JJNY : 4in1 อดีตตร.มีโรคประจำตัวดับหลังฉีด│สื่อนอกตีข่าวไทยเลื่อนวัคซีนปชช.│วิกฤตหนี้สินอยู่ไม่ไกล│เผยผลทดลองโนวาแว็กซ์

อดีตตำรวจวัย 73 แข็งแรงแต่มีโรคประจำตัว ดับหลังฉีดวัคซีน 5 วัน
https://www.one31.net/news/detail/46917
 

 
อดีตตำรวจวัย 73 ไปฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าได้ 5 วัน ท้องเสียจนวูบเสียชีวิต ภรรยาเผยปกติแข็งแรง แต่มีโรคประจำตัว...
 
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 14 มิ.ย.2564 ร.ต.ท.หญิง กิจจพัฒน์ รัตนพันธ์ รองสว.(สอบสวน) สภ.บางปู ได้รับแจ้งมีผู้เสียชีวิต ภายในบ้านหลังหนึ่ง พื้นที่ 
ม.3 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ สมุทรปราการ จึงพร้อมด้วยมูลนิธิร่วมกตัญญู รุดตรวจสอบที่เกิดเหตุ
 
ที่เกิดเหตุ เป็นบ้านทาวน์เฮาส์ ปลูกติดกันหลายหลัง ภายในบ้าน ด้านหน้าชั้นล่าง พบเจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิร่วมกตัญญูกำลังปั้มหัวใจช่วย ร.ต.ต.ทรงภพ ภูสังข์ อายุ 73 ปี ที่หายใจไม่ออก ท้องเสีย จนวูบหมดสติไป โดยเจ้าหน้าที่ปั้มหัวใจช่วยอยู่ประมาณ 20 นาที แต่ไม่สามารถช่วย ร.ต.ต.ทรงภพ ภูสังข์ อายุ 73 ปีไว้ได้
 
จากการสอบถาม นางวรรณพร ภูสังข์ อายุ 70 ปี ภรรยา เล่าว่า ร.ต.ต.ทรงภพ ภูสังข์ อายุ 73 ปี สามี อดีตข้าราชการตำรวจ สน.พลับพลาไชย และเป็นทนายความ ได้ไปฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ที่ รพ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 หลังฉัดวัคซีนกลับมาบ้าน ได้ 5 วัน สามีก็บ่นว่าหายใจไม่ค่อยออกและค่อนข้างอ่อนเพลีย และมาเมื่อช่วงบ่ายวันนี้เกิดอาการหายใจไม่ออกและเกิดอาการปวดท้อง ถ่ายท้อง จนเกิดอาการวูบไป ตนจึงโทรขอความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยแต่ก็ไม่สามารถช่วยได้ดังกล่าว ส่วนสามีตนเองก่อนฉีดวัคซีนมีสุขภาพแข็งแรงแต่มีโรคประจำตัว ความดัน เบาหวาน และเส้นเลือดตีบ
 
หลังตรวจสอบที่เกิดเหตุ ร.ต.ท.หญิง กิจจพัฒน์ รัตนพันธ์ รองสว.(สอบสวน) สภ.บางปู ได้ให้เจ้าหน้าที่มูลนิธินำส่งชันสูตรที่ รพ.รามาจักรีนฤบดินทร์  สมุทรปราการ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้ง.
 

 
สื่อนอกตีข่าว ไทยเลื่อนวัคซีนประชาชน ก่อนหน้านี้ ดีเลย์ส่งมอบวัคซีน ประเทศอื่น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6452761

สื่อนอกตีข่าว ไทยเลื่อนวัคซีนประชาชน ทั้งที่ก่อนหน้านี้หลายประเทศถูกเลื่อนการส่งมอบวัคซีน ด้านชาวเน็ตแห่วิจารณ์ ก่อนหน้านี้คนไทยบางกลุ่มวิจารณ์ประเทศอื่น กั๊กวัคซีน ถึงคราวเป็นเอง 

ก่อนหน้านี้ มีประเด็นโต้แย้งว่า ไต้หวันระบุว่าไทยกักตุนวัคซีน จนทำให้ ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน ต้องออกมาชี้แจงว่า เป็นการเข้าใจผิด เข้าใจดีว่า การจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศถือเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับรัฐบาลทุกประเทศ และทราบดีว่ากำลังการผลิตของแต่ละประเทศ ยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของโลก โดยย้ำว่าตนไม่ได้กล่าวว่า ประเทศไทย “ปิดกั้น” การส่งออกวัคซีน จากประเด็นการโต้แย้งนี้ทำให้สื่อต่างประเทศจำนวนไม่น้อย ตีข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.64 สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน รายงานว่า ประเทศไทยมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่กลับเกิดความสับสนขึ้น หลังจากโรงพยาบาลอย่างน้อย 20 แห่งในกรุงเทพฯ ส่งข้อความจากแอพพลิเคชัน เลื่อนการนัดหมายการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่กำหนดไว้ในสัปดาห์นี้ โดยอ้างถึงความล่าช้าในการส่งมอบวัคซีน โดยระบุว่า
 
มีการรายงานว่า มีประกาศเลื่อนการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลบนเพจโซเชียลมีเดีย ในขณะที่แอพพลิเคชัน จองวัคซีน มีการส่งข้อความว่าการนัดหมายหลังจากวันอังคาร (15 มิ.ย.64) ว่าจะล่าช้าออกไป

‘อาจมีความสับสน เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้ตรวจสอบกับฝ่ายบริหารของกรุงเทพฯ’ นาย อนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวกับผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้าที่จากสำนักข่าวรอยเตอร์ และกล่าวเสริมว่า ‘เราไม่ได้ชะลอการฉีดวัคซีน แต่ควรมีการคำนวณปริมาณที่ได้รับ’ นาย อนุทินกล่าว

ในแถลงการณ์อีกฉบับหนึ่ง ระบุว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ กล่าวว่า มี ‘ข้อผิดพลาดทางเทคนิค’ บางประการในการส่งมอบวัคซีน และทางกรุงเทพฯ ได้แจ้งให้ผู้ที่ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 15-21 มิถุนายน ทราบแล้ว โดย “เราจะฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุดเมื่อเราได้รับวัคซีน’ พล.ต.อ.อัศวิน กล่าว”
 
โดยก่อนหน้านี้ ในโซเชียลมีเดียของไทย รวมถึงสื่อจำนวนหนึ่ง เคยมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเทศอื่น ว่ากักตุนวัคซีน จนทำให้ในขณะนี้ โซเชียลมีเดีย เริ่มมีเสียงตอบโต้กลับว่า ถึงคราวไทยเองที่ต้องเห็นอกเห็นใจ ประเทศอื่น ๆ ที่เคยให้ความสำคัญกับพลเมืองในประเทศก่อน เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวะดังกล่าวที่คล้ายคลึงกัน เช่น ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ที่สั่งซื้อวัคซีนจากไทย แต่ถูกเลื่อนกำหนดส่งออกไป
 

 
วิกฤตหนี้สินอยู่ไม่ไกล พร้อมซัดไทยแบบ 'ขอเวลาอีกไม่นาน'
https://voicetv.co.th/read/G3Jp9IbQq
 
อดีตกรรมการ ธปท.แฉยับหนี้สินภาคเอกชน แม้แต่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ยังรับศึกหนัก เอสเอ็มอีเจอปัญหาถ้วนหน้า แถม "ฐานะทางการคลังของประเทศยังอ่อนแอลง"

เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ตัวเลขคาดการณ์จีดีพีโลกประจำปีนี้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) สูงถึง 6% ขณะที่การเติบโตจากสหรัฐฯ อาจสูงกว่าประมาณการเดิมถึง 0.7% - 2% จากแผนช่วยเหลือพลเมืองมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เกือบ 60 ล้านล้านบาท) แต่เศรษฐกิจไทยกลับเดินสวนทาง 
 
'อนุสรณ์ ธรรมใจ' อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชี้ว่า สำหรับตลาดการเงินไทยนั้นมีความเปราะบางสูง ทั้งยังอาจมีความผันผวนสูงกว่าตลาดอื่น เนื่องจากโครงสร้างทางการเงินของกิจการและธุรกิจอุตสาหกรรมบางส่วนอ่อนแอมากและถูกซ้ำเติมจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่า 
 
อดีตกรรมการ ธปท.ชี้ว่า ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นมีหนี้สินเพิ่มขึ้มากกว่า 4 ล้านล้านบาท บริษัทที่เกี่ยวข้องกับกิจการท่องเที่ยว กิจการสายการบิน กิจการขนส่ง ค้าปลีก ร้านอาหาร กิจการเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องเพิ่มทุนในช่วงครึ่งปีหลังหรือต้องขายทรัพย์สินเสริมสภาพคล่องและชำระหนี้ 
สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทจดทะเบียนปี 2563 อยู่ที่ 2.83 เท่าเมื่อเทียบกับ 2.57 เท่าในปี 2561 อีกทั้งหนี้สินรวมของบริษัทจดทะเบียนยังเพิ่มขึ้นแตะระดับ 29.28 ล้านล้านบาท สูงกว่าจีดีพีประเทศเกือบ 2 เท่า ขณะที่ผลกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนลดลงจากระดับ 920,000 ล้านบาทในปี 2561 มาอยู่ที่ 410,000 ล้านบาทเท่านั้นในปี 2563 
 
แม้มีสัญญาณดีขึ้นบ้างในไตรมาส 1/2564 โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 258,000 ล้านบาท แต่คาดว่าไตรมาสสองผลกำไรสุทธิจะชะลอตัว ส่วนไตรมาสามและสี่ควรจะกระเตื้องขึ้นซึ่งน่าจะทำให้ผลกำไรสุทธิทั้งปีกลับมาอยู่ระดับ 700,000-800,000 ล้านบาทได้ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจและกิจการนอกตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกิจการขนาดย่อม ขนาดเล็กขนาดกลางยังประสบปัญหาทางธุรกิจและสภาพคล่องทางการเงินอย่างมาก 
 
ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำกว่า 2% มีความเสี่ยงจะเกิดวิกฤติหนี้สินทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยกลุ่มธุรกิจที่จะมีปัญหาในการชำระหนี้มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมกลุ่มธุรกิจสายการบินและการขนส่งคน กลุ่มธุรกิจสื่อ กลุ่มธุรกิจจัดงานแสดงสินค้าและงานอีเวนต์ กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสปาและเสริมสวย กลุ่มกิจการโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเอกชน เป็นต้น 
ขณะเดียวกัน ฐานะทางการคลังของประเทศอ่อนแอลง โดยมีการก่อหนี้จำนวนมากทำให้ สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อจีดีพีทะลุ 60% ในปีหน้า เกิดความอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่อาจตึงตัวขึ้นในปีหน้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่