โพลชี้คนไม่เชื่อรัฐจะฉีดวัคซีนได้ตามเป้า100ล้านโดสในปี64
https://www.posttoday.com/social/general/655369
ดุสิตโพลเผย คนไม่มั่นใจการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล เชื่อไม่น่าจะฉีดได้ตามเป้า 100 ล้านโดสในปี 64 ไม่เห็นด้วยกับการให้ประชาชนจ่ายเงินฉีดวัคซีนทางเลือกเอง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,450 คน สำรวจวันที่ 7-10 มิ.ย.64 พบว่า การกำหนดให้การฉีดวัคซีน เป็นวาระแห่งชาตินั้นเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการโดยเร่งด่วน
ร้อยละ 66.87 โดยประชาชนไม่ค่อยมั่นใจต่อการบริหารจัดการการฉีดวัคซีนของรัฐบาล
ร้อยละ 36.36 และคิดว่าการตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 50 ล้านคน ครบ 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 ไม่น่าจะสำเร็จ
ร้อยละ 57.61 มองว่าปัจจุบันปัญหาการฉีดวัคซีน คือ จำนวนวัคซีนไม่เพียงพอ ไม่หลากหลายยี่ห้อ
ร้อยละ 77.87 ต้องนำเข้าวัคซีนให้มากขึ้น ร้อยละ 78.74
ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยกับวัคซีนทางเลือกที่ประชาชนต้องจ่ายเงินเอง ร้อยละ 34.00
และไม่สนใจจะจองวัคซีนทางเลือก ร้อยละ 37.38
นางสาว
พรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 2 พันล้านโดส ขณะที่ไทยฉีดได้สะสม 5.67 ล้านโดส ประมาณ 1.52 ล้านคน หรือ คิดเป็น 2.2% ของประชากรทั้งหมด ถึงแม้จะมีการประกาศให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ แต่จากผลการสำรวจกลับพบว่าประชาชนยังไม่เชื่อมั่นการบริหารจัดการวัคซีนเท่าใดนัก และไม่คิดว่ารัฐบาลจะฉีดวัคซีนได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ด้วย
"
เวลานี้จึงควรแยกเกมการเมืองให้ออกจากชีวิตประชาชน บริหารจัดการวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนโดยเร็ว"นางสาว
พรพรรณ กล่าว
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า การกำหนดให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ เป็นทางออกที่ดีที่สุดในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ เพราะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต แต่การที่ประเทศไทยจะสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลในการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและทันเวลา การกระจายวัคซีนในพื้นที่ต่างๆ ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายและความพร้อมในการฉีดวัคซีน
การที่รัฐบาลมีการติดตามอาการข้างเคียงจากการ รับวัคซีน ตลอดจนการช่วยเหลือทางการเงินเบื้องต้นกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนนั้น ก็เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในการฉีดวัคซีนได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การนำเข้าวัคซีนทางเลือกขององค์การเภสัชกรรมร่วมกับโรงพยาบาลเอกชนก็ทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลายขึ้น และยังเป็นการช่วยรัฐบาลในการกระจายวัคซีนสู่ประชาชนที่สนใจและมีกำลังซื้อ เพิ่มโอกาสในการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
***********
กระทู้ผลสำรวจอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดโควิด-19
https://ppantip.com/topic/40773737
ประชาชนเชื่อ "จัดสรรวัคซีน" มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
https://www.nationtv.tv/main/content/378826423
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "
นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "
การจัดสรรวัคซีนป้องกัน COVID-19" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,313 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 ในขณะนี้ พบว่า
ร้อยละ 28.10 ระบุว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมาก
ร้อยละ 33.74 ระบุว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก
ร้อยละ 7.62 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
ร้อยละ 16.68 ระบุว่า ไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเลย
และร้อยละ 13.86 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความมั่นใจของประชาชนต่อการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 ในเดือนมิถุนายน 2564 ว่าจะเป็นไปตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 (ศบค.) วางแผนและประกาศไว้ พบว่า
ร้อยละ 14.78 ระบุว่า มั่นใจมาก เพราะ ประชาชนบางส่วนที่ลงทะเบียนไว้ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมั่นใจในการทำงานของรัฐบาล
ร้อยละ 22.70 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ เพราะ วัคซีนทยอยเข้ามาเยอะเเล้ว และมีการกระจายวัคซีนไปตามต่างจังหวัด ศบค. น่าจะทำตามแผนได้
ร้อยละ 39.22 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะ การนำเข้าวัคซีนค่อนข้างล่าช้า ประชาชนบางส่วนที่ลงทะเบียนไว้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามที่กำหนด โดนเลื่อนนัด และวัคซีนมีการกระจายไม่ทั่วถึง
ร้อยละ 22.01 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย เพราะ รัฐบาล และ ศบค. ไม่สามารถทำตามอย่างที่ประกาศไว้ และไม่สามารถหาวัคซีนมาได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
และร้อยละ 1.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เช่น อบจ. เทศบาล อบต. กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพัทยา) สามารถสั่งซื้อวัคซีนผ่านหน่วยงานของรัฐ เพื่อมาบริการให้กับประชาชนในพื้นที่ พบว่า
ร้อยละ 54.23 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการกระจายวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี ทำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น
ร้อยละ 25.74 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ประชาชนในท้องถิ่นที่ห่างไกลสามารถมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนง่ายขึ้น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะสามารถจัดสรรวัคซีนได้อย่างทั่วถึง
ร้อยละ 6.63 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวเกิดการทุจริต คอรัปชั่น ไม่โปร่งใส และบางหน่วยงานของท้องถิ่นยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน อาจทำให้ประชาชนได้รับผลเสีย
ร้อยละ 12.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ งบประมาณท้องถิ่นไม่สมควรมาปะปนกับงบประมาณเรื่องวัคซีน กลัวเกิดการทุจริตระหว่างการจัดซื้อวัคซีน และควรให้หน่วยงานของสาธารณสุขบริหารจัดการอย่างเดียว
และร้อยละ 1.21 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการสื่อสารของ ศบค. เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (2563) พบว่า
ร้อยละ 29.02 ระบุว่า สื่อสารได้ดีขึ้น
ร้อยละ 32.90 ระบุว่า สื่อสารได้ดีเหมือนเดิม
ร้อยละ 21.48 ระบุว่า สื่อสารแย่ลง
ร้อยละ 14.70 ระบุว่า สื่อสารแย่เหมือนเดิม
และร้อยละ 1.90 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
JJNY : โพลชี้คนไม่เชื่อฉีดได้ตามเป้า│เชื่อ"จัดสรรวัคซีน"การเมืองเกี่ยว│เลี้ยงวัวโคราชเดือดร้อนหนัก│อิตาลีระงับฉีดแอสตร้า
https://www.posttoday.com/social/general/655369
ดุสิตโพลเผย คนไม่มั่นใจการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาล เชื่อไม่น่าจะฉีดได้ตามเป้า 100 ล้านโดสในปี 64 ไม่เห็นด้วยกับการให้ประชาชนจ่ายเงินฉีดวัคซีนทางเลือกเอง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,450 คน สำรวจวันที่ 7-10 มิ.ย.64 พบว่า การกำหนดให้การฉีดวัคซีน เป็นวาระแห่งชาตินั้นเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการโดยเร่งด่วน
ร้อยละ 66.87 โดยประชาชนไม่ค่อยมั่นใจต่อการบริหารจัดการการฉีดวัคซีนของรัฐบาล
ร้อยละ 36.36 และคิดว่าการตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 50 ล้านคน ครบ 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 ไม่น่าจะสำเร็จ
ร้อยละ 57.61 มองว่าปัจจุบันปัญหาการฉีดวัคซีน คือ จำนวนวัคซีนไม่เพียงพอ ไม่หลากหลายยี่ห้อ
ร้อยละ 77.87 ต้องนำเข้าวัคซีนให้มากขึ้น ร้อยละ 78.74
ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยกับวัคซีนทางเลือกที่ประชาชนต้องจ่ายเงินเอง ร้อยละ 34.00
และไม่สนใจจะจองวัคซีนทางเลือก ร้อยละ 37.38
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 2 พันล้านโดส ขณะที่ไทยฉีดได้สะสม 5.67 ล้านโดส ประมาณ 1.52 ล้านคน หรือ คิดเป็น 2.2% ของประชากรทั้งหมด ถึงแม้จะมีการประกาศให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ แต่จากผลการสำรวจกลับพบว่าประชาชนยังไม่เชื่อมั่นการบริหารจัดการวัคซีนเท่าใดนัก และไม่คิดว่ารัฐบาลจะฉีดวัคซีนได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ด้วย
"เวลานี้จึงควรแยกเกมการเมืองให้ออกจากชีวิตประชาชน บริหารจัดการวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนโดยเร็ว"นางสาวพรพรรณ กล่าว
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า การกำหนดให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ เป็นทางออกที่ดีที่สุดในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ เพราะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต แต่การที่ประเทศไทยจะสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลในการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและทันเวลา การกระจายวัคซีนในพื้นที่ต่างๆ ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายและความพร้อมในการฉีดวัคซีน
การที่รัฐบาลมีการติดตามอาการข้างเคียงจากการ รับวัคซีน ตลอดจนการช่วยเหลือทางการเงินเบื้องต้นกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนนั้น ก็เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในการฉีดวัคซีนได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การนำเข้าวัคซีนทางเลือกขององค์การเภสัชกรรมร่วมกับโรงพยาบาลเอกชนก็ทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลายขึ้น และยังเป็นการช่วยรัฐบาลในการกระจายวัคซีนสู่ประชาชนที่สนใจและมีกำลังซื้อ เพิ่มโอกาสในการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
***********
กระทู้ผลสำรวจอย่างเป็นทางการของสวนดุสิตโพลครับ
ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดโควิด-19
https://ppantip.com/topic/40773737
ประชาชนเชื่อ "จัดสรรวัคซีน" มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
https://www.nationtv.tv/main/content/378826423
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "การจัดสรรวัคซีนป้องกัน COVID-19" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7 - 9 มิถุนายน 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,313 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 ในขณะนี้ พบว่า
ร้อยละ 28.10 ระบุว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมาก
ร้อยละ 33.74 ระบุว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก
ร้อยละ 7.62 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
ร้อยละ 16.68 ระบุว่า ไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเลย
และร้อยละ 13.86 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความมั่นใจของประชาชนต่อการจัดสรร/กระจาย วัคซีนป้องกัน COVID-19 ในเดือนมิถุนายน 2564 ว่าจะเป็นไปตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 (ศบค.) วางแผนและประกาศไว้ พบว่า
ร้อยละ 14.78 ระบุว่า มั่นใจมาก เพราะ ประชาชนบางส่วนที่ลงทะเบียนไว้ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมั่นใจในการทำงานของรัฐบาล
ร้อยละ 22.70 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ เพราะ วัคซีนทยอยเข้ามาเยอะเเล้ว และมีการกระจายวัคซีนไปตามต่างจังหวัด ศบค. น่าจะทำตามแผนได้
ร้อยละ 39.22 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ เพราะ การนำเข้าวัคซีนค่อนข้างล่าช้า ประชาชนบางส่วนที่ลงทะเบียนไว้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามที่กำหนด โดนเลื่อนนัด และวัคซีนมีการกระจายไม่ทั่วถึง
ร้อยละ 22.01 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย เพราะ รัฐบาล และ ศบค. ไม่สามารถทำตามอย่างที่ประกาศไว้ และไม่สามารถหาวัคซีนมาได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
และร้อยละ 1.29 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เช่น อบจ. เทศบาล อบต. กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพัทยา) สามารถสั่งซื้อวัคซีนผ่านหน่วยงานของรัฐ เพื่อมาบริการให้กับประชาชนในพื้นที่ พบว่า
ร้อยละ 54.23 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการกระจายวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี ทำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น
ร้อยละ 25.74 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ประชาชนในท้องถิ่นที่ห่างไกลสามารถมีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนง่ายขึ้น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะสามารถจัดสรรวัคซีนได้อย่างทั่วถึง
ร้อยละ 6.63 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ กลัวเกิดการทุจริต คอรัปชั่น ไม่โปร่งใส และบางหน่วยงานของท้องถิ่นยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน อาจทำให้ประชาชนได้รับผลเสีย
ร้อยละ 12.19 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ งบประมาณท้องถิ่นไม่สมควรมาปะปนกับงบประมาณเรื่องวัคซีน กลัวเกิดการทุจริตระหว่างการจัดซื้อวัคซีน และควรให้หน่วยงานของสาธารณสุขบริหารจัดการอย่างเดียว
และร้อยละ 1.21 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการสื่อสารของ ศบค. เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (2563) พบว่า
ร้อยละ 29.02 ระบุว่า สื่อสารได้ดีขึ้น
ร้อยละ 32.90 ระบุว่า สื่อสารได้ดีเหมือนเดิม
ร้อยละ 21.48 ระบุว่า สื่อสารแย่ลง
ร้อยละ 14.70 ระบุว่า สื่อสารแย่เหมือนเดิม
และร้อยละ 1.90 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ