แม้ญี่ปุ่นจะมีภาพเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีโดดเด่นระดับโลกก็ตาม แต่หากมองจากสายตาของคนที่ไม่ได้คร่ำหวอดในวงการคอมพิวเตอร์สักเท่าไรแล้ว ก็จะพบว่า ในบรรดาโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือ Application ชื่อดังระดับโลกทั้งหลายนั้น กลับไม่มีผลงานของญี่ปุ่นปรากฏอยู่สักเท่าไรเลย อย่างมากก็จะมีเพียง LINE ที่ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นของญี่ปุ่นได้เต็มปากนัก เพราะถึงแม้คนญี่ปุ่นจะเป็นคนที่คิดค้นขึ้นมา แต่สิทธิ์ก็เป็นของบริษัท LINE ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Naver Group ของเกาหลีใต้อีกทีหนึ่ง
อย่างไรก็ดี หากลองค้นข้อมูลเข้าไปในอดีตแล้ว จะมีอยู่ครั้งหนึ่งในอดีตที่ญี่ปุ่นสามารถสร้าง Operating System ของตัวเองขึ้นมาโดยภายใต้ชื่อของ TRON PROJECT เป็นผลสำเร็จ แถมยังได้รับการชื่นชมว่ามี Concept ที่ล้ำยุคระดับมาก่อนกาล และอาจจะเหนือกว่า OS เจ้าตลาดในยุคนั้นอย่าง MS-DOS ของ Microsoft อีกด้วย
TRON PROJECT นี้ ล้ำเพียงไหน และเพราะเหตุใด มันจึงหายไปจากหน้าของประวัติศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา โปรดติดตามต่อไปครับ
TRON PROJECT : Internet of Things ที่มาก่อนกาล
TRON (Real-time Opearting System Nucleus) PROJECT เป็นโครงการที่ถูกริเริ่มโดย ศ.ดร. Ken Sakamura แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวของประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1984 เขามีแนวคิดว่าข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ตั้งแต่หลอดไฟไปจนถึงดาวเทียมนั้น น่าจะได้รับการติดตั้งคอมพิวเตอร์เข้าไป และมีเครือข่ายที่คอยเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันแบบ Real Time ในการที่จะทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกันได้นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องมีก็คือระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) ที่มีมาตรฐานสอดคล้องกันนั่นเอง โครงการ TRON PROJECT จึงเริ่มต้นขึ้นโดยมีจุดหมายในการสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) ที่สามารถนำไปสู่การสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในข้าวของเครื่องใช้ทุกอย่างในที่สุด
จะเห็นได้ว่า แนวคิดของ TRON Project นี้ จะมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดเรื่อง Internet of Things (IoT) ที่ได้รับการพูดถึงอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน ซึ่งนั่นก็นับเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากเพราะในช่วงทศวรรษ 80 นั้น อินเตอร์เน็ตนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่คนทั่วไปรู้จักเลยแม้แต่น้อย อาจจะมีเพียงแค่คนในวงการวิชาการเฉพาะด้านเท่านั้นที่รู้จัก
การดำเนิน TRON PROJECT นั้นจะให้ความสำคัญกับการเปิดกว้าง (Open) และไม่แสวงหากำไร ทั้งนี้จะไม่มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นเจ้าภาพในการพัฒนา TRON แต่เพียงผู้เดียวและนำไปวางจำหน่ายในฐานะผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ตัวผู้ที่ดำเนินการ TRON PROJECT จะเป็น TRON Association ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิกมาจากองค์กรทางธุรกิจชั้นนำรายต่างๆ ของญี่ปุ่น เช่น Matsushita (ต่อมาคือ Panasonic) , Fujitsu, Hitachi, Mitsubishi และตัวแทนจากภาควิชาการ
การพัฒนาระบบ OS ภายใต้ TRON Project นั้นจะไม่ได้มีการทำ Source Code สำหรับการทำ Kernel (องค์ประกอบสำคัญของ OS ที่จะคอยทำหน้าที่เชื่อมโยง Hardware และ Software เข้าไว้ด้วยกัน) ไว้โดยเฉพาะเจาะจง หากแต่จะมีการทำชุดของ Interface และให้ข้อมูลแนวทาง (Guideline) และ Spec สำหรับ Microprocessor รุ่นต่างๆ ไว้ให้บริษัทที่สนใจนำไปพัฒนาเป็น TRON ในแบบฉบับของตัวเอง
ทั้งนี้ การพัฒนา OS ภายใต้ TRON PROJECT นั้นจะประกอบไปด้วยโครงการย่อยหลายโครงการ เพื่อรองรับแนวคิดที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ในทุกระดับสามารถเชื่อมโยงกันได้ รายชื่อของโครงการย่อยภายใน TRON PROJECT จะมีดังนี้
ITRON (Industrial) - จะเป็นการพัฒนา OS สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าทางอุตสาหกรรม และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม
BTRON (Busineess) จะพัฒนา OS สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) และ PDA เพื่อใช้ในการทำงาน
CTRON (Central & Communication) จะพัฒนา OS สำหรับ Server, เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ Digital Switching
MTRON (Macro) พัฒนา OS สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างระบบ TRON ที่แตกต่างกัน
Tron Chip- จะเน้นไปในเชิง Hardware
ต่อมาในปี 1989 ได้มีเปิดตัว TRON House ซึ่งเป็นต้นแบบบ้านที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ TRON PROJECT ที่ย่าน Nishi Azabu ในกรุงโตเกียว บริษัทผู้รับผิดชอบในโครงการจะเป็นบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่นนับสิบบริษัท อาทิ NTT, Mitsubishi, TEPCO, Yamaha, JAL, TOTO เป็นต้น โดยมีต้นทุนในการสร้าง 1 พันล้านเยน ภายในบ้านจะประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ 380 เครื่องที่เชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน Micro Processor จำนวนและเซนเซอร์นับพันที่คอยดูแลอย่างครอบคลุมทั้งด้านการปรับเสียง ปรับอากาศ การแสดงข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย หากมีคนโทรศัพท์เข้ามาภายในบ้าน ทีวีก็จะหรี่เสียงลงโดยอัตโนมัติ และหากผู้ที่อยู่ในบ้านต้องการที่จะทำอาหาร ระบบของบ้านก็จะแสดงสูตรอาหารขึ้นบนหน้าจอ พร้อมทั้งปรับอุณหภูมิบนเตาให้สอดคล้องกัน แม้ TRON House จะสร้างความฮือฮาในด้านความล้ำสมัย แต่ก็มีสื่อมวลชนของญี่ปุ่นก็ลงข่าวโจมตีว่าราคาแพงเกินไป และเหมือนบ้านผีสิง พอเวลาผ่านไปสามปี TRON House ก็ปิดตัวลง (อย่างไรก็ดี ในยุคปัจจุบัน Panasonic และ Toyota ได้ดำเนินการพัฒนา Smart Home ของตัวเองภายใต้ Concept เช่นเดียวกับ TRON House)
BTRON : ผู้ที่อาจหาญมาท้าชิงบัลลังก์ Mircrosoft
ในกรณีของ BTRON นั้น ทางศ.ดร. Ken Sakamura ได้ร่วมมือกับบริษัท Matsushita (ปัจจุบันคือ Panasonic) พัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ BTRON เป็น OS มาตั้งแต่ปี 1985 ในระหว่างที่ดำเนินการพัฒนาอยู่นั้น ในปี 1986 องค์กร Center for Educational Computing หรือ CEC ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น ก็ได้เริ่มพิจารณาแผนการที่จะให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงเรียนของญี่ปุ่นเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ BTRON ส่งผลให้บริษัทคอมพิวเตอร์ต่างๆ ของญี่ปุ่นหันมาให้ความสนใจกับ BTRON มากขึ้น จะมีเพียงบริษัท NEC ที่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยในระยะแรก เพราะผลิตภัณฑ์ขายดีของทางบริษัทนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ MS-DOS ของ Microsoft แต่ในที่สุดทาง NEC ก็มีท่าทีที่อ่อนลง โดยตกลงที่จะไปผลิตคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ทั้ง MS-DOS และ B-TRON แทน
จนกระทั่งในปี 1989 ทางบริษัท Matsushita ก็ได้เปิดตัว PC แบบ Intel-Based ที่ใช้ระบบ OS ของ BTRON ชื่อของรุ่นคอมพิวเตอร์คือ PanaCAL ET, คอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีความโดดเด่นตรงที่ตัวเครื่องใช้ Processor Intel 80286 และมี Memory เพียงแค่ 2 MB Ram และความเร็วอยู่แค่ 8 MHz เท่านั้น แต่กลับสามารถแสดงภาพวิดิโอสีแบบแยกหน้าต่างกันได้ นอกจากนี้ OS ของ Microsoft ในยุคนั้นอย่าง MS Dos จะต้องใช้งานด้วยการพิมพ์คำสั่งที่เป็นข้อความเป็นหลัก แต่ OS ของ BTRON จะสามารถใช้งานได้โดยการใช้เมาส์คลิกเช่นเดียวกับ Mircrosoft Windows 3.0 ที่ออกมาในภายหลังในปี 1990 ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของ Matsushita นี้จะมีระบบ Dual Boot ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วย BTRON หรือ MS-DOS ก็ได้
ด้วยสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ BTRON ของ Matsushita นี้เองในเดือนมีนาคม ปี 1989 ทาง CEC จึงประกาศตัดสินใจที่จะให้นำคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง BTRON มาใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนในญี่ปุ่นอย่างชัดเจน
TRON PROJECT: ครั้งหนึ่งที่ระบบปฏิบัติการ (OS) สัญชาติญี่ปุ่น “เกือบ”ท้าชิงเจ้ายุทธจักรกับ Mircrosoft
อย่างไรก็ดี หากลองค้นข้อมูลเข้าไปในอดีตแล้ว จะมีอยู่ครั้งหนึ่งในอดีตที่ญี่ปุ่นสามารถสร้าง Operating System ของตัวเองขึ้นมาโดยภายใต้ชื่อของ TRON PROJECT เป็นผลสำเร็จ แถมยังได้รับการชื่นชมว่ามี Concept ที่ล้ำยุคระดับมาก่อนกาล และอาจจะเหนือกว่า OS เจ้าตลาดในยุคนั้นอย่าง MS-DOS ของ Microsoft อีกด้วย
TRON PROJECT นี้ ล้ำเพียงไหน และเพราะเหตุใด มันจึงหายไปจากหน้าของประวัติศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมา โปรดติดตามต่อไปครับ
TRON PROJECT : Internet of Things ที่มาก่อนกาล
TRON (Real-time Opearting System Nucleus) PROJECT เป็นโครงการที่ถูกริเริ่มโดย ศ.ดร. Ken Sakamura แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวของประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1984 เขามีแนวคิดว่าข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ตั้งแต่หลอดไฟไปจนถึงดาวเทียมนั้น น่าจะได้รับการติดตั้งคอมพิวเตอร์เข้าไป และมีเครือข่ายที่คอยเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันแบบ Real Time ในการที่จะทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกันได้นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องมีก็คือระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) ที่มีมาตรฐานสอดคล้องกันนั่นเอง โครงการ TRON PROJECT จึงเริ่มต้นขึ้นโดยมีจุดหมายในการสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) ที่สามารถนำไปสู่การสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในข้าวของเครื่องใช้ทุกอย่างในที่สุด
จะเห็นได้ว่า แนวคิดของ TRON Project นี้ จะมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดเรื่อง Internet of Things (IoT) ที่ได้รับการพูดถึงอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน ซึ่งนั่นก็นับเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากเพราะในช่วงทศวรรษ 80 นั้น อินเตอร์เน็ตนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่คนทั่วไปรู้จักเลยแม้แต่น้อย อาจจะมีเพียงแค่คนในวงการวิชาการเฉพาะด้านเท่านั้นที่รู้จัก
การดำเนิน TRON PROJECT นั้นจะให้ความสำคัญกับการเปิดกว้าง (Open) และไม่แสวงหากำไร ทั้งนี้จะไม่มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นเจ้าภาพในการพัฒนา TRON แต่เพียงผู้เดียวและนำไปวางจำหน่ายในฐานะผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ตัวผู้ที่ดำเนินการ TRON PROJECT จะเป็น TRON Association ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิกมาจากองค์กรทางธุรกิจชั้นนำรายต่างๆ ของญี่ปุ่น เช่น Matsushita (ต่อมาคือ Panasonic) , Fujitsu, Hitachi, Mitsubishi และตัวแทนจากภาควิชาการ
การพัฒนาระบบ OS ภายใต้ TRON Project นั้นจะไม่ได้มีการทำ Source Code สำหรับการทำ Kernel (องค์ประกอบสำคัญของ OS ที่จะคอยทำหน้าที่เชื่อมโยง Hardware และ Software เข้าไว้ด้วยกัน) ไว้โดยเฉพาะเจาะจง หากแต่จะมีการทำชุดของ Interface และให้ข้อมูลแนวทาง (Guideline) และ Spec สำหรับ Microprocessor รุ่นต่างๆ ไว้ให้บริษัทที่สนใจนำไปพัฒนาเป็น TRON ในแบบฉบับของตัวเอง
ทั้งนี้ การพัฒนา OS ภายใต้ TRON PROJECT นั้นจะประกอบไปด้วยโครงการย่อยหลายโครงการ เพื่อรองรับแนวคิดที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ในทุกระดับสามารถเชื่อมโยงกันได้ รายชื่อของโครงการย่อยภายใน TRON PROJECT จะมีดังนี้
ITRON (Industrial) - จะเป็นการพัฒนา OS สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าทางอุตสาหกรรม และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม
BTRON (Busineess) จะพัฒนา OS สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) และ PDA เพื่อใช้ในการทำงาน
CTRON (Central & Communication) จะพัฒนา OS สำหรับ Server, เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ Digital Switching
MTRON (Macro) พัฒนา OS สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างระบบ TRON ที่แตกต่างกัน
Tron Chip- จะเน้นไปในเชิง Hardware
ต่อมาในปี 1989 ได้มีเปิดตัว TRON House ซึ่งเป็นต้นแบบบ้านที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ TRON PROJECT ที่ย่าน Nishi Azabu ในกรุงโตเกียว บริษัทผู้รับผิดชอบในโครงการจะเป็นบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่นนับสิบบริษัท อาทิ NTT, Mitsubishi, TEPCO, Yamaha, JAL, TOTO เป็นต้น โดยมีต้นทุนในการสร้าง 1 พันล้านเยน ภายในบ้านจะประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ 380 เครื่องที่เชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน Micro Processor จำนวนและเซนเซอร์นับพันที่คอยดูแลอย่างครอบคลุมทั้งด้านการปรับเสียง ปรับอากาศ การแสดงข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย หากมีคนโทรศัพท์เข้ามาภายในบ้าน ทีวีก็จะหรี่เสียงลงโดยอัตโนมัติ และหากผู้ที่อยู่ในบ้านต้องการที่จะทำอาหาร ระบบของบ้านก็จะแสดงสูตรอาหารขึ้นบนหน้าจอ พร้อมทั้งปรับอุณหภูมิบนเตาให้สอดคล้องกัน แม้ TRON House จะสร้างความฮือฮาในด้านความล้ำสมัย แต่ก็มีสื่อมวลชนของญี่ปุ่นก็ลงข่าวโจมตีว่าราคาแพงเกินไป และเหมือนบ้านผีสิง พอเวลาผ่านไปสามปี TRON House ก็ปิดตัวลง (อย่างไรก็ดี ในยุคปัจจุบัน Panasonic และ Toyota ได้ดำเนินการพัฒนา Smart Home ของตัวเองภายใต้ Concept เช่นเดียวกับ TRON House)
BTRON : ผู้ที่อาจหาญมาท้าชิงบัลลังก์ Mircrosoft
ในกรณีของ BTRON นั้น ทางศ.ดร. Ken Sakamura ได้ร่วมมือกับบริษัท Matsushita (ปัจจุบันคือ Panasonic) พัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ BTRON เป็น OS มาตั้งแต่ปี 1985 ในระหว่างที่ดำเนินการพัฒนาอยู่นั้น ในปี 1986 องค์กร Center for Educational Computing หรือ CEC ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น ก็ได้เริ่มพิจารณาแผนการที่จะให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงเรียนของญี่ปุ่นเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ BTRON ส่งผลให้บริษัทคอมพิวเตอร์ต่างๆ ของญี่ปุ่นหันมาให้ความสนใจกับ BTRON มากขึ้น จะมีเพียงบริษัท NEC ที่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยในระยะแรก เพราะผลิตภัณฑ์ขายดีของทางบริษัทนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ MS-DOS ของ Microsoft แต่ในที่สุดทาง NEC ก็มีท่าทีที่อ่อนลง โดยตกลงที่จะไปผลิตคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ทั้ง MS-DOS และ B-TRON แทน
จนกระทั่งในปี 1989 ทางบริษัท Matsushita ก็ได้เปิดตัว PC แบบ Intel-Based ที่ใช้ระบบ OS ของ BTRON ชื่อของรุ่นคอมพิวเตอร์คือ PanaCAL ET, คอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีความโดดเด่นตรงที่ตัวเครื่องใช้ Processor Intel 80286 และมี Memory เพียงแค่ 2 MB Ram และความเร็วอยู่แค่ 8 MHz เท่านั้น แต่กลับสามารถแสดงภาพวิดิโอสีแบบแยกหน้าต่างกันได้ นอกจากนี้ OS ของ Microsoft ในยุคนั้นอย่าง MS Dos จะต้องใช้งานด้วยการพิมพ์คำสั่งที่เป็นข้อความเป็นหลัก แต่ OS ของ BTRON จะสามารถใช้งานได้โดยการใช้เมาส์คลิกเช่นเดียวกับ Mircrosoft Windows 3.0 ที่ออกมาในภายหลังในปี 1990 ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของ Matsushita นี้จะมีระบบ Dual Boot ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วย BTRON หรือ MS-DOS ก็ได้
ด้วยสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ BTRON ของ Matsushita นี้เองในเดือนมีนาคม ปี 1989 ทาง CEC จึงประกาศตัดสินใจที่จะให้นำคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง BTRON มาใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนในญี่ปุ่นอย่างชัดเจน