งานแปลอัตชีวประวัติเชิงทหาร/ยุทธวิธี ที่ชวนหงุดหงิด

กระทู้สนทนา
ชวนคุยนะ ไม่มีเรื่องส่วนตัวกับนักแปล แต่มีปัญหากับบรรณาธิการว่า ปล่อยมาได้ไง

ผมชอบอ่านงานแปล/งานเขียนเชิงอัตชีวประวัติอยู่ช่วงหนึ่ง
ขออนุญาตบ่งบอกให้เฉพาะเจาะจง คือ ช่วงปี ค.ศ. 2013 ผมอ่านงานเขียนประวัติการทำงานของ US Navy Seal หลายเล่ม
บางเล่มเจอในร้านที่ขายหนังสือต่างประเทศ ก็ได้หนังสือภาษาต้นฉบับมา (คือภาษาอังกฤษ)
แต่บางเล่มเป็นหนังสือแปลที่เจอในร้านหนังสือไทย ก็ซื้อมา เพราะช่วงนั้นชอบอ่านมาก เจอเป็นต้องซื้อ

แต่ปัญหาที่พบคือ ฉบับแปลภาษาไทยบางเล่มที่ได้มา สำนวนแปลชวนหงุดหงิด
เพราะผู้แปล แปลแบบตรงคำ มากเกินไป
ซึ่งเข้าใจว่าเกิดขึ้นได้สำหรับคนที่ไม่เข้าใจบริบทของยุทธวิธีและแทคติค

อนึ่ง ผมบอกก่อนว่า ผมมีบุคคลที่แปลงานเขียนแนวนี้ได้ดี อ่านลื่นไหล เป็นตัวเปรียบเทียบแล้วมากกว่าหนึ่งคน
แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะคุย ขอไม่พูดถึง
ขอเข้าเรื่องงานแปลที่ไม่ชอบใจ ตามหัวข้อที่ตั้งไว้

ตัวอย่างหนังสือที่จะชวนคุย คือ
หนังสืออัตชีวประวัติ No Easy Day โดย Mark Owen และ Kevin Maurer
มีชื่อภาษาไทยว่า ปฏิบัติการสังหารบิน ลาดิน

*สถานการณ์การฝึกการรบระยะประชิด หรือ CQB หน้า 26

...."ขึ้นเซฟ  ปล่อยให้ห้อย" ครูฝึกส่งเสียงจากทางเดินเหนือหัว...!!!
ผมคาดว่ามาจากต้นฉบับคือ "Put on safe and let'em hang" 
(ผมคิดว่าน่าจะใช้ข้อความ เช่น ขึ้นเซฟ แล้วห้อยปืนได้)

*สถานการณ์การวางระเบิดทำลาย แล้วชุดจุดระเบิดไม่ทำงาน หน้า 68

..."กฎนิ้วโป้ง หนึ่งคือศูนย์ สองคือหนึ่ง  "... !!!
ผมคาดว่ามาจากต้นฉบับคือ "Rule of thumb. One equals zero. Two equals one."
(ผมคิดว่าน่าจะใช้ข้อความ เช่น กฎพื้น ๆเลยนะ หนึ่งเท่ากับศูนย์ สองเท่ากับหนึ่ง)

หรือแม้เรื่องทั่วไปที่ไม่ใช่เชิงยุทธวิธี เช่น

*สถานการณ์เด็กชายออกไปล่าสัตว์กับพ่อกลางฤดูหนาวในอลาสกา หน้า 76

..."ผมแช่แข็งไปแล้ว "... !!!
ผมคาดว่ามาจากต้นฉบับคือ "I am frozen."
(ผมคิดว่าน่าจะใช้ข้อความ เช่น ผมหนาวจนแข็งแล้ว)

 อะไรแบบนี้ครับ .....
ผมอ่านรอบแรกตอนช่วงนั้นก็ไม่ชอบใจ 
บรรณาธิการไม่น่าปล่อยมา
ตอนนี้โควิด ผมอยู่บ้าน ผมรื้อหนังสือบนชั้นมาอ่านซ้ำ
ก็รู้สึกเหมือนเดิม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่