เมืองหลวงแห่งอาณาจักรศรีวิชัย คือ สิงหนคร

ศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา                       ประสิทธิ์  เอื้อตระกูลวิทย์  :  เรียบเรียง                           อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี                        คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร
   ผู้ค้นคว้า - ประจิต  ประเสริฐประศาสน์  : นักวิชาการอิสระ  
เมื่อปีพ.ศ.1214 พระภิกษุชาวจีนชื่ออี้จิง ได้เดินทางไปสืบทอดพระพุทธศาสนาที่ประเทศ
อินเดีย  ท่านเดินทางโดยอาศัยเรือจากเมืองท่าที่กวางตุ้งมาพำนักที่เมืองโฟชิก่อนเป็นเวลา 6 เดือน 
แล้วจึงได้อาศัยเรือเดินทางต่อไปยังประเทศอินเดีย เป้าหมายคือมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เมืองนาลันทา
ซึ่งเผยแพร่คำสอนตามหลักพุทธศาสนามหายานที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านกลับ
เมืองจีน  และได้กลับมาพำนักที่เมืองโฟชิอีกในช่วงระหว่างปีพ.ศ.1230-1238 ระหว่างนี้เองภิกษุ
อี้จิงได้ทำการวัดและบันทึกเงาของนาฬิกาแดดทั้งที่เมืองโฟชิ และเมืองโฮลิง  ทั้ง 2 เมืองนี้ เป็นเมือง
ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และมีความมั่งคั่งจากการควบคุมการ
ค้าขายทางทะเล ตามบันทึกของภิกษุอี้จิงนั้นเมืองโฟชิเป็นเมืองหลวงของประเทศทั้ง 10 แห่งในทะเลใต้

เมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ใด?

คำถามนี้ไม่อาจอธิบายในกรอบของประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพียงอย่างเดียวได้   ดังนั้น
จึงต้องอาศัยการคำนวณซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอข้อมูลมาแสดงไว้  อันจะเป็นการพิสูจน์ถึงตำแหน่งที่ตั้ง 
ที่แท้จริงของเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ตามที่ภิกษุอี้จิงได้เคยมาพำนัก และได้บันทึกค่าของ 
นาฬิกาแดดไว้ที่เมืองโฟชิซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศทั้ง 10 แห่งในทะเลใต้นั่นเอง
ความเป็นมา  ที่ตั้ง  และเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก  เสมือนว่าไม่มีความ
จำเป็นใดๆ ต้องรู้ไปมากยิ่งขึ้นกว่านี้อีกแล้ว  โดยเป็นการยอมรับอย่างขัดเขินกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ไทยว่า เมืองที่สำคัญของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่  “ไชยา”  ส่วนต่างชาติกลับไปยกย่องให้  “ปาเล็มบัง” เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยเสียมากกว่า  แล้วเราจะยอมรับกันได้หรือไม่          
    ดังนั้น  เอกสารของหลวงจีนอี้จิงอาจจะคลายปมปริศนาเกี่ยวกับชื่อเมืองและสถานที่ตั้งของเมืองในระยะก่อตัวของอาณาจักรศรีวิชัยได้  และอาจส่งผลให้เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรศรีวิชัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันหรือเรียกว่าการอัพเดทเรื่องราวของศรีวิชัยนั้น  ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องราวของดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยไปจนถึงชวานั้นยังน่าสนใจและควรค่าแก่การสานต่อจากนักประวัติศาสตร์รุ่นเดิม ควรปรับ  เพิ่ม  หรือโต้แย้งข้อมูลให้ทันสมัยขึ้น  ตรวจสอบเอกสารกันอีกรอบ เอามาดูอีกสักครั้งว่าพบ
ประเด็นที่น่าสนใจในเอกสารโบราณประการอื่นอีกหรือไม่  ทั้งนี้ควรอ้างอิงหลักการอันเป็นที่ยอมรับได้  ผู้เขียนเห็นว่าในเอกสารโบราณชาวต่างชาติมักพูดถึงเรื่องราวสำคัญทั่วไปเสียมากกว่า  มีเพียงเอกสารของหลวงจีนอี้จิงเท่านั้นที่พูดถึง  “เวลา” “ระยะทาง”และ “จำนวนวัน” สัมพันธ์กับสถานที่ที่ท่านพำนัก และสภาพภูมิอากาศในขณะนั้น
  เพื่อนำผู้อ่านไปสู่เรื่องที่เกี่ยวกับความสับสนเรื่องชื่อต่างๆ ของอาณาจักรศรีวิชัย  ผู้เขียนขอเกริ่นนำ
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดีในภาคใต้ของประเทศไทยโดยย่อ  โดยเฉพาะเรื่องกำเนิดและที่ตั้งของอาณาจักรศรีวิชัย  ในช่วงสี่สิบถึงห้าสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลจากผู้รู้และนักปราชญ์หลายท่านทำให้เรารู้ว่า  ท่านเหล่านี้พยายามระบุตำแหน่ง  “เมืองหลวง”ของอาณาจักรศรีวิชัยด้วยหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆเท่าที่มีการค้นพบ  อาทิเช่นโบราณสถาน   ประติมากรรมทางศาสนาพุทธและฮินดู   โดยเรียกกันว่า  “ศิลปะแบบศรีวิชัย” อันมีความคล้ายกับงานศิลปะของราชวงศ์ไศเลนทร์  สันนิษฐานว่าเป็นศาสนาพุทธสกุลวัชรยานแบบอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชวงศ์ปาละ  นอกจากนี้มีหลักฐานจารึกและเอกสารโบราณจำนวนมากที่นักวิชาการทั้งไทยและเทศนำมาอ้างอิง  กำเนิดความเป็นมา  และความรุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัยตั้งแต่พุทธ
ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา  กล่าวตรงกันว่าอาณาจักรศรีวิชัยเจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 ด้วยเหตุผลของการเป็นที่ตั้งเมืองท่าค้าขายระหว่างจีน  เวียดนาม  เขมรฝั่งหนึ่ง  กับอินเดีย  อาหรับ  เปอร์เซียและยุโรป  อีกฝั่งหนึ่ง
เมื่อพูดถึงคำว่า  “ศรีวิชัย”  นั้น  นักวิชาการในปัจจุบันยอมรับว่าเกิดมาจาก  ยอร์ช  เซเดส์ (พ.ศ. 2461) 
ท่านได้ระบุเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่  ปาเล็มบัง  ในเกาะสุมาตราใต้  และนักวิชาการชาวต่างชาติท่านอื่น ๆ ต่างยอมรับ  ถึงแม้ว่า  ได้พยายามขุดค้นทางโบราณคดีที่ปาเล็มบัง  ก็ไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ“ศรีวิชัย” อย่างชัดเจน รวมทั้งจารึกเคดุกันบุกิต พ.ศ.1225  ก็ระบุเพียงชื่อสถาที่  5 แห่ง  และมีชื่อพระราชา(เรียกดาปุนตาไฮยำ) ทรงพระนามศรีชัยนาศ  ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับอาณาจักรศรีวิชัยมากนัก  เครื่องลายครามที่ขุดขึ้นมาได้เป็นลายครามของพุทธศตวรรษที่  14 – 15 ถ้าปาเล็มบังไม่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย  นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งระบุว่า  “ไชยา“ เป็นศูนย์กลางของศรีวิชัย  ในราวพุทธศตวรรษที่  12 – 14  อย่างแน่นอนหรืออาจยาวนานกว่านั้นด้วย ‘ศรีวิชัย’ เป็นเพียงชื่อหนึ่งของการเรียกชื่อที่แตกต่างกันในจารึกและเอกสารโบราณ  ชื่ออื่นๆมีนครโพธิ  สัมโพธิ  ศรีโพธิ  ชวกะ  ซาบาก  โฟชิ  ชิลิโฟชิ และสันโฟชิ
เมื่อตามรอยหลวงจีนอี้จิงจะพบว่า  หลวงจีนอี้จิงแวะพำนักอยู่ที่นครโฟ-ชิ  เป็นเวลา  6 เดือน  บันทึกใน
เอกสารว่า ‘ สหพันธรัฐศรีวิชัย ‘ หรือเป็นดินแดนประเทศทั้ง 10 แห่งทะเลใต้ขาไป  หลวงจีนอี้จิงพักอยู่ที่เมือง  “ โฟชิ ” 6 เดือน   เพื่อเรียนภาษาสันสกฤต ต่อจากนั้นท่านเดินทางอีก 15  วัน  ถึง โมโลยู (มลายู ) พักที่มลายู  2 เดือน เพื่อให้ลมเปลี่ยนทิศแล้วแล่นใบผ่านช่องแคบมะละกา 15 วันถึง  เชียชะ  หรือ  เคียขะ  (เคดาห์  ไทรบุรี ) ต่อจากนั้นก็ข้ามสมุทรไปถึงอินเดีย  หลวงจีนอี้จิงพักอยู่ที่อินเดีย
หลายปี (พ.ศ.1215 – 1228 รวม 13 ปี) พักที่เมืองนาลันทาหลวงจีนอี้จิงยังได้ระบุอีกว่า  ถ้าแล่นใบจากเมืองโฟชิไปทางตะวันออกเป็นเวลา 4 วัน  จะถึงเมือง  
“โฮลิง”  โฮลิงหรือ โพลิง  มาจากคำว่า  โพธิ + กะลิง  เพราะชาวกลิงคะมาจาก  กลิงครัฐ (ใกล้แม่น้ำคงคา) มาอยู่ที่โฮลิงกับโฟชิ   มาชุมดาร์นักโบราณคดีบันทึกว่าชาวอินเดียเดินทางหรือหนีเข้ามาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย  เพราะมีพวกกษัตริย์จาลุกย์เข้ามารุกรานนับร้อยปี   ตั้งแต่ประมาณ  พ.ศ. 1100  ( บทความของ  น. ณ ปากน้ำ ) เมืองกาลิงคะอยู่ภายใต้ราชวงศ์คงคาและไศโรจน์ภาวะ  ปกครองโดยราชวงศ์ไศละ อันนามของกษัตริย์ราชวงศ์คงคาล้วนแต่ต่อท้ายด้วยคำว่ามหาราชทั้งสิ้น  จึงน่าจะเป็นไปได้ที่ราชวงศ์เหล่านี้เป็นต้นราชวงศ์ไศเลนทร์  และชาวกลิงคะจึงมีความสัมพันธ์กับไศเลนทร์ (ต้นกำเนิดคำว่าโฮลิง)ขากลับกลับมาที่  “ โฟชิ ” อีกครั้ง  และในขณะนั้นประเทศโมโลยูได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโฟชิไปแล้วท่านได้พำนักต่อที่โฟชิอีก  8 ปี  ระหว่าง พ.ศ. 1230 – 1238 เพื่อแปลพระสูตรในพระพุทธศาสนาจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนและระบุไว้ว่า  ที่เมือง “ โฟ-ชิ ” มีพระสงฆ์ในพุทธศาสนากว่า ๑,๐๐๐ รูป  มีพระธรรมวินัยและพิธีกรรมทุกอย่างคล้ายกับที่ปฏิบัติกันที่อินเดีย  แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนาในแถบนี้( 1.ตั้งอยู่บนแม่น้ำโพธิ  2. ฮวยหนิงไปหาพระภิกษุญาณภัทรที่เมืองโพลิง – พ่อค้าจีนพูดผิดเป็นโฮลิง )
หลวงจีนอี้จิงระบุว่า  เมืองโฮลิง  ตันตัน  กาจาหรือเกียฉา ( เคดาห์ ) และพันพัน  เป็นเมืองประเทศราช
(เมืองขึ้น) ของ “ โฟ-ชิ ” นับได้ว่าเป็นเมืองหลวงของ  “อาณาจักรศรีวิชัย” จึงยังคงเป็นปริศนาให้นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีค้นคว้ามาจนถึงทุกวันนี้ว่า  เมือง “ โฟชิ ” คือ ไชยา  ใช่หรือไม่
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ยาวมากครับ แต่ก็อ่านจนจบเนื่องจากชอบเรื่องราวของอาณาจักรศรีวิชัยเป็นการส่วนตัว ทึ่งกับแนวคิดพิสูจน์ทราบตำแหน่งที่ตั้งเมืองโบราณในบันทึกว่าคือเมืองใดในปัจจุบันโดยคำนวณจากเงาแดด และสมมติฐานที่ว่าโฮลิงกับโฟชิคือเมืองสิงหนครในสงขลากับยะรังในปัตตานีตามลำดับ สมัยผมเรียนศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยยังอยู่ที่ไชยาอยู่เลย ขอให้ค้นพบหลักฐานสนับสนุนสมมติฐานใหม่นี้อีกเยอะ ๆ นะครับ

ป.ล. ขออนุญาตจขกท. แจ้งเพื่อนสมาชิกเว็บไซด์ต้นทางของบทความนี้นะครับ http://srivichai2017.blogspot.com/2017/01/blog-post.html มีรูปและแผนที่แทรกเป็นระยะ ๆ ด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่