มีข้อมูลถูกเปิดเผยออกมาว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้เริ่มต้นดึงเงินออกจากระบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สวนทางกับมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้ว่า Fed จะยังไม่ได้ออกมาเปิดเผยถึงการลดวงเงิน QE ที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้
ทั้งนี้ Fed ได้ดึงเงิน (M1) ออกจากระบบ ผ่านการทำ Reverse Repo หรือการขายพันธบัตรคืนกลับสู่ตลาด และดึงเงินสดออกมาแทน โดยวงเงินของการทำ Reverse Repo ในครั้งนี้สูงถึง 4.3 แสนล้านดอลลาร์ มากกว่าวงเงิน QE ต่อเดือนตอนนี้ซึ่งอยู่ที่เพียง 1.2 แสนล้านดอลลาร์
สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันเงินและสภาพคล่องเริ่มล้นระบบ แต่การที่ Fed ยังไม่ได้ประกาศว่าจะลดวงเงิน QE ส่วนหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการตื่นตระหนก (Panic) ในตลาด
“การทำ Reverse Repo ยังไม่ค่อยเป็นที่คุ้นชินกันในวงกว้างนัก แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นการเริ่มส่งสัญญาณว่าสภาพคล่องล้นระบบภายหลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนช่วงเวลาที่ Fed อาจเริ่มส่งสัญญาณลดวงเงิน QE อาจเป็นช่วงไตรมาส 3 หากตัวเลขการจ้างงานออกมาดีตามเป้าที่กำหนดไว้ รวมถึงการติดตามอัตราดอกเบี้ย Repo และอัตราดอกเบี้ย IOER”
อีกประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่จะตามมาภายหลังจาก Fed ส่งสัญญาณลดวงเงิน QE คือการขึ้นดอกเบี้ย หากเทียบกับเมื่อปี 2015 หลังจากที่ Fed เริ่มดูดสภาพคล่องออกก็จะตามมาด้วยการขึ้นดอกเบี้ยทันที แต่สำหรับครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มเห็นการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ปี 2022 ขณะที่การลดวงเงิน QE อาจจะเห็นได้ภายในไตรมาส 4 นี้ โดยช่วงแรกอาจจะลดวงเงินจาก 1.2 แสนล้านดอลลาร์ เหลือ 1 แสนล้านดอลลาร์
“ส่วนตัวยังไม่คิดว่าตลาดหุ้นจะปรับลงทันทีตอนนี้ เพราะ Fed พยายามที่จะไม่ทำอะไรให้ตลาด Panic และเลือกใช้วิธีทางอ้อมอย่างการทำ Reverse Repo ถัดจากนี้เชื่อว่าตลาดจะจับตาดูการประชุม Fed ในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ ซึ่งอาจจะเริ่มเห็นสัญญาณบางอย่างออกมา แต่ระหว่างนี้จนถึงก่อนการประชุม Fed เชื่อว่าตลาดหุ้นจะยังไม่ปรับฐานรุนแรง”
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นไทยเริ่มมีการปรับพฤติกรรมบ้างแล้ว โดยจะเห็นนักลงทุนเริ่มสลับมาเข้าซื้อหุ้นที่ยังซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร, ค้าปลีก, โรงไฟฟ้า และรับเหมาก่อสร้าง และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ปรับขึ้นมากนักคืออสังหาริมทรัพย์
“กลยุทธ์การลงทุนขณะนี้แนะนำให้กลับมาดูหุ้นที่ราคายัง Laggard โดยเฉพาะกลุ่มที่อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ โดยกลุ่มที่ยังไม่ปรับขึ้นและมีแนวโน้มจะวิ่งขึ้นมาคืออสังหาริมทรัพย์ ในปีนี้จะเห็นว่าราคาบ้านในต่างประเทศปรับขึ้นเฉลี่ย 20% แม้ว่าในไทยจะไม่ปรับขึ้นตาม แต่ราคาก็ไม่ได้ลดลง ขณะเดียวกันการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องเงินเฟ้อ นอกจากสินค้าโภคภัณฑ์แล้วการลงทุนที่ดีอย่างหนึ่งคือ การซื้อที่ดิน รวมถึงนาฬิกามือสอง”
หากดูจาก Balance Sheet ของ Fed ก่อนหน้านี้ ธุรกรรม Repo ซึ่งเป็นการให้กู้ระยะสั้น มีปริมาณลดลงมาตลอดในระยะหลัง สำหรับการทำ Reverse Repo ในวงเงินที่สูงมากครั้งนี้สะท้อนว่าสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินเหลือล้น
“สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าตอนนี้สภาพคล่องไม่ใช่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับระบบการเงินสหรัฐฯ บนสภาวะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และการทำ Reverse Repo ในวงเงินที่สูงขนาดนี้อาจสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการสภาพคล่องเริ่มลดลงไปแล้ว และอาจเห็น Fed ถอนคันเร่งการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ได้เร็วขึ้นด้วย”
ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยังไม่ได้ให้น้ำหนักกับประเด็นนี้มากนัก เพราะประธาน Fed แต่ละสาขาต่างพูดไปในทิศทางเดียวกันว่า เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวและยังไม่น่ากังวล และที่ผ่านมาจะเห็นว่า Fed ใช้ตัวเลขการจ้างงานซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายมาเป็นข้ออ้างของการที่ยังไม่ส่งสัญญาณลดวงเงินอัดฉีด
สิ่งที่ต้องจับตาคือ หากตัวเลขการจ้างงานออกมาดีกว่าคาด Fed จะไม่มีข้ออ้างแล้ว และมีโอกาสสูงที่การประชุมกลางเดือนหน้าอาจเห็นการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการลดวงเงินอัดฉีดออกมาได้ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าการส่งสัญญาณอาจจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนกันยายนมากกว่า และจะเริ่มลดวงเงินจริงช่วงต้นปีหน้า
“หากมีการส่งสัญญาณลดวงเงิน QE จริง ตลาดหุ้นน่าจะตอบรับในเชิงลบแน่ๆ เพราะที่ผ่านมาตลาดหุ้นมักจะเซนสิทีฟกับนโยบายการเงินมากกว่าประเด็นเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้เรามองว่าตลาดครึ่งปีหลังอาจจะแย่กว่าครึ่งปีแรก”
เงินเฟ้อ 5 % Fed เริ่มดึงเงินกลับ สะท้อนสภาพคล่องล้นระบบ คาดลด QE และขึ้นดอกเบี้ย
ทั้งนี้ Fed ได้ดึงเงิน (M1) ออกจากระบบ ผ่านการทำ Reverse Repo หรือการขายพันธบัตรคืนกลับสู่ตลาด และดึงเงินสดออกมาแทน โดยวงเงินของการทำ Reverse Repo ในครั้งนี้สูงถึง 4.3 แสนล้านดอลลาร์ มากกว่าวงเงิน QE ต่อเดือนตอนนี้ซึ่งอยู่ที่เพียง 1.2 แสนล้านดอลลาร์
สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันเงินและสภาพคล่องเริ่มล้นระบบ แต่การที่ Fed ยังไม่ได้ประกาศว่าจะลดวงเงิน QE ส่วนหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการตื่นตระหนก (Panic) ในตลาด
“การทำ Reverse Repo ยังไม่ค่อยเป็นที่คุ้นชินกันในวงกว้างนัก แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นการเริ่มส่งสัญญาณว่าสภาพคล่องล้นระบบภายหลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนช่วงเวลาที่ Fed อาจเริ่มส่งสัญญาณลดวงเงิน QE อาจเป็นช่วงไตรมาส 3 หากตัวเลขการจ้างงานออกมาดีตามเป้าที่กำหนดไว้ รวมถึงการติดตามอัตราดอกเบี้ย Repo และอัตราดอกเบี้ย IOER”
อีกประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่จะตามมาภายหลังจาก Fed ส่งสัญญาณลดวงเงิน QE คือการขึ้นดอกเบี้ย หากเทียบกับเมื่อปี 2015 หลังจากที่ Fed เริ่มดูดสภาพคล่องออกก็จะตามมาด้วยการขึ้นดอกเบี้ยทันที แต่สำหรับครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มเห็นการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ปี 2022 ขณะที่การลดวงเงิน QE อาจจะเห็นได้ภายในไตรมาส 4 นี้ โดยช่วงแรกอาจจะลดวงเงินจาก 1.2 แสนล้านดอลลาร์ เหลือ 1 แสนล้านดอลลาร์
“ส่วนตัวยังไม่คิดว่าตลาดหุ้นจะปรับลงทันทีตอนนี้ เพราะ Fed พยายามที่จะไม่ทำอะไรให้ตลาด Panic และเลือกใช้วิธีทางอ้อมอย่างการทำ Reverse Repo ถัดจากนี้เชื่อว่าตลาดจะจับตาดูการประชุม Fed ในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ ซึ่งอาจจะเริ่มเห็นสัญญาณบางอย่างออกมา แต่ระหว่างนี้จนถึงก่อนการประชุม Fed เชื่อว่าตลาดหุ้นจะยังไม่ปรับฐานรุนแรง”
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นไทยเริ่มมีการปรับพฤติกรรมบ้างแล้ว โดยจะเห็นนักลงทุนเริ่มสลับมาเข้าซื้อหุ้นที่ยังซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร, ค้าปลีก, โรงไฟฟ้า และรับเหมาก่อสร้าง และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ปรับขึ้นมากนักคืออสังหาริมทรัพย์
“กลยุทธ์การลงทุนขณะนี้แนะนำให้กลับมาดูหุ้นที่ราคายัง Laggard โดยเฉพาะกลุ่มที่อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ โดยกลุ่มที่ยังไม่ปรับขึ้นและมีแนวโน้มจะวิ่งขึ้นมาคืออสังหาริมทรัพย์ ในปีนี้จะเห็นว่าราคาบ้านในต่างประเทศปรับขึ้นเฉลี่ย 20% แม้ว่าในไทยจะไม่ปรับขึ้นตาม แต่ราคาก็ไม่ได้ลดลง ขณะเดียวกันการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องเงินเฟ้อ นอกจากสินค้าโภคภัณฑ์แล้วการลงทุนที่ดีอย่างหนึ่งคือ การซื้อที่ดิน รวมถึงนาฬิกามือสอง”
หากดูจาก Balance Sheet ของ Fed ก่อนหน้านี้ ธุรกรรม Repo ซึ่งเป็นการให้กู้ระยะสั้น มีปริมาณลดลงมาตลอดในระยะหลัง สำหรับการทำ Reverse Repo ในวงเงินที่สูงมากครั้งนี้สะท้อนว่าสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินเหลือล้น
“สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าตอนนี้สภาพคล่องไม่ใช่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับระบบการเงินสหรัฐฯ บนสภาวะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และการทำ Reverse Repo ในวงเงินที่สูงขนาดนี้อาจสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการสภาพคล่องเริ่มลดลงไปแล้ว และอาจเห็น Fed ถอนคันเร่งการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ได้เร็วขึ้นด้วย”
ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยังไม่ได้ให้น้ำหนักกับประเด็นนี้มากนัก เพราะประธาน Fed แต่ละสาขาต่างพูดไปในทิศทางเดียวกันว่า เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวและยังไม่น่ากังวล และที่ผ่านมาจะเห็นว่า Fed ใช้ตัวเลขการจ้างงานซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายมาเป็นข้ออ้างของการที่ยังไม่ส่งสัญญาณลดวงเงินอัดฉีด
สิ่งที่ต้องจับตาคือ หากตัวเลขการจ้างงานออกมาดีกว่าคาด Fed จะไม่มีข้ออ้างแล้ว และมีโอกาสสูงที่การประชุมกลางเดือนหน้าอาจเห็นการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการลดวงเงินอัดฉีดออกมาได้ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าการส่งสัญญาณอาจจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนกันยายนมากกว่า และจะเริ่มลดวงเงินจริงช่วงต้นปีหน้า
“หากมีการส่งสัญญาณลดวงเงิน QE จริง ตลาดหุ้นน่าจะตอบรับในเชิงลบแน่ๆ เพราะที่ผ่านมาตลาดหุ้นมักจะเซนสิทีฟกับนโยบายการเงินมากกว่าประเด็นเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้เรามองว่าตลาดครึ่งปีหลังอาจจะแย่กว่าครึ่งปีแรก”