(ว่าวทะเลทรายใน Jordanian Harrat แสดงกำแพงหินที่ยาวมาก )
ว่าวทะเลทราย (Desert kites) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยกำแพงยาวสองชั้นที่มาบรรจบกันบนพื้นที่ปิด ซึ่งมีโครงสร้างหินขนาดเล็กรอบนอกที่เรียกว่า " cells " เมื่อมองจากท้องฟ้ารูปร่างของพวกมันบ่งบอกว่าเป็นเหมือนว่าวจึงถูกเรียกว่า " kites " โดยพวกมันได้รับความสนใจจากวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1920 เมื่อนักบินของกองทัพอากาศที่บินผ่านพื้นที่แห้งแล้งเหนือทะเลทรายของอิสราเอล จอร์แดน และอียิปต์ ได้เห็นเส้นรูปร่างแปลก ๆ บนพื้นด้านล่าง
เนื่องจากโครงร่างของพวกมันเมื่อมองจากอากาศทำให้นึกถึงว่าวที่ลอยตัวอยู่ พวกเขาจึงตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า "Desert Kites" แม้ว่าสิ่งนี้จะเป็นที่รู้จักของชาวเบดูอินในท้องถิ่นมาหลายพันปีแล้ว โดยเรียกมันว่า “Works of the Old Men” แต่นี่เป็นครั้งแรกที่คนนอกได้เห็นรูปร่างลึกลับเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม
นับตั้งแต่มีการค้นพบ ว่าวทะเลทรายหลายพันตัวถูกระบุว่า กระจายอยู่ไปทั่วคาบสมุทรอาหรับและไซนาย และไกลไปทางเหนือถึงตุรกีทางตะวันออกเฉียงใต้
ว่าวทะเลทรายที่พบเหล่านี้มีหลายลักษณะต่าง ๆกัน ซึ่งในทางโบราณคดีพวกมันเป็นเป้าหมายของการวิจัย ที่ไม่สามารถใช้วิธีการสืบสวนแบบคลาสสิกทั่วไปได้เนื่องจากลักษณะของการก่อสร้างพิเศษเหล่านี้ ซึ่งแม้จะมีการศึกษามากมายและงานวิจัยล่าสุดจะมีความรู้ขั้นสูงก็ตาม แต่ในขณะนั้น ว่าวยังคงเป็นปริศนาในหลาย ๆ ด้าน
ซากของว่าวทะเลทรายโบราณระหว่าง As Safawi และ Qasr Burqu, Mafraq, Jordan
แต่หลังจากนั้น จากส่วนขยายทางภูมิศาสตร์ อายุ และหน้าที่ของพวกมัน ถูกทำให้เข้าใจมากขึ้นถึงคำถามสำคัญที่ยังคงอยู่ในการอภิปรายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ โดยตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2010 เป็นต้นมา การเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงได้กระตุ้นการวิจัย และเปิดเผยว่ามีว่าวจำนวนมากกว่าที่คิดไว้ ทั้งในแหล่งข้อมูลใหม่รวมกับข้อมูลแบบคลาสสิกที่มีมากขึ้น จนถึงการสืบสวนแบบสหสาขาวิชาชีพที่ได้เปิดตัวร่วมกับองค์กรของการสำรวจภาคสนาม
ทั้งนี้ จากภาพถ่ายทางอากาศและข้อมูลจากดาวเทียมพบว่า ว่าวทะเลทรายมีอยู่ทั่วส่วนโค้งอันกว้างใหญ่ของโลกเก่า ตั้งแต่ตะวันออกใกล้ไปจนถึงเทือกเขาคอเคซัสและเอเชียกลาง มีการบันทึกว่าพบโครงสร้างเกือบ 5,000 รายการจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการระบุว่าวครั้งแรก หน้าที่ของพวกมันได้รับการถกเถียงกันในแวดวงโบราณคดี จนล่าสุด Amirov นักโบราณคดีชาวอุซเบกและนักวิจัยจาก Karakalpak สาขาภูมิภาคของ Uzbekistan National Academy of Science ได้กล่าวว่า
มีความเห็นพ้องกันทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้งานของสิ่งนี้ นั่นคือ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ดังกล่าวเพื่อความพยายามในการล่าสัตว์โดยรวมของคนในสมัยโบราณ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่งในรายงานจากทีมของ Amirov ที่เผยแพร่เมื่อปี 2015 ระบุว่าได้พบว่าวทะเลทรายหลายสิบตัวที่วางเรียงกัน เหมือนตาข่ายขนาดยักษ์บนพื้นที่กว่าร้อยไมล์ทางตะวันออกของทะเลอารัล
สถานที่ล่าสัตว์โบราณ
ที่เรียกว่า " ว่าวทะเลทราย " ซึ่งบางแห่งมีอายุ 8,000 ปีถูกสร้างขึ้นตามเส้นทางอพยพของสัตว์โดยนักอภิบาลโลกเก่า
โดยกลุ่มนักล่าจะไล่ล่าหรือต้อนสัตว์ขนาดใหญ่เข้าทางด้านกว้าง จากนั้นไล่ตามช่องทางไปยังส่วนท้ายที่แคบ ซึ่งพวกมันจะถูกขังอยู่ในหลุมหรือคอกหินและถูกฆ่าได้อย่างง่ายดาย ซึ่งการล่าสัตว์และการแปรรูปสัตว์เหล่านี้ต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก และต้องมีการสร้างและบำรุงรักษาว่าวตลอดเวลา
สำหรับโครงสร้างของว่าวทะเลทรายนั้น ประกอบด้วยกำแพงหินแห้งสองชั้นที่มีความหนาและความสูงแตกต่างกัน ที่ตอนแรกอยู่ห่างกันและค่อยๆเคลื่อนเข้าใกล้เพื่อสร้างรูปตัววีหรือกรวย เป็นช่องเปิดแคบที่จะนำไปสู่วงกลมหรือหลุม ที่มีขนาดตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่เมตรถึงร้อยเมตร ส่วนกำแพงอาจขยายออกไปได้หลายร้อยเมตรหรือหลายกิโลเมตร ซึ่งจากรูปร่างและหลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า โครงสร้างหินที่กว้างขวางเหล่านี้อาจทำหน้าที่เป็นกับดักที่ออกแบบมาเพื่อจับและฆ่าสัตว์ป่าจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังมีทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัย Palaeo-Research ของมหาวิทยาลัย Johannesburg ที่พบว่าวทะเลทรายหลายลักษณะในพื้นที่ส่วนหนึ่งใกล้กับหมู่บ้าน Keimoes ของแอฟริกาใต้ ซึ่งในบทความของพวกเขาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Archaeological and Anthropological Sciences ได้อธิบายถึงการศึกษาว่าเป็น " runways " ของการล่าสัตว์โบราณที่สร้างขึ้นเพื่อกักขังสัตว์ป่า
ซึ่งจากการศึกษาภูมิประเทศของแอฟริกาใต้ของทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัย Palaeo-Research โดยใช้อุปกรณ์ LiDAR จากเครื่องบินในช่วงปี 2016 ถึง 2019 ยังพบว่าวในอีกหลายสถานที่ ซึ่งนักวิจัยระบุว่า การที่ผู้สร้างในสมัยโบราณสร้างว่าวหลายตัวไว้ใกล้กัน อาจเพื่อให้ว่าวแต่ละตัวจับสัตว์ต่างชนิดกัน
และการค้นพบว่าวจำนวนมากของพวกเขานี้ ถือเป็นการใช้ว่าวมากที่สุดในแถบแอฟริกาตอนใต้ของซาฮารา
มีว่าวประมาณ 917 ตัวรอบ ๆ Khaybar (Saudi Arabia) ซึ่งสร้างขึ้นในรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน
บางส่วนมีอายุย้อนกลับไประหว่างศตวรรษที่ 5 - 7 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีลักษณะคล้ายว่าวสามเหลี่ยม และรูกุญแจ
จากการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดของว่าวทางใต้ของแอฟริกาใต้ แสดงให้เห็นว่า พวกมันถูกสร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แตกต่างจากว่าวที่พบในตะวันออกกลาง ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อ 2,000 ปีก่อน โดยนักวิจัยยังแนะนำว่าโครงสร้างของว่าวและวิธีที่คนสมัยโบราณใช้ แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์รวมถึงรูปแบบการอพยพ นอกจากนี้ ว่าวทั้งหมดถูกสร้างขึ้นในระยะเพียง 2 กิโลเมตรจากแอ่งน้ำและระดับความสูงที่เป็นเนิน เพราะความลาดชันที่สูงขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์มีความเร็วเพียงพอที่จะกระโดดออกจากหลุมและข้ามคอกได้
อย่างไรก็ตาม ว่าวทะเลทรายส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นระหว่าง 4000 ก่อนคริสตศักราชถึง 2000 ก่อนคริสตศักราช แต่โครงสร้างเหล่านี้บางส่วนสามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึง 8000 ก่อนคริสตศักราช ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ช่วยในการล่าสัตว์ เช่นเดียวกับ " Buffalo Jumps "
ทั้งนี้ จากการวิจัยทางโบราณคดีในพื้นที่เมโสโปเตเมียของ Tell Kuran ประเทศซีเรีย ได้ระบุว่ามีการพบซากศพในว่าวซึ่งเป็นสัตว์หายาก เช่น เนื้อทราย
( Gazella subgutturosaหรือG. dorcas ), Arabian oryx ( แอนทิโลปขนาดกลาง - Oryx leucoryx ), hartebeest ( ละมั่งแอฟริกา - Alcelaphus bucelaphus ) ลาป่า ( Equus africanus และ Equus hemionus ) และนกกระจอกเทศ ( Struthio camelus )
ซึ่งสปีชีส์เหล่านี้ทั้งหมดหายากหรืออาจสูญพันธุ์ไปจากบริเวณ Levant แล้ว แต่นักวิจัยเชื่อว่าการใช้ว่าวทะเลทรายมากเกินไปอาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ของสายพันธุ์เหล่านี้ และอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสัตว์ในภูมิภาคด้วย
ดินแดนที่ดูเหมือนรกร้างแห่งนี้เผยให้เห็นชุดของป้อมปราการโบราณที่ลึกลับ
ซึ่งบ่งบอกว่าผู้คนรอดชีวิตและเติบโตได้ในสภาพอากาศที่เลวร้ายนี้ (เครดิต: รูปภาพ kiwisoul / Getty)
ที่มา: National Geographic / About.com / PNAS / Wikipedia
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
" ว่าวทะเลทราย " โครงสร้างลึกลับทางธรณีวิทยาในยุคหิน
ที่เรียกว่า " ว่าวทะเลทราย " ซึ่งบางแห่งมีอายุ 8,000 ปีถูกสร้างขึ้นตามเส้นทางอพยพของสัตว์โดยนักอภิบาลโลกเก่า