พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) หรือพระบวรราชวัง สมัยรัชกาลที่ 4 พระราชวังสำคัญอันดับ 2 รองจากพระบรมมหาราชวัง น่าจะเป็นพระราชวังเดียวนอกจากวังหลวงที่ปรากฎหลักฐานการมีกำแพงเป็นป้อมปราการสมบูรณ์แบบ ตั้งเป็นคู่กันคั่นด้วยวัดมหาธาตุและท้องสนามหลวง
ตั้งแต่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ก่อสร้างเพิ่มเติมจนโอ่อ่าที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 4 จนถูกรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังยกเลิกตำแหน่งอุปราช ความน่าสนใจของวังหน้าก็ไม่น้อยไปกว่าวังหลวงเท่าไหร่นัก และการถูกรื้อลงไปมากกว่า 80% นับว่าน่าเสียดายมาก
หลักฐานเท่าที่ปรากฎ ถือว่ามีค่อนข้างน้อย ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับวังหลวงมีมากพอสมควร วังหน้านั้นมีภาพถ่ายให้เห็นอาณาเขตดั้งเดิมไม่กี่ภาพเท่านั้น รวมไปถึงชื่อป้อม ชื่อประตูอีกด้วย โดยมีปรากฎเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ทั้งที่สำคัญขนาดนี้
ด้วยความที่ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยเห็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิสถานของกำแพง ป้อม ประตูพระราชวังบวรสถานมงคลเท่าไหร่เลย ที่เห็นมาหลายเว็บไซต์ก็เหมือนคัดลอกกันมาแบบงงๆ แม้แต่แผนที่ก็ดูค่อนข้างลำบาก
ผมพยายามรวบรวมข้อมูลที่หาได้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ด้วยความที่ไม่สามารถไปห้องสมุดได้ เลยอยากนำมาพูดคุย รวมถึงตั้งข้อสงสัยอีกเล็กน้อย
เริ่มด้วยภาพแผนที่พระราชวังบวรสถานมงคล ปี พ.ศ.2430 สองภาพ ที่หาได้จากอินเทอร์เน็ต (1.เพจเฟสบุ๊ค วังหน้า - Wang Na ได้รวบรวมไว้) (2.วิกิพีเดีย)
ซึ่งแผนที่ทั้งสอง ระบุแผนผังภายในวังหน้าค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นในที่ในไม่ช้าจะถูกรื้อลงทั้งหมด
แต่ทั้งสองฉบับ ก็ยังขาดข้อมูลบริเวณถนนข้างพระราชวังฝั่งริมแม่น้ำไปทั้งหมด
ต่อมาคือภาพแผนที่กรุงเทพ จ.ศ.1249
ในแผนที่ฉบับนี้ โฟกัสไปที่ส่วนวังหน้า โดยครอบคลุมกำแพงพระนครตั้งแต่ริมถนนมหาราช ยาวไปถึงเหนือคลองคูเมืองเดิม
ถึงแม้จะไม่มีการสำรวจเขตพระราชฐานชั้นในวังหน้า แต่ก็สามารถนำมาประกอบกันพอให้เห็นภาพได้
ด้วยความพยายามทำความเข้าใจในสัดส่วนต่างๆ ผมจึงพยายามลงสีบนรูปแผนที่ดังกล่าว เพื่อให้เห็นภาพการแบ่งเขตพระราชฐานชัดขึ้น
เส้นสีม่วง คือแนวกำแพงพระราชวังชั้นนอกส่วนที่กั้นเขตพระราชฐานชั้นนอก
เส้นสีเหลือง คือแนวกั้นเขตพระราชฐานชั้นนอกกับชั้นกลาง
เส้นสีชมพู คือแนวกั้นเขตพระราชฐานชั้นในกับบริเวณอื่นๆ
เส้นสีส้ม คือเขตวัดบวรสถานสุธาวาส
เส้นสีฟ้า คือแนวกำแพงแก้วหมู่พระวิมาน
เส้นสีส้มอ่อน คือพระที่นั่งต่างๆ
ด้วยความที่อุปกรณ์ค่อนข้างจำกัด ผมจึงลองพยายามเติมส่วนที่หายไป คือส่วนถนนระหว่างกำแพงพระนครกับกำแพงพระราชวัง ซึ่งปรากฎในแผนที่ จ.ศ.1249
(ต่อในความคิดเห็นนะครับ)
ชวนคุยเรื่องภูมิสถานวังหน้า ว่าด้วยกำแพง ประตู ป้อมปราการ + มีข้อสงสัย
ตั้งแต่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ก่อสร้างเพิ่มเติมจนโอ่อ่าที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 4 จนถูกรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังยกเลิกตำแหน่งอุปราช ความน่าสนใจของวังหน้าก็ไม่น้อยไปกว่าวังหลวงเท่าไหร่นัก และการถูกรื้อลงไปมากกว่า 80% นับว่าน่าเสียดายมาก
หลักฐานเท่าที่ปรากฎ ถือว่ามีค่อนข้างน้อย ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับวังหลวงมีมากพอสมควร วังหน้านั้นมีภาพถ่ายให้เห็นอาณาเขตดั้งเดิมไม่กี่ภาพเท่านั้น รวมไปถึงชื่อป้อม ชื่อประตูอีกด้วย โดยมีปรากฎเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ทั้งที่สำคัญขนาดนี้
ด้วยความที่ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยเห็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิสถานของกำแพง ป้อม ประตูพระราชวังบวรสถานมงคลเท่าไหร่เลย ที่เห็นมาหลายเว็บไซต์ก็เหมือนคัดลอกกันมาแบบงงๆ แม้แต่แผนที่ก็ดูค่อนข้างลำบาก
ผมพยายามรวบรวมข้อมูลที่หาได้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ด้วยความที่ไม่สามารถไปห้องสมุดได้ เลยอยากนำมาพูดคุย รวมถึงตั้งข้อสงสัยอีกเล็กน้อย
เริ่มด้วยภาพแผนที่พระราชวังบวรสถานมงคล ปี พ.ศ.2430 สองภาพ ที่หาได้จากอินเทอร์เน็ต (1.เพจเฟสบุ๊ค วังหน้า - Wang Na ได้รวบรวมไว้) (2.วิกิพีเดีย)
ซึ่งแผนที่ทั้งสอง ระบุแผนผังภายในวังหน้าค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นในที่ในไม่ช้าจะถูกรื้อลงทั้งหมด
แต่ทั้งสองฉบับ ก็ยังขาดข้อมูลบริเวณถนนข้างพระราชวังฝั่งริมแม่น้ำไปทั้งหมด
ต่อมาคือภาพแผนที่กรุงเทพ จ.ศ.1249
ในแผนที่ฉบับนี้ โฟกัสไปที่ส่วนวังหน้า โดยครอบคลุมกำแพงพระนครตั้งแต่ริมถนนมหาราช ยาวไปถึงเหนือคลองคูเมืองเดิม
ถึงแม้จะไม่มีการสำรวจเขตพระราชฐานชั้นในวังหน้า แต่ก็สามารถนำมาประกอบกันพอให้เห็นภาพได้
ด้วยความพยายามทำความเข้าใจในสัดส่วนต่างๆ ผมจึงพยายามลงสีบนรูปแผนที่ดังกล่าว เพื่อให้เห็นภาพการแบ่งเขตพระราชฐานชัดขึ้น
เส้นสีม่วง คือแนวกำแพงพระราชวังชั้นนอกส่วนที่กั้นเขตพระราชฐานชั้นนอก
เส้นสีเหลือง คือแนวกั้นเขตพระราชฐานชั้นนอกกับชั้นกลาง
เส้นสีชมพู คือแนวกั้นเขตพระราชฐานชั้นในกับบริเวณอื่นๆ
เส้นสีส้ม คือเขตวัดบวรสถานสุธาวาส
เส้นสีฟ้า คือแนวกำแพงแก้วหมู่พระวิมาน
เส้นสีส้มอ่อน คือพระที่นั่งต่างๆ
ด้วยความที่อุปกรณ์ค่อนข้างจำกัด ผมจึงลองพยายามเติมส่วนที่หายไป คือส่วนถนนระหว่างกำแพงพระนครกับกำแพงพระราชวัง ซึ่งปรากฎในแผนที่ จ.ศ.1249
(ต่อในความคิดเห็นนะครับ)