โควิดวันนี้ สลด ติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่ม 33 ราย พบป่วยใหม่พุ่งกว่า2,000ราย - ข่าวสด
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6438774
ศบค. เผยสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิดวันนี้ ผู้ป่วยใหม่ยังพุ่งสูง ยอดสะสมระลอกเดือนเม.ย. 151,023 ราย เศร้า ติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่ม 33 ราย
เมื่อเวลา 07.55 น. วันที่ 7 มิ.ย.2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน เบื้องต้น มีผู้ป่วยรายใหม่ 2,419 ราย จำแนกเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,328 ราย, ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 91 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 2,999 ราย หายป่วยสะสม 102,090 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมระลอกเดือนเม.ย. จำนวน 151,023 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 33 ราย ทั้งนี้ ศบค.จะแถลงรายละเอียดให้ทราบอีกครั้งในเวลาประมาณ 12.30 น.
ชาวทวิตติด #เป๋าตัง รัวๆ หลังให้อัพเดตเวอร์ชั่น-ระบบล่มไม่หยุด
https://www.matichon.co.th/social/news_2762473
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างพากันติดแฮชแท็กเป๋าตัง (#เป๋าตัง) เนื่องจากมีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง ที่กำหนดให้ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นต้องกดอัพเดตแอพฯดังกล่าว ซึ่งการอัพเดตเวอร์ชั่นล่าสุด และเริ่มมีนโยบายแชร์ข้อมูลให้กับบริษัทภายนอก รวมถึงวันนี้ตลอดทั้งวันแอพพลิเคชั่นดังกล่าวก็ระบบก็ล่มอยู่ตลอดด้วย
อย่างไรก็ตาม
ธนาคารกรุงไทย แจ้งทางเพจเฟซบุ๊ก ว่า เพื่อยกระดับการให้บริการ และรองรับการฉีดวัคซีนในโครงการ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย” แอพพลิเคชั่นเป๋าตังจะทำการพัฒนาระบบในวันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 เวลา 18.00 น. ถึงวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เวลา 06.00 น. ธนาคารขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้
มาตรการมัดรวมหนี้เข็นไม่ขึ้น ลูกหนี้หวั่นถูกตัดวงเงิน-ยึดหลักประกัน
https://www.prachachat.net/finance/news-684656
แบงก์ประสานเสียงมาตรการ “มัดรวมหนี้” รายย่อยไม่ปัง ! ลูกค้าไม่สนใจ-เงื่อนไขไม่เอื้อ-กระบวนการยุ่งยาก เปิดข้อมูล ธปท. ภาพรวมใช้บริการไม่ถึง 3 พันราย แบงก์ชี้ลูกหนี้ห่วงโดน “ตัดวงเงินบัตรเครดิต-ยึดหลักประกัน” เผยเน้นขอปรับโครงสร้างหนี้-พักหนี้มากกว่า “ไทยพาณิชย์” เผยลูกค้าสนใจไม่ถึง 1% ของสินเชื่อรวม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานความคืบหน้ามาตรการรวมหนี้ (debt consolidation) ซึ่งได้เริ่มมาตรการตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 กระทั่งถึงวันที่ 14 พ.ค. 2564 พบว่ามีลูกหนี้เข้าโครงการรวมหนี้ราว 2,000-3,000 รายเท่านั้น คิดเป็นวงเงินสินเชื่อกว่า 4,000 ล้านบาท
ลูกหนี้ไม่สน “มัดรวมหนี้”
นาย
อนุวัติร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบุคคล ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (ttb) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธนาคารได้นำเสนอลูกหนี้เกี่ยวกับมาตรการรวมหนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ย หากมีหนี้ประเภทสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงเฉลี่ย 18-22% สามารถนำมารวมกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือเช่าซื้อได้ เพื่อลดภาระอัตราดอกเบี้ยชำระลดลงเหลือราว 7-8%
อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวถือว่ายังเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้ลูกค้ายังให้ความสนใจไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่ลูกค้าจะเน้นใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ มากกว่าการรวมหนี้ เช่น การขยายเทอมการชำระหนี้ การพักชำระเงินต้น เป็นต้น
ปัจจุบันมีลูกค้าที่ให้ความสนใจรวมหนี้ราว 500 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นการรวมหนี้กับเช่าซื้อรถยนต์มากกว่า เนื่องจากทำได้ง่ายกว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน เช่น มีเรื่องจดจำนอง เป็นต้น
“ถือเป็นการพยายามจะช่วยลูกหนี้แบ่งเบาภาระดอกเบี้ย สำหรับลูกหนี้ที่มีหลักประกัน ซึ่งทีทีบีมีพอร์ตสินเชื่อรถและบ้านเยอะ แต่ต้องยอมรับว่าการรวมหนี้เป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องสื่อสารระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งระหว่างนี้เพิ่งเริ่มต้นทำให้ยอดรวมหนี้ไม่มาก แต่เชื่อว่าเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์กับลูกหนี้” นาย
อนุวัติร์กล่าว
หนุนลดภาระดอกเบี้ย
ขณะที่นาย
ป้อมเพชร รสานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสินเชื่อรถยนต์ ttb กล่าวว่า ลูกค้าที่ให้ความสนใจเข้าโครงการความช่วยเหลือกว่า 1 หมื่นราย แต่ส่วนใหญ่จะขอใช้วงเงินรถแลกเงิน เพื่อนำไปชำระหนี้อื่น ๆ และมีลูกค้าประมาณ 20-30% เท่านั้นที่สนใจเข้าโปรแกรมรวมหนี้
“ธปท.พยายามสนับสนุนให้เกิดการรวมหนี้ระหว่างสินเชื่อที่มีหลักประกัน ทั้งในส่วนเช่าซื้อหรือที่อยู่อาศัย กับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ซึ่งอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงเฉลี่ย 16-18% เพื่อต้องการลดภาระทางด้านดอกเบี้ยให้ถูกลง ซึ่งจะช่วยลดภาระลงได้มากกว่า 50% ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อลูกค้า แต่ต้องยอมรับว่าเป็นโปรแกรมที่ลูกค้ายังไม่ค่อยเข้าใจมากนัก จึงต้องสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และจะช่วยกระตุ้นให้คนเข้าใจมากขึ้น และยอดการรวมหนี้จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ” นาย
ป้อมเพชรกล่าว
เงื่อนไขไม่เอื้อ
นาย
ชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตอนนี้ลูกหนี้ที่เข้ามาตรการรวมหนี้ยังค่อนข้างน้อยมาก ส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าไม่อยากโดนปิดวงเงินบัตรเครดิตตามเงื่อนไข ดังนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ลดค่างวด หรือปรับโครงสร้างหนี้แทนการรวมหนี้
“ลูกค้าที่ขอรวมหนี้ไม่เยอะมาก เพราะเขาก็ไม่อยากให้ไปยุ่งกับหลักประกันของเขา เช่น บ้านหรือรถยนต์ เมื่อเทียบกับหนี้บัตรเครดิตที่วงเงินหลักหมื่นลักแสนต้น ๆ เพราะถ้าทำแล้ววงเงินบัตรเครดิตอาจหายไป ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่กังวลและไม่อยากทำ” นาย
ชัยยศกล่าว
นาย
ณัฐพล ลือพร้อมชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรงศรีอยุธยา กล่าวว่า ที่ผ่านมามีลูกค้าขอเข้ามาตรการช่วยเหลือผ่านการรวมหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยบ้างแต่น้อยมาก เนื่องจากลูกหนี้ส่วนใหญ่ใช้บริการเงินกู้จากหลายสถาบันการเงิน ทำให้รวมหนี้ไม่ได้ เพราะมาตรการแบงก์ชาติยังคงกำหนดให้รวมหนี้ภายในธนาคารเดียวกัน จึงมีลูกค้าที่เข้ามาตรการรวมหนี้และผ่านกระบวนการค่อนข้างน้อย
ทางเลือกที่ดีกว่า
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่แบงก์และน็อนแบงก์ออกมาตรการช่วยเหลือค่อนข้างครอบคลุม เช่น บางแห่งขยายเทอมการชำระหนี้สูงถึง 99 เดือน หรือลดอัตราการชำระหนี้ขั้นต่ำ การลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ถือว่าช่วยเหลือลูกค้าได้พอสมควร ทำให้มาตรการรวมหนี้จึงเหมาะสมกับลูกค้าที่มีหนี้หลายประเภทและอยู่ในธนาคารแห่งเดียวกันเท่านั้น
นาย
มาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ตอนนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและสำรวจลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือผ่านมาตรการรวมหนี้เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ในช่วงก่อนหน้านี้มีลูกค้าที่ขอเข้าโครงการรวมหนี้คิดเป็นจำนวนลูกค้าและยอดสินเชื่อค่อนข้างน้อยไม่ได้มีนัยสำคัญ โดยมีอยู่ไม่ถึง 1% ของสินเชื่อทั้งหมด
JJNY : ดับเพิ่ม 33 ติดเชื้อใหม่ 2,419│#เป๋าตัง หลังอัพเดต-ล่มไม่หยุด│มัดรวมหนี้เข็นไม่ขึ้น│มาเลเซียพบคลัสเตอร์พุ่ง30แห่ง
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6438774
ศบค. เผยสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิดวันนี้ ผู้ป่วยใหม่ยังพุ่งสูง ยอดสะสมระลอกเดือนเม.ย. 151,023 ราย เศร้า ติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่ม 33 ราย
เมื่อเวลา 07.55 น. วันที่ 7 มิ.ย.2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน เบื้องต้น มีผู้ป่วยรายใหม่ 2,419 ราย จำแนกเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,328 ราย, ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 91 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 2,999 ราย หายป่วยสะสม 102,090 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมระลอกเดือนเม.ย. จำนวน 151,023 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 33 ราย ทั้งนี้ ศบค.จะแถลงรายละเอียดให้ทราบอีกครั้งในเวลาประมาณ 12.30 น.
ชาวทวิตติด #เป๋าตัง รัวๆ หลังให้อัพเดตเวอร์ชั่น-ระบบล่มไม่หยุด
https://www.matichon.co.th/social/news_2762473
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างพากันติดแฮชแท็กเป๋าตัง (#เป๋าตัง) เนื่องจากมีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง ที่กำหนดให้ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นต้องกดอัพเดตแอพฯดังกล่าว ซึ่งการอัพเดตเวอร์ชั่นล่าสุด และเริ่มมีนโยบายแชร์ข้อมูลให้กับบริษัทภายนอก รวมถึงวันนี้ตลอดทั้งวันแอพพลิเคชั่นดังกล่าวก็ระบบก็ล่มอยู่ตลอดด้วย
อย่างไรก็ตาม ธนาคารกรุงไทย แจ้งทางเพจเฟซบุ๊ก ว่า เพื่อยกระดับการให้บริการ และรองรับการฉีดวัคซีนในโครงการ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย” แอพพลิเคชั่นเป๋าตังจะทำการพัฒนาระบบในวันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 เวลา 18.00 น. ถึงวันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เวลา 06.00 น. ธนาคารขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้
มาตรการมัดรวมหนี้เข็นไม่ขึ้น ลูกหนี้หวั่นถูกตัดวงเงิน-ยึดหลักประกัน
https://www.prachachat.net/finance/news-684656
แบงก์ประสานเสียงมาตรการ “มัดรวมหนี้” รายย่อยไม่ปัง ! ลูกค้าไม่สนใจ-เงื่อนไขไม่เอื้อ-กระบวนการยุ่งยาก เปิดข้อมูล ธปท. ภาพรวมใช้บริการไม่ถึง 3 พันราย แบงก์ชี้ลูกหนี้ห่วงโดน “ตัดวงเงินบัตรเครดิต-ยึดหลักประกัน” เผยเน้นขอปรับโครงสร้างหนี้-พักหนี้มากกว่า “ไทยพาณิชย์” เผยลูกค้าสนใจไม่ถึง 1% ของสินเชื่อรวม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานความคืบหน้ามาตรการรวมหนี้ (debt consolidation) ซึ่งได้เริ่มมาตรการตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 กระทั่งถึงวันที่ 14 พ.ค. 2564 พบว่ามีลูกหนี้เข้าโครงการรวมหนี้ราว 2,000-3,000 รายเท่านั้น คิดเป็นวงเงินสินเชื่อกว่า 4,000 ล้านบาท
ลูกหนี้ไม่สน “มัดรวมหนี้”
นายอนุวัติร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบุคคล ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (ttb) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ธนาคารได้นำเสนอลูกหนี้เกี่ยวกับมาตรการรวมหนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ย หากมีหนี้ประเภทสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงเฉลี่ย 18-22% สามารถนำมารวมกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือเช่าซื้อได้ เพื่อลดภาระอัตราดอกเบี้ยชำระลดลงเหลือราว 7-8%
อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวถือว่ายังเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้ลูกค้ายังให้ความสนใจไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่ลูกค้าจะเน้นใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ มากกว่าการรวมหนี้ เช่น การขยายเทอมการชำระหนี้ การพักชำระเงินต้น เป็นต้น
ปัจจุบันมีลูกค้าที่ให้ความสนใจรวมหนี้ราว 500 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นการรวมหนี้กับเช่าซื้อรถยนต์มากกว่า เนื่องจากทำได้ง่ายกว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน เช่น มีเรื่องจดจำนอง เป็นต้น
“ถือเป็นการพยายามจะช่วยลูกหนี้แบ่งเบาภาระดอกเบี้ย สำหรับลูกหนี้ที่มีหลักประกัน ซึ่งทีทีบีมีพอร์ตสินเชื่อรถและบ้านเยอะ แต่ต้องยอมรับว่าการรวมหนี้เป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องสื่อสารระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งระหว่างนี้เพิ่งเริ่มต้นทำให้ยอดรวมหนี้ไม่มาก แต่เชื่อว่าเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์กับลูกหนี้” นายอนุวัติร์กล่าว
หนุนลดภาระดอกเบี้ย
ขณะที่นายป้อมเพชร รสานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสินเชื่อรถยนต์ ttb กล่าวว่า ลูกค้าที่ให้ความสนใจเข้าโครงการความช่วยเหลือกว่า 1 หมื่นราย แต่ส่วนใหญ่จะขอใช้วงเงินรถแลกเงิน เพื่อนำไปชำระหนี้อื่น ๆ และมีลูกค้าประมาณ 20-30% เท่านั้นที่สนใจเข้าโปรแกรมรวมหนี้
“ธปท.พยายามสนับสนุนให้เกิดการรวมหนี้ระหว่างสินเชื่อที่มีหลักประกัน ทั้งในส่วนเช่าซื้อหรือที่อยู่อาศัย กับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล ซึ่งอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงเฉลี่ย 16-18% เพื่อต้องการลดภาระทางด้านดอกเบี้ยให้ถูกลง ซึ่งจะช่วยลดภาระลงได้มากกว่า 50% ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อลูกค้า แต่ต้องยอมรับว่าเป็นโปรแกรมที่ลูกค้ายังไม่ค่อยเข้าใจมากนัก จึงต้องสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และจะช่วยกระตุ้นให้คนเข้าใจมากขึ้น และยอดการรวมหนี้จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ” นายป้อมเพชรกล่าว
เงื่อนไขไม่เอื้อ
นายชัยยศ ตันพิสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตอนนี้ลูกหนี้ที่เข้ามาตรการรวมหนี้ยังค่อนข้างน้อยมาก ส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าไม่อยากโดนปิดวงเงินบัตรเครดิตตามเงื่อนไข ดังนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ลดค่างวด หรือปรับโครงสร้างหนี้แทนการรวมหนี้
“ลูกค้าที่ขอรวมหนี้ไม่เยอะมาก เพราะเขาก็ไม่อยากให้ไปยุ่งกับหลักประกันของเขา เช่น บ้านหรือรถยนต์ เมื่อเทียบกับหนี้บัตรเครดิตที่วงเงินหลักหมื่นลักแสนต้น ๆ เพราะถ้าทำแล้ววงเงินบัตรเครดิตอาจหายไป ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่กังวลและไม่อยากทำ” นายชัยยศกล่าว
นายณัฐพล ลือพร้อมชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรงศรีอยุธยา กล่าวว่า ที่ผ่านมามีลูกค้าขอเข้ามาตรการช่วยเหลือผ่านการรวมหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยบ้างแต่น้อยมาก เนื่องจากลูกหนี้ส่วนใหญ่ใช้บริการเงินกู้จากหลายสถาบันการเงิน ทำให้รวมหนี้ไม่ได้ เพราะมาตรการแบงก์ชาติยังคงกำหนดให้รวมหนี้ภายในธนาคารเดียวกัน จึงมีลูกค้าที่เข้ามาตรการรวมหนี้และผ่านกระบวนการค่อนข้างน้อย
ทางเลือกที่ดีกว่า
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่แบงก์และน็อนแบงก์ออกมาตรการช่วยเหลือค่อนข้างครอบคลุม เช่น บางแห่งขยายเทอมการชำระหนี้สูงถึง 99 เดือน หรือลดอัตราการชำระหนี้ขั้นต่ำ การลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ถือว่าช่วยเหลือลูกค้าได้พอสมควร ทำให้มาตรการรวมหนี้จึงเหมาะสมกับลูกค้าที่มีหนี้หลายประเภทและอยู่ในธนาคารแห่งเดียวกันเท่านั้น
นายมาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ตอนนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและสำรวจลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือผ่านมาตรการรวมหนี้เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ในช่วงก่อนหน้านี้มีลูกค้าที่ขอเข้าโครงการรวมหนี้คิดเป็นจำนวนลูกค้าและยอดสินเชื่อค่อนข้างน้อยไม่ได้มีนัยสำคัญ โดยมีอยู่ไม่ถึง 1% ของสินเชื่อทั้งหมด