ทำไมประเทศไทยชอบบริหารงานกันแบบ "ปล่อยให้เกิดก่อน แก้ทีหลัง" คะ

เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของระบบราชการไทยเลยเท่าที่เห็นมา ส่วนน้อยมากจริงๆนะที่จะมีมาตรการป้องกันไว้ก่อน ยกตัวอย่างเช่น

ที่เห็นได้ชัดช่วงนี้คือเรื่องวัคซีน รัฐบาลเคยจัดการปัญหาเรื่องนี้ไว้ได้ค่อนข้างดีก่อนหน้านี้ (ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่มันคือประชาชตระหนักได้และร่วมมือกันเองมากกว่า) ตอนที่จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเป็น 0 อยู่หลายเดือน แทนที่จะนำวัคซีนเข้ามารีบฉีดให้กับประชาชน ณ ตอนนั้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ กลับกลายเป็นว่าต้องรอให้เกิดระลอก 2 ก่อนจึงจะมีการเริ่มฉีด

เช่นเดียวกันกับสมาคมวอลเลย์บอลที่เป็นที่อื้อฉาวอยู่ ณ ตอนนี้เกี่ยวกับการจัดการซ้อมให้กับนักกีฬาทีมชาติที่จะไปแข่งขัน VNL หลังจากที่ไม่มีการแข่งขันมากว่า 1 ปี ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดในแคมป์นักกีฬา ซึ่งทาง FIVB กำหนดมาว่าให้ทำการซ้อมแบบ bubble กล่าวคือห้ามนักกีฬาและสต๊าฟมีการสัมผัสกับบุคคลภายนอกแคมป์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่อย่างที่เราได้เห็นกันก่อนหน้าที่จะเกิดเรื่องก็คือ มีการอนุญาตแขก VIP ให้เข้าไปเยี่ยมนักกีฬา นำอาหารไปให้ ฯลฯ อีกทั้งท่านนายกสมาคมวอลเลย์บอลก็ได้เข้าไปตรวจดูนักกีฬา ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่ใส่แมสเข้าไป (เข้าไปทำไม?)

ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความหละหลวมและไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการไทย ที่ชอบบริหารงานกันแบบไร้ภูมิคุ้มกัน เน้นแก้ไขมากกว่าป้องกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศ หรือแม้แต่องค์กรเอกชนที่ประสบความสำเร็จในไทยก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีการบริหารงานกันแบบเน้นป้องกันดีกว่ามาตามแก้ทีหลัง หากเรามัวแต่ทนอยู่ภายใต้ระบบแบบนี้เมื่อไหร่กันที่ประเทศเราจะพัฒนาไปได้ซักที

ทั้งเสียใจและสงสารมากกับการที่นักกีฬาวอลเลย์บอลดาวรุ่งของที่จะไปแข่งต้องพลาดโอกาสที่สำคัญในชีวิตไป เวลา 1 ปีที่เสียไปในชีวิตนักกีฬามันไม่สามารถประเมินค่าได้ แต่สมาคมกลับไม่รู้สึกรู้สาอะไร ยังลอยหน้าลอยตา และไร้ความรับผิดชอบ

การที่เรียกนักกีฬารุ่นเก่ามาซ้อมก่อนแข่งเพียง 3 วัน ได้เห็นถึงความเน่าเฟะของการบริหารจริงๆ สงสารนักกีฬามากค่ะ ทั้งรุ่นเด็กและรุ่นเซียน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่