ปัจจุบันอุตสาหกรรมร้านอาหารในยูเออีมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น หลังจากที่ประสบสภาวะซบเซาในช่วง การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563 โดยผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารหันมาลงทุนในธุรกิจ “Cloud kitchen Model” (หรือ Ghost Kitcher/Dark Kitchen) มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจบริการอาหาร มีต้นทุนในการลงทุนต่ำ ไม่จําเป็นต้องมีหน้าร้าน ใช้บริการส่งอาหารให้ลูกค้า และยังสามารถเช่าพื้นที่ครัวได้หากไม่ต้องการลงทุนในการสร้างครัวเอง ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผู้บริโภคนิยมสั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น
จากรายงานของ Redseer Consulting พบว่า ขนาดของตลาดบริการส่งอาหารและ Cloud Kitchen ในยูเออีมีมูลค่าตลาดประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท โดยร้อยละ 91 เป็นบริการส่งอาหาร และร้อยละ 9 เป็นธุรกิจ Cloud Kitchen ทั้งนี้ ธุรกิจ Cloud Kitchen มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในยูเออี
.
นอกจากนี้ จากรายงานการศึกษาในช่วงต้นปี 2564 ของ PRIME UAE พบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารแบบ dine-in ร้อยละ 70 ให้ความสนใจการลงทุนในธุรกิจอาหารในรูปแบบ Cloud Kitchen ในการขยายกิจการและสาขามากขึ้น
.
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคหรือความท้าทายของธุรกิจดังกล่าว ได้แก่ (1) ลูกค้าต้องพึ่งพาการใช้บริการส่งอาหารออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกําไรของกิจการเนื่องจากผู้ให้บริการส่งอาหารมักขอให้ร้านอาหารเสนอส่วนลดให้แก่ลูกค้าอยู่เสมอ (2) การแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจ Cloud Kitchen เนื่องจากมีคู่แข่งในตลาดเป็นจํานวนมาก อาจส่งผลให้การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักทําได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เพียงทางเดียว และ (3) ผู้ให้บริการ Food Delivery มีแนวโน้มประกอบธุรกิจร้านอาหาร Cloud Kitchen เพิ่มเติม ซึ่งมีส่วนในการแบ่งรายได้จากฐานลูกค้าของธุรกิจ Cloud Kitchen
.
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนักธุรกิจในยูเออีให้ความสนใจธุรกิจ Cloud Kitchen เป็นจํานวนมาก ส่งผลให้การแข่งขัน ในอุตสาหกรรมบริการอาหารพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้ประกอบการที่น่าสนใจ มีดังนี้
.
1. Kitch – ธุรกิจควบคู่ทั้งบริการส่งอาหารและ Cloud Kitchen เป็นธุรกิจแรกในตะวันออกกลาง ที่รวมทั้ง 2 บริการเข้าด้วยกัน โดยเปิดตัวไปเมื่อเดือน ก.พ. 2564 ในยูเออีและซาอุดีอาระเบีย
.
2. Cloud Restaurant – มีครัว Cloud Kitchen ร่วมกับพาร์ทเนอร์ 16 แห่งในยูเออี และวางแผน ขยายจํานวนครัวให้ได้ 50 แห่ง ภายในปีนี้
.
3. Kitopi – ธุรกิจมีการเติบโตอย่างเด่นชัด มีครัวมากกว่า 60 แห่ง และพันธมิตรกว่า 200 แบรนด์ ใน 5 ประเทศ และยังผลิตอาหารให้กับอีกหลายแบรนด์ เช่น (1) Pizza Express (2) Wok Boyz และ (3) Burger Fuel
.
จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยูเออี และแนวโน้มของธุรกิจอาหารในยูเออี ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารรายย่อยของไทยหลายรายก็กําลังพิจารณาการลงทุนในธุรกิจร้านอาหารประเภท Cloud Kitchen มากขึ้น เนื่องจากมีการลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดหน้าร้าน และอาหารไทยยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยูเออี Cloud Kitchen จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธุรกิจบริการแนวใหม่ที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาหารไทยสามารถกระจายตลาดและส่งออกอาหารไทยไปยังตลาดตะวันออกกลางได้มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://globthailand.com/uae-170521/
มาดูธุรกิจ Cloud Kitchen ร้านอาหารไม่มีหน้าร้านในยูเออี ตอบโจทย์ความต้องการในยุคโควิด-19 จริงหรือ?
ปัจจุบันอุตสาหกรรมร้านอาหารในยูเออีมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น หลังจากที่ประสบสภาวะซบเซาในช่วง การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563 โดยผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารหันมาลงทุนในธุรกิจ “Cloud kitchen Model” (หรือ Ghost Kitcher/Dark Kitchen) มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจบริการอาหาร มีต้นทุนในการลงทุนต่ำ ไม่จําเป็นต้องมีหน้าร้าน ใช้บริการส่งอาหารให้ลูกค้า และยังสามารถเช่าพื้นที่ครัวได้หากไม่ต้องการลงทุนในการสร้างครัวเอง ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ผู้บริโภคนิยมสั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น
จากรายงานของ Redseer Consulting พบว่า ขนาดของตลาดบริการส่งอาหารและ Cloud Kitchen ในยูเออีมีมูลค่าตลาดประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท โดยร้อยละ 91 เป็นบริการส่งอาหาร และร้อยละ 9 เป็นธุรกิจ Cloud Kitchen ทั้งนี้ ธุรกิจ Cloud Kitchen มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ในยูเออี
.
นอกจากนี้ จากรายงานการศึกษาในช่วงต้นปี 2564 ของ PRIME UAE พบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารแบบ dine-in ร้อยละ 70 ให้ความสนใจการลงทุนในธุรกิจอาหารในรูปแบบ Cloud Kitchen ในการขยายกิจการและสาขามากขึ้น
.
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคหรือความท้าทายของธุรกิจดังกล่าว ได้แก่ (1) ลูกค้าต้องพึ่งพาการใช้บริการส่งอาหารออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกําไรของกิจการเนื่องจากผู้ให้บริการส่งอาหารมักขอให้ร้านอาหารเสนอส่วนลดให้แก่ลูกค้าอยู่เสมอ (2) การแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจ Cloud Kitchen เนื่องจากมีคู่แข่งในตลาดเป็นจํานวนมาก อาจส่งผลให้การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักทําได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เพียงทางเดียว และ (3) ผู้ให้บริการ Food Delivery มีแนวโน้มประกอบธุรกิจร้านอาหาร Cloud Kitchen เพิ่มเติม ซึ่งมีส่วนในการแบ่งรายได้จากฐานลูกค้าของธุรกิจ Cloud Kitchen
.
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนักธุรกิจในยูเออีให้ความสนใจธุรกิจ Cloud Kitchen เป็นจํานวนมาก ส่งผลให้การแข่งขัน ในอุตสาหกรรมบริการอาหารพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้ประกอบการที่น่าสนใจ มีดังนี้
.
1. Kitch – ธุรกิจควบคู่ทั้งบริการส่งอาหารและ Cloud Kitchen เป็นธุรกิจแรกในตะวันออกกลาง ที่รวมทั้ง 2 บริการเข้าด้วยกัน โดยเปิดตัวไปเมื่อเดือน ก.พ. 2564 ในยูเออีและซาอุดีอาระเบีย
.
2. Cloud Restaurant – มีครัว Cloud Kitchen ร่วมกับพาร์ทเนอร์ 16 แห่งในยูเออี และวางแผน ขยายจํานวนครัวให้ได้ 50 แห่ง ภายในปีนี้
.
3. Kitopi – ธุรกิจมีการเติบโตอย่างเด่นชัด มีครัวมากกว่า 60 แห่ง และพันธมิตรกว่า 200 แบรนด์ ใน 5 ประเทศ และยังผลิตอาหารให้กับอีกหลายแบรนด์ เช่น (1) Pizza Express (2) Wok Boyz และ (3) Burger Fuel
.
จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยูเออี และแนวโน้มของธุรกิจอาหารในยูเออี ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารรายย่อยของไทยหลายรายก็กําลังพิจารณาการลงทุนในธุรกิจร้านอาหารประเภท Cloud Kitchen มากขึ้น เนื่องจากมีการลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดหน้าร้าน และอาหารไทยยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยูเออี Cloud Kitchen จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธุรกิจบริการแนวใหม่ที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาหารไทยสามารถกระจายตลาดและส่งออกอาหารไทยไปยังตลาดตะวันออกกลางได้มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://globthailand.com/uae-170521/