หลายคนเรียนคณะนิติศาสตร์ แต่ไม่รู้ว่าเรียนจบไปแล้ว ทำอะไรได้บ้าง วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟัง และบอกขั้นตอนในแต่ละอย่างนะครับ เพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ให้หลาย ๆ คนไม่มากก็น้อย
จะพยายามเขียนให้สั้นกระชับนะครับ
*ทุกอย่างในกระทู้ based on ความเข้าใจของผมคนเดียวนะครับ ไม่ได้ครบถ้วน 100% แต่ล้วนเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครับ ข้อมูลอาจจะไม่ครบ แต่ข้อมูลถูกต้องแน่นอน (ถ้ามีอะไรไม่ถูกต้องคอมเม้นมาได้เลยครับ) แค่อยากแชร์ให้ฟังกัน เป็นเรื่องที่แม้แต่เด็กที่จบนิติศาสตร์เองหลายคนก็ยังไม่รู้ แต่ผมจะมาโพสท์ให้ทุกคนได้อ่านกันง่าย ๆ ซื่อ ๆ ตรงนี้เลย ใช้ภาษาปากนะครับ ไม่ใช่ภาษาทางการ อาจจะไม่ได้ครบในรายละเอียดยิบย่อยนะครับ ผมหยิบมาเฉพาะส่วนหลัก ๆ สำคัญ ๆ
1. ไปเป็นทนายความ
เงินเดือนเริ่มต้นเดือนแรกอาจจะอยู่ที่ 16,000 บาท/เดือน
ภายในระยะเวลา 5 ปี อาจมีรายได้ขยับไปที่ 27,000 - 75,000 บาท/เดือน แล้วแต่ความเก่ง ความมีไหวพริบ ประสบการณ์ และการรู้ช่องทางการทำงาน
ใครว่าความเก่ง ๆ มีทักษะ มีความสามารถ จังหวะดี โอกาสดี สามารถมีเงินเดือนหลักแสนได้ครับภายในอายุ 35 ปี แต่ก็มีไม่เยอะหรอกถ้าเทียบจากสัดส่วนทั้งหมดแล้ว นอกจากจะเป็นคนที่เก่ง
อยากเป็นทนายความต้องทำยังไง?
คำตอบอย่างสั้น: ต้องขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความครับ
แต่ความเป็นจริง มันไม่ง่ายเลย การขอฯ เนี่ย มันมีรายละเอียดเยอะซับซ้อนครับ มีรายละเอียดตามข้อมูลดังต่อไปนี้เลยครับ
แล้วการขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความต้องทำยังไง?
- ต้องจบปอตรีคณะนิติศาสตร์
- มีสัญชาติไทย / อายุเกิน 20 ปี / ไม่มีเรื่องฉาวให้เขาจับได้ในประวัติทะเบียน / ไม่เคยติดคุก / ไม่ล้มละลาย ฯลฯ
- คุณจะต้องไปสมัครลงทะเบียนกับสภาทนายความฯ โดยเอกสารสำคัญที่ใช้สมัคร คือ (1) ใบอนุปริญญาคณะนิติศาสตร์ หรือ (2) ใบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ (ภาษาทางการคือนิติศาสตร์บัณฑิต) ที่เหลือก็เป็นเอกสารที่ทุกคนมีทั่วไปครับ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ค่าสมัคร รูปถ่าย ฯลฯ
- ถ้าคุณมีใบอนุปริญญาหรือมีใบปริญญาตรีแล้ว คุณสามารถเลือกสมัครได้ 2 รูปแบบ (1) สมัครอบรมวิชาว่าความ เรียกว่า สมัครตั๋วรุ่น (2) สมัครฝึกงานประจำสำนักงาน 1 ปี เรียกว่า สมัครตั๋วปี (ภาษาปากจะเรียกเหมาทั้งตั๋วรุ่นและตั๋วปีว่า "ตั๋วทนาย") (เรียกภาษาสวย ๆ ว่าใบอนุญาติว่าความ)
- มันแปลว่า คุณต้องสอบใบอนุญาตว่าความให้ผ่าน การสอบมีแบบตั๋วรุ่นและแบบตั๋วปี
- ถ้าคุณสมัครแบบตั๋วรุ่น คุณจะต้องผ่านการทดสอบ 2 อย่าง (1) สอบภาพทฤษฎี และ (2) สอบภาคปฏิบัติ (ตั๋วรุ่น เมื่อสอบภาคทฤษฎีได้แล้ว ต้องไปลงทะเบียนฝึกงานในสำนักงานกฎหมายอีก 6 เดือน พอฝึกงานครบ 6 เดือน ก็จะสอบผ่านภาคปฏิบัติ กล่าวคือ การสอบภาคปฏิบัติก็เหมือนกับการฝึกงานดี ๆ นี่เอง)
- ถ้าคุณสมัครแบบตั๋วปี คุณจะต้องสอบผ่านการสอบภาคปฏิบัติ (ผู้ที่มีสิทธิสอบตั๋วปีจะต้องฝึกงานหรือทำงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ถึงจะสามารถสอบภาคปฏิบัติได้)
(เนื้อหาที่ต้องเตรียมไปสอบ จะมี 2 ส่วน คือ "มรรยาททนายความ" และ "กระบวนการดำเนินการในศาล เรื่องการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง ฯลฯ เขียนฟ้องให้ศาลรับฟ้อง" ซึ่งอันนี้ก็ต้องศึกษาอ่านหนังสือก่อนไปสอบเองครับ ในกระทู้นี้จะไม่ได้มาติวให้ แต่จะบอกขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ให้นะครับ)
- ถ้าคุณสอบผ่านแล้ว สุดท้าย คุณจะต้องสอบปากเปล่าอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการสมัครแบบตั๋วรุ่นหรือตั๋วปี
- หลังจากสอบปากเปล่าผ่าน คุณจะต้องไปอบรมจริยธรรมและรับใบประกาศนียบัตร และต้องทำการสมัครเป็นวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตฯ มีรายละเอียดอยู่ในข้อถัดไป
- ผู้ที่ผ่านการอบรมใบอนุญาตว่าความแล้ว หากอยากประกอบอาชีพเป็นทนายความอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เป็นเพียงนักกฎหมาย จะต้องไปขอจดวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตยสภาก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ทุกคนต้องทำถ้าอยากเป็นทนายความ เพื่อขอหนังสือรับรองที่ใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา แล้วค่อยเอาไปขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความกับสภาทนายความครับ
- ทันทีที่คุณได้ยื่นขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความกับสภาทนายความเสร็จ คุณก็จะได้กลายเป็นทนายความเต็มตัว ทีนี้ คุณก็แค่ต้องหางานตามสถานที่ที่เขาต้องการทนายความได้เลยครับ
- ก็อาจจะไปเป็นทนายรัฐความตามศาลก็ได้ ไปทำงานในสำนักงานทนายความก็ได้ หรืออาจจะไปทำบริษัทเอกชน in-house ก็ได้ (บางที่เขาก็อยากได้คนที่มีตั๋วทนาย) หรืออาจจะไปทำ law firm ก็ได้ (แต่อันนี้เขาก็จะเลือกเฉพาะพวกหัวกะทิจากมอดัง แต่ก็มีหลายคนที่เป็นเด็กเส้นนะครับ ของอย่างนี้มันฝึกกันได้)
*หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง "การสอบเนฯ" มันย่อมาจาก "การจบเนติบัณฑิต" ซึ่งคนที่อยากเป็นทนายความ ไม่ต้องไปสอบเนฯ เพราะว่าคนที่ต้องสอบเนฯ คือคนที่ต้องการเป็นอัยการหรือผู้พิพากษาครับ
จบแล้วครับ จะเห็นว่า ช่องทางการจะเป็นทนายความได้มันค่อนข้างยุ่งยากนะครับ ไม่ใช่ว่าคนที่จบนิติศาสตร์จะได้เป็นทนายความกันทุกคน แต่ต้องเป็นคนที่พอจบคณะนิติศาสตร์แล้ว ต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ให้ครบ ถึงจะได้เป็นทนายได้ ก็ต้องลงแรงพอสมควร เป็นอันจบช่องทางการเป็นทนายความครับ ไว้เดี๋ยวมาเขียนอัพเดทต่อเรื่อย ๆ
เรียนจบนิติศาสตร์ทำอะไรต่อดี? ไปเป็นทนายควาย อัยการ ผู้พิพากษา ลอวเฟิร์ม อินเฮาส์ ฯลฯ ต้องทำยังไง มาอ่านกระทู้นี้ได้ครับ
จะพยายามเขียนให้สั้นกระชับนะครับ
*ทุกอย่างในกระทู้ based on ความเข้าใจของผมคนเดียวนะครับ ไม่ได้ครบถ้วน 100% แต่ล้วนเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครับ ข้อมูลอาจจะไม่ครบ แต่ข้อมูลถูกต้องแน่นอน (ถ้ามีอะไรไม่ถูกต้องคอมเม้นมาได้เลยครับ) แค่อยากแชร์ให้ฟังกัน เป็นเรื่องที่แม้แต่เด็กที่จบนิติศาสตร์เองหลายคนก็ยังไม่รู้ แต่ผมจะมาโพสท์ให้ทุกคนได้อ่านกันง่าย ๆ ซื่อ ๆ ตรงนี้เลย ใช้ภาษาปากนะครับ ไม่ใช่ภาษาทางการ อาจจะไม่ได้ครบในรายละเอียดยิบย่อยนะครับ ผมหยิบมาเฉพาะส่วนหลัก ๆ สำคัญ ๆ
1. ไปเป็นทนายความ
เงินเดือนเริ่มต้นเดือนแรกอาจจะอยู่ที่ 16,000 บาท/เดือน
ภายในระยะเวลา 5 ปี อาจมีรายได้ขยับไปที่ 27,000 - 75,000 บาท/เดือน แล้วแต่ความเก่ง ความมีไหวพริบ ประสบการณ์ และการรู้ช่องทางการทำงาน
ใครว่าความเก่ง ๆ มีทักษะ มีความสามารถ จังหวะดี โอกาสดี สามารถมีเงินเดือนหลักแสนได้ครับภายในอายุ 35 ปี แต่ก็มีไม่เยอะหรอกถ้าเทียบจากสัดส่วนทั้งหมดแล้ว นอกจากจะเป็นคนที่เก่ง
อยากเป็นทนายความต้องทำยังไง?
คำตอบอย่างสั้น: ต้องขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความครับ
แต่ความเป็นจริง มันไม่ง่ายเลย การขอฯ เนี่ย มันมีรายละเอียดเยอะซับซ้อนครับ มีรายละเอียดตามข้อมูลดังต่อไปนี้เลยครับ
แล้วการขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความต้องทำยังไง?
- ต้องจบปอตรีคณะนิติศาสตร์
- มีสัญชาติไทย / อายุเกิน 20 ปี / ไม่มีเรื่องฉาวให้เขาจับได้ในประวัติทะเบียน / ไม่เคยติดคุก / ไม่ล้มละลาย ฯลฯ
- คุณจะต้องไปสมัครลงทะเบียนกับสภาทนายความฯ โดยเอกสารสำคัญที่ใช้สมัคร คือ (1) ใบอนุปริญญาคณะนิติศาสตร์ หรือ (2) ใบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ (ภาษาทางการคือนิติศาสตร์บัณฑิต) ที่เหลือก็เป็นเอกสารที่ทุกคนมีทั่วไปครับ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ค่าสมัคร รูปถ่าย ฯลฯ
- ถ้าคุณมีใบอนุปริญญาหรือมีใบปริญญาตรีแล้ว คุณสามารถเลือกสมัครได้ 2 รูปแบบ (1) สมัครอบรมวิชาว่าความ เรียกว่า สมัครตั๋วรุ่น (2) สมัครฝึกงานประจำสำนักงาน 1 ปี เรียกว่า สมัครตั๋วปี (ภาษาปากจะเรียกเหมาทั้งตั๋วรุ่นและตั๋วปีว่า "ตั๋วทนาย") (เรียกภาษาสวย ๆ ว่าใบอนุญาติว่าความ)
- มันแปลว่า คุณต้องสอบใบอนุญาตว่าความให้ผ่าน การสอบมีแบบตั๋วรุ่นและแบบตั๋วปี
- ถ้าคุณสมัครแบบตั๋วรุ่น คุณจะต้องผ่านการทดสอบ 2 อย่าง (1) สอบภาพทฤษฎี และ (2) สอบภาคปฏิบัติ (ตั๋วรุ่น เมื่อสอบภาคทฤษฎีได้แล้ว ต้องไปลงทะเบียนฝึกงานในสำนักงานกฎหมายอีก 6 เดือน พอฝึกงานครบ 6 เดือน ก็จะสอบผ่านภาคปฏิบัติ กล่าวคือ การสอบภาคปฏิบัติก็เหมือนกับการฝึกงานดี ๆ นี่เอง)
- ถ้าคุณสมัครแบบตั๋วปี คุณจะต้องสอบผ่านการสอบภาคปฏิบัติ (ผู้ที่มีสิทธิสอบตั๋วปีจะต้องฝึกงานหรือทำงานในสำนักงานทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ถึงจะสามารถสอบภาคปฏิบัติได้)
(เนื้อหาที่ต้องเตรียมไปสอบ จะมี 2 ส่วน คือ "มรรยาททนายความ" และ "กระบวนการดำเนินการในศาล เรื่องการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง ฯลฯ เขียนฟ้องให้ศาลรับฟ้อง" ซึ่งอันนี้ก็ต้องศึกษาอ่านหนังสือก่อนไปสอบเองครับ ในกระทู้นี้จะไม่ได้มาติวให้ แต่จะบอกขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ให้นะครับ)
- ถ้าคุณสอบผ่านแล้ว สุดท้าย คุณจะต้องสอบปากเปล่าอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการสมัครแบบตั๋วรุ่นหรือตั๋วปี
- หลังจากสอบปากเปล่าผ่าน คุณจะต้องไปอบรมจริยธรรมและรับใบประกาศนียบัตร และต้องทำการสมัครเป็นวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตฯ มีรายละเอียดอยู่ในข้อถัดไป
- ผู้ที่ผ่านการอบรมใบอนุญาตว่าความแล้ว หากอยากประกอบอาชีพเป็นทนายความอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เป็นเพียงนักกฎหมาย จะต้องไปขอจดวิสามัญสมาชิกกับเนติบัณฑิตยสภาก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ทุกคนต้องทำถ้าอยากเป็นทนายความ เพื่อขอหนังสือรับรองที่ใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา แล้วค่อยเอาไปขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความกับสภาทนายความครับ
- ทันทีที่คุณได้ยื่นขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความกับสภาทนายความเสร็จ คุณก็จะได้กลายเป็นทนายความเต็มตัว ทีนี้ คุณก็แค่ต้องหางานตามสถานที่ที่เขาต้องการทนายความได้เลยครับ
- ก็อาจจะไปเป็นทนายรัฐความตามศาลก็ได้ ไปทำงานในสำนักงานทนายความก็ได้ หรืออาจจะไปทำบริษัทเอกชน in-house ก็ได้ (บางที่เขาก็อยากได้คนที่มีตั๋วทนาย) หรืออาจจะไปทำ law firm ก็ได้ (แต่อันนี้เขาก็จะเลือกเฉพาะพวกหัวกะทิจากมอดัง แต่ก็มีหลายคนที่เป็นเด็กเส้นนะครับ ของอย่างนี้มันฝึกกันได้)
*หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง "การสอบเนฯ" มันย่อมาจาก "การจบเนติบัณฑิต" ซึ่งคนที่อยากเป็นทนายความ ไม่ต้องไปสอบเนฯ เพราะว่าคนที่ต้องสอบเนฯ คือคนที่ต้องการเป็นอัยการหรือผู้พิพากษาครับ
จบแล้วครับ จะเห็นว่า ช่องทางการจะเป็นทนายความได้มันค่อนข้างยุ่งยากนะครับ ไม่ใช่ว่าคนที่จบนิติศาสตร์จะได้เป็นทนายความกันทุกคน แต่ต้องเป็นคนที่พอจบคณะนิติศาสตร์แล้ว ต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ให้ครบ ถึงจะได้เป็นทนายได้ ก็ต้องลงแรงพอสมควร เป็นอันจบช่องทางการเป็นทนายความครับ ไว้เดี๋ยวมาเขียนอัพเดทต่อเรื่อย ๆ