ฮ่องกงกังวล'ซิโนแวค'ภูมิไม่ดี 'หมอธีระวัฒน์'ชี้อาจมีเข็ม3
https://www.dailynews.co.th/regional/850930
หมอธีระวัฒน์ ชี้วัคซีนซิโนแวค ภูมิต้านทานขึ้นไม่ดีนัก อาจต้องฉีดเข็ม 3 หลัง ฮ่องกง เริ่มกังวล การป้องกันไม่ดีขึ้นกับแอนตี้บอดี้ในน้ำเหลือง แต่ยังช่วยไม่ให้ติดแล้วอาการหนักถึงตาย
เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ "
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" โพสต์ภาพและข้อความระบุว่า
"ฮ่องกง เริ่มกังวล เพราะภูมิจากซิโนแวคขึ้นไม่ดีนัก อาจต้องให้เข็ม 3 (professor Benjamin Cowling, an epidemiologist with the University of Hong Kong (HKU) ทั้งนี้ ย้ำว่า การป้องกันการติดแม้ว่าจะไม่ได้ขึ้นกับภูมิหรือแอนติบอดี้ในน้ำเหลืองอย่างเดียวก็ตาม แต่การที่มีภูมิสูงน่าจะปกป้องการติดได้มากกว่าและการปกป้องไม่ให้คนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีอาการหนักถึงเสียชีวิตก็ยังใช้กลไกอื่นมากกว่าแอนตี้บอดี้ แต่การที่ระดับภูมิในน้ำเหลืองหรือแอนตี้บอดี้นี้ต่ำกว่าวัคซีนอื่น mRNA ทำให้อาจต้องคำนึงถึงการใช้ เข็ม 3
Sinovac poorer Coronavirus: those with BioNTech jabs have stronger antibody response than those who receive Sinovac, Hong Kong study shows
https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3137955/coronavirus-those-biontech-jabs-have-stronger
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/4605208339512684
"หมอธีระ" เผยความเสี่ยงเปิดรับนทท. หากระบาดซ้ำจะเสียหายมหาศาล
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/83039/
"หมอธีระ" เผย 2 ความเสี่ยงเปิดประเทศรับนทท. ชี้หากระบาดซ้ำปลายปีและต้นปีหน้า ผลกระทบจะมากมายมหาศาล
วันนี้ (19 มิ.ย. 64) รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ว่า
"สถานการณ์ทั่วโลก 19 มิถุนายน 2564...
...รัสเซีย และประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกา สถานการณ์น่าเป็นห่วง...
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 391,879 คน รวมแล้วตอนนี้ 178,579,085 คน ตายเพิ่มอีก 8,378 คน ยอดตายรวม 3,866,522 คน
5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ บราซิล อินเดีย โคลอมเบีย อาร์เจนติน่า และรัสเซีย
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 11,659 คน รวม 34,391,183 คน ตายเพิ่ม 354 คน ยอดเสียชีวิตรวม 616,886 คน อัตราตาย 1.8%
อินเดีย ติดเพิ่ม 60,798 คน รวม 29,822,762 คน ตายเพิ่ม 1,269 คน ยอดเสียชีวิตรวม 385,167 คน อัตราตาย 1.3%
บราซิล ติดเพิ่ม 98,135 คน รวม 17,802,176 คน ตายเพิ่มถึง 2,449 คน ยอดเสียชีวิตรวม 498,621 คน อัตราตาย 2.8% แนวโน้มการระบาดของบราซิลค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนการติดเชื้อแต่ละวันและจำนวนเสียชีวิตต่อวันก็มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 3,181 คน ยอดรวม 5,752,872 คน ตายเพิ่ม 56 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,702 คน อัตราตาย 1.9%
ตุรกี ติดเพิ่ม 5,575 คน รวม 5,359,728 คน ตายเพิ่ม 59 คน ยอดเสียชีวิตรวม 49,071 คน อัตราตาย 0.9%
อันดับ 6-10 เป็น รัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี อาร์เจนติน่า และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลักหมื่น
รัสเซียเป็นระลอกสามขาขึ้นชัดเจน ล่าสุดติดเพิ่มถึง 17,262 คน สถานการณ์เหมือนช่วงปลายตุลาคมปีที่แล้ว หากคุมไม่อยู่ คาดว่าจะไปสู่พีคภายใน 4-6 สัปดาห์ถัดจากนี้ ระลอกสองนั้นเคยมียอดติดเชื้อต่อวันสูงเกือบสามหมื่นคน
พรุ่งนี้อาร์เจนติน่าจะแซงอิตาลีขึ้นเป็นอันดับ 8 ของโลกได้
แถบอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย อย่างชิลี โบลิเวีย แอฟริกาใต้ แซมเบีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา เนปาล ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพัน
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นคาซักสถาน และมองโกเลียที่ยังหลักพัน
การระบาดของมองโกเลียระลอกสองเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อวานติดเพิ่มอีกถึง 2,746 คน
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านที่เกินหมื่น ที่ต้องจับตามองคือ คิวบา คูเวต อัฟกานิสถาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจน
เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ลาว และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ออสเตรเลีย ฮ่องกง และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...ตอนนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวัน 17.3% และจำนวนเสียชีวิตในแต่ละวัน 17.8% มาจากทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือรวมกัน
ในขณะที่ส่วนใหญ่ถึง 82% ทั้งติดและตาย มาจากอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกา
ส่วนแถบโอเชียเนียทั้งติดและตายค่อนข้างน้อยมาก
...สำหรับไทยเรานั้น จาก Worldometer พบว่า ด้วยยอดเมื่อวานนี้ เรามีจำนวนติดเชื้อใหม่สูงเป็นอันดับที่ 9 จาก 49 ประเทศในทวีปเอเชีย ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตต่อวันนั้นสูงเป็นอันดับที่ 14
สิ้นสุดสัปดาห์หน้าน่าจะสามารถแซงอาร์เมเนียและกาตาร์ ขึ้นเป็นอันดับที่ 76 ได้
สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
หนึ่ง ด้วยสถานการณ์ที่เห็นในปัจจุบัน การระบาดยังกระจายไปทั่ว ยังควบคุมและตัดวงจรการระบาดไม่ได้ การติดเชื้อใหม่ระดับหลายพันต่อวันเช่นนี้ จะมีโอกาสปะทุแรงได้ทุก 4-6 สัปดาห์ ในระลอกสามนี้เราเจอมาสองครั้งแล้วคือกลางและปลายพฤษภาคม ครั้งถัดไปที่ควรจับตามองคือต้นถึงกลางกรกฎาคม
สิ่งที่ทำได้คือ ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เร่งตรวจคัดกรองโรคให้มากและต่อเนื่อง และเพลาๆ การออกมาตรการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก
สอง ควรทบทวนนโยบายการจัดซื้อวัคซีนสำหรับปี 2565 ในส่วนของ 50 ล้านโดสใหม่ โดยควรทำการเจรจาจองซื้อวัคซีน mRNA มาใช้ในประเทศ
สาม ลักษณะการระบาดที่เป็นอยู่ขณะนี้ และการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่กรกฎาคมในบางพื้นที่ จนเปิดประเทศในช่วงตุลาคมหรือพฤศจิกายน แม้จะมีการระดมฉีดวัคซีนให้มาก
แต่ส่วนใหญ่จะยังไม่สามารถได้รับครบโดส โดยหลักวิชาการแล้วโอกาสเกิดการระบาดซ้ำย่อมมีสูงมาก
สิ่งที่ประชาชนและผู้ประกอบการต่างๆ ควรวางแผนรับมือไว้คือ การดำรงชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวังในการลงทุน ทำอย่างพอเพียง ไม่ควรทุ่มหมดหน้าตัก และไม่ควรกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาลงทุนเต็มที่ เพราะความเสี่ยงสูงมาก และหัวใจสำคัญที่สุดในช่วงถัดจากนี้ คือ การใส่หน้ากาก
ความเสี่ยงจากการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามานั้น มี 2 ประการหลักคือ เสี่ยงต่อเชื้อกลายพันธุ์ที่นำเข้ามา และที่หนักกว่าคือ คนที่เข้ามามากขึ้น กิจการกิจกรรมต่างๆในสังคมจะมากขึ้น ทั้งจำนวนการพบปะกัน เวลาที่พบปะกัน และระยะที่ใกล้กันระหว่างการพูดคุยค้าขายหรือบริการ ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่พิสูจน์แล้วว่าทำให้ระบาดหนักได้ถึงได้รับวัคซีนแล้ว ก็ยังติดได้และนำพาเชื้อไปแพร่ให้คนอื่นทั้งใน ครอบครัว ที่ทำงาน และในสังคม
หากระบาดซ้ำปลายปีและต้นปีหน้า ผลกระทบจะมากมายมหาศาล ดังนั้นจึงต้องช่วยกันทำทุกทางไม่ให้มันเกิดขึ้น
...Opening country, Not mask...
ด้วยรักและห่วงใย
...สวัสดีวันเสาร์ครับ..."
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10222660584295753
อนามัยโลกกังวลเชื้อเดลตา 'จะมาเป็นสายพันธุ์หลัก'
https://www.dailynews.co.th/foreign/850942
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า เชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ "เดลตา" ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดีย "กำลังจะเป็นสายพันธุ์หลัก" ของสถานการณ์โรคโควิด-19 บนโลก
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ว่า พญ.
โสมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ บี16712 หรือสายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อปีที่แล้ว กำลังกลายเป็น "
สายพันธุ์หลัก" ที่จะระบาดไปทั่วโลก เนื่องจากมีอัตราการแพร่เชื้อในระดับสูงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ดับเบิลยูเอชโอมีความกังวลต่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ในทวีปแอฟริกา เนื่องจากแม้มีสัดส่วนผู้ป่วยสะสมรวมกันคิดเป็นเพียง 5% ของโลก และสัดส่วนผู้เสียชีวิตคิดเป็น 2% แต่การฉีดวัคซีนแทบไม่มีความคืบหน้า ในขณะที่นามิเบีย เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และรวันดา มีสถิติผู้ป่วยสะสมในรอบสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากรอบสัปดาห์ก่อนหน้า
นอกจากนี้ พญ.
สวามินาธาน กล่าวถึงผลการทดสอบวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ของบริษัทเคียวร์แวคจากเยอรมนี ซึ่งให้ประสิทธิผลในเบื้องต้นเพียง 47% จากการทดสอบระยะที่สาม กับกลุ่มตัวอย่างเกือบ 40,000 คน ในยุโรปและลาตินอเมริกา ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของดับเบิลยูเอชโอ ที่กำหนดไว้ในระดับ 50% สำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ว่าผลของเคียวร์แวค "
น่าประหลาดใจมาก" และสะท้อนว่า วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ "
ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด" แต่ดับเบิลยูเอชโอยังคง "
คาดหวังมากกว่านี้" จากเคียวร์แวค.
JJNY : ฮ่องกงกังวลซิโนแวค ภูมิไม่ดี│หมอธีระเผยความเสี่ยงเปิดรับนทท.│อนามัยโลกกังวลเชื้อเดลตา│ไบเดนประกาศฉีดวัคซีนสำเร็จ
https://www.dailynews.co.th/regional/850930
หมอธีระวัฒน์ ชี้วัคซีนซิโนแวค ภูมิต้านทานขึ้นไม่ดีนัก อาจต้องฉีดเข็ม 3 หลัง ฮ่องกง เริ่มกังวล การป้องกันไม่ดีขึ้นกับแอนตี้บอดี้ในน้ำเหลือง แต่ยังช่วยไม่ให้ติดแล้วอาการหนักถึงตาย
เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" โพสต์ภาพและข้อความระบุว่า
"ฮ่องกง เริ่มกังวล เพราะภูมิจากซิโนแวคขึ้นไม่ดีนัก อาจต้องให้เข็ม 3 (professor Benjamin Cowling, an epidemiologist with the University of Hong Kong (HKU) ทั้งนี้ ย้ำว่า การป้องกันการติดแม้ว่าจะไม่ได้ขึ้นกับภูมิหรือแอนติบอดี้ในน้ำเหลืองอย่างเดียวก็ตาม แต่การที่มีภูมิสูงน่าจะปกป้องการติดได้มากกว่าและการปกป้องไม่ให้คนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีอาการหนักถึงเสียชีวิตก็ยังใช้กลไกอื่นมากกว่าแอนตี้บอดี้ แต่การที่ระดับภูมิในน้ำเหลืองหรือแอนตี้บอดี้นี้ต่ำกว่าวัคซีนอื่น mRNA ทำให้อาจต้องคำนึงถึงการใช้ เข็ม 3
Sinovac poorer Coronavirus: those with BioNTech jabs have stronger antibody response than those who receive Sinovac, Hong Kong study shows
https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3137955/coronavirus-those-biontech-jabs-have-stronger
https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/4605208339512684
"หมอธีระ" เผยความเสี่ยงเปิดรับนทท. หากระบาดซ้ำจะเสียหายมหาศาล
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/83039/
"หมอธีระ" เผย 2 ความเสี่ยงเปิดประเทศรับนทท. ชี้หากระบาดซ้ำปลายปีและต้นปีหน้า ผลกระทบจะมากมายมหาศาล
วันนี้ (19 มิ.ย. 64) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ว่า
"สถานการณ์ทั่วโลก 19 มิถุนายน 2564...
...รัสเซีย และประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกา สถานการณ์น่าเป็นห่วง...
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 391,879 คน รวมแล้วตอนนี้ 178,579,085 คน ตายเพิ่มอีก 8,378 คน ยอดตายรวม 3,866,522 คน
5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ บราซิล อินเดีย โคลอมเบีย อาร์เจนติน่า และรัสเซีย
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 11,659 คน รวม 34,391,183 คน ตายเพิ่ม 354 คน ยอดเสียชีวิตรวม 616,886 คน อัตราตาย 1.8%
อินเดีย ติดเพิ่ม 60,798 คน รวม 29,822,762 คน ตายเพิ่ม 1,269 คน ยอดเสียชีวิตรวม 385,167 คน อัตราตาย 1.3%
บราซิล ติดเพิ่ม 98,135 คน รวม 17,802,176 คน ตายเพิ่มถึง 2,449 คน ยอดเสียชีวิตรวม 498,621 คน อัตราตาย 2.8% แนวโน้มการระบาดของบราซิลค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนการติดเชื้อแต่ละวันและจำนวนเสียชีวิตต่อวันก็มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 3,181 คน ยอดรวม 5,752,872 คน ตายเพิ่ม 56 คน ยอดเสียชีวิตรวม 110,702 คน อัตราตาย 1.9%
ตุรกี ติดเพิ่ม 5,575 คน รวม 5,359,728 คน ตายเพิ่ม 59 คน ยอดเสียชีวิตรวม 49,071 คน อัตราตาย 0.9%
อันดับ 6-10 เป็น รัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี อาร์เจนติน่า และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลักหมื่น
รัสเซียเป็นระลอกสามขาขึ้นชัดเจน ล่าสุดติดเพิ่มถึง 17,262 คน สถานการณ์เหมือนช่วงปลายตุลาคมปีที่แล้ว หากคุมไม่อยู่ คาดว่าจะไปสู่พีคภายใน 4-6 สัปดาห์ถัดจากนี้ ระลอกสองนั้นเคยมียอดติดเชื้อต่อวันสูงเกือบสามหมื่นคน
พรุ่งนี้อาร์เจนติน่าจะแซงอิตาลีขึ้นเป็นอันดับ 8 ของโลกได้
แถบอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย อย่างชิลี โบลิเวีย แอฟริกาใต้ แซมเบีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา เนปาล ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพัน
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นคาซักสถาน และมองโกเลียที่ยังหลักพัน
การระบาดของมองโกเลียระลอกสองเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อวานติดเพิ่มอีกถึง 2,746 คน
แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านที่เกินหมื่น ที่ต้องจับตามองคือ คิวบา คูเวต อัฟกานิสถาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจน
เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ลาว และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ออสเตรเลีย ฮ่องกง และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...ตอนนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวัน 17.3% และจำนวนเสียชีวิตในแต่ละวัน 17.8% มาจากทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือรวมกัน
ในขณะที่ส่วนใหญ่ถึง 82% ทั้งติดและตาย มาจากอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกา
ส่วนแถบโอเชียเนียทั้งติดและตายค่อนข้างน้อยมาก
...สำหรับไทยเรานั้น จาก Worldometer พบว่า ด้วยยอดเมื่อวานนี้ เรามีจำนวนติดเชื้อใหม่สูงเป็นอันดับที่ 9 จาก 49 ประเทศในทวีปเอเชีย ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตต่อวันนั้นสูงเป็นอันดับที่ 14
สิ้นสุดสัปดาห์หน้าน่าจะสามารถแซงอาร์เมเนียและกาตาร์ ขึ้นเป็นอันดับที่ 76 ได้
สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
หนึ่ง ด้วยสถานการณ์ที่เห็นในปัจจุบัน การระบาดยังกระจายไปทั่ว ยังควบคุมและตัดวงจรการระบาดไม่ได้ การติดเชื้อใหม่ระดับหลายพันต่อวันเช่นนี้ จะมีโอกาสปะทุแรงได้ทุก 4-6 สัปดาห์ ในระลอกสามนี้เราเจอมาสองครั้งแล้วคือกลางและปลายพฤษภาคม ครั้งถัดไปที่ควรจับตามองคือต้นถึงกลางกรกฎาคม
สิ่งที่ทำได้คือ ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เร่งตรวจคัดกรองโรคให้มากและต่อเนื่อง และเพลาๆ การออกมาตรการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก
สอง ควรทบทวนนโยบายการจัดซื้อวัคซีนสำหรับปี 2565 ในส่วนของ 50 ล้านโดสใหม่ โดยควรทำการเจรจาจองซื้อวัคซีน mRNA มาใช้ในประเทศ
สาม ลักษณะการระบาดที่เป็นอยู่ขณะนี้ และการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่กรกฎาคมในบางพื้นที่ จนเปิดประเทศในช่วงตุลาคมหรือพฤศจิกายน แม้จะมีการระดมฉีดวัคซีนให้มาก
แต่ส่วนใหญ่จะยังไม่สามารถได้รับครบโดส โดยหลักวิชาการแล้วโอกาสเกิดการระบาดซ้ำย่อมมีสูงมาก
สิ่งที่ประชาชนและผู้ประกอบการต่างๆ ควรวางแผนรับมือไว้คือ การดำรงชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวังในการลงทุน ทำอย่างพอเพียง ไม่ควรทุ่มหมดหน้าตัก และไม่ควรกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาลงทุนเต็มที่ เพราะความเสี่ยงสูงมาก และหัวใจสำคัญที่สุดในช่วงถัดจากนี้ คือ การใส่หน้ากาก
ความเสี่ยงจากการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามานั้น มี 2 ประการหลักคือ เสี่ยงต่อเชื้อกลายพันธุ์ที่นำเข้ามา และที่หนักกว่าคือ คนที่เข้ามามากขึ้น กิจการกิจกรรมต่างๆในสังคมจะมากขึ้น ทั้งจำนวนการพบปะกัน เวลาที่พบปะกัน และระยะที่ใกล้กันระหว่างการพูดคุยค้าขายหรือบริการ ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่พิสูจน์แล้วว่าทำให้ระบาดหนักได้ถึงได้รับวัคซีนแล้ว ก็ยังติดได้และนำพาเชื้อไปแพร่ให้คนอื่นทั้งใน ครอบครัว ที่ทำงาน และในสังคม
หากระบาดซ้ำปลายปีและต้นปีหน้า ผลกระทบจะมากมายมหาศาล ดังนั้นจึงต้องช่วยกันทำทุกทางไม่ให้มันเกิดขึ้น
...Opening country, Not mask...
ด้วยรักและห่วงใย
...สวัสดีวันเสาร์ครับ..."
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10222660584295753
อนามัยโลกกังวลเชื้อเดลตา 'จะมาเป็นสายพันธุ์หลัก'
https://www.dailynews.co.th/foreign/850942
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า เชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ "เดลตา" ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดีย "กำลังจะเป็นสายพันธุ์หลัก" ของสถานการณ์โรคโควิด-19 บนโลก
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ว่า พญ.โสมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ บี16712 หรือสายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อปีที่แล้ว กำลังกลายเป็น "สายพันธุ์หลัก" ที่จะระบาดไปทั่วโลก เนื่องจากมีอัตราการแพร่เชื้อในระดับสูงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ดับเบิลยูเอชโอมีความกังวลต่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ในทวีปแอฟริกา เนื่องจากแม้มีสัดส่วนผู้ป่วยสะสมรวมกันคิดเป็นเพียง 5% ของโลก และสัดส่วนผู้เสียชีวิตคิดเป็น 2% แต่การฉีดวัคซีนแทบไม่มีความคืบหน้า ในขณะที่นามิเบีย เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และรวันดา มีสถิติผู้ป่วยสะสมในรอบสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากรอบสัปดาห์ก่อนหน้า
นอกจากนี้ พญ.สวามินาธาน กล่าวถึงผลการทดสอบวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ของบริษัทเคียวร์แวคจากเยอรมนี ซึ่งให้ประสิทธิผลในเบื้องต้นเพียง 47% จากการทดสอบระยะที่สาม กับกลุ่มตัวอย่างเกือบ 40,000 คน ในยุโรปและลาตินอเมริกา ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของดับเบิลยูเอชโอ ที่กำหนดไว้ในระดับ 50% สำหรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ว่าผลของเคียวร์แวค "น่าประหลาดใจมาก" และสะท้อนว่า วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ "ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด" แต่ดับเบิลยูเอชโอยังคง "คาดหวังมากกว่านี้" จากเคียวร์แวค.