[[...ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าว
อย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วย
คำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริงว่า
“พระสมณโคดมเป็นคนจูงคนให้เดินผิดทางไปสู่
ความ...ย่อมบัญญัติลัทธิความสูญเปล่า ความวินาศ
ความไม่มีของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน” ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น
กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริง
โดยประการที่เราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้นก็
หามิได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ ก็ตาม
เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิท
ไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และ
ความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใคร
มาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี, ตถาคตก็ไม่
มีความขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนั้น
แต่ประการใด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใคร
มาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตก็ไม่มี
ความรู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม.
ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา,
ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามี
ความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัว
ทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.]]]
มู. ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.
■■พระพุทธเจ้าทรงสอนแต่เรื่องทุกข์และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น■■
อย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วย
คำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริงว่า
“พระสมณโคดมเป็นคนจูงคนให้เดินผิดทางไปสู่
ความ...ย่อมบัญญัติลัทธิความสูญเปล่า ความวินาศ
ความไม่มีของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน” ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น
กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริง
โดยประการที่เราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้นก็
หามิได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ ก็ตาม
เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิท
ไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และ
ความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใคร
มาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี, ตถาคตก็ไม่
มีความขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนั้น
แต่ประการใด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใคร
มาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตก็ไม่มี
ความรู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม.
ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา,
ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามี
ความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัว
ทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.]]]
มู. ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.