ลงเอยกันด้วยดี!!! เมื่ออเมริกาและยุโรปตกลงข้อพิพาททางการบินที่มีมากว่า 17 ปี



กว่า 17 ปีที่ผู้ผลิตเครื่องบินชั้นนำของโลกอย่างบริษัท Boeing จากประเทศพญาอินทรีย์กับคู่แข่งตลอดกาลอย่าง Airbus จากยุโรปได้มีข้อพิพาทจนถึงขั้นส่งเรื่องถึงองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) ในที่สุดประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็สามารถตกลงกันได้นำมาซึ่งข้อยุติของการทะเลาะกันกว่า 2 ทศวรรษครับ

เรื่องราวความบาดหมางระหว่าง 2 มหาอำนาจการบิน



ในอดีตระหว่างที่ยุโรปกับอเมริกาพยายามแข่งเป็นเจ้าตลาดการบินของโลกนี้ เมื่อการแข่งขันในการเป็นเจ้าตลาดการบินกำลังรุนแรงและรวดเร็ว เพื่อหยุให้อีกฝั่งเติบโตได้ช้าลงทางฝั่งอเมริกาจึงเปิดเรื่องก่อนโดยได้ยื่นเรื่องต่อองค์การการค้าโลกว่าทาง Airbus บริษัทสายการบินที่ถือหุ้นร่วมกันโดยกลุ่มประเทศชั้นนำในสหภาพยุโรป (เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน และ BAE System จากอังกฤษ) ได้รับการสนับสนุนกว่า 22,000 ล้านเหรียญจากกลุ่มสมาชิก ทางอเมริกาคาดว่า Airbus จะได้รับผลประโยชน์กว่า 2 แสนล้านเหรียญจากการการช่วยเหลือที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าวครับ ทางสหภายุโรปก็ไม่น้อยหน้า พวกเขากล่าวว่าทางสหรัฐเองก็แอบส่งเงินช่วยเหลือให้กับทาง Boeing ถึง 23,000 ล้านเหรียญเพื่อที่จะใช้ในการแทรกแซงตลาดการบินภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาต่างๆ ครับ  



เมื่อทั้งคู่ได้ยื่นคำร้องต่อองค์การการค้าโลกในปี 2004 ทางองค์การก็ไม่ได้รอช้ารีบเข้าไปตรวจสอบทันที และในไม่กี่ปีต่อมาทางองค์การก็ได้ตัดสินว่าทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปล้วนแล้วแต่กระทำความผิดในการส่งความช่วยเหลืออย่างไม่เป็นธรรมแก่บริษัทการบินทั้ง 2 อย่างแน่นอน โดยจากการศึกษาพบว่าทางสหภาพยุโรปให้การช่วยเหลือผ่านทางการให้กู้ยืมต่างๆ เพื่อให้ Airbus สามารถผลิตเครื่องบิน A380 Super Jumbo, และ A350 ในขณะที่อเมริกาเองก็ช่วยเหลือทาง Boeing โดยทำสัญญาที่เอื้อประโยชน์และให้พักการชำระภาษี (Tax break) แก่ Boeing ครับ ทีเด็ดของเรื่องนี้คือหลังจากที่องค์การการค้าโลกออกผลตัดสินออกมาแล้วทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปต่างประกาศชัยชนะเหนือคู่แข่งทันทีครับ

การตอบโต้ของอเมริกาและยุโรป



เมื่อผิดทั้งคู่ อีกฝั่งก็หยิบยกเรื่องดังกล่าวมาใช้เป็นสาเหตุในการตั้งกำแพงภาษีของทั้ง 2 ประเทศทันทีครับ โดยทางอเมริกาได้ตั้งกำแพงภาษีต่อสินค้าที่มาจากสหภาพยุโรปถึง 7.5 ล้านล้านเหรียญเนื่องมาจากการช่วยเหลือ Airbus ทำให้ Boeing เสียหายถึง 11,000 ล้านต่อปี และทางสหภาพยุโรปก็ตอบโต้กลับโดยตั้งกำแพงภาษีถึง 4 ล้านล้านเหรียญต่อสินค้านำเข้าของอเมริกาเพราะว่า Airbus ได้รับความเสียหายจากการสนับสนุน Boeing ของอเมริกาถึง 12,000 ล้านเหรียญต่อปี และยังไม่นับการขึ้นภาษีสินค้าต่างๆ ตั้งแต่อาหาร ยันชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีระหว่างกันอีกด้วย

ฟ้าใหม่ของ 2 มหามิตร



แต่แล้วการทะเลาะกันจนเกิดหายนะทางภาษีของ 2 มหาอำนาจก็ยุติลง เมื่อทั้ง 2 สามารถหาข้อตกลงในการทำลายกำแพงภาษีขนาดยักษ์กว่า 11,500 ล้านเหรียญที่มีต่อไวน์ ยาสูบ และสุรา โดยทั้ง 2 ฝั่งจะยกเลิกกำแพงภาษีให้ได้ภายใน 5 ปี และมีแผนจะทำลายกำแพงภาษีด้านอื่นๆ อีกด้วยครับ 
สาเหตุของการลดละเลิกความบาดหมางครั้งนี้มาจากการที่ทางทำเนียบขาวมีความคิดว่าทุกคนควรระดมสรรพกำลังมาไฟว์กับจีนแผ่นดินใหญ่จะดีกว่า เพราะตอนนี้อุตสาหกรรมเครื่องบินจีนกำลังมาแรงและพร้อมจะเบียดตีตลาด Boeing และ Airbus ในระหว่างที่กำลังกรำศึกกันอยู่ครับ

เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินของทั้ง 2 ยังคงอยู่ได้ ทั้งคู่ได้ตกลงกันว่าอะไรคือขอบเขตของการสนับสนุนบริษัทของประเทศตน นอกจากนี้ยังหารือกันในเรื่องความร่วมมือกันเพื่อการต่อต้านการลงทุนของ “ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในตลาด” ซึ่งมีความหมายโดยตรงว่าพี่จีนแผ่นดินใหญ่นั่นเองครับ

เรียกได้ว่ามาจากนิทานตาอินกับตานา จริงๆ ครับ ทะเลาะกันไปทะเลาะกันมา ส่งผลร้ายจนถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ จนตาอยู่อย่างจีนได้โอกาสจะเข้ามากินพุงปลาไป แต่ยังดีที่ทั้ง 2 ยังรู้ทันกลับมาตั้งรับได้ก่อนจะเสียหายไปมากกว่านี้ครับ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องมันคงไม่จบลงเท่านี้ เพราะในสมัยอดีตประธานธบดี Trump ยังมีเรื่องข้อพิพาทเรื่องเหล็กกล้าและอลูมิเนียมอีก หนังชีวิตนี้คงต้องจับตาดูกันอีกยาวครับ

ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ

Ref: https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/eu-us-set-unveil-truce-17-year-aircraft-battle-2021-06-15/
Ref: https://www.bbc.com/news/business-57484209
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่