก็ผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น”
ภาพรวมแผนการทำตลาดของไทยแอร์เอเชียในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 จึงยังไม่เน้นเชิงรุก เพราะตลาดการเดินทางในประเทศยังไม่เปิดเต็มที่ ยังต้องจับตาดูภาพรวมของธุรกิจท่องเที่ยว บริการ โรงแรม ร้านอาหาร และอื่นๆ ด้วยว่ามีการเปิดให้บริการมากน้อยแค่ไหน กล่าวคือต้องมีการเปิดให้บริการแบบ “ครบวงจร” ภายใต้มาตรการรักษาระยะห่าง จากนั้นไทยแอร์เอเชียถึงจะพิจารณาเพิ่มเที่ยวบิน
โดยมองว่ายังคงไม่เห็นภาพธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการแบบพรึ่บเดียว!ในช่วงนี้ เพราะการเดินทางตอนนี้น้อยมาก ประกอบกับคนไม่ค่อยมีกำลังซื้อด้านท่องเที่ยวแล้วด้วย รัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการออกมากระตุ้นเพิ่ม! นอกเหนือจากโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3” และโครงการ “ทัวร์เที่ยวไทย” เพราะหากมีโครงการใหม่ๆ ที่จะช่วยอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนแก่ภาคท่องเที่ยวก็นับว่ายิ่งดี!