แผลฝีเย็บ คือ แผลที่เกิดจากการคลอดธรรมชาติ โดยจะอยู่ระหว่างทวารหนักและช่องคลอด ทั้งนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดบริเวณนั้นเพื่อช่วยขยายทางออกของทารก เมื่อเห็นว่าศีรษะของเด็กเริ่มโผล่ออกมาทางช่องคลอดแล้ว แพทย์จะกรีด ฝีเย็บ เพื่อเพิ่มความกว้างให้มากพอที่หัวของเด็กจะออกมาได้ ซึ่งการเปิดฝีเย็บนั้นจะเป็นการช่วยลดระยะเวลาในการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดความเจ็บปวดทรมานให้สั้นลง และป้องกันการฉีกขาดเองของบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้คุณแม่จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องดูแลบาดแผลหลังคลอด และป้องกันการติดเชื้ออันจะนำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ ตามมา
แผลฝีเย็บแผลหลังคลอด คุณแม่สามารถดูแลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง?
1. ลดอาการเจ็บจี๊ด ลดอาการปวด แผลฝีเย็บด้วยการประคบเย็น
เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านที่คลอดเองตามธรรมชาติค่อนข้างกังวลเรื่อ งแผลฝีเย็บว่า รอยแผลนั้นจะกลับมาสวยเหมือนเดิมไหม ปริหรือเปล่า แต่หลังคลอดวันแรก จะค่อนข้างบวม ฉะนั้น ให้ใส่ใจกับอาการอักเสบก่อน เพราะจะเจ็บค่อนข้างมาก คุณแม่สามารถให้คุณพ่อช่วยประคบแผลโดยการใช้อุปกรณ์ปฐมพยายามอย่าง เจลเย็นมาพันผ้าขนหนูบางๆ ค่อยๆ ประคบลงตรงแผล จะช่วยบรรเทาอาการบวม ส่วนเรื่องอาการปวดคุณแม่สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ค่ะ ไม่เป็นอันตรายต่อการให้นมบุตร
2. จัดหาหมอนรองนั่งเพื่อลดอาการเจ็บแผล
คุณแม่ลองหาซื้อหมอนรูปโดนัทวงใหญ่ที่คุณแม่กะว่านั่งลงบนหมอนแล้วไม่จมเกินไป ลองนั่งดูให้บริเวณช่องคลอดเราอยู่ตรงกลางรูพอดี เพื่อลดการสัมผัสแผลเวลาคุณแม่นั่ง สามารถใช้หมอนรูปโดนัทหรือห่วงยางเล็กๆ รองเก้าอี้ได้ วิธีนี้ช่วยลดอาหารเจ็บจี๊ดๆ เมื่อสัมผัสกับเก้าอี้ช่วงแรกๆ สักพักพอ แผลฝีเย็บอาการดีขึ้น ก็ไม่ต้องใช้หมอนโดนัทแล้วค่ะ
3. การทำความสะอาดแผลฝีเย็บสำคัญมาก
การทำความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของการดูแลแผลหลังคลอด ซึ่งควรทำอย่างเบามือและอ่อนโยนที่สุด คุณแม่ควรทำความสะอาดฝีเย็บอย่างน้อยวันละประมาณ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการอักอักเสบ โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ค่อยๆ เช็ดทำความสะอาดจาดด้านหน้าไปด้านหลังเบาๆ จากนั้นใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ถ้าใช้สำลีแห้งอาจจะทำให้ขนสำลีติดแผลได้ค่ะ ที่สำคัญเราไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดถึงแม้จะโฆษณาว่า เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่อ่อนโยนมากก็ตาม เพราะน้ำเปล่าสะอาดที่สุดแล้ว
4. อย่าใช้สายชำระทำความสะอาดแผลเป็นอันขาด
จริงอยู่บ้านเรานั้น สายชำระสำหรับทำความสะอาดหลังทำธุระเสร็จนั้นเป็นความเคยชินและคิดว่าสะอาดที่สุด แต่การสายชำระทำความสะอาดแผลอาจทำให้แผลฝีเย็บปริ อักเสบได้ค่ะ นอกจากนี้การทำความสะอาดหลังอุจจาระก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ คือ เช็ดจากหน้าไปหลังเท่านั้น ไม่ควรย้อนจากก้นมาด้านหน้า เพราะแผลอาจติดเชื้อจากการทำความสะอาดได้
5. เตรียมผ้าอนามัยไว้เปลี่ยนบ่อยๆ
หลังคลอด นอกจาก แผลฝีเย็บที่คุณแม่ต้องดูแลแล้ว น้ำคาวปลาก็คือสิ่งที่ต้องกังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่เพราะถ้าหากมีน้ำคาวปลาออกมามาก คุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อให้แผลแห้งสะอาดอยู่เสมอ ลดการสะสมเชื้อโรคจากความชื้นและการติดเชื้อที่อาจตามมาได้ค่ะ
6. คุณแม่พยายามเคลื่อนไหวให้ช้าลง
เนื่องจากแผลยังไม่หายดี เพื่อป้องการแตกปริของ แผลฝีเย็บอย่างที่แนะนำไปว่า ควรมีหมอนโดนัทมีรูปหรือหวงยางเล็กๆ ที่มีรูตรงกลางไว้รองนั่ง คุณแม่ไม่ควรนั่งขัดสมาธิกับพื้น ซึ่งถ้าหากต้องนั่งกับพื้นจริงๆ ให้ใช้หมอนดังกล่าวรองก้นไม่ให้แผลสัมผัสพื้น และไม่ว่าคุณแม่จะลุก เดิน นั่ง ต้องเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ อย่างเผลอวิ่งหรือก้าวขึ้นลงบันไดชันมากๆ เพราะการอ้าขามาก ๆ การก้าวไว ๆ จะทำให้แผลอักเสบได้ค่ะ
7. หลังคลอดควรงดมีเซ็กส์กับสามี
คุณแม่ต้องทำความเข้าใจกันระหว่างสามีภรรยาว่า ช่วงหลังคลอดนั้น อาจจะยังไม่เหมาะที่จะมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากรอยแผลฝีเย็บการดูแลลูก การดูแลร่างกายยังไม่พร้อมมากนัก ให้คุณสามีรอประมาณสัก 4-6 สัปดาห์หรือเดือนกว่าๆ เพื่อให้น้ำคาวปลาลดลงหรือหมดไปเลย เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างทั้งสองคนด เพราะไม่ว่าแผลฝีเย็บจะเย็บดีแล้ว แต่ก็อาจแตกปริระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ
แผลฝีเย็บและอาการหลังคลอดที่น่ากลัวเป็นอย่างไรคือสัญญาณบอกว่าควรพบแพทย์
1. ดูแลดีแล้ว แต่เจ็บและปวด แผลมากๆ
หากคุณแม่หลังคลอดที่ดูแลแผลฝีเย็บดีแล้ว แต่ยังมีอาการเจ็บอยู่ นั่นอาจเป็นเพราะเกิดการติดเชื้อ เพราะจริงๆ แล้ว อาการปวดแผลจะน้อยลงหลังจากคลอดแล้วประมาณ 3 – 4 วัน และอาการปวดจะหายไปภายเวลา 1 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าคุณแม่มีอาการปวดแผลมาก แผลบวมแดง เจ็บนั่งไม่ได้ ก็อาจเป็นไปได้ว่าแผลอาจจะมีอาการอักเสบ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อไม่ให้เชื้อลุกลามมากขึ้น
2. อาการท้องผูก
คุณแม่สงสัยใช่ไหมคะ ว่าทำไมเจ็บฝีเย็บ เป็นแผลหลังคลอด แล้วทำไมท้องผูกหรือเกี่ยวกันได้อย่างไร ยิ่งคุณแม่มือใหม่จำไว้เลยค่ะว่า สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่มักมีปัญหาท้องผูก หรืออาการริดสีดวงทวารกำเริบ ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มมากขึ้น ทั้งผลไม้สดและผักสด รวมถึงธัญพืช และดื่มน้ำมากๆ ในแต่ละวัน หากคุณแม่มีอาการริดสีดวงทวารหนักอยู่แล้ว ให้ประคบด้วยน้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของริดสีดวงทวารได้ที่สำคัญคุณแม่ห้ามใช้ยาระบายเด็ดขาด การใช้ยาระบายที่อาจส่งผลต่อทารกที่ดูดนมแม่ ทำให้ทารกท้องเสียได้ และหากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอทั้งนี้ที่คุณแม่เกิดอาการท้องผูกเป็นเพราะความกังวลของแผลฝีเย็บจนไม่กล้าขับถ่าย ไม่กล้าเข้าห้องน้ำโดยไม่รู้ตัวก็ได้ค่ะ
3. โรคโลหิตจาง
ทำไมจึงเกิดภาวะโลหิตจางกับคุณแม่หลังคลอด ซึ่งมีสาเหตุมาจากในระหว่างคลอดมีการเสียเลือดจำนวนหนึ่งไม่มากก็น้อย จึงอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ ดังนั้น ในระยะหลังคลอด นอกจากการดูแลแผลหลังคลอดแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกาย การสังเกตตัวเองก็สำคัญ หากเกิดภาวะโลหิตจาง คุณหมอมักจะแนะนำให้คุณแม่รับประทานยาบำรุงเลือดไปอีกอย่างน้อย 1 เดือนหลังคลอด เพื่อบำรุงร่างกายให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
4. ภาวะโรคซึมเศร้า
อาการโรคซึมเศร้าพบบ่อยมากๆ ในคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากมีความกังวลหลายอย่าง ทั้งทารกน้อย ว่าจะดูแลลูกอย่างไร และต้องดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้กลับสู่ภาวะปกติ ไหนจะการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ เรียกว่า Postpartum Blue มักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ จะพบอาการต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเช่น เช่น ตื่นเต้น หรือหวาดกลัวการตั้งครรภ์และการคลอดในครั้งต่อไป มีอาการอ่อนเพลียจากการคลอด มีความกังวลเรื่องเลี้ยงลูก กังวลเรื่องความสวยความงามของตนเอง ทั้งนี้ด้านคุณพ่อเองจำเป็นต้องมีส่วนช่วยเหลือภรรยา โดยเข้าใจอารมณ์และสุขภาพร่างกาย โดยให้ความเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ รวมทั้งช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงลูกด้วยค่ะ
คุณแม่มือใหม่สามารถมีเซ็กส์กับสามีหลังคลอดเมื่อไรดี?
ยังเป็นคำถามค้างคาใจว่าคุณแม่มือใหม่จะมีเซ็กส์กับคุณสามีเมื่อไรดี
นับจากหลังคลอดไป 1 -2 เดือน ซึ่งก่อนจะมีเซ็กส์กันอย่างจริงจังควรปรึกษาแพทย์หรือตรวจเช็คแผลก่อนว่ามีเซ็กส์กันได้หรือยัง
น้ำคาวปลาของคุณแม่หมดแล้วจึงสามารถทำกิจกรรมบนเตียงได้ปกติ ซึ่งคุณแม่บางท่านอาจหมดก่อน 1-2 เดือนด้วยซ้ำ
เมื่อคุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บปวดแผลแต่อย่างใด แผลฝีเย็บหายเป็นปกติแล้ว และการร่วมเพศก็ไม่ทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เตือนให้คุณสามีสวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนครอบครัวของแต่ละคู่ด้วยค่ะ
หลังจากคลอดบุตรแล้ว ประจำเดือนของคุณแม่จะมาเมื่อไร?
คุณแม่หลายท่านยังกังวลเรื่องการมีเซ็กส์กับสามีและไม่คุมกำเนิดถ้าประจำเดือนยังไม่มา ความจริงแล้วถ้าประจำเดือนยังไม่มา คุณแม่ก็ควรเริ่มคุมกำเนิดหลังจากการตรวจหลังคลอดได้เลย แต่ทั้งนี้คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมตนเอง ก็ถือเป็นการคุมกำเนิดที่ได้ผลอย่างหนึ่ง เพราะการให้ลูกกินนมแม่อย่างสม่ำเสมอจะมีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "โปรแล็กติน" (Prolactin) ออกมาจากต่อมใต้สมอง ทำให้ไข่ไม่ตก เมื่อไข่ไม่ตกก็ไม่มีประจำเดือนออกมา แต่ก็ใช่ว่าจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% ดังนั้นจึงควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะต่อไป หากบางเวลาลูกกินนมน้อยลง หรือคุณแม่ทิ้งระยะห่างในการให้นมมากขึ้น เนื่องจากต้องไปทำงาน ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะออกมาน้อยลง จึงมีการตกไข่และมีประจำเดือนตามปกติ
โดยทั่วไปคุณแม่หลังคลอดจะมีเริ่มมีประจำเดือนในระยะเวลาดังนี้
คุณแม่จำนวน 10% เริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 2 เดือนหลังคลอด
คุณแม่จำนวน 20% เริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 2-4 หลังคลอด
คุณแม่จำนวน 60% เริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 7 หลังคลอด
สารอาหารบำรุงแผลหลังคลอดของคุณแม่
นอกจากการดูแลภายนอกแล้ว ภายในก็สำคัญสำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ต้องการให้แผลฝีเย็บให้เป็นปกติ ซึ่งอบ่างที่ทราบกันว่า การคลอดลูกแบบธรรมชาติจะทำให้ฝีเย็บแยกจากกัน แผลที่ฉีกขาดหรือแผลที่เย็บมักมีการบวมแดง เนื่องจากผิวหนังดึงรั้งกันทำให้เจ็บแผล ซึ่งการกินอาหารโปรตีนสูงจะช่วยสมานแผลได้ดี ทำให้ร่างกายสามารถปรับคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น ทั้งนี้เพราะโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์และไข่จะทำหน้าที่ช่วยในการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น รวมไปถึงวิตามินซีจากผักผลไม้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อโปรตีน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ลดอาการเจ็บ ลดอาการอักเสบด้วยค่ะ
https://th.theasianparent.com/how-to-take-care-of-perineal-stitches
แผลฝีเย็บ แผลหลังคลอด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร
แผลฝีเย็บแผลหลังคลอด คุณแม่สามารถดูแลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง?
1. ลดอาการเจ็บจี๊ด ลดอาการปวด แผลฝีเย็บด้วยการประคบเย็น
เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านที่คลอดเองตามธรรมชาติค่อนข้างกังวลเรื่อ งแผลฝีเย็บว่า รอยแผลนั้นจะกลับมาสวยเหมือนเดิมไหม ปริหรือเปล่า แต่หลังคลอดวันแรก จะค่อนข้างบวม ฉะนั้น ให้ใส่ใจกับอาการอักเสบก่อน เพราะจะเจ็บค่อนข้างมาก คุณแม่สามารถให้คุณพ่อช่วยประคบแผลโดยการใช้อุปกรณ์ปฐมพยายามอย่าง เจลเย็นมาพันผ้าขนหนูบางๆ ค่อยๆ ประคบลงตรงแผล จะช่วยบรรเทาอาการบวม ส่วนเรื่องอาการปวดคุณแม่สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ค่ะ ไม่เป็นอันตรายต่อการให้นมบุตร
2. จัดหาหมอนรองนั่งเพื่อลดอาการเจ็บแผล
คุณแม่ลองหาซื้อหมอนรูปโดนัทวงใหญ่ที่คุณแม่กะว่านั่งลงบนหมอนแล้วไม่จมเกินไป ลองนั่งดูให้บริเวณช่องคลอดเราอยู่ตรงกลางรูพอดี เพื่อลดการสัมผัสแผลเวลาคุณแม่นั่ง สามารถใช้หมอนรูปโดนัทหรือห่วงยางเล็กๆ รองเก้าอี้ได้ วิธีนี้ช่วยลดอาหารเจ็บจี๊ดๆ เมื่อสัมผัสกับเก้าอี้ช่วงแรกๆ สักพักพอ แผลฝีเย็บอาการดีขึ้น ก็ไม่ต้องใช้หมอนโดนัทแล้วค่ะ
3. การทำความสะอาดแผลฝีเย็บสำคัญมาก
การทำความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของการดูแลแผลหลังคลอด ซึ่งควรทำอย่างเบามือและอ่อนโยนที่สุด คุณแม่ควรทำความสะอาดฝีเย็บอย่างน้อยวันละประมาณ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการอักอักเสบ โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ค่อยๆ เช็ดทำความสะอาดจาดด้านหน้าไปด้านหลังเบาๆ จากนั้นใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ถ้าใช้สำลีแห้งอาจจะทำให้ขนสำลีติดแผลได้ค่ะ ที่สำคัญเราไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดถึงแม้จะโฆษณาว่า เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่อ่อนโยนมากก็ตาม เพราะน้ำเปล่าสะอาดที่สุดแล้ว
4. อย่าใช้สายชำระทำความสะอาดแผลเป็นอันขาด
จริงอยู่บ้านเรานั้น สายชำระสำหรับทำความสะอาดหลังทำธุระเสร็จนั้นเป็นความเคยชินและคิดว่าสะอาดที่สุด แต่การสายชำระทำความสะอาดแผลอาจทำให้แผลฝีเย็บปริ อักเสบได้ค่ะ นอกจากนี้การทำความสะอาดหลังอุจจาระก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ คือ เช็ดจากหน้าไปหลังเท่านั้น ไม่ควรย้อนจากก้นมาด้านหน้า เพราะแผลอาจติดเชื้อจากการทำความสะอาดได้
5. เตรียมผ้าอนามัยไว้เปลี่ยนบ่อยๆ
หลังคลอด นอกจาก แผลฝีเย็บที่คุณแม่ต้องดูแลแล้ว น้ำคาวปลาก็คือสิ่งที่ต้องกังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่เพราะถ้าหากมีน้ำคาวปลาออกมามาก คุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อให้แผลแห้งสะอาดอยู่เสมอ ลดการสะสมเชื้อโรคจากความชื้นและการติดเชื้อที่อาจตามมาได้ค่ะ
6. คุณแม่พยายามเคลื่อนไหวให้ช้าลง
เนื่องจากแผลยังไม่หายดี เพื่อป้องการแตกปริของ แผลฝีเย็บอย่างที่แนะนำไปว่า ควรมีหมอนโดนัทมีรูปหรือหวงยางเล็กๆ ที่มีรูตรงกลางไว้รองนั่ง คุณแม่ไม่ควรนั่งขัดสมาธิกับพื้น ซึ่งถ้าหากต้องนั่งกับพื้นจริงๆ ให้ใช้หมอนดังกล่าวรองก้นไม่ให้แผลสัมผัสพื้น และไม่ว่าคุณแม่จะลุก เดิน นั่ง ต้องเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ อย่างเผลอวิ่งหรือก้าวขึ้นลงบันไดชันมากๆ เพราะการอ้าขามาก ๆ การก้าวไว ๆ จะทำให้แผลอักเสบได้ค่ะ
7. หลังคลอดควรงดมีเซ็กส์กับสามี
คุณแม่ต้องทำความเข้าใจกันระหว่างสามีภรรยาว่า ช่วงหลังคลอดนั้น อาจจะยังไม่เหมาะที่จะมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากรอยแผลฝีเย็บการดูแลลูก การดูแลร่างกายยังไม่พร้อมมากนัก ให้คุณสามีรอประมาณสัก 4-6 สัปดาห์หรือเดือนกว่าๆ เพื่อให้น้ำคาวปลาลดลงหรือหมดไปเลย เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างทั้งสองคนด เพราะไม่ว่าแผลฝีเย็บจะเย็บดีแล้ว แต่ก็อาจแตกปริระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ
แผลฝีเย็บและอาการหลังคลอดที่น่ากลัวเป็นอย่างไรคือสัญญาณบอกว่าควรพบแพทย์
1. ดูแลดีแล้ว แต่เจ็บและปวด แผลมากๆ
หากคุณแม่หลังคลอดที่ดูแลแผลฝีเย็บดีแล้ว แต่ยังมีอาการเจ็บอยู่ นั่นอาจเป็นเพราะเกิดการติดเชื้อ เพราะจริงๆ แล้ว อาการปวดแผลจะน้อยลงหลังจากคลอดแล้วประมาณ 3 – 4 วัน และอาการปวดจะหายไปภายเวลา 1 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าคุณแม่มีอาการปวดแผลมาก แผลบวมแดง เจ็บนั่งไม่ได้ ก็อาจเป็นไปได้ว่าแผลอาจจะมีอาการอักเสบ ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อไม่ให้เชื้อลุกลามมากขึ้น
2. อาการท้องผูก
คุณแม่สงสัยใช่ไหมคะ ว่าทำไมเจ็บฝีเย็บ เป็นแผลหลังคลอด แล้วทำไมท้องผูกหรือเกี่ยวกันได้อย่างไร ยิ่งคุณแม่มือใหม่จำไว้เลยค่ะว่า สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่มักมีปัญหาท้องผูก หรืออาการริดสีดวงทวารกำเริบ ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มมากขึ้น ทั้งผลไม้สดและผักสด รวมถึงธัญพืช และดื่มน้ำมากๆ ในแต่ละวัน หากคุณแม่มีอาการริดสีดวงทวารหนักอยู่แล้ว ให้ประคบด้วยน้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของริดสีดวงทวารได้ที่สำคัญคุณแม่ห้ามใช้ยาระบายเด็ดขาด การใช้ยาระบายที่อาจส่งผลต่อทารกที่ดูดนมแม่ ทำให้ทารกท้องเสียได้ และหากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอทั้งนี้ที่คุณแม่เกิดอาการท้องผูกเป็นเพราะความกังวลของแผลฝีเย็บจนไม่กล้าขับถ่าย ไม่กล้าเข้าห้องน้ำโดยไม่รู้ตัวก็ได้ค่ะ
3. โรคโลหิตจาง
ทำไมจึงเกิดภาวะโลหิตจางกับคุณแม่หลังคลอด ซึ่งมีสาเหตุมาจากในระหว่างคลอดมีการเสียเลือดจำนวนหนึ่งไม่มากก็น้อย จึงอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ ดังนั้น ในระยะหลังคลอด นอกจากการดูแลแผลหลังคลอดแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกาย การสังเกตตัวเองก็สำคัญ หากเกิดภาวะโลหิตจาง คุณหมอมักจะแนะนำให้คุณแม่รับประทานยาบำรุงเลือดไปอีกอย่างน้อย 1 เดือนหลังคลอด เพื่อบำรุงร่างกายให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
4. ภาวะโรคซึมเศร้า
อาการโรคซึมเศร้าพบบ่อยมากๆ ในคุณแม่หลังคลอด เนื่องจากมีความกังวลหลายอย่าง ทั้งทารกน้อย ว่าจะดูแลลูกอย่างไร และต้องดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้กลับสู่ภาวะปกติ ไหนจะการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ เรียกว่า Postpartum Blue มักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ จะพบอาการต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเช่น เช่น ตื่นเต้น หรือหวาดกลัวการตั้งครรภ์และการคลอดในครั้งต่อไป มีอาการอ่อนเพลียจากการคลอด มีความกังวลเรื่องเลี้ยงลูก กังวลเรื่องความสวยความงามของตนเอง ทั้งนี้ด้านคุณพ่อเองจำเป็นต้องมีส่วนช่วยเหลือภรรยา โดยเข้าใจอารมณ์และสุขภาพร่างกาย โดยให้ความเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ รวมทั้งช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงลูกด้วยค่ะ
คุณแม่มือใหม่สามารถมีเซ็กส์กับสามีหลังคลอดเมื่อไรดี?
ยังเป็นคำถามค้างคาใจว่าคุณแม่มือใหม่จะมีเซ็กส์กับคุณสามีเมื่อไรดี
นับจากหลังคลอดไป 1 -2 เดือน ซึ่งก่อนจะมีเซ็กส์กันอย่างจริงจังควรปรึกษาแพทย์หรือตรวจเช็คแผลก่อนว่ามีเซ็กส์กันได้หรือยัง
น้ำคาวปลาของคุณแม่หมดแล้วจึงสามารถทำกิจกรรมบนเตียงได้ปกติ ซึ่งคุณแม่บางท่านอาจหมดก่อน 1-2 เดือนด้วยซ้ำ
เมื่อคุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บปวดแผลแต่อย่างใด แผลฝีเย็บหายเป็นปกติแล้ว และการร่วมเพศก็ไม่ทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เตือนให้คุณสามีสวมถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนครอบครัวของแต่ละคู่ด้วยค่ะ
หลังจากคลอดบุตรแล้ว ประจำเดือนของคุณแม่จะมาเมื่อไร?
คุณแม่หลายท่านยังกังวลเรื่องการมีเซ็กส์กับสามีและไม่คุมกำเนิดถ้าประจำเดือนยังไม่มา ความจริงแล้วถ้าประจำเดือนยังไม่มา คุณแม่ก็ควรเริ่มคุมกำเนิดหลังจากการตรวจหลังคลอดได้เลย แต่ทั้งนี้คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมตนเอง ก็ถือเป็นการคุมกำเนิดที่ได้ผลอย่างหนึ่ง เพราะการให้ลูกกินนมแม่อย่างสม่ำเสมอจะมีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "โปรแล็กติน" (Prolactin) ออกมาจากต่อมใต้สมอง ทำให้ไข่ไม่ตก เมื่อไข่ไม่ตกก็ไม่มีประจำเดือนออกมา แต่ก็ใช่ว่าจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% ดังนั้นจึงควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะต่อไป หากบางเวลาลูกกินนมน้อยลง หรือคุณแม่ทิ้งระยะห่างในการให้นมมากขึ้น เนื่องจากต้องไปทำงาน ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะออกมาน้อยลง จึงมีการตกไข่และมีประจำเดือนตามปกติ
โดยทั่วไปคุณแม่หลังคลอดจะมีเริ่มมีประจำเดือนในระยะเวลาดังนี้
คุณแม่จำนวน 10% เริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 2 เดือนหลังคลอด
คุณแม่จำนวน 20% เริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 2-4 หลังคลอด
คุณแม่จำนวน 60% เริ่มมีประจำเดือนในช่วงเดือนที่ 7 หลังคลอด
สารอาหารบำรุงแผลหลังคลอดของคุณแม่
นอกจากการดูแลภายนอกแล้ว ภายในก็สำคัญสำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ต้องการให้แผลฝีเย็บให้เป็นปกติ ซึ่งอบ่างที่ทราบกันว่า การคลอดลูกแบบธรรมชาติจะทำให้ฝีเย็บแยกจากกัน แผลที่ฉีกขาดหรือแผลที่เย็บมักมีการบวมแดง เนื่องจากผิวหนังดึงรั้งกันทำให้เจ็บแผล ซึ่งการกินอาหารโปรตีนสูงจะช่วยสมานแผลได้ดี ทำให้ร่างกายสามารถปรับคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น ทั้งนี้เพราะโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์และไข่จะทำหน้าที่ช่วยในการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น รวมไปถึงวิตามินซีจากผักผลไม้ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อโปรตีน และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ลดอาการเจ็บ ลดอาการอักเสบด้วยค่ะ
https://th.theasianparent.com/how-to-take-care-of-perineal-stitches