สารานุกรมปืนตอนที่ 620 canons of Japan in Sengoku : ปืนใหญ่ในช่วงสงครามเซนโกคุ

"ขอขอบคุณเพจ Siam Samurai Club อย่างสูงครับ"

https://www.facebook.com/siamsamuraiTH/

วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันในหมวดของปืนใหญ่ (Taiho : 大砲) ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรและมีประเภทไหนบ้าง ไปติดตามและรับชมกันได้เลยครับ



ต้องกล่าวก่อนอื่นเลยว่า "ปืนใหญ่" ไม่ได้มีบทบาทมากนักในสนามรบเนื่องด้วยเหตุผลด้านภูมิประเทศของญี่ปุ่นที่เป็นป่าทึบและภูเขาส่วนใหญ่ จึงทำให้การขนย้ายหรือบรรทุกปืนใหญ่และดินปืนจำนวนมาก เป็นเรื่องที่ยากลำบาก
อย่างไรก็ตามปืนใหญ่ กลับนำมาใช้เป็นครั้งคราวในสงครามทางเรือและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามการปิดล้อม โดยปืนใหญ่นั้นสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆได้แก่
-ประเภทที่บรรจุท้ายปืน (Ishibiya : 石火矢 หรือ Furankiho : フランキ砲)
-ประเภทที่บรรจุทางปากกระบอกปืน (Harakan : 破羅漢)
ที่มา :
จากเว็บไซต์
https://gunbai-militaryhistory.blogspot.com/.../taiho... 



ในช่วงปี ค.ศ.1576 ปืนใหญ่กระบอกแรกถูกนำเข้ามากับมิชชันนารีชาวโปรตุเกสโดยผ่านการค้าขายกับไดเมียวนามว่า โอโทโมะ โซริน (Otomo Sorin) ซึ่งปืนใหญ่ชนิดนี้ทำจากบรอนซ์หรือสำริด โดยมีความยาวอยู่ที่ 1.5-3เมตร และมีน้ำหนักมากถึง 120 กิโลกรัม โดยจุดเด่นของปืนใหญ่ชนิดนี้ก็คือ การบรรจุดินปืนและลูกกระสุนใส่ในกระบอกลำกล้อง ที่เรียกว่า "Chamber"ที่ท้ายปืน และเป็นปืนใหญ่ที่มีการติดตั้งบนแท่นหมุนทำให้สามารถหมุนยิงได้
จึงทำให้มันถูกเรียกว่า "อิชิบิยะ" (Ishibiya : 石火矢) หรือ "ฟุรันคิโฮ" (Furankihou : フランキ砲) ในบางครั้งยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "คุนิคุซุชิ" (Kunikuzushi : 国崩) ที่แปลว่า "ทำลายแว่นแคว้น"ร้องไห้ศัตรู) แต่ทว่าเนื่องจากการบรรจุกระสุนแบบท้ายปืนใหญ่และถูกทำขึ้นจากสำริดจึงทำให้มันมีอนุภาคการยิงที่ต่ำ อย่างไรก็ตามปืนใหญ่ชนิดนี้กลับถูกนำมาใช้ในศึกแรกที่ริม "แม่น้ำมิมิ" (Battle of Mimigawa ในปีค.ศ.1578) ระหว่างชิมาสุกับโอโทโมะ นอกจากนั้นมันยังถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันปราสาทอุสุกิ (Usuki Castle) ของตระกูลโอโทโมะอีกด้วยจึงอาจกล่าวได้ว่านี้คือปืนใหญ่รุ่นแรกของญี่ปุ่นนั้นเอง

ที่มา :จากเว็บไซต์

https://gunbai-militaryhistory.blogspot.com/
https://sengokurekishi.com/category7/entry73.html 



หลังจากการมาถึงของปืนใหญ่รุ่นแรกอย่าง อิชิบิยะ หรือ ฟุรันคิโฮ ชาวญี่ปุ่นก็ได้เริ่มพัฒนาปืนใหญ่ในรูปแบบของตนเอง โดยออกแบบให้มีการบรรจุกระสุนทางปากกระบอกปืน แบบเดียวกันกับ ฮินาวะจู ปืนใหญ่เหล่านี้จึงถูกเรียกว่า "ฮาราคัน" (Harakan : 破羅漢) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "โอซุทสึ" (Ozutsu : 大筒)
ว่ากันว่าปืนใหญ่ของญี่ปุ่น นั้นถูกสร้างขึ้นโดยช่างตีเหล็กแห่งหมู่บ้าน "คุนิโทโมะ" (Kunitomo : ตั้งอยู่ที่แคว้นโอมิ ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดชิกะ) ซึ่งเป็นหมู่บ้านช่างทำปืนที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งพอๆกับเมืองท่าซาไก และได้มีบทบาทอย่างมากในการผลิตปืนใหญ่ให้กับโทคุกาวะ อิเอยาสึเพื่อใช้ในสงครามสำคัญอย่าง เซกิกาฮาระ และการปิดล้อมปราสาทโอซาก้า เป็นต้น

ที่มา :จากเว็บไซต์

http://fuwakukai12.a.la9.jp/Kita/kita-taihou.html...
https://gunbai-militaryhistory.blogspot.com/.../taiho...
https://samurai-world.com/kunitomo-gunsmiths-to-the-samurai/ 



ปืนใหญ่ประเภทอื่นๆ
-โมคุโฮ (Moku-Hou : 木砲) เป็นปืนใหญ่ที่ทำจากไม้เนื้อแข็งแล้วเสริมลำกล้องด้วยเชือกหนาหรือห่วงเหล็ก ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่มีราคาถูกและมีน้ำหนักที่เบา อย่างไรก็ตามเป็นปืนใหญ่ที่มีความปลอดภัยต่ำมากและเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดจากการยิงได้ จึงทำให้มันถูกใช้ยิงลูกปืนใหญ่แค่2-3นัด แล้วทิ้งไปเลย นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นปืนส่งสัญญาณด้วยการยิงพลุควันนั้นเอง
-โบบิยะ (Boubiya : 棒火矢) เป็นลูกกระสุนหัวจรวดที่ใช้ปืนโอซุทสึในการยิง ซึ่งจะมีทั้งแบบถือยิงด้วยมือ และแบบติดตั้งบนฐานรองด้วยกองฟางที่ยัดบรรจุด้วยทราย ปืนใหญ่ชนิดนี้มักใช้เพื่อโจมตีทำลาย ประตูเมืองกำแพงปราสาท หรือแม้กระทั้งหอสังเกตการณ์
-ชิโบโฮ (Shibo-Hou : 子母砲) เป็นปืนใหญ่ที่บรรจุกระสุนที่ท้ายปืนแบบเดียวกันกับปืนใหญ่ อิชิบิยะหรือฟุรันคิโฮ จากจีน ซึ่งคาดว่ามันเป็นปืนใหญ่ที่ถูกยึดมาจากสงครามอิมจิน (Imjin War : สงครามญี่ปุ่นบุกเกาหลี) และญี่ปุ่นก็ได้นำมาใช้ในศึกสำคัญอย่างสงครามเซกิกาฮาระ

ที่มา :จากหนังสือ

The History of Japanese Armor [Volume 2] From the Warring States period to Edo period ( ผู้เขียน Ritta Nakanishi)

ที่มา :จากเว็ปไซต์

https://gunbai-militaryhistory.blogspot.com/ 



ปราสาทโอซาก้าถือเป็นอีก 1 ปราสาทที่เข้าตียากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นในยุคนั้นเลยทีเดียว กล่าวกันว่าตัวปราสาทนั้นมีคูน้ำ 2-3ชั้น และยาวกว่า 100 เมตรเลยทีเดียว อีกทั้งกำแพงปราสาทก็มีความสูงชั้นมาก จึงยากแก่การเข้าตี
ซึ่งในช่วงการปิดล้อมปราสาทโอซาก้า (Siege of Osaka ในปีค.ศ.1615) ว่ากันว่าอิเอยาสุได้สั่งการวางปืนใหญ่รอบๆตัวปราสาทโอซาก้า มากถึง 300 กระบอก (บางแหล่งก็บอกว่าอาจมีมากถึง 1,000 กระบอกเลยทีเดียว) โดยปืนใหญ่ที่อิเอยาสุนำมาใช้นั้นส่วนมากเป็นปืนใหญ่ที่ทำขึ้นที่หมู่บ้านคุนิโทโมะ และบางส่วนก็นำเข้าจากตะวันตก
ในท้ายที่สุดอิเอยาสึก็สามารถตีปราสาทโอซาก้าจนแตกพ่ายลงได้ จึงทำให้หลังจากนั้นปืนใหญ่ก็ไม่ได้มีความสำคัญในการรบอีก จนกระทั่งในช่วงปลายยุคเอโดะหลังจากเปิดประเทศปืนใหญ่ก็ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งและได้มีการสร้างและปรับปรุงรูปแบบอำนาจการยิงต่างๆให้มีอนุภาพทำลายล้างมากยิ่งขึ้น

ที่มา :จากหนังสือ

The History of Japanese Armor [Volume 2] From the Warring States period to Edo period ( ผู้เขียน Ritta Nakanishi)

ที่มา :จากเว็ปไซต์

https://hajimete-sangokushi.com/.../06/06/iyeyasuculverin/2/ 



สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่