อมตะธาตุ ไม่ใช่อนัตตาธาตุ

{๖๖.๑}   รูปํ  ปสฺสนฺโต  ปชหติ  เวทนํ  ปสฺสนฺโต  ปชหติ  สญฺญํ
ปสฺสนฺโต     ปชหติ     สงฺขาเร     ปสฺสนฺโต     ปชหติ    วิญฺญาณํ
ปสฺสนฺโต    ปชหติ    จกฺขุ ํ    ฯเปฯ   ชรามรณํ   อมโตคธํ  
 นิพฺพานํ ปริโยสานฏฺเฐน   ปสฺสนฺโต   ปชหติ   เย   เย  ธมฺมา  ป นา  โหนฺติ
เต    เต    ธมฺมา    ปริจฺจตฺตา    โหนฺติ   ตํ   ญาตฏฺเฐน   ญาณํ
ปชานนฏฺเฐน    ปญฺญา    เตน   วุจฺจติ   อิเม   ธมฺมา   ปหาตพฺพาติ
โสตาวธานํ ตํปชานนา ปญฺญา สุตมเย ญาณํ ฯ
                                           ตติยภาณวารํ ฯ
ฉบับหลวง
  เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
ย่อมละกิเลสที่ควรละได้
เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... จักษุ ...
ชราและมรณะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้
เมื่อ
พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ [ด้วยความเป็นอนัตตา]
ด้วยความว่าเป็นที่สุด
ย่อมละกิเลสที่ควรละได้
 ธรรมใดๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้นๆ
เป็นอันสละได้แล้ว ชื่อว่าญาณ
เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
 ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ
เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า
 ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ

แบบนี้ต้อง ไปเทียบกับของจุฬาฯ
มโนควรละ
ธรรมารมณ์ควรละ
มโนวิญญาณควรละ
มโนสัมผัสควรละ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ
             พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้
เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ
เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ
เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ
เมื่อเห็นวิญญาณ(โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น)
ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้
เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ
เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ
เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้
ธรรมใดๆ ที่ละได้แล้ว
 ธรรมนั้นๆ เป็นอันละได้แล้ว
             ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า
“ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ 
ไม่มีคำว่าอนัตตา แปลว่าอมตะไม่ใชอนัตตา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่